นักวิชาการ “นิด้า” ชี้ไทยอาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น หากธนาคารกลางสหรัฐ ลดดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมวันที่ 18 มี.ค.นี้ ชี้ธุรกิจอสังหาฯ จะได้รับประโยชน์มากที่สุดเมื่อรวม 3 ปัจจัย ทั้งลดดอกเบี้ย มาตรการภาษี และโครงการรถไฟฟ้า
วันนี้ (17 มี.ค.) นายกำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง คณะบริหารธุรกิจ นิด้า คาดว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.50% แต่หากเฟดลดดอกเบี้ยลงแรงกว่าที่ตลาดคาดไว้ จะมีผลบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว จะต้องดูผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อด้วย เนื่องจากเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่สำคัญ และถูกติดตามอย่างใกล้ชิดจากธนาคารกลางในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ จีน รัสเซีย อังกฤษ รวมถึงไทย
นายกำพล กล่าวว่า สำหรับผลกระทบที่จะต่อเนื่องมายังตลาดเงินตลาดทุนของไทยคือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของไทย น่าจะต้องปรับลดลง และตลาดหุ้นน่าจะได้รับผลทางบวกในระยะสั้นเช่นกัน โดยธุรกิจที่จะได้รับผลดีอย่างชัดเจน คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนอกจากเรื่องดอกเบี้ยแล้ว
ยังได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลทางด้านภาษีที่เพิ่งประกาศออกมา และความชัดเจนเรื่องของโครงการลงทุนในรถไฟฟ้าสายต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐลดดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยิ่งอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ รวมถึงเงินบาท ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจะต้องหาทางรับมือในเรื่องนี้
“ตอนนี้สหรัฐฯมีเครื่องมือไม่มากนักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หากลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้แล้วยังไม่ได้ผลก็คงลำบาก เพราะถ้าจะลดดอกเบี้ยลงไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องเงินเฟ้อ ยิ่งในภาวะที่ราคาน้ำมันแพงเช่นปัจจุบันนี้ ก็ยิ่งทำให้การแก้ปัญหายากยิ่งขึ้น” นายกำพล กล่าวสรุปทิ้งท้าย
วันนี้ (17 มี.ค.) นายกำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง คณะบริหารธุรกิจ นิด้า คาดว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.50% แต่หากเฟดลดดอกเบี้ยลงแรงกว่าที่ตลาดคาดไว้ จะมีผลบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว จะต้องดูผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อด้วย เนื่องจากเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่สำคัญ และถูกติดตามอย่างใกล้ชิดจากธนาคารกลางในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ จีน รัสเซีย อังกฤษ รวมถึงไทย
นายกำพล กล่าวว่า สำหรับผลกระทบที่จะต่อเนื่องมายังตลาดเงินตลาดทุนของไทยคือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของไทย น่าจะต้องปรับลดลง และตลาดหุ้นน่าจะได้รับผลทางบวกในระยะสั้นเช่นกัน โดยธุรกิจที่จะได้รับผลดีอย่างชัดเจน คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนอกจากเรื่องดอกเบี้ยแล้ว
ยังได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลทางด้านภาษีที่เพิ่งประกาศออกมา และความชัดเจนเรื่องของโครงการลงทุนในรถไฟฟ้าสายต่างๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐลดดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยิ่งอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ รวมถึงเงินบาท ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจะต้องหาทางรับมือในเรื่องนี้
“ตอนนี้สหรัฐฯมีเครื่องมือไม่มากนักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หากลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้แล้วยังไม่ได้ผลก็คงลำบาก เพราะถ้าจะลดดอกเบี้ยลงไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องเงินเฟ้อ ยิ่งในภาวะที่ราคาน้ำมันแพงเช่นปัจจุบันนี้ ก็ยิ่งทำให้การแก้ปัญหายากยิ่งขึ้น” นายกำพล กล่าวสรุปทิ้งท้าย