สรจักร สั่งปรับแผนอีลิทอีกครั้ง เบรกยอดขายปีนี้เหลือ 50% ของเป้า 800 ใบ หลังพบยอดขาย 5 เดือนแรก ได้เพียง 16 ใบ พร้อมหันบูรณาการองค์กร สร้างภาพลักษณ์ให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งคนไทยและต่างชาติ พร้อมให้หารายได้เสริมจากการบริการมาเลี้ยงองค์กร ระบุปีหน้าค่อยเดินต่อ ยอมรับ องค์กรรีบคิดรีบทำ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เกิดปัญหาสุ่มหัวต้องไล่แก้ จนไม่มีเวลาทำงาน
นายสรจักร เกษมสุวรรณ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้ดำเนินโครงการ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะผู้บริหาร ทีพีซี เห็นตรงกันว่า ควรปรับแผน ทีพีซีอีกครั้ง โดยปรับลดเป้าหมายขายบัตรสมาชิกอีลิทการ์ด ในปีนี้ลงประมาณ 50% คือ จากที่ตั้งไว้ว่าทั้งปีจะขายได้ 800 ใบ ให้ลดเหลือประมาณ 400-500 ใบ
นอกจากนั้น ยังให้คณะผู้บริหารของ ทีพีซี ไปคิดแผนการหารายได้เพิ่มจากธุรกิจอื่นๆ เพื่อ บริษัทจะได้ไม่ต้องปรับลดเป้าหมายรายได้ที่ตั้งไว้ว่าจะได้จากการขายบัตร 1,200 ล้านบาท พลาดเป้าหมายเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับเป้าหมายว่าจะมีสมาชิกเป็น 20,000 ใบ ภายใน 3 ปีข้างหน้า ยังให้คงไว้ ซึ่งปัจจุบัน อีลิทการ์ด มีสมาชิกผู้ถือบัตรอยู่แล้วประมาณ 2,000 ใบ
สาเหตุที่ปรับลดยอดขายในปีนี้ เพราะ 4 เดือนที่ผ่านมา ทีพีซี มียอดขายบัตรเพียง 16 ใบ เนื่องจากลูกค้าเกิดความไม่เชื่อมั่นว่า ทีพีซี จะถูกปิดกิจการหรือไม่ และ ราคาบัตร ที่ปรับจาก ใบละ 1 ล้านบาท เป็น 1.5 ล้านบาท แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น เท่ากับราคาบัตรได้ปรับขึ้นอีกเกือบ 1 เท่าตัว และการปรับลดสิทธิประโยชน์.
ดังนั้น จึงต้องการให้ ทีพีซี เร่งดำเนินการปรับภาพลักษณ์องค์กร ให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งในต่างประเทศ และ กลุ่มคนไทยภายในประเทศ โดยตลาดต่างประเทศต้องการให้เขาเกิดความเชื่อมั่นในองค์กรของอีลิทการ์ด เชื่อมั่นในนโยบายของภาครัฐ ที่จะให้องค์กรนี้ดำเนินธุรกิจไปอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมา จะมีข่าวออกไปตลอดว่า บริษัท ทีพีซี จะถูกยุบหรือปิดกิจการ ทำให้ผู้ที่สนใจจะเป็นสมาชิก แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงที่จะซื้อ ขณะที่คนไทย ก็ต้องสร้างการรับรู้ว่า สมาชิกอีลิทการ์ด จะเป็นนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ และ เป็นนักลงทุน ที่จะนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ช่วยฟื้นเศรษฐกิจชาติ
“เมื่อขายไม่ได้เราก็ต้องยอมรับความจริง แล้วหันมาอุดช่องโหว่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ยอมรับว่าอีลิทการ์ดใช้เวลาในการก่อตั้งบริษัท และศึกษาแผนการทำงานเร็วไปหน่อย เป็นการคิดงานแบบเร่งด่วน ทำให้ที่ผ่านมา ผู้บริหารต้องใช้เวลา 60-70% กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น การทำงานจึงไม่ได้ตามเป้าหมายเสียที วันนี้เราจึงยอมที่จะเสียเวลาปรับแผนอีกครั้ง ชะลอยอดขายไว้ก่อน แล้วหันมาบูรณาการองค์กร สร้างภาพลักษณ์ที่ดี แล้วจากนั้นเชื่อว่า ยอดขายก็จะตามมา เพราะอีลิทการ์ด เป็นแนวคิดที่ดี หากเราทำได้จริง ซึ่งผู้ที่เป็นสมาชิกแล้ว อย่าง อลัน ซีแมน ประธาน เจ้าของ โอเชียนพาร์ด ที่เกาะฮ่องกง นักธุรกิจชั้นแนวหน้า ยังให้การยอมรับ และเขาก็เป็นสมาชิกอีลิทด้วย”
อย่างไรก็ตาม ได้ให้การบ้านทีมผู้บริหารไปจัดทำแผนใหม่ตามที่กล่าวมาทั้งหมดให้เสร็จภายใน 1 เดือนนับจากนี้ แล้วมารายงานที่ประชุมบอร์ดในครั้งหน้า รวมถึง แผนเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ “ซูเปอร์ อีลิท” ที่มีลูกค้าเป้าหมาย เป็นนักลงทุนชั้นนำที่ทั่วโลกให้การยอมรับและพร้อมที่จะลงทุนในประเทศไทย ลูกค้ากลุ่มนี้ บางคนทีพีซีอาจต้องทำหนังสือเชิญให้เข้าเป็นสมาชิก
นอกจากนั้น ทีพีซี จะต้องจัดกิจกรรม นัดพบปะแบบเอ็กซ์คลูซีพ โดยให้นักลงทุนกลุ่มนี้ ได้พบกับนักธุรกิจชั้นนำของไทย เช่น เจ้าสัวเจริญ วัฒนศิริธรรม หรือ นายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของกลุ่มบริษัท ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการร่วมลงทุนในประเทศไทย ส่วนเรื่องการหารรายได้พิเศษ เช่น การให้บริการแก่ผู้ที่ได้ไม่เป็นสมาชิก แต่เป็นเพื่อนหรือคนรู้จักที่สมาชิกอีลิทการ์ดพามา หรือแนะนำมาให้เขาได้ทดลองใช้บริการ โดยบริษัทจะคิดอัตราค่าบริการเป็นครั้งๆ ไป ทีพีซีก็จะมีรายได้จากตรงนี้เพิ่มขึ้นมา
นายสรจักร เกษมสุวรรณ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด จำกัด หรือ ทีพีซี ผู้ดำเนินโครงการ อีลิท การ์ด เปิดเผยว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการ และคณะผู้บริหาร ทีพีซี เห็นตรงกันว่า ควรปรับแผน ทีพีซีอีกครั้ง โดยปรับลดเป้าหมายขายบัตรสมาชิกอีลิทการ์ด ในปีนี้ลงประมาณ 50% คือ จากที่ตั้งไว้ว่าทั้งปีจะขายได้ 800 ใบ ให้ลดเหลือประมาณ 400-500 ใบ
นอกจากนั้น ยังให้คณะผู้บริหารของ ทีพีซี ไปคิดแผนการหารายได้เพิ่มจากธุรกิจอื่นๆ เพื่อ บริษัทจะได้ไม่ต้องปรับลดเป้าหมายรายได้ที่ตั้งไว้ว่าจะได้จากการขายบัตร 1,200 ล้านบาท พลาดเป้าหมายเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับเป้าหมายว่าจะมีสมาชิกเป็น 20,000 ใบ ภายใน 3 ปีข้างหน้า ยังให้คงไว้ ซึ่งปัจจุบัน อีลิทการ์ด มีสมาชิกผู้ถือบัตรอยู่แล้วประมาณ 2,000 ใบ
สาเหตุที่ปรับลดยอดขายในปีนี้ เพราะ 4 เดือนที่ผ่านมา ทีพีซี มียอดขายบัตรเพียง 16 ใบ เนื่องจากลูกค้าเกิดความไม่เชื่อมั่นว่า ทีพีซี จะถูกปิดกิจการหรือไม่ และ ราคาบัตร ที่ปรับจาก ใบละ 1 ล้านบาท เป็น 1.5 ล้านบาท แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น เท่ากับราคาบัตรได้ปรับขึ้นอีกเกือบ 1 เท่าตัว และการปรับลดสิทธิประโยชน์.
ดังนั้น จึงต้องการให้ ทีพีซี เร่งดำเนินการปรับภาพลักษณ์องค์กร ให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งในต่างประเทศ และ กลุ่มคนไทยภายในประเทศ โดยตลาดต่างประเทศต้องการให้เขาเกิดความเชื่อมั่นในองค์กรของอีลิทการ์ด เชื่อมั่นในนโยบายของภาครัฐ ที่จะให้องค์กรนี้ดำเนินธุรกิจไปอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมา จะมีข่าวออกไปตลอดว่า บริษัท ทีพีซี จะถูกยุบหรือปิดกิจการ ทำให้ผู้ที่สนใจจะเป็นสมาชิก แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงที่จะซื้อ ขณะที่คนไทย ก็ต้องสร้างการรับรู้ว่า สมาชิกอีลิทการ์ด จะเป็นนักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ และ เป็นนักลงทุน ที่จะนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ช่วยฟื้นเศรษฐกิจชาติ
“เมื่อขายไม่ได้เราก็ต้องยอมรับความจริง แล้วหันมาอุดช่องโหว่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ยอมรับว่าอีลิทการ์ดใช้เวลาในการก่อตั้งบริษัท และศึกษาแผนการทำงานเร็วไปหน่อย เป็นการคิดงานแบบเร่งด่วน ทำให้ที่ผ่านมา ผู้บริหารต้องใช้เวลา 60-70% กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น การทำงานจึงไม่ได้ตามเป้าหมายเสียที วันนี้เราจึงยอมที่จะเสียเวลาปรับแผนอีกครั้ง ชะลอยอดขายไว้ก่อน แล้วหันมาบูรณาการองค์กร สร้างภาพลักษณ์ที่ดี แล้วจากนั้นเชื่อว่า ยอดขายก็จะตามมา เพราะอีลิทการ์ด เป็นแนวคิดที่ดี หากเราทำได้จริง ซึ่งผู้ที่เป็นสมาชิกแล้ว อย่าง อลัน ซีแมน ประธาน เจ้าของ โอเชียนพาร์ด ที่เกาะฮ่องกง นักธุรกิจชั้นแนวหน้า ยังให้การยอมรับ และเขาก็เป็นสมาชิกอีลิทด้วย”
อย่างไรก็ตาม ได้ให้การบ้านทีมผู้บริหารไปจัดทำแผนใหม่ตามที่กล่าวมาทั้งหมดให้เสร็จภายใน 1 เดือนนับจากนี้ แล้วมารายงานที่ประชุมบอร์ดในครั้งหน้า รวมถึง แผนเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ “ซูเปอร์ อีลิท” ที่มีลูกค้าเป้าหมาย เป็นนักลงทุนชั้นนำที่ทั่วโลกให้การยอมรับและพร้อมที่จะลงทุนในประเทศไทย ลูกค้ากลุ่มนี้ บางคนทีพีซีอาจต้องทำหนังสือเชิญให้เข้าเป็นสมาชิก
นอกจากนั้น ทีพีซี จะต้องจัดกิจกรรม นัดพบปะแบบเอ็กซ์คลูซีพ โดยให้นักลงทุนกลุ่มนี้ ได้พบกับนักธุรกิจชั้นนำของไทย เช่น เจ้าสัวเจริญ วัฒนศิริธรรม หรือ นายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าของกลุ่มบริษัท ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการร่วมลงทุนในประเทศไทย ส่วนเรื่องการหารรายได้พิเศษ เช่น การให้บริการแก่ผู้ที่ได้ไม่เป็นสมาชิก แต่เป็นเพื่อนหรือคนรู้จักที่สมาชิกอีลิทการ์ดพามา หรือแนะนำมาให้เขาได้ทดลองใช้บริการ โดยบริษัทจะคิดอัตราค่าบริการเป็นครั้งๆ ไป ทีพีซีก็จะมีรายได้จากตรงนี้เพิ่มขึ้นมา