บอร์ด กนง.มีมติคงดอกเบี้ย อาร์/พี 1 วันไว้ที่ 3.25% เนื่อจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง การชะลอตัวของศก.มีความเสี่ยงเท่ากับเงินเฟ้อ พร้อมยืนยัน ไม่กระทบเงินทุนไหลเข้า เพราะดบ.ไทยยังต่ำกว่าภูมิภาค
วันนี (9 เม.ย. ) มีรายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (บอร์ด กนง.) มีการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยที่ประชุมฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เนื่องจากมีความเสี่ยงเรื่องอัตราเงินเฟ้อของไตรมาส 1 ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจก็มีน้ำหนักเท่ากับความเสี่ยงของเงินเฟ้อ จึงให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ แต่เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะยังเอื้อให้เศรษฐกิจขยายตัวในระยะต่อไปได้
ส่วนอัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีหลัง บอร์ด กนง.คาดว่าจะเริ่มชะลอลง เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับขึ้นมาในระดับสูงน่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตาม สัญญาณของเงินเฟ้อ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คงยังต้องจับตาดูต่อไป
ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไป กนง.จะต้องดูทั้งเรื่องการบริโภคภาคเอกชนและการขยายตัวของการส่งออกว่ามีแนวโน้มที่ลดลงหรือไม่ รวมถึงเงินเฟ้อจะยังเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ อุปสงค์ในประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ในขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐเป็นไปตามเป้า และการส่งออกยังขยายตัวดี แต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงอาจมีผลต่อการขยายตัวของการส่งออกในระยะต่อไป
ขณะที่ความเสี่ยงด้านราคาเพิ่มสูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสแรกเร่งตัวชัดเจน ทั้งจากราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก รวมทั้งการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าในประเทศมีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม บอร์ด กนง.ประเมินว่า แรงกดดันเหล่านี้จะเริ่มผ่อนคลายลงในช่วงหลังของปี ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในช่วงที่ผ่านมา และแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากนโยบายการคลัง
อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงทั้งด้านเงินเฟ้อ และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไป เชื่อว่าจะมีมากขึ้น ธปท.จึงจำเป็นต้องติดตามประเด็นทั้งสองอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเด็นที่อัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐ มีส่วนต่างกันสูงถึง 1% เชื่อว่าไม่น่าจะมีผลทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้าประเทศไทยจนน่าเป็นห่วง เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดในภูมิภาค
ดังนั้น การที่นักลงทุนจะเข้ามาเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยน่าจะไปลงทุนในประเทศอื่นจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในประเทศไทย โดยล่าสุดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงของไทยหลังหักอัตราเงินเฟ้อแล้วติดลบ 0.15% ในขณะที่ประเทศ