สพท. วางแผนโปรโมต โพสโปรดักชั่นเต็มสูบ ของบเพิ่ม ออกโรดโชว์มากขึ้น มั่นใจช่วยธุรกิจนี้เติบโตกว่า 100% ใน 3 ปีข้างหน้าหรือมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำงบประมาณประจำปี 2552 เพื่อยื่นเสนอต่อสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง โดยปีดังกล่าว เฉพาะในส่วนของกองกิจการภาพยนตร์ ได้ของบไปกว่า 6 ล้านบาท จากปี 2551 ที่กองกิจการภาพยนตร์ ได้รับจัดสรรงบประมาณราว 3.5 ล้านบาท โดยในส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เรื่องการโรดโชว์ที่เพิ่มจำนวนงานที่ไปร่วมออกโรดโชว์อย่างน้อย 4-5 งาน แบ่งเป็น งานด้านฟิล์มโลเกชั่นอีกอย่างน้อย 2 งาน และ งานด้านพี-โพสต์โปรดักชั่น อีก 2-3 งาน ซึ่งที่ผ่านมา กองกิจการภาพยนตร์ ยังไม่เคยเข้าร่วมโรดโชว์ในงาน พี -โพสต์ โปรดักชั่น มาก่อน
ทั้งนี้เพราะเห็นว่า ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ ที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศไทยได้ ไม่จำกัดเพียงแค่ การให้กองถ่ายทำภาพยนตร์เข้ามาใช้โลเกชั่นของประเทศในการถ่ายทำเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ พี - โพสต์โปรดักชั่น ที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะ เรื่องของโพสต์โปรดักชั่น ได้แก่ การตัดต่อภาพยนตร์ การใช้เทคนิคแสง สี เสียง เข้าไปในภาพยนตร์แต่ละฉาก โดยธุรกิจนี้ทำรายได้เข้าประเทศคาดว่าจะมากกว่าปีละ 5,000 ล้านบาท และเติบโตปีละ 5-10%
“เรามองว่า โพสต์โปรดักชั่นเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจการภาพยนตร์เช่นกันและยังไม่ถูกกระทบจากเหตุการณ์การประท้วงของผู้เขียนบทภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ที่ทำให้กองถ่ายทำภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด ชะลองานถ่ายทำด้วย อีกทั้งยังไม่กระทบกับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยลบที่ไม่สามารถควบคุมได้ในประเทศไทยด้วย เช่น ฤดูฝนที่ยาวนาน ปัจจัยลบด้านภัยก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ และการเมืองเป็นต้น เพราะเขาเพียงส่งฟิล์มที่ถ่ายทำเสร็จแล้ว มาตัดต่อ ใส่เทคนิคต่างๆ ในประเทศไทย ตรงนี้ก็เป็นอีกหนึ่งการลดความเสี่ยงและเพิ่มรายได้ของอุตสาหกรรมนี้”
อย่างไรก็ตาม ภาระหน้าที่ของ สพท. และกองกิจการภาพยนตร์ จะดูแลเฉพาะกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยและสามารถทำการตลาดได้ในส่วนของฟิล์มโลเกชั่น แต่ทั้งนี้ สพท. มองเห็นว่าธุรกิจโพสต์โปรดักชั่น ส่วนใหญ่ก็รับงานจากบริษัทภาพยนตร์ต่างประเทศ นำฟิล์มการถ่ายทำมาให้ตัดต่อและใส่เทคนิคต่างๆซึ่งก็เกี่ยวข้องกับกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าสมควรที่จะช่วยภาคเอกชนทำการตลาดต่างประเทศในส่วนนี้ด้วยเพื่อประกาศศักยภาพของประเทศไทยสำหรับธุรกิจบริการในด้านนี้
โดยงานโพสต์โปรดักชั่นที่จะเข้าร่วมงานในปีหน้า ได้แก่ งาน NAP ที่เมืองลาสเวกัส โดยจะนำภาคเอกชนไทย ที่ให้บริการด้านนี้ ออกเดินสายร่วมโรดโชว์ด้วย สำหรับปีนี้ ทางกองกิจการภาพยนตร์ จะเข้าไปร่วมงานเพื่อดูรูปแบบงานไว้สำหรับเตรียมตัวก่อน ทั้งนี้ สพท.คาดหวังว่า เมื่อบุกตลาดโพสต์โปรดักชั่นจริงจัง จะทำให้ธุรกิจนี้เติบโตได้ 100% ภายใน 3-5 ปี จากนี้ไป หรือ มีมูลค่าต่อปีมากกว่า 10,000 ล้านบาท และเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจ กองกิจการภาพยนตร์จะจัดเตรียมโครงการฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศให้แก่ภาคเอกชนที่สนใจด้วย เพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆนำมาปรับใช้
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำงบประมาณประจำปี 2552 เพื่อยื่นเสนอต่อสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง โดยปีดังกล่าว เฉพาะในส่วนของกองกิจการภาพยนตร์ ได้ของบไปกว่า 6 ล้านบาท จากปี 2551 ที่กองกิจการภาพยนตร์ ได้รับจัดสรรงบประมาณราว 3.5 ล้านบาท โดยในส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เรื่องการโรดโชว์ที่เพิ่มจำนวนงานที่ไปร่วมออกโรดโชว์อย่างน้อย 4-5 งาน แบ่งเป็น งานด้านฟิล์มโลเกชั่นอีกอย่างน้อย 2 งาน และ งานด้านพี-โพสต์โปรดักชั่น อีก 2-3 งาน ซึ่งที่ผ่านมา กองกิจการภาพยนตร์ ยังไม่เคยเข้าร่วมโรดโชว์ในงาน พี -โพสต์ โปรดักชั่น มาก่อน
ทั้งนี้เพราะเห็นว่า ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ ที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศไทยได้ ไม่จำกัดเพียงแค่ การให้กองถ่ายทำภาพยนตร์เข้ามาใช้โลเกชั่นของประเทศในการถ่ายทำเท่านั้น แต่ยังมีธุรกิจ พี - โพสต์โปรดักชั่น ที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะ เรื่องของโพสต์โปรดักชั่น ได้แก่ การตัดต่อภาพยนตร์ การใช้เทคนิคแสง สี เสียง เข้าไปในภาพยนตร์แต่ละฉาก โดยธุรกิจนี้ทำรายได้เข้าประเทศคาดว่าจะมากกว่าปีละ 5,000 ล้านบาท และเติบโตปีละ 5-10%
“เรามองว่า โพสต์โปรดักชั่นเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับกิจการภาพยนตร์เช่นกันและยังไม่ถูกกระทบจากเหตุการณ์การประท้วงของผู้เขียนบทภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ด ที่ทำให้กองถ่ายทำภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด ชะลองานถ่ายทำด้วย อีกทั้งยังไม่กระทบกับเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยลบที่ไม่สามารถควบคุมได้ในประเทศไทยด้วย เช่น ฤดูฝนที่ยาวนาน ปัจจัยลบด้านภัยก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ และการเมืองเป็นต้น เพราะเขาเพียงส่งฟิล์มที่ถ่ายทำเสร็จแล้ว มาตัดต่อ ใส่เทคนิคต่างๆ ในประเทศไทย ตรงนี้ก็เป็นอีกหนึ่งการลดความเสี่ยงและเพิ่มรายได้ของอุตสาหกรรมนี้”
อย่างไรก็ตาม ภาระหน้าที่ของ สพท. และกองกิจการภาพยนตร์ จะดูแลเฉพาะกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยและสามารถทำการตลาดได้ในส่วนของฟิล์มโลเกชั่น แต่ทั้งนี้ สพท. มองเห็นว่าธุรกิจโพสต์โปรดักชั่น ส่วนใหญ่ก็รับงานจากบริษัทภาพยนตร์ต่างประเทศ นำฟิล์มการถ่ายทำมาให้ตัดต่อและใส่เทคนิคต่างๆซึ่งก็เกี่ยวข้องกับกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าสมควรที่จะช่วยภาคเอกชนทำการตลาดต่างประเทศในส่วนนี้ด้วยเพื่อประกาศศักยภาพของประเทศไทยสำหรับธุรกิจบริการในด้านนี้
โดยงานโพสต์โปรดักชั่นที่จะเข้าร่วมงานในปีหน้า ได้แก่ งาน NAP ที่เมืองลาสเวกัส โดยจะนำภาคเอกชนไทย ที่ให้บริการด้านนี้ ออกเดินสายร่วมโรดโชว์ด้วย สำหรับปีนี้ ทางกองกิจการภาพยนตร์ จะเข้าไปร่วมงานเพื่อดูรูปแบบงานไว้สำหรับเตรียมตัวก่อน ทั้งนี้ สพท.คาดหวังว่า เมื่อบุกตลาดโพสต์โปรดักชั่นจริงจัง จะทำให้ธุรกิจนี้เติบโตได้ 100% ภายใน 3-5 ปี จากนี้ไป หรือ มีมูลค่าต่อปีมากกว่า 10,000 ล้านบาท และเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจ กองกิจการภาพยนตร์จะจัดเตรียมโครงการฝึกอบรมและดูงานต่างประเทศให้แก่ภาคเอกชนที่สนใจด้วย เพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆนำมาปรับใช้