ธปท.ชี้แม้เงินเฟ้อพุ่งก็ไม่กระทบที่คาดการณ์ไว้แล้วจากสมมติฐานราคาน้ำมัน มั่นใจเศรษฐกิจไทยยังโตได้ตามเป้าหมายเดิม 6% ส่วนกรณีที่นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยถึง 0.75% ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ มั่นใจส่วนต่างดอกเบี้ยและบาทแข็งไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก เพราะยังมีการลงทุนหลากหลายประเภทที่ไม่พึ่งพาดอกเบี้ยอย่างเดียว แต่จะติดตามสถานการณ์ต่อไปและดูแลไม่ให้กระทบเงินเฟ้อและการเติบโตเศรษฐกิจไทย
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่ระดับ 5.4% ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นผลจากราคาน้ำมันและอาหารเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลัก โดยในตามแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค(Fan Chart)ของธปท.ได้ประเมินไว้ว่าราคาน้ำมันจะค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากไม่มีต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้น (Cost Push) ก็ย่อมไม่เกิดการจับจ่ายใช้สอยเริ่มขึ้น(Demand Pull) ดังนั้น ในอนาคตอัตราเงินเฟ้อจะลดลงหรือไม่นั้นก็ต้องติดตามดูต่อไป แต่ก็เชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อไปได้ในอัตรา 4.5-6%
ทั้งนี้ จากรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุด ระบุว่า หากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 1% จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเท่ากัน คือ 0.04% และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยใน 1 ปี จะลดลง 0.35% ส่วนผลกระทบของราคาน้ำมันดูไบหากเพิ่มขึ้น 1% จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยใน 1 ปี 0.01% 0.04% และลดลง 0.03% ตามลำดับ
โดยภายใต้สมมติฐานที่ว่าราคาน้ำมันดูไบกรณีฐานจะแตะที่ระดับ 85-86 เหรียญต่อบาร์เรล หรือเฉลี่ยทั้งปี 85.5 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนกรณีสูงราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 104 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ หรือเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.3-2.3% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.8-4.0%
**กนง.จับตาเฟดลดดบ.18มี.ค.นี้**
ด้านน.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่นักวิเคราะห์สหรัฐมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจมีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยแตะที่ระดับ 2.25% ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 18 มี.ค.นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้ว่า การตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติในการนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศใดนั้นไม่ได้ดูเพียงผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินอย่างเดียวยังมีหลายปัจจัยให้ต้องพิจารณา
ขณะเดียวกันการลงทุนบางประเภทของนักลงทุนต่างชาติอย่างการส่งออกหรือการนำเข้าส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องผลตอบแทนที่ได้รับจากอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ รวมถึงปัจจัยในประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็นสำคัญ
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่ระดับ 5.4% ในเดือนกุมภาพันธ์นั้น เป็นผลจากราคาน้ำมันและอาหารเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลัก โดยในตามแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค(Fan Chart)ของธปท.ได้ประเมินไว้ว่าราคาน้ำมันจะค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากไม่มีต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้น (Cost Push) ก็ย่อมไม่เกิดการจับจ่ายใช้สอยเริ่มขึ้น(Demand Pull) ดังนั้น ในอนาคตอัตราเงินเฟ้อจะลดลงหรือไม่นั้นก็ต้องติดตามดูต่อไป แต่ก็เชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อไปได้ในอัตรา 4.5-6%
ทั้งนี้ จากรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุด ระบุว่า หากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 1% จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเท่ากัน คือ 0.04% และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยใน 1 ปี จะลดลง 0.35% ส่วนผลกระทบของราคาน้ำมันดูไบหากเพิ่มขึ้น 1% จะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยใน 1 ปี 0.01% 0.04% และลดลง 0.03% ตามลำดับ
โดยภายใต้สมมติฐานที่ว่าราคาน้ำมันดูไบกรณีฐานจะแตะที่ระดับ 85-86 เหรียญต่อบาร์เรล หรือเฉลี่ยทั้งปี 85.5 เหรียญต่อบาร์เรล ส่วนกรณีสูงราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 104 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ หรือเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 1.3-2.3% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.8-4.0%
**กนง.จับตาเฟดลดดบ.18มี.ค.นี้**
ด้านน.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่นักวิเคราะห์สหรัฐมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจมีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยแตะที่ระดับ 2.25% ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 18 มี.ค.นี้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้ว่า การตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติในการนำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศใดนั้นไม่ได้ดูเพียงผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยและค่าเงินอย่างเดียวยังมีหลายปัจจัยให้ต้องพิจารณา
ขณะเดียวกันการลงทุนบางประเภทของนักลงทุนต่างชาติอย่างการส่งออกหรือการนำเข้าส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องผลตอบแทนที่ได้รับจากอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ รวมถึงปัจจัยในประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็นสำคัญ