รมช.เกษตรฯ เตือนภาวะโรค “PED” ส่งผลลูกสุกรหายจากท้องตลาด 6-8 แสนตัว ช่วง 3-4 เดือนข้างหน้า พร้อมช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องราคาวัตถุดิบ เพิ่มปริมาณเลี้ยงให้สมดุล ด้านนายกฯ สมาคมหมู เตรียมยื่นร้องบรรเทาผลกระทบจากมาตรการตรึงราคาเนื้อหมูที่ 98 บาท/กก. วอนเจียดภาษีกากถั่วเหลืองกว่า 1 พันล้านช่วย
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณความต้องการและปริมาณผลผลิตสุกรค่อนข้างไม่สมดุลกันเนื่องจากเกิดภาวะโรค PED (Porcine Epidemic Diarrhea) ที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตสุกรและจะส่งผลให้ลูกสุกรจำนวน 6-8 แสนตัวหายไปจากท้องตลาดในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า อย่างแน่นอน
นายสมพัฒน์ กล่าวต่อว่า แม้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาทางแก้ปัญหา แต่ต้องยอมรับว่า โรค PED ที่เกิดจากเชื้อไวรัสประเภท Coronavirus ยังไม่สามารถรักษาให้หมดไปได้ในขณะนี้ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องหันไปให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในเรื่องอื่นๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเช่นกัน อาทิ การดูแลในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะถูกนำไปทำพลังงานทดแทน หรือเพิ่มปริมาณการเลี้ยงสุกรให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ที่ระดับ 16 ล้านตัวต่อปี และดูแลไม่ให้ราคาเนื้อสุกรมีความผันผวนมากไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
“ในส่วนของการดูแลราคาหมู จะมีการดูแลทั้งราคาขาย และต้นทุนการผลิตให้เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายทั้งในส่วนของผู้เลี้ยง และผู้บริโภค โดยปริมาณหมูขุนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในประเทศไทยอยู่ที่ 16 ล้านตัวต่อปี ปัจจุบันนี้ก็มีอยู่ที่ 15-16 ล้านตัวต่อปี เพราะฉะนั้นทางกระทรวงเกษตรฯจะพยายามควบคุมให้ปริมาณดังกล่าวคงที่”
ด้านนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า เกษตรกรอย่าตื่นตระหนกกับมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์ขอตรึงราคาหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 58-60 บาท เป็นเวลา 2 เดือน และแนะนำให้เกษตรกรสามารถขายได้ในราคาหน้าฟาร์มเดิม โดยให้ผู้เลี้ยงคำนึงถึงสิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่ได้ซึ่งคือการรวมตัวกัน โดยส่วนตัวคิดว่าการจะแก้ปัญหาราคาสุกร รัฐต้องเข้าไปควบคุมดูแลในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างครบวงจร ทั้งนี้รวมถึงราคาปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ และขณะนี้ได้ทำหนังสือเกี่ยวกับผลกระทบจากการประกาศราคาขายที่ 98 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะมีการยื่นต่อรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันพรุ่งนี้ (6 มี.ค.2551)
“เรื่องราคาสุกรควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด ซึ่งภาครัฐจะนำเงินส่วนไหนออกมาสนับสนุนช่วยเหลือนั่นเป็นเรื่องที่ทางภาครัฐจะต้องนำไปพิจารณา โดยได้แนะนำให้นำงบประมาณจากภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองซึ่งมีอยู่ถึง 1 พันกว่าล้านบาทมาใช้ในการสนับสนุน ซึ่งท่านก็ได้รับปากว่าจะนำในพิจารณา”ด้านนายสุรชัย
ทั้งนี้ได้นายกฯ หมูได้กล่าวทิ้งท้ายขอบคุณคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติเรื่องการลดภาษีสินค้าเกษตรจากการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเกษตรกร.
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณความต้องการและปริมาณผลผลิตสุกรค่อนข้างไม่สมดุลกันเนื่องจากเกิดภาวะโรค PED (Porcine Epidemic Diarrhea) ที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านได้สร้างความเสียหายต่อผลผลิตสุกรและจะส่งผลให้ลูกสุกรจำนวน 6-8 แสนตัวหายไปจากท้องตลาดในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า อย่างแน่นอน
นายสมพัฒน์ กล่าวต่อว่า แม้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาทางแก้ปัญหา แต่ต้องยอมรับว่า โรค PED ที่เกิดจากเชื้อไวรัสประเภท Coronavirus ยังไม่สามารถรักษาให้หมดไปได้ในขณะนี้ ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องหันไปให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในเรื่องอื่นๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเช่นกัน อาทิ การดูแลในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะถูกนำไปทำพลังงานทดแทน หรือเพิ่มปริมาณการเลี้ยงสุกรให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ที่ระดับ 16 ล้านตัวต่อปี และดูแลไม่ให้ราคาเนื้อสุกรมีความผันผวนมากไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
“ในส่วนของการดูแลราคาหมู จะมีการดูแลทั้งราคาขาย และต้นทุนการผลิตให้เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายทั้งในส่วนของผู้เลี้ยง และผู้บริโภค โดยปริมาณหมูขุนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในประเทศไทยอยู่ที่ 16 ล้านตัวต่อปี ปัจจุบันนี้ก็มีอยู่ที่ 15-16 ล้านตัวต่อปี เพราะฉะนั้นทางกระทรวงเกษตรฯจะพยายามควบคุมให้ปริมาณดังกล่าวคงที่”
ด้านนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า เกษตรกรอย่าตื่นตระหนกกับมาตรการที่กระทรวงพาณิชย์ขอตรึงราคาหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 58-60 บาท เป็นเวลา 2 เดือน และแนะนำให้เกษตรกรสามารถขายได้ในราคาหน้าฟาร์มเดิม โดยให้ผู้เลี้ยงคำนึงถึงสิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่ได้ซึ่งคือการรวมตัวกัน โดยส่วนตัวคิดว่าการจะแก้ปัญหาราคาสุกร รัฐต้องเข้าไปควบคุมดูแลในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างครบวงจร ทั้งนี้รวมถึงราคาปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ และขณะนี้ได้ทำหนังสือเกี่ยวกับผลกระทบจากการประกาศราคาขายที่ 98 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะมีการยื่นต่อรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันพรุ่งนี้ (6 มี.ค.2551)
“เรื่องราคาสุกรควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด ซึ่งภาครัฐจะนำเงินส่วนไหนออกมาสนับสนุนช่วยเหลือนั่นเป็นเรื่องที่ทางภาครัฐจะต้องนำไปพิจารณา โดยได้แนะนำให้นำงบประมาณจากภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองซึ่งมีอยู่ถึง 1 พันกว่าล้านบาทมาใช้ในการสนับสนุน ซึ่งท่านก็ได้รับปากว่าจะนำในพิจารณา”ด้านนายสุรชัย
ทั้งนี้ได้นายกฯ หมูได้กล่าวทิ้งท้ายขอบคุณคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติเรื่องการลดภาษีสินค้าเกษตรจากการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเกษตรกร.