ผู้จัดการรายสัปดาห์ - *สงคราม 3G ปะทุ ยักษ์ใหญ่วงการเครื่องใช้ไฟฟ้าเฮ *รอแจ้งเกิดเทคโนโลยีแห่งการควบรวม ทั้งคอนเวอร์เจนซ์, ยูบิควิตัส และโฮมเน็ตเวิร์กกิ้ง *หวังสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ เพิ่มเฮาส์โฮลด์แชร์ กินรวบตลาด ปิดทางคู่แข่ง *ใครตกขบวนมีหวังเจ็บไปถึงเจ๊ง
ข่าวคราวการแข่งขันในสมรภูมิรบของบรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือที่พยายามก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยี 3G ที่เริ่มจากการจับคู่พันธมิตรระหว่าง ดีแทค กับ กสท จากนั้นก็มีความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส กับ ทศท เพื่อให้บริการ 3G มิใช่เพียงแต่วงการสื่อสารโทรคมนาคมเท่านั้นที่จับตามความเคลื่อนไหวดังกล่าว
หากยังมีบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รอความหวังให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคของ 3G เนื่องจาก 3G เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดฟังก์ชั่นการใช้งานใหม่ๆในการเชื่อมต่อสื่อสารสั่งการระหว่างสินค้าประเภทต่างๆโดยมีอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบน และการสื่อสารแบบ 3G เป็นตัวเชื่อมหลัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระบบไอที เน็ตเวิร์ค บลูธูท ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อนหน้านี้ ยกเว้น 3G ที่กำลังเกิดขึ้นและจะมาเติมเต็มโลกแห่งการเชื่อมต่อของวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า
ความสำคัญของการเชื่อมต่อนอกจากจะทำให้สินค้ามีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างจากคู่แข่งแล้ว ยังมีความสำคัญในการสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค เนื่องจากการเชื่อมต่อส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทคโนโลยีบนพื้นฐานเดียวกัน ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างสินค้าต่างแบรนด์จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย ถ้าหากผู้บริโภคต้องการการเชื่อมต่อเทคโนโลยี จำเป็นจะต้องใช้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าจะทำให้ธุรกิจมีเฮาส์โฮลด์แชร์เพิ่มขึ้น และยังทำให้เกิดยอดขายแบบโซลูชั่น คือลูกค้าจะซื้อเป็นเซ็ตมากขึ้น เท่ากับเป็นการบล็อกคู่แข่งไปในตัว ดังนั้นใครไม่มีเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อก็จะเสียเปรียบ
3G เติมเต็ม จิ๊กซอว์ คอนเวอร์เจนซ์ ซัมซุง
Let’s CONVWERGE…Grow Business Together เป็นหัวข้อที่ซัมซุงใช้ในงานแถลงข่าวทิศทางการทำการตลาดของบริษัทในปีนี้ โดยหยิบยกเรื่องของโลกแห่งการเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่ซัมซุงใช้คำว่า Digital Convergence ซึ่งซัมซุงได้พูดมานับตั้งแต่ปี 2545 ทว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะเรื่องของ 3G แต่หลังจากข่าวคราวการทดลองระบบ 3G ได้เกิดขึ้นในเมืองไทย ซัมซุงจึงเห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับการสร้างตลาดดิจิตอลคอนเวอร์เจนซ์ ทว่ายังต้องอาศัยเวลาในการทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับแม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
“ในอดีต สินค้าต่างคนต่างอยู่ ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ สินค้ามีแต่ฟังก์ชั่นการใช้งานหลัก ทว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ระบบคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาจนสินค้าสามารถใช้งานเชื่อมต่อกันได้ ปี 2008 สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริง เพราะทุกอย่างพร้อมแล้ว” อาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ กล่าว
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อของซัมซุงสามารถสร้างตลาดได้ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดย Home Intelligence Solution เป็นการเชื่อมต่อการใช้งานของเทคโนโลยีในบ้าน ซึ่งจะมีเริ่มตั้งแต่ประตูบ้าน กล้องวงจรปิดที่รั้วบ้านที่ประตู กระดิ่ง การเปิดปิดไฟ เปิดปิดม่าน วาวน้ำ วาวแก๊ซ สัญญาณกันขโมยเตือนเมื่อมีคนร้ายปีนเข้าบ้าน สัญญาณจะส่งตรงถึงสถานีตำรวจ หรือเจ้าของบ้านสามารถ log in จากข้างนอกเพื่อตรวจดูกล้องวงจรปิดในบ้านว่ามีคนบุกรุกหรือไม่ หรือเด็กในบ้านอยู่กันอย่างไร ปลอดภัยแค่ไหน
ตู้เย็นที่มีระบบเซ็นเซอร์สามารถรับรู้ข้อมูลการนำอาหารเข้าออกจากตู้เย็นโดยใช้เทคโนโลยี RFID เวลาเอาของใส่ ตู้เย็นก็จะบันทึกว่ามีอะไรในตู้เย็น เวลาเอาของออกจากตู้เย็นก็จะบันทึกลงเซิร์ฟเวอร์ เมื่อไปชอปปิ้งก็สามารถโหลดข้อมูลใส่โทรศัพท์มือถือหรือพีดีเอ เครื่องก็จะโชว์ขึ้นมาว่าต้องซื้อสินค้าอะไรเท่าไร โดยผู้บริโภคไม่ต้องกลับมาเช็กของในตู้เย็น การสั่งการต่างๆสามารถทำได้จากนอกบ้าน
อาหารที่นำเข้าไมโครเวฟจะมีบาร์โค้ดทำให้เครื่องสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องให้ความร้อนอย่างไรกับอาหารประเภทนั้นๆ จะอุ่นหรือจะทำให้เกรียม ถ้าเป็นอาหารแช่แข็งจะทำอย่างไร เครื่องอบไมโครเวฟจะคำนวณเสร็จสรรพ
นอกจากนี้ ดิจิตอล คอนเวอร์เจนซ์ ยังสามารถใช้ในภาคธุรกิจเช่น Integrate Hotel Solution ที่ตอบสนองความต้องการของแขกที่มาพัก โดยลูกค้าที่เช็กอินจะได้การ์ดพิเศษที่ซัมซุงเรียกว่า One Card ซึ่งระบุตัวตนของลูกค้าเมื่อมาถึงประตู เครื่องจะส่งสัญญาณกับการ์ดดังกล่าว พร้อมสแกนหน้าตาลูกค้าว่าใช่ตัวจริงหรือไม่ ถ้าใช่ประตูก็จะเปิด จากนั้นระบบจะดำเนินการต้อนรับลูกค้าต่อ โดยจะปรากฏบนจอทีวีในห้อง มีชื่อลูกค้า พร้อมเมนูให้ลูกค้าเลือกว่าจะดูหนัง ฟังเพลง ดูพยากรณ์อากาศ ดูสภาพการจราจรเพื่อบริหารเส้นทางในการไปทำธุระ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองนั้นๆ
รวมถึงการสื่อสารผ่านบลูธูทโดยรูปถ่ายของลูกค้าในกล้องหรือโทรศัพท์มือถือสามารถโหลดขึ้นบนจอทีวี กรอบรูปดิจิตอลในห้อง ตลอดจนการส่งข้อมูลเหล่านั้นผ่านทางอีเมล์ และเมื่อลูกค้าเช็กเอาต์ ข้อมูลก็จะส่งผ่านไปสู่แม่บ้านให้มาทำความสะอาดห้องดังกล่าว นอกจากนี้ระบบยังคำนวณค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง หรือค่าอาหารในมินิบาร์ที่ลูกค้านำมาบริโภค
นอกจากคอนโดมิเนียมแล้ว ยังมีอาคารสำนักงาน ที่สามารถใช้เทคโนโลยีคอนเวอร์เจนซ์ในการเชื่อมต่อการใช้งานให้กับผู้ที่มาใช้บริการในอาคารดังกล่าว
พานาฯรอ 3G ผุด Ubiquitous
ในขณะที่พานาโซนิคพยายามสร้างคอนเซ็ปต์ของ Ubiquitous ก่อนที่ประเทศไทยจะมี 3G เพื่อสร้างยอดขายแบบโซลูชั่น และสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้กับลูกค้า ด้วยการใช้เอสดีการ์ดในการเชื่อมต่อสินค้าประเภทต่างๆของพานาโซนิค แต่ยังไม่แรงพอเนื่องจากผู้บริโภคมีทางเลือกในการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีรูปแบบอื่นๆ รวมถึงการออกรีโมตคอนโทรลที่สามารถควบคุมสินค้าหมวดภาพและเสียงของพานาโซนิคด้วยรีโมตตัวเดียวกัน ล่าสุดในปีที่ผ่านมาพานาโซนิคได้ลอนช์สินค้าที่เป็นจิ๊กซอว์ของ Ubiquitous อย่างจริงจังโดยมีไลน์อัพสินค้าใหม่เพิ่ม 2 กลุ่มคือ สินค้าที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์บอกพิกัดสำหรับติดตั้งในรถยนต์
ทั้งนี้ Ubiquitous ที่พานาโซนิคพัฒนาในประเทศญี่ปุ่นจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเช่นเพื่อความบันเทิง, เพื่อการสื่อสาร เช่นการพูดคุยระหว่างเพื่อนหรือครอบครัวบนจอทีวีผ่านระบบบอร์ดแบน, เพื่อระบบรักษาความปลอดภัย เช่นในระหว่างที่รับชมรายการต่างๆทางทีวีก็สามารถแบ่งหน้าจอเพื่อตรวจดูว่ามีใครบุกรุกเข้าบ้านหรือไม่ ซึ่งรวมถึงเวลาที่อยู่นอกบ้านก็สามารถเช็คข้อมูลได้จากในรถหรือเวลาที่มีคนร้ายปีนเข้าบ้านก็จะมีการส่งรูปคนร้ายไปยังเจ้าของบ้านทันทีโดยผ่านโทรศัพท์มือถือหรือจอแสดงผลในรถ นอกจากนี้ Ubiquitous ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกเช่นเวลาเดินทางกลับบ้านก็สั่งการผ่านมือถือเพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ พอมาถึงบ้านก็จะมีอากาศเย็นพอดี หรือการตรวจเช็ครายการต่างๆในตู้เย็นว่ามีอะไรหมดหรือไม่เพื่อที่จะได้แวะซื้อก่อนกลับบ้าน และยังมีระบบขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติที่อาศัยระบบ GPS เพียงระบุว่าจะเดินทางไปที่ไหนรถก็จะขับเคลื่อนไปตามเส้นทางอีกทั้งยังมีข้อมูลร้านอาหารหรือสถานที่สำคัญเพื่อให้การสั่งการทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
สำหรับตลาดเมืองไทยสินค้าระบบรักษาความปลอดภัยถือเป็นไลน์อัพใหม่ที่พานาโซนิคตั้งความหวังเอาไว้มากโดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นลูกค้าโครงการเสียส่วนใหญ่ แต่กระนั้นก็ยังมีสินค้าบางรุ่นที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคบ้านเช่น Wireless Video Intercom System หรือชุดกริ่งประตูแบบมีจอทำให้ผู้ที่อยู่ในบ้านสามารถมองเห็นว่ามีใครมากและสนทนาโดยไม่ต้องเปิดประตูได้รวมถึงมีชุดหน้าจอแบบไร้สายทำให้สามารถพกพาได้ทุกจุดในบ้านถือเป็นการใช้งานภายใต้คอนเซ็ปต์ Any Time Any Where ซึ่งเป็นหลักการของ Ubiquitous ในส่วนของ Navigation System หรือระบบบอกพิกัดในรถยนต์ จะมีการบันทึกชื่อถนนและสถานที่สำคัญโดยมีเสียงเตือนระยะทางเพื่อความปลอดภัย ตลอดจนระบบคำนวณเส้นทางที่ประหยัดเวลาที่สุด
“พานาโซนิคอยากจะนำโทรศัพท์มือถือ 3G เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังเพื่อรองรับ Ubiquitous แต่วันนี้ประเทศไทยยังใช้ระบบ 2.5 G การนำสินค้าที่มีเทคโนโลยีไม่สูงเข้ามาทำตลาดย่อมแข่งขันกับคู่แข่งได้ยาก สินค้าอื่นๆก็เช่นกัน เราจะเน้นสินค้าไฮเทคโนโลยีเข้ามาทำตลาดก่อน จากนั้นค่อยแนะนำไลน์อัพรุ่นต่ำเข้าสู่ตลาดในภายหลัง เช่น Tough Book หรือ Note Book ที่ทนต่อแรงกระแทรกและกันน้ำได้ซึ่งยังไม่มีใครนำเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย” ไดโซ อิโตะ ประธานกลุ่มพานาโซนิคในประเทศไทย กล่าวก่อนที่ประเทศไทยจะเริ่มมีการทดลองใช้ระบบ 3G
ดังนั้นเชื่อว่าหลังจากนี้ พานาโซนิค คงจะมีการเตรียมแผนสำหรับการรุกตลาดโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G อีกครั้งเพื่อกรุยทางไปสู่โลกแห่งยูบิควิตัสที่รอคอยมานาน เพราะเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้พานาโซนิคสามารถก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกผลิตภัณฑ์
นอกจากซัมซุงและพานาโซนิคแล้วยังมีอีกหลายค่ายที่พัฒนาเทคโนโลยีแห่งการเชื่อมต่อเช่น แอลจี ที่ใช้คอนเซ็ปต์ว่า Home Networking โดยผู้บริโภคสามารถสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนผ่านโทรศัพท์มือถือระบบ 3G และอินเทอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น โดยสามารถสั่งการได้จากนอกบ้าน ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศก็สั่งก่อนจะกลับมาถึงบ้าน เมื่อมาถึงก็จะได้สัมผัสกับอากาศเย็นสบายพอดี สำหรับตู้เย็นยังสามารถเช็กของที่อยู่ในตู้เย็น พร้อมด้วยระบบสั่งซื้อที่ส่งตรงไปยังร้านค้าให้ส่งสินค้ามาที่บ้าน
ในขณะที่โซนี่มีความเสียเปรียบคู่แข่งตรงที่ไม่มีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ทำให้ไม่สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้เต็มความต้องการในชีวิตประจำวัน ดังนั้นโซนี่จึงต้องสร้างโซลูชั่นความบันเทิงให้เหนือคู่แข่ง โดย HD World คือกุญแจสำคัญในการเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์หมวดภาพและเสียงของโซนี่เพื่อเพิ่มความคมชัดและอรรถรสในการรับชมความบันเทิงของผู้บริโภค โดยมี Full HD TV, กล้องดิจิตอล, กล้องวิดีโอ, เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น 3 และเครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันและให้สัญญาณภาพที่คมชัดในระดับ Full HD
สงครามโซลูชั่นปฐมบทก่อนยุค 3G
อย่างไรก็ดีก่อนที่ประเทศไทยจะมีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G หลายๆค่ายต่างพยายามนำคอนเซ็ปต์ในการเชื่อมต่อมาพัฒนาเป็นแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อเพิ่มเฮาส์โฮลด์แชร์ และสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้กับผู้บริโภค เช่นแคมเปญ 11 Days Special ของซัมซุงที่ขนสินค้า 4 หมวดคือ หมวดภาพและเสียง หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน หมวดโทรศัพท์มือถือ หมวดไอที โดยมีการทำ Cross Promotion เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าของซัมซุงมากขึ้น ซึ่งผลจากการจัดแคมเปญดังกล่าวมาเป็นเวลา 2 ปี ได้ส่งผลให้กลุ่มสินค้าที่เคยเป็นรองคู่แข่งอย่าง เครื่องซักผ้าฝาบนสามารถขึ้นเป็นผู้นำตลาดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มธุรกิจที่แข็งแกร่งอย่างเช่นทีวีไปสู่สินค้าอื่นๆด้วย
ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์จีนอย่างไฮเออร์ที่พยายามเดินตามรอยซัมซุง จากสงครามราคาสู่การสร้างนวัตกรรมที่มีดีไซน์ ล่าสุดมีการทำแคมเปญขายเป็นเซ็ตในราคาพิเศษโดยแบ่งตามกลุ่มลูกค้าเช่น Best Family Set เป็นกลุ่มสินค้าสำหรับครอบครัว, Best Bundle Choices เป็นสินค้าสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก, สำหรับ Best Buy และ Best Payment Programs เป็นสินค้าลดราคาพิเศษพร้อมด้วยโปรโมชั่นเงินผ่อน 0% ทว่าแคมเปญที่จูงใจให้ผู้บริโภคซื้อยกเซ็ตจะได้รับความนิยมน้อยลงหากสินค้าเหล่านั้นไม่สามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้
อย่างไรก็ดีหลังจากประเทศไทยมีการใช้ระบบ 3G แพร่หลายกว่านี้ เชื่อว่าสงครามโซลูชั่นจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แพกเกจขายคู่ ขายยกเซ็ต จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อกินรวบตลาด และบล็อกคู่แข่ง ส่วนใครที่มีไม่ครบ หรือไม่มีฟังก์ชั่นในการเชื่อมต่อ ก็จะตกขบวน กลายเป็นสินค้าโลว์เอนด์ไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้อาจเติมเต็มซึ่งกันและกันด้วยการเป็นพันธมิตรเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันระหว่างค่ายโทรศัพท์มือถือ และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ต่างๆ
ข่าวคราวการแข่งขันในสมรภูมิรบของบรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือที่พยายามก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยี 3G ที่เริ่มจากการจับคู่พันธมิตรระหว่าง ดีแทค กับ กสท จากนั้นก็มีความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส กับ ทศท เพื่อให้บริการ 3G มิใช่เพียงแต่วงการสื่อสารโทรคมนาคมเท่านั้นที่จับตามความเคลื่อนไหวดังกล่าว
หากยังมีบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รอความหวังให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคของ 3G เนื่องจาก 3G เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดฟังก์ชั่นการใช้งานใหม่ๆในการเชื่อมต่อสื่อสารสั่งการระหว่างสินค้าประเภทต่างๆโดยมีอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบน และการสื่อสารแบบ 3G เป็นตัวเชื่อมหลัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระบบไอที เน็ตเวิร์ค บลูธูท ซึ่งได้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อนหน้านี้ ยกเว้น 3G ที่กำลังเกิดขึ้นและจะมาเติมเต็มโลกแห่งการเชื่อมต่อของวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า
ความสำคัญของการเชื่อมต่อนอกจากจะทำให้สินค้ามีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างจากคู่แข่งแล้ว ยังมีความสำคัญในการสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค เนื่องจากการเชื่อมต่อส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทคโนโลยีบนพื้นฐานเดียวกัน ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างสินค้าต่างแบรนด์จึงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย ถ้าหากผู้บริโภคต้องการการเชื่อมต่อเทคโนโลยี จำเป็นจะต้องใช้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าจะทำให้ธุรกิจมีเฮาส์โฮลด์แชร์เพิ่มขึ้น และยังทำให้เกิดยอดขายแบบโซลูชั่น คือลูกค้าจะซื้อเป็นเซ็ตมากขึ้น เท่ากับเป็นการบล็อกคู่แข่งไปในตัว ดังนั้นใครไม่มีเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อก็จะเสียเปรียบ
3G เติมเต็ม จิ๊กซอว์ คอนเวอร์เจนซ์ ซัมซุง
Let’s CONVWERGE…Grow Business Together เป็นหัวข้อที่ซัมซุงใช้ในงานแถลงข่าวทิศทางการทำการตลาดของบริษัทในปีนี้ โดยหยิบยกเรื่องของโลกแห่งการเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่ซัมซุงใช้คำว่า Digital Convergence ซึ่งซัมซุงได้พูดมานับตั้งแต่ปี 2545 ทว่าประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะเรื่องของ 3G แต่หลังจากข่าวคราวการทดลองระบบ 3G ได้เกิดขึ้นในเมืองไทย ซัมซุงจึงเห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับการสร้างตลาดดิจิตอลคอนเวอร์เจนซ์ ทว่ายังต้องอาศัยเวลาในการทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับแม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
“ในอดีต สินค้าต่างคนต่างอยู่ ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ สินค้ามีแต่ฟังก์ชั่นการใช้งานหลัก ทว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ค ระบบคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาจนสินค้าสามารถใช้งานเชื่อมต่อกันได้ ปี 2008 สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริง เพราะทุกอย่างพร้อมแล้ว” อาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ กล่าว
เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อของซัมซุงสามารถสร้างตลาดได้ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดย Home Intelligence Solution เป็นการเชื่อมต่อการใช้งานของเทคโนโลยีในบ้าน ซึ่งจะมีเริ่มตั้งแต่ประตูบ้าน กล้องวงจรปิดที่รั้วบ้านที่ประตู กระดิ่ง การเปิดปิดไฟ เปิดปิดม่าน วาวน้ำ วาวแก๊ซ สัญญาณกันขโมยเตือนเมื่อมีคนร้ายปีนเข้าบ้าน สัญญาณจะส่งตรงถึงสถานีตำรวจ หรือเจ้าของบ้านสามารถ log in จากข้างนอกเพื่อตรวจดูกล้องวงจรปิดในบ้านว่ามีคนบุกรุกหรือไม่ หรือเด็กในบ้านอยู่กันอย่างไร ปลอดภัยแค่ไหน
ตู้เย็นที่มีระบบเซ็นเซอร์สามารถรับรู้ข้อมูลการนำอาหารเข้าออกจากตู้เย็นโดยใช้เทคโนโลยี RFID เวลาเอาของใส่ ตู้เย็นก็จะบันทึกว่ามีอะไรในตู้เย็น เวลาเอาของออกจากตู้เย็นก็จะบันทึกลงเซิร์ฟเวอร์ เมื่อไปชอปปิ้งก็สามารถโหลดข้อมูลใส่โทรศัพท์มือถือหรือพีดีเอ เครื่องก็จะโชว์ขึ้นมาว่าต้องซื้อสินค้าอะไรเท่าไร โดยผู้บริโภคไม่ต้องกลับมาเช็กของในตู้เย็น การสั่งการต่างๆสามารถทำได้จากนอกบ้าน
อาหารที่นำเข้าไมโครเวฟจะมีบาร์โค้ดทำให้เครื่องสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องให้ความร้อนอย่างไรกับอาหารประเภทนั้นๆ จะอุ่นหรือจะทำให้เกรียม ถ้าเป็นอาหารแช่แข็งจะทำอย่างไร เครื่องอบไมโครเวฟจะคำนวณเสร็จสรรพ
นอกจากนี้ ดิจิตอล คอนเวอร์เจนซ์ ยังสามารถใช้ในภาคธุรกิจเช่น Integrate Hotel Solution ที่ตอบสนองความต้องการของแขกที่มาพัก โดยลูกค้าที่เช็กอินจะได้การ์ดพิเศษที่ซัมซุงเรียกว่า One Card ซึ่งระบุตัวตนของลูกค้าเมื่อมาถึงประตู เครื่องจะส่งสัญญาณกับการ์ดดังกล่าว พร้อมสแกนหน้าตาลูกค้าว่าใช่ตัวจริงหรือไม่ ถ้าใช่ประตูก็จะเปิด จากนั้นระบบจะดำเนินการต้อนรับลูกค้าต่อ โดยจะปรากฏบนจอทีวีในห้อง มีชื่อลูกค้า พร้อมเมนูให้ลูกค้าเลือกว่าจะดูหนัง ฟังเพลง ดูพยากรณ์อากาศ ดูสภาพการจราจรเพื่อบริหารเส้นทางในการไปทำธุระ หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองนั้นๆ
รวมถึงการสื่อสารผ่านบลูธูทโดยรูปถ่ายของลูกค้าในกล้องหรือโทรศัพท์มือถือสามารถโหลดขึ้นบนจอทีวี กรอบรูปดิจิตอลในห้อง ตลอดจนการส่งข้อมูลเหล่านั้นผ่านทางอีเมล์ และเมื่อลูกค้าเช็กเอาต์ ข้อมูลก็จะส่งผ่านไปสู่แม่บ้านให้มาทำความสะอาดห้องดังกล่าว นอกจากนี้ระบบยังคำนวณค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง หรือค่าอาหารในมินิบาร์ที่ลูกค้านำมาบริโภค
นอกจากคอนโดมิเนียมแล้ว ยังมีอาคารสำนักงาน ที่สามารถใช้เทคโนโลยีคอนเวอร์เจนซ์ในการเชื่อมต่อการใช้งานให้กับผู้ที่มาใช้บริการในอาคารดังกล่าว
พานาฯรอ 3G ผุด Ubiquitous
ในขณะที่พานาโซนิคพยายามสร้างคอนเซ็ปต์ของ Ubiquitous ก่อนที่ประเทศไทยจะมี 3G เพื่อสร้างยอดขายแบบโซลูชั่น และสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้กับลูกค้า ด้วยการใช้เอสดีการ์ดในการเชื่อมต่อสินค้าประเภทต่างๆของพานาโซนิค แต่ยังไม่แรงพอเนื่องจากผู้บริโภคมีทางเลือกในการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีรูปแบบอื่นๆ รวมถึงการออกรีโมตคอนโทรลที่สามารถควบคุมสินค้าหมวดภาพและเสียงของพานาโซนิคด้วยรีโมตตัวเดียวกัน ล่าสุดในปีที่ผ่านมาพานาโซนิคได้ลอนช์สินค้าที่เป็นจิ๊กซอว์ของ Ubiquitous อย่างจริงจังโดยมีไลน์อัพสินค้าใหม่เพิ่ม 2 กลุ่มคือ สินค้าที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์บอกพิกัดสำหรับติดตั้งในรถยนต์
ทั้งนี้ Ubiquitous ที่พานาโซนิคพัฒนาในประเทศญี่ปุ่นจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้งานเช่นเพื่อความบันเทิง, เพื่อการสื่อสาร เช่นการพูดคุยระหว่างเพื่อนหรือครอบครัวบนจอทีวีผ่านระบบบอร์ดแบน, เพื่อระบบรักษาความปลอดภัย เช่นในระหว่างที่รับชมรายการต่างๆทางทีวีก็สามารถแบ่งหน้าจอเพื่อตรวจดูว่ามีใครบุกรุกเข้าบ้านหรือไม่ ซึ่งรวมถึงเวลาที่อยู่นอกบ้านก็สามารถเช็คข้อมูลได้จากในรถหรือเวลาที่มีคนร้ายปีนเข้าบ้านก็จะมีการส่งรูปคนร้ายไปยังเจ้าของบ้านทันทีโดยผ่านโทรศัพท์มือถือหรือจอแสดงผลในรถ นอกจากนี้ Ubiquitous ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกเช่นเวลาเดินทางกลับบ้านก็สั่งการผ่านมือถือเพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ พอมาถึงบ้านก็จะมีอากาศเย็นพอดี หรือการตรวจเช็ครายการต่างๆในตู้เย็นว่ามีอะไรหมดหรือไม่เพื่อที่จะได้แวะซื้อก่อนกลับบ้าน และยังมีระบบขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติที่อาศัยระบบ GPS เพียงระบุว่าจะเดินทางไปที่ไหนรถก็จะขับเคลื่อนไปตามเส้นทางอีกทั้งยังมีข้อมูลร้านอาหารหรือสถานที่สำคัญเพื่อให้การสั่งการทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
สำหรับตลาดเมืองไทยสินค้าระบบรักษาความปลอดภัยถือเป็นไลน์อัพใหม่ที่พานาโซนิคตั้งความหวังเอาไว้มากโดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นลูกค้าโครงการเสียส่วนใหญ่ แต่กระนั้นก็ยังมีสินค้าบางรุ่นที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคบ้านเช่น Wireless Video Intercom System หรือชุดกริ่งประตูแบบมีจอทำให้ผู้ที่อยู่ในบ้านสามารถมองเห็นว่ามีใครมากและสนทนาโดยไม่ต้องเปิดประตูได้รวมถึงมีชุดหน้าจอแบบไร้สายทำให้สามารถพกพาได้ทุกจุดในบ้านถือเป็นการใช้งานภายใต้คอนเซ็ปต์ Any Time Any Where ซึ่งเป็นหลักการของ Ubiquitous ในส่วนของ Navigation System หรือระบบบอกพิกัดในรถยนต์ จะมีการบันทึกชื่อถนนและสถานที่สำคัญโดยมีเสียงเตือนระยะทางเพื่อความปลอดภัย ตลอดจนระบบคำนวณเส้นทางที่ประหยัดเวลาที่สุด
“พานาโซนิคอยากจะนำโทรศัพท์มือถือ 3G เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังเพื่อรองรับ Ubiquitous แต่วันนี้ประเทศไทยยังใช้ระบบ 2.5 G การนำสินค้าที่มีเทคโนโลยีไม่สูงเข้ามาทำตลาดย่อมแข่งขันกับคู่แข่งได้ยาก สินค้าอื่นๆก็เช่นกัน เราจะเน้นสินค้าไฮเทคโนโลยีเข้ามาทำตลาดก่อน จากนั้นค่อยแนะนำไลน์อัพรุ่นต่ำเข้าสู่ตลาดในภายหลัง เช่น Tough Book หรือ Note Book ที่ทนต่อแรงกระแทรกและกันน้ำได้ซึ่งยังไม่มีใครนำเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย” ไดโซ อิโตะ ประธานกลุ่มพานาโซนิคในประเทศไทย กล่าวก่อนที่ประเทศไทยจะเริ่มมีการทดลองใช้ระบบ 3G
ดังนั้นเชื่อว่าหลังจากนี้ พานาโซนิค คงจะมีการเตรียมแผนสำหรับการรุกตลาดโทรศัพท์มือถือในระบบ 3G อีกครั้งเพื่อกรุยทางไปสู่โลกแห่งยูบิควิตัสที่รอคอยมานาน เพราะเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้พานาโซนิคสามารถก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกผลิตภัณฑ์
นอกจากซัมซุงและพานาโซนิคแล้วยังมีอีกหลายค่ายที่พัฒนาเทคโนโลยีแห่งการเชื่อมต่อเช่น แอลจี ที่ใช้คอนเซ็ปต์ว่า Home Networking โดยผู้บริโภคสามารถสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนผ่านโทรศัพท์มือถือระบบ 3G และอินเทอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น โดยสามารถสั่งการได้จากนอกบ้าน ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศก็สั่งก่อนจะกลับมาถึงบ้าน เมื่อมาถึงก็จะได้สัมผัสกับอากาศเย็นสบายพอดี สำหรับตู้เย็นยังสามารถเช็กของที่อยู่ในตู้เย็น พร้อมด้วยระบบสั่งซื้อที่ส่งตรงไปยังร้านค้าให้ส่งสินค้ามาที่บ้าน
ในขณะที่โซนี่มีความเสียเปรียบคู่แข่งตรงที่ไม่มีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ทำให้ไม่สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้เต็มความต้องการในชีวิตประจำวัน ดังนั้นโซนี่จึงต้องสร้างโซลูชั่นความบันเทิงให้เหนือคู่แข่ง โดย HD World คือกุญแจสำคัญในการเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์หมวดภาพและเสียงของโซนี่เพื่อเพิ่มความคมชัดและอรรถรสในการรับชมความบันเทิงของผู้บริโภค โดยมี Full HD TV, กล้องดิจิตอล, กล้องวิดีโอ, เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น 3 และเครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันและให้สัญญาณภาพที่คมชัดในระดับ Full HD
สงครามโซลูชั่นปฐมบทก่อนยุค 3G
อย่างไรก็ดีก่อนที่ประเทศไทยจะมีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G หลายๆค่ายต่างพยายามนำคอนเซ็ปต์ในการเชื่อมต่อมาพัฒนาเป็นแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อเพิ่มเฮาส์โฮลด์แชร์ และสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้กับผู้บริโภค เช่นแคมเปญ 11 Days Special ของซัมซุงที่ขนสินค้า 4 หมวดคือ หมวดภาพและเสียง หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน หมวดโทรศัพท์มือถือ หมวดไอที โดยมีการทำ Cross Promotion เพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าของซัมซุงมากขึ้น ซึ่งผลจากการจัดแคมเปญดังกล่าวมาเป็นเวลา 2 ปี ได้ส่งผลให้กลุ่มสินค้าที่เคยเป็นรองคู่แข่งอย่าง เครื่องซักผ้าฝาบนสามารถขึ้นเป็นผู้นำตลาดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มธุรกิจที่แข็งแกร่งอย่างเช่นทีวีไปสู่สินค้าอื่นๆด้วย
ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์จีนอย่างไฮเออร์ที่พยายามเดินตามรอยซัมซุง จากสงครามราคาสู่การสร้างนวัตกรรมที่มีดีไซน์ ล่าสุดมีการทำแคมเปญขายเป็นเซ็ตในราคาพิเศษโดยแบ่งตามกลุ่มลูกค้าเช่น Best Family Set เป็นกลุ่มสินค้าสำหรับครอบครัว, Best Bundle Choices เป็นสินค้าสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก, สำหรับ Best Buy และ Best Payment Programs เป็นสินค้าลดราคาพิเศษพร้อมด้วยโปรโมชั่นเงินผ่อน 0% ทว่าแคมเปญที่จูงใจให้ผู้บริโภคซื้อยกเซ็ตจะได้รับความนิยมน้อยลงหากสินค้าเหล่านั้นไม่สามารถเชื่อมโยงสื่อสารกันได้
อย่างไรก็ดีหลังจากประเทศไทยมีการใช้ระบบ 3G แพร่หลายกว่านี้ เชื่อว่าสงครามโซลูชั่นจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แพกเกจขายคู่ ขายยกเซ็ต จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อกินรวบตลาด และบล็อกคู่แข่ง ส่วนใครที่มีไม่ครบ หรือไม่มีฟังก์ชั่นในการเชื่อมต่อ ก็จะตกขบวน กลายเป็นสินค้าโลว์เอนด์ไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้อาจเติมเต็มซึ่งกันและกันด้วยการเป็นพันธมิตรเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันระหว่างค่ายโทรศัพท์มือถือ และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ต่างๆ