ครม.อนุมัติ ขสมก.กู้เงิน 7,103 ล้านบาท ใช้หนี้ค่าน้ำมัน ปตท.และค่าซ่อมบำรุงเอกชน ในช่วงรัฐบาลนี้ ต.ค.2549 - ม.ค.2551 สั่งปรับแผนฟื้นฟู ขสมก.บางส่วนให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูประบบขนส่งใน กทม. นอกจากนี้ ครม.รีบคลอด 7 เรกูเลเตอร์ เผยผู้สมัคร 64 ราย ผ่านรอบสัมภาษณ์ 13 คน รอประชุมโหวตเลือกประธาน คาด "ชลิต" นั่งแท่น ลุยจัดระเบียบกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ภายใต้ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน เผยกรรมการ 4 รายต้องลาออกจากตำแหน่งปัจจุบันก่อน
พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (22 ม.ค.) ว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินโดยกระทรวงการคลัง ค้ำประกันวงเงิน 7,103 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้หนี้ค่าน้ำมันบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,729 ล้านบาท และหนี้ค่าซ่อมบำรุง จำนวน 2,734 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ต.ค.2549 - ม.ค.2551 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ได้มีมติให้กระทรวงคมนาคม จัดทำแผนปฏิรูประบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นตัวชี้ให้เห็นภาพรวม และแนวโน้มการพิจารณาและการเชื่อมโยงของระบบขนส่งต่างๆ ทั้งนี้ ได้ให้ ขสมก.และกระทรวงคมนาคม ดำเนินการปรับปรุงแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของ ขสมก.ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูป เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟู เดินหน้าต่อไปได้
พลเรือเอก ธีระ กล่าวว่า ในหลักการ ครม.เห็นด้วยกับการฟื้นฟู ฐานะการเงินของ ขสมก.แต่ การดำเนินงานจำเป็นต้องสอดคล้องกับแผนปฏิรูป ซึ่งอยู่ระหว่างการเริ่มดำเนินการ ดังนั้น หากการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูฐานะการเงินของ ขสมก.ในส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้ก่อน ก็ให้ ขสมก.ทำรายละเอียดเสนอเข้ามาเป็นเรื่องๆ ได้ แต่ยอมรับว่า การแก้ปัญหาของขสมก.ตามแผนฟื้นฟูทั้งหมดจะต้องใช้เวลา
“การแก้ปัญหาภาระหนี้สินสะสมกว่า 57,000 ล้านบาท ให้ ขสมก.เร่งหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาแนวทางในการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุด โดยการแก้ปัญหา ขสมก.นั้น นอกจากด้านปัญหาหนี้สินแล้ว ขสมก.ต้องปรับโครงสร้างองค์กร ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การขนส่งฯ และการวางกรอบการทำงานในอนาคต เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องชัดเจน” พลเรือเอก ธีระกล่าว
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การอนุมัติให้ ขสมก.กู้เงินมาชำระหนี้ ค่าน้ำมัน และค่าซ่อมบำรุงเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าไม่เร่งพิจารณาก็จะทำให้ เอกชน ลำบากได้ และจากนี้ไป สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง และ ขสมก.ต้องเร่งประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อปรับปรุงแผนฟื้นฟู ขสมก.ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูป และนำไปสู่การปฏิบัติ
**ครม.อนุมัติ 7 เรกูเรเตอร์ คุมโครงสร้างพลังงานประเทศ
นายชวลิต พิชาลัย รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ "เรกูเลเตอร์" ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ คือ 1.นายชลิต เรืองวิเศษ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดูแลสาขาพลังงานด้านไฟฟ้า 2.นายนภดล มัณฑะจิตร อดีตอธิบดีกรมเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน ดูแลสาขาพลังงานด้านก๊าซธรรมชาติ 3.นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลสาขาวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ 4.นางพัลลภา เรืองรอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ดูแลสาขาเศรษฐสาสตร์, คณิตศาสตร์บริหารนักวิชาการคลัง 9 จัดการ หรือการจัดการด้านพลังงาน
5.นายจงเจตน์ บุญเกิด รองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ธนาคารพัฒนารัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ดูแลสาขาการเงินและการบัญชี 6.นายทักษิณ ลิ่มสุวรรณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดูแลสาขานิติศาสตร์ และ 7.นายศุภิชัย ตั้งใจตรง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลสภาวะแวดล้อมสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำหรับเรกูเลเตอร์ทั้ง 7 คน มีหน้าที่ให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และป้องกันการใช้อำนาจผูกขาด โดยมีอำนาจสั่งการให้ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ประกอบกิจการพลังงาน หยุดหรือปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นการจำกัดหรือกีดกันการแข่งขัน รวมถึงปรับปรุงเงื่อนไข พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต นอกจากนี้ สามารถออกคำสั่งแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ทั้งสายส่งไฟฟ้าและท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
"ที่สำคัญ คือ ทำหน้าที่คุ้มครองผู้ใช้พลังงานให้ได้ใช้พลังงานในราคาที่เป็นธรรม กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราค่าบริการของกิจการพลังงานแต่ละประเภท ภายใต้นโยบายและแนวทางของรัฐ รวมทั้งสามารถทบทวนอัตราค่าบริการ หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม หรือเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป" นายชวลิตกล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน กำหนดให้เรกูเลเตอร์จัดการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียด้วย ต้องเปิดเผยสูตรหรือวิธีการที่ใช้ในการคำนวณอัตราค่าบริการ หรือข้อมูลตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณอัตราค่าบริการที่เป็นอัตราที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปด้วย นอกจากนี้ ดูแลมาตรฐานคุณภาพการบริการและความปลอดภัยในการประกอบกิจการพลังงาน โดยมีอำนาจในการออกระเบียบ เพื่อกำหนดมาตรฐานทางวิศวกรรมและความปลอดภัยในการประกอบกิจการ รวมถึงมาตรฐานของอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน
รายงานข่าวแจ้งว่า เรกูเลเตอร์ 7 คนมาจากการคัดเลือกผู้สมัคร 64 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านการสัมภาษณ์รอบแรก 13 คน ส่วนการเลือกประธานคณะกรรมการเรกูเลเตอร์จะเป็นการโหวตกันเองในคณะกรรมการ ซึ่งต้องรอกำหนดประชุมนัดแรกก่อน
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเรกูเลเตอร์ 4 ราย คือ นายดิเรก นางพัลลภา นายจงเจตน์ และนายศุภิชัยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ลาออกจากตำแหน่งงานปัจจุบันก่อน เนื่องจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการกำกับกิจการพลังงานถือเป็นงานประจำ (Full Time)
พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (22 ม.ค.) ว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินโดยกระทรวงการคลัง ค้ำประกันวงเงิน 7,103 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้หนี้ค่าน้ำมันบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,729 ล้านบาท และหนี้ค่าซ่อมบำรุง จำนวน 2,734 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน ต.ค.2549 - ม.ค.2551 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ได้มีมติให้กระทรวงคมนาคม จัดทำแผนปฏิรูประบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นตัวชี้ให้เห็นภาพรวม และแนวโน้มการพิจารณาและการเชื่อมโยงของระบบขนส่งต่างๆ ทั้งนี้ ได้ให้ ขสมก.และกระทรวงคมนาคม ดำเนินการปรับปรุงแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของ ขสมก.ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูป เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟู เดินหน้าต่อไปได้
พลเรือเอก ธีระ กล่าวว่า ในหลักการ ครม.เห็นด้วยกับการฟื้นฟู ฐานะการเงินของ ขสมก.แต่ การดำเนินงานจำเป็นต้องสอดคล้องกับแผนปฏิรูป ซึ่งอยู่ระหว่างการเริ่มดำเนินการ ดังนั้น หากการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูฐานะการเงินของ ขสมก.ในส่วนใดที่สามารถดำเนินการได้ก่อน ก็ให้ ขสมก.ทำรายละเอียดเสนอเข้ามาเป็นเรื่องๆ ได้ แต่ยอมรับว่า การแก้ปัญหาของขสมก.ตามแผนฟื้นฟูทั้งหมดจะต้องใช้เวลา
“การแก้ปัญหาภาระหนี้สินสะสมกว่า 57,000 ล้านบาท ให้ ขสมก.เร่งหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาแนวทางในการดำเนินการที่เหมาะสมที่สุด โดยการแก้ปัญหา ขสมก.นั้น นอกจากด้านปัญหาหนี้สินแล้ว ขสมก.ต้องปรับโครงสร้างองค์กร ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การขนส่งฯ และการวางกรอบการทำงานในอนาคต เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องชัดเจน” พลเรือเอก ธีระกล่าว
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การอนุมัติให้ ขสมก.กู้เงินมาชำระหนี้ ค่าน้ำมัน และค่าซ่อมบำรุงเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าไม่เร่งพิจารณาก็จะทำให้ เอกชน ลำบากได้ และจากนี้ไป สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง และ ขสมก.ต้องเร่งประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อปรับปรุงแผนฟื้นฟู ขสมก.ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูป และนำไปสู่การปฏิบัติ
**ครม.อนุมัติ 7 เรกูเรเตอร์ คุมโครงสร้างพลังงานประเทศ
นายชวลิต พิชาลัย รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือ "เรกูเลเตอร์" ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ คือ 1.นายชลิต เรืองวิเศษ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดูแลสาขาพลังงานด้านไฟฟ้า 2.นายนภดล มัณฑะจิตร อดีตอธิบดีกรมเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน ดูแลสาขาพลังงานด้านก๊าซธรรมชาติ 3.นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลสาขาวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ 4.นางพัลลภา เรืองรอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ดูแลสาขาเศรษฐสาสตร์, คณิตศาสตร์บริหารนักวิชาการคลัง 9 จัดการ หรือการจัดการด้านพลังงาน
5.นายจงเจตน์ บุญเกิด รองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ธนาคารพัฒนารัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ดูแลสาขาการเงินและการบัญชี 6.นายทักษิณ ลิ่มสุวรรณ์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดูแลสาขานิติศาสตร์ และ 7.นายศุภิชัย ตั้งใจตรง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลสภาวะแวดล้อมสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำหรับเรกูเลเตอร์ทั้ง 7 คน มีหน้าที่ให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และป้องกันการใช้อำนาจผูกขาด โดยมีอำนาจสั่งการให้ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ประกอบกิจการพลังงาน หยุดหรือปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นการจำกัดหรือกีดกันการแข่งขัน รวมถึงปรับปรุงเงื่อนไข พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต นอกจากนี้ สามารถออกคำสั่งแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน ทั้งสายส่งไฟฟ้าและท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
"ที่สำคัญ คือ ทำหน้าที่คุ้มครองผู้ใช้พลังงานให้ได้ใช้พลังงานในราคาที่เป็นธรรม กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราค่าบริการของกิจการพลังงานแต่ละประเภท ภายใต้นโยบายและแนวทางของรัฐ รวมทั้งสามารถทบทวนอัตราค่าบริการ หากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม หรือเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป" นายชวลิตกล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน กำหนดให้เรกูเลเตอร์จัดการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียด้วย ต้องเปิดเผยสูตรหรือวิธีการที่ใช้ในการคำนวณอัตราค่าบริการ หรือข้อมูลตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณอัตราค่าบริการที่เป็นอัตราที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปด้วย นอกจากนี้ ดูแลมาตรฐานคุณภาพการบริการและความปลอดภัยในการประกอบกิจการพลังงาน โดยมีอำนาจในการออกระเบียบ เพื่อกำหนดมาตรฐานทางวิศวกรรมและความปลอดภัยในการประกอบกิจการ รวมถึงมาตรฐานของอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบโครงข่ายพลังงาน
รายงานข่าวแจ้งว่า เรกูเลเตอร์ 7 คนมาจากการคัดเลือกผู้สมัคร 64 ราย ซึ่งมีผู้ผ่านการสัมภาษณ์รอบแรก 13 คน ส่วนการเลือกประธานคณะกรรมการเรกูเลเตอร์จะเป็นการโหวตกันเองในคณะกรรมการ ซึ่งต้องรอกำหนดประชุมนัดแรกก่อน
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเรกูเลเตอร์ 4 ราย คือ นายดิเรก นางพัลลภา นายจงเจตน์ และนายศุภิชัยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ลาออกจากตำแหน่งงานปัจจุบันก่อน เนื่องจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการกำกับกิจการพลังงานถือเป็นงานประจำ (Full Time)