ซิงเกอร์รื้อระบบปล่อยสินชื่อ ต้องเข้มงวด หวั่นหนี้สูญหลอกหลอนอีก ชูเครดิตคอนโทรลเลอร์ปีนี้ ลุยเต็มระบบ แบ่ง 3 เฟส พร้อมเพิ่มพนักงานขายอีก 5,000 คน ลุยแต่งตั้งตัวแทนแบบยูอาร์ อีก 1,000 แห่ง มั่นใจปีนี้เป็นปีพลิกผันฟื้นตัวแน่นอน
นายบุญยง ตันสกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดีในขณะนี้ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้ทางซิงเกอร์ต้องเข้มงวดในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาซิงเกอร์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการทำตลาดจักรยานยนต์ ซึ่งปรากฏว่าเกิดหนี้สูญอย่างมาก
ดังนั้น ซิงเกอร์ จึงได้เริ่มใช้ระบบเครดิตคอนโทรลเลอร์มาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว โดยได้ตั้งศูนย์อนุมัติสินเชื่อตามภาคต่างๆ 10 เขตพื้นที่การขายของบริษัท ซึ่งศูนย์นี้จะเป็นผู้อนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า จากเดิมที่พนักงานขายสามารถอนุมัติเองและเก็บเงินเองได้ พร้อมกับการแยกทีมพนักงานขายกับทีมเก็บเงินคนละทีมออกจากกัน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้คัดทิ้งผู้ยื่นขออนุมัติสินเชื่อไปกว่า 20% จากจำนวนลูกค้าทั้งหมด
โดยที่ผ่านมาได้เริ่มทำมาแล้ว แต่ปีนี้จะเป็นปีที่ชัดเจนและสมบูรณ์แบบมากขึ้น ซึ่งแผนการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 3 เฟส เฟสที่ 1 ทำกับกลุ่มเกรดซีก่อน ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งเป็นร้านค้าประเภทที่มีสินค้าคืนมากและเก็บเงินได้ต่ำกว่าปกติมีประมาณ 30% ของร้านค้าทั้งหมด ซึ่งบริษัทจะต้องตรวจสอบเข้ม 100% ก่อนที่จะต่อด้วยเฟสที่ 2 กับกลุ่มเกรดบี ซึ่งมีร้านค้าประมาณ 60% ที่เก็บเงินได้ไม่ตามเป้าหมายโดยบริษัทจะใช้การสุ่มตัวอย่างประมาณ 20% ถ้าพบว่าลูกค้ามีปัญหามากก็จะยกเลิกไป และตามด้วยเกรดเอเป็นเฟสสุดท้าย ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีปัญหาน้อยที่สุดมีประมาณ 10% ของจำนวนร้านค้าทั้งหมด ซึ่งกลุ่มนี้จะบริหารอิสระและเก็บเงินได้เกือบครบ 100%
ปัจจุบันซิงเกอร์มีพนักงานขายกว่า 5,000 คน ซึ่งกระจายอยู่ตามสาขาร้านซิงเกอร์กว่า 200 แห่ง โดยที่ปีนี้ยังไม่มีแผนที่จะเปิดร้านซิงเกอร์เพิ่มแต่อย่างใด แต่จะมีการเพิ่มพนักงานขายอีกเท่าตัว คือ 5,000 คน รวมเป็น 10,000 คนในสิ้นปีนี้ ซึ่งซิงเกอร์มีพนักงาน 2 แบบ คือ 1.พนักงานเต็มเวลา หรือ Sale Agent ทำงานเต็มเวลา มีกว่า 4,000 คน และ 2.ตัวแทนขายหรือ Sale Representative จำนวนกว่า 1,000 คน
นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและการตลาดอีก ในรูปแบบใหม่ๆ โดยมีแผนที่จะตั้งช่องทางจำหน่ายอีกกลุ่มคือ ยูนิต รีพรีเซนเททีฟ (Unit Reprensensative) เน้นไปในพื้นที่ที่ห่างไกล และเป็นร้านย่อยๆ โดยที่ร้านค้านั้นต้องเป็นลูกค้าของซิงเกอร์อยู่แล้ว เพราะจะเข้าใจระบบของซิงเกอร์เป็นอย่างดี ซึ่งซิงเกอร์จะแต่งตั้ง ยูอาร์/UR นี้ประมาณ 1,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มปีนี้เป็นปีแรก
“การทำงานของ ยูอาร์ นี้ เหมือนกับแบงก์ที่เปิดสำนักงานย่อยๆ ตามแหล่งชุมชนต่างๆ หรือในศูนย์การค้าเวลานี้ที่มีมากมาย เพื่อเป็นการเข้าหาลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น” นายบุญยงกล่าว
ส่วนร้านค้าที่เป็นรูปแบบขายสินค้ามือสองที่ชื่อ สมาร์ทซีเล็ค นั้น หลังจากที่ได้มีการปรับระบบกันใหม่ ล่าสุด ได้เปิดสาขาแรกของสมาร์ทซีเล็คไปแล้วที่ตลาดยิ่งเจริญ ซึ่งจะเป็นร้านจำหน่ายสินค้ามือสองที่มีคุณภาพของซิงเกอร์และมีแบรนด์อื่นบ้าง ซึ่งปีนี้ก็มีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยพิจารณาทำเลและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
สำหรับผลประกอบการของ บมจ.ซิงเกอร์ ช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2550 มีตัวเลขขาดทุน 418 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2549 ที่ขาดทุน 1,010 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมมีประมาณ 1,983 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่มี 2,919 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมทั้งปี 2549 อยู่ที่ 3,813 ล้านบาท
“ผมคิดว่า ปี 2551 นี้ จะเป็นปีที่สำคัญและเป็นปีที่พลิกผันของซิงเกอร์อีกครั้ง หลังจากที่เรามีการปรับตัวปรับระบบใหม่มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และปีนี้ก็มีความเข้มงวดในการปล่อยเครดิตมากขึ้น รวมทั้งระบบใหม่ๆ ที่จะเริ่มอีกในปีนี้” นายบุญยง กล่าว
ปัจจุบันซิงเกอร์มียอดขายที่มาจากสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่า 80% และอีก 20% เป็นสินค้ากลุ่มอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ มอเตอร์ไซค์ เป็นต้น โดยมีจำนวนลูกค้ากว่า 250,000 บัญชี โดยสินค้าที่ขายดีมากที่สุดเรียงลำดับดังนี้ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ทีวี จักรเย็บผ้า
นายบุญยง ตันสกุล กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดีในขณะนี้ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้ทางซิงเกอร์ต้องเข้มงวดในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาซิงเกอร์ต้องประสบกับภาวะขาดทุน ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการทำตลาดจักรยานยนต์ ซึ่งปรากฏว่าเกิดหนี้สูญอย่างมาก
ดังนั้น ซิงเกอร์ จึงได้เริ่มใช้ระบบเครดิตคอนโทรลเลอร์มาตั้งแต่ช่วงปีที่แล้ว โดยได้ตั้งศูนย์อนุมัติสินเชื่อตามภาคต่างๆ 10 เขตพื้นที่การขายของบริษัท ซึ่งศูนย์นี้จะเป็นผู้อนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า จากเดิมที่พนักงานขายสามารถอนุมัติเองและเก็บเงินเองได้ พร้อมกับการแยกทีมพนักงานขายกับทีมเก็บเงินคนละทีมออกจากกัน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้คัดทิ้งผู้ยื่นขออนุมัติสินเชื่อไปกว่า 20% จากจำนวนลูกค้าทั้งหมด
โดยที่ผ่านมาได้เริ่มทำมาแล้ว แต่ปีนี้จะเป็นปีที่ชัดเจนและสมบูรณ์แบบมากขึ้น ซึ่งแผนการดำเนินงานจะแบ่งเป็น 3 เฟส เฟสที่ 1 ทำกับกลุ่มเกรดซีก่อน ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งเป็นร้านค้าประเภทที่มีสินค้าคืนมากและเก็บเงินได้ต่ำกว่าปกติมีประมาณ 30% ของร้านค้าทั้งหมด ซึ่งบริษัทจะต้องตรวจสอบเข้ม 100% ก่อนที่จะต่อด้วยเฟสที่ 2 กับกลุ่มเกรดบี ซึ่งมีร้านค้าประมาณ 60% ที่เก็บเงินได้ไม่ตามเป้าหมายโดยบริษัทจะใช้การสุ่มตัวอย่างประมาณ 20% ถ้าพบว่าลูกค้ามีปัญหามากก็จะยกเลิกไป และตามด้วยเกรดเอเป็นเฟสสุดท้าย ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีปัญหาน้อยที่สุดมีประมาณ 10% ของจำนวนร้านค้าทั้งหมด ซึ่งกลุ่มนี้จะบริหารอิสระและเก็บเงินได้เกือบครบ 100%
ปัจจุบันซิงเกอร์มีพนักงานขายกว่า 5,000 คน ซึ่งกระจายอยู่ตามสาขาร้านซิงเกอร์กว่า 200 แห่ง โดยที่ปีนี้ยังไม่มีแผนที่จะเปิดร้านซิงเกอร์เพิ่มแต่อย่างใด แต่จะมีการเพิ่มพนักงานขายอีกเท่าตัว คือ 5,000 คน รวมเป็น 10,000 คนในสิ้นปีนี้ ซึ่งซิงเกอร์มีพนักงาน 2 แบบ คือ 1.พนักงานเต็มเวลา หรือ Sale Agent ทำงานเต็มเวลา มีกว่า 4,000 คน และ 2.ตัวแทนขายหรือ Sale Representative จำนวนกว่า 1,000 คน
นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและการตลาดอีก ในรูปแบบใหม่ๆ โดยมีแผนที่จะตั้งช่องทางจำหน่ายอีกกลุ่มคือ ยูนิต รีพรีเซนเททีฟ (Unit Reprensensative) เน้นไปในพื้นที่ที่ห่างไกล และเป็นร้านย่อยๆ โดยที่ร้านค้านั้นต้องเป็นลูกค้าของซิงเกอร์อยู่แล้ว เพราะจะเข้าใจระบบของซิงเกอร์เป็นอย่างดี ซึ่งซิงเกอร์จะแต่งตั้ง ยูอาร์/UR นี้ประมาณ 1,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มปีนี้เป็นปีแรก
“การทำงานของ ยูอาร์ นี้ เหมือนกับแบงก์ที่เปิดสำนักงานย่อยๆ ตามแหล่งชุมชนต่างๆ หรือในศูนย์การค้าเวลานี้ที่มีมากมาย เพื่อเป็นการเข้าหาลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น” นายบุญยงกล่าว
ส่วนร้านค้าที่เป็นรูปแบบขายสินค้ามือสองที่ชื่อ สมาร์ทซีเล็ค นั้น หลังจากที่ได้มีการปรับระบบกันใหม่ ล่าสุด ได้เปิดสาขาแรกของสมาร์ทซีเล็คไปแล้วที่ตลาดยิ่งเจริญ ซึ่งจะเป็นร้านจำหน่ายสินค้ามือสองที่มีคุณภาพของซิงเกอร์และมีแบรนด์อื่นบ้าง ซึ่งปีนี้ก็มีแผนที่จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยพิจารณาทำเลและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
สำหรับผลประกอบการของ บมจ.ซิงเกอร์ ช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2550 มีตัวเลขขาดทุน 418 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2549 ที่ขาดทุน 1,010 ล้านบาท ส่วนรายได้รวมมีประมาณ 1,983 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่มี 2,919 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมทั้งปี 2549 อยู่ที่ 3,813 ล้านบาท
“ผมคิดว่า ปี 2551 นี้ จะเป็นปีที่สำคัญและเป็นปีที่พลิกผันของซิงเกอร์อีกครั้ง หลังจากที่เรามีการปรับตัวปรับระบบใหม่มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และปีนี้ก็มีความเข้มงวดในการปล่อยเครดิตมากขึ้น รวมทั้งระบบใหม่ๆ ที่จะเริ่มอีกในปีนี้” นายบุญยง กล่าว
ปัจจุบันซิงเกอร์มียอดขายที่มาจากสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่า 80% และอีก 20% เป็นสินค้ากลุ่มอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ มอเตอร์ไซค์ เป็นต้น โดยมีจำนวนลูกค้ากว่า 250,000 บัญชี โดยสินค้าที่ขายดีมากที่สุดเรียงลำดับดังนี้ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ทีวี จักรเย็บผ้า