“พาณิชย์” เสือปืนไวสนอง “มิ่งขวัญ” ประกาศคัดสินค้า 33 รายการ ตรึงราคาทันที ครอบคลุม ข้าวสาร นม น้ำมันพืช ก๊าซหุงต้ม ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ ขณะที่น้ำมันปาล์มบรรจุขนาดเล็ก 250 ซีซี อาศัยช่องโหว่ปรับราคาสูง
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการค้าภายใน ได้คัดเลือกสินค้าและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนจำนวน 33 รายการ จาก 200 รายการ ที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล เพื่อพิจารณาใช้มาตรการตรึงราคาสินค้า หรือปรับลดราคา ตามนโยบายของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี อาหารปรุงสำเร็จ เนื้อสุกร ผงซักฟอก แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ถ่านไฟฉาย เยื่อกระดาษ กระดาษเหนียว กระดาษทำลูกฟูก แบตเตอรี่ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ ก๊าซหุงต้ม ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแท่ง ปุ๋ย ยาป้องกันและปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมได้จัดทำบัญชีรายการสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการครองชีพแล้วกว่า 30 รายการ เพื่อนำเสนอให้ นายมิ่งขวัญ พิจารณาก่อนเรียกประชุมผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลการใช้มาตรการและขอความร่วมมือ คาดว่า นำเสนอได้ภายในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ การคัดเลือกสินค้าและบริการจะอยู่ภายใต้หลักการ ว่า เป็นสินค้าที่ประชาชนต้องการให้คงราคาและปรับลดราคามากที่สุด ส่วนแนวทางดำเนินการว่าจะปรับลดราคาได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุนของสินค้าแต่ละรายการว่าเป็นอย่างไร ใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ โครงสร้างของธุรกิจเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง ราคาตรงจุดไหนสูงเกินจริง ซึ่งจะมีการสรุปโครงสร้างของแต่ละรายการ และวิธีการในการปรับลดราคา และหากต้องขอให้ปรับลดราคา รัฐจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร เช่น สินค้าบางตัวต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าเป็นต้นทุนไปเกี่ยวข้องกับโครงสร้างภาษี หากภาษีนำเข้าสูง รัฐจะช่วยอะไรได้บ้าง เป็นเรื่องในระดับนโยบายที่จะต้องตัดสินใจ
“เท่าที่ดูมีสินค้าหลายรายการสามารถปรับลดราคาได้ทันที เช่น ค่ารักษาพยาบาล บางรายการสินค้าสามารถลดได้เมื่อเข้าไปทำให้อำนาจต่อรองบางส่วนของวงจรสินค้าทำงานตามกลไกตลาดแท้จริง ซึ่งยอมรับว่ามีบางรายการที่ใช้วิธีการบิดเบือนตลาดจากอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่า จนทำให้สินค้าขาดแคลนและต้นทุนผลิตมีราคาสูงขึ้น” นายยรรยง กล่าว
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีความพยายามสร้างความปั่นป่วนทำให้น้ำมันพืชขาดตลาด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มบรรจุขวดขนาด 250 ซีซี ที่จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มทำกำไรเนื่องจากขายได้ราคาสูงถึง 13-15 บาท ขณะที่ขนาดบรรจุขวด 1 ลิตร ขายได้ไม่เกินลิตรละ 47.50 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงไว้กับกรมการค้าภายใน และเก็งกำไรก่อนผลผลิตปาล์มดิบออกสู่ตลาดในเดือนมีนาคมนี้ และน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศตามโควตาจะเข้าไทยในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนายยรรยงได้สั่งการให้ติดตามพฤติกรรมดังกล่าวว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการหรือไม่ เพื่อดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายและประจานผู้ประกอบการกลุ่มนั้นต่อไป โดยผลการตรวจสอบราคาน้ำมันพืชและปริมาณความต้องการพบว่ามีความอ่อนตัวลง และบางห้างสรรพสินค้าเริ่มนำน้ำมันพืชตราสินค้าของตนเอง (เฮาส์แบรนด์) ออกวางจำหน่ายในราคาลิตรละ 47 บาท
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมการค้าภายใน ได้คัดเลือกสินค้าและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนจำนวน 33 รายการ จาก 200 รายการ ที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล เพื่อพิจารณาใช้มาตรการตรึงราคาสินค้า หรือปรับลดราคา ตามนโยบายของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย ข้าวสารบรรจุถุง ผลิตภัณฑ์นม น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งสาลี อาหารปรุงสำเร็จ เนื้อสุกร ผงซักฟอก แชมพู สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย ถ่านไฟฉาย เยื่อกระดาษ กระดาษเหนียว กระดาษทำลูกฟูก แบตเตอรี่ รถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุกเล็ก รถจักรยานยนต์ ก๊าซหุงต้ม ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแท่ง ปุ๋ย ยาป้องกันและปราบศัตรูพืช อาหารสัตว์ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน ค่าเช่าบ้าน และค่าโทรศัพท์มือถือ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมได้จัดทำบัญชีรายการสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการครองชีพแล้วกว่า 30 รายการ เพื่อนำเสนอให้ นายมิ่งขวัญ พิจารณาก่อนเรียกประชุมผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลการใช้มาตรการและขอความร่วมมือ คาดว่า นำเสนอได้ภายในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ การคัดเลือกสินค้าและบริการจะอยู่ภายใต้หลักการ ว่า เป็นสินค้าที่ประชาชนต้องการให้คงราคาและปรับลดราคามากที่สุด ส่วนแนวทางดำเนินการว่าจะปรับลดราคาได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุนของสินค้าแต่ละรายการว่าเป็นอย่างไร ใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ โครงสร้างของธุรกิจเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง ราคาตรงจุดไหนสูงเกินจริง ซึ่งจะมีการสรุปโครงสร้างของแต่ละรายการ และวิธีการในการปรับลดราคา และหากต้องขอให้ปรับลดราคา รัฐจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร เช่น สินค้าบางตัวต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าเป็นต้นทุนไปเกี่ยวข้องกับโครงสร้างภาษี หากภาษีนำเข้าสูง รัฐจะช่วยอะไรได้บ้าง เป็นเรื่องในระดับนโยบายที่จะต้องตัดสินใจ
“เท่าที่ดูมีสินค้าหลายรายการสามารถปรับลดราคาได้ทันที เช่น ค่ารักษาพยาบาล บางรายการสินค้าสามารถลดได้เมื่อเข้าไปทำให้อำนาจต่อรองบางส่วนของวงจรสินค้าทำงานตามกลไกตลาดแท้จริง ซึ่งยอมรับว่ามีบางรายการที่ใช้วิธีการบิดเบือนตลาดจากอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่า จนทำให้สินค้าขาดแคลนและต้นทุนผลิตมีราคาสูงขึ้น” นายยรรยง กล่าว
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีความพยายามสร้างความปั่นป่วนทำให้น้ำมันพืชขาดตลาด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มบรรจุขวดขนาด 250 ซีซี ที่จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มทำกำไรเนื่องจากขายได้ราคาสูงถึง 13-15 บาท ขณะที่ขนาดบรรจุขวด 1 ลิตร ขายได้ไม่เกินลิตรละ 47.50 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่ตกลงไว้กับกรมการค้าภายใน และเก็งกำไรก่อนผลผลิตปาล์มดิบออกสู่ตลาดในเดือนมีนาคมนี้ และน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศตามโควตาจะเข้าไทยในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนายยรรยงได้สั่งการให้ติดตามพฤติกรรมดังกล่าวว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการหรือไม่ เพื่อดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายและประจานผู้ประกอบการกลุ่มนั้นต่อไป โดยผลการตรวจสอบราคาน้ำมันพืชและปริมาณความต้องการพบว่ามีความอ่อนตัวลง และบางห้างสรรพสินค้าเริ่มนำน้ำมันพืชตราสินค้าของตนเอง (เฮาส์แบรนด์) ออกวางจำหน่ายในราคาลิตรละ 47 บาท