วันนี้ (22 ม.ค.) นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกรัฐบาล พร้อมด้วย ร.อ.ประชาสัณห์ ชนะสงคราม และ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกฯ ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
ครม.ไม่อนุมัติการขอเพิ่มอัตรากำลัง ขรก.ตร.
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.ไม่อนุมัติการขอเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการตำรวจในปีงบประมาณ 2552 โดยเป็นการเพิ่มอัตรากำลังที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการขอเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการตำรวจ ในปีงบประมาณ 2552-2553 ปีละ 8,000 อัตรา สัญญาบัตร 4,000 และชั้นประทวน 4,000 อัตรา รวมทั้งสิ้น 16,000 อัตรา โดยใช้งบประมาณปีละ 925,680 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าวมีการอภิปรายกันอย่างกว้าง โดยสรุป คือ ไม่อนุมัติในเรื่องการเพิ่มอัตราทั้งหมด 16,000 อัตรา แต่อนุมัติในเรื่องการจัดสรรอัตราคืน เนื่องจากการเกษียณอายุราชการของข้าราชการตำรวจ ในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 1,494 อัตรา ส่วนในเรื่องการเพิ่มอัตรานั้น ให้กลับไปพิจารณาทบทวน
ครม.ไฟเขียวก่อสร้างอาคารกองบัญชาการ-ที่พักอาศัย ตร.ภ.8-9
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติการก่อสร้างอาคารกองบัญชาการและที่พักอาศัย 5 ชั้น ของตำรวจภูธรภาค 8 และ 9 พร้อมส่วนประกอบ และขออนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 338 ล้านบาท
ครม.รับทราบมติ กพช.ออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.พิจารณาเรื่องของการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ที่ทางกระทรวงพลังงานเสนอมา 2 ข้อ คือ
1.รับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน
2.เห็นชอบแผนการดำเนินงานงบประมาณรายได้และแผนการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์ต่างๆ ให้มีการเก็บอัตราค่าธรรมเนียมในรูปแบบเดิมไปก่อน
สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 7 ท่าน จากคณะกรรมการสรรหาเดิม จำนวน 9 ท่าน ซึ่งเป็นมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 มกราคม มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา จำนวน 9 ท่าน ปรากฏว่า วันนี้กระทรวงพลังงานได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทั้งหมด 7 ท่าน ได้แก่
1.นายชลิต เรืองวิเศษ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง สาขาพลังงานไฟฟ้า
2.นายนพดล มัณฑะจิตร สาขาพลังงานด้านก๊าซธรรมชาติ อดีตอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
3.ศ.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.นางพัลลภา เรืองรอง สาขาเศรษฐศาสตร์คณิตศาสตร์บริหารจัดการ หรือการจัดการพลังงาน ปัจจุบันเป็นนักวิชาการคลัง 9 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
5.นายจงเจตน์ บุญเกิด สาขาการเงินและการบัญชี เป็นรองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี
6.นายทักษิณ ลิ่มสุวรรณ สาขานิติศาสตร์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
7.นายศุภชัย ตั้งใจตรง สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเป็น รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาพแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ครม.อนุมัติจัดตั้ง สนง.การท่องเที่ยวและกีฬาฯ ครอบคลุม 31 จังหวัด
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด จำนวน 31 สำนักงาน ตามข้อเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
จากเดิมมีการเสนอว่า ก.พ.ร.เสนอว่า จะให้มีการจัดกลุ่มจังหวัด และการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และให้มีการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดได้ จำนวน 18 สำนักงาน มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนกระทรวงศึกษา ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในที่สุด ครม.อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ให้ครอบคลุมทั้งหมด 31 จังหวัด
นอกจากนี้ นายไชยา แถลงด้วยว่า ในวันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551/2555 โดย นายไชยา กล่าวติดตลกว่า บังเอิญตนไม่ได้เป็นรัฐมนตรี จะเสนอร่างยุทธศาสตร์ไข่เค็ม
พ.อ.ประชาสัณห์ ได้แถลงเพิ่มเติมในเรื่องการทำงานของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอีกประเด็นหนึ่งที่ที่ประชุม ครม.ได้มีการหารือกัน คือการใช้อำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การลงนามในหนังสือ การปฏิบัติราชการประจำต่างๆ คงจะมีอำนาจหน้าที่ในการลงนามในหนังสือของทางราชการอยู่ ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย และเรื่องที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี
นอกจากนี้ สำหรับเรื่องของผลงานของคณะรัฐมนตรี ที่เคยมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมเมื่อเดือนก่อน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ กล่าวว่า ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีทั้งผลงานในภาพรวม และผลงานที่แยกแต่ละกระทรวง แต่ละรัฐมนตรี ซึ่งจะได้มีการนำเสนอกันต่อไป
ครม.อนุมัติ กห.เปลี่ยนแปลงงบประมาณโครงการ
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณจากโครงการที่เคยได้รับไป คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการผลิตกระสุนปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง ขนาด 105 มม.ชนิดระเบิดระยะกลาง ตามข้อเสนอของกระทรวงกลาโหม
โครงการนี้ กระทรวงกลาโหมได้รับอนุมัติไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2550 เป็นการผูกพันข้ามปีงบประมาณ (2550-2552) แต่การดำเนินการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนมาแล้วในปีแรก 437 ล้านบาท แต่เนื่องจากในปีปัจจุบันนี้ กระทรวงกลาโหมมีโครงการเร่งด่วนเข้ามา 2 โครงการ ซึ่งได้ขออนุมัติปรับเปลี่ยนโครงการ เพื่อมาใช้ในโครงการปัจจุบันนี้ ได้แก่
1.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคง พ.ศ.2550-2559 ขั้นตอนที่ 1 ของสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม วงเงิน 350 ล้านบาท
2.งานปรับปรุงและการจัดหาเครื่องจักรกล ปรับปรุงสภาพโรงงานและงานผลิตของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร วงเงิน 87.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเป็นข้อตกลงที่กองทัพไทย กับกองทัพของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อตกลงร่วมกันเมื่อเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งเป็นโครงการลงนามร่วมกัน เป็นโครงการนำร่องตามหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทย และหน่วยงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจีน ซึ่งโครงการนี้มีความจำเป็นและมีความสำคัญที่จะต้องพัฒนาปรับปรุง และหาเครื่องจักรกลต่างๆ มาสนับสนุน
กระทรวงกลาโหม ให้เหตุผลว่า เนื่องจากโครงการนี้เป็นไปตามแนวความคิดการป้องกันเชิงรุก ซึ่งการมีอาวุธระยะยิงไกลที่สามารถเข้าโจมตีได้ถึงจุดศูนย์ดุลของข้าศึก ย่อมเป็นเครื่องมือในการป้องปรามไม่ให้เกิดสงคราม และเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองและขีดความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเป็นเหตุผลในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว คือ โครงการนี้ได้ริเริ่มในสมัยที่ท่านเป็นผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งท่านก็จะมีข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน
ครม.อนุมัติหลักเกณฑ์การจัดหาเรือโดยการประกอบรือ -ซ่อมเรือ ของราชการ
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า กระทรวงกลาโหมขอให้ ครม.พิจารณาเพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์การจัดหาเรือ โดยการประกอบ หรือการต่อเรือ หรือการซ่อมเรือ ของทางราชการ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ตามข้อ 2.2 คือ ขอเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนี้ "การจัดหาเรือของทางราชการทหารในกรณีจำเป็น รวมทั้งในกรณีเป็นการสร้างเรือที่ต้องการใช้เทคโนโลยีสูง หรืออู่เรือภายในประเทศไม่มีขีดความสามารถเพียงพอ ให้สามารถจัดหาเรือจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ การพิจารณาความจำเป็นและขีดความสามารถของอู่เรือนั้น รวมทั้งเทคโนโลยีในการสร้างเรือ ให้อยู่ในดุลพินิจของกองทัพเรือ"
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2546 ครม.ได้อนุมัติ เห็นชอบในหลักเกณฑ์การจัดหาเรือโดยการประกอบ การต่อเรือ หรือซ่อมเรืองของทางราชการ 4 ข้อหลัก คือ
1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐ สนับสนุนกิจการอู่เรือภายในประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไข รายละเอียด ให้เกื้อกูลแก่การต่อเรือ ซ่อมเรือ ภายในประเทศ
2. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐ ถ้าประสงค์จะประกอบ ต่อเรือ และซ่อมเรือ จากอู่เรือของทางราชการ และอู่เรือของรัฐวิสาหกิจ หรือจากแหล่งอื่น ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และต่อกรณีตามหลักเหตุผลความจำเป็น
ทั้งนี้ จะต้องแจ้งอู่เรือของรัฐวิสาหกิจให้มีส่วนร่วมในการยื่นซองประกวดราคาด้วยทุกครั้ง
3. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐ ที่จะจัดหาเรือด้วยการกู้เงิน หรือเงินช่วยเหลือ เจรจากับแหล่งเงินเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดหาเรือภายในประเทศได้ทั้งหมด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4. ให้กองทัพเรือ และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ตามที่อู่เรือภายในประเทศจะร้องขอ เกี่ยวกับแบบ หรือรายละเอียด หรือเทคโนโลยี หรือยืมตัวบุคคลเข้ามาช่วยสนับสนุนอู่ต่อเรือของภายในประเทศ
สรุป อู่ต่อเรือภายในประเทศที่อาจจะมีขีดความสามารถในการรับภาระที่จะต่อเรือให้กับทางราชการ โดยเฉพาะทางกองทัพเรือ ไม่ได้ในขีดความสามารถขั้นสูง ก็มีความจำเป็นที่กองทัพเรือจะต้องขอความเห็นชอบจาก ครม.ที่จะขออนุมัติในการประกอบเรือก็ดี ต่อเรือ หรือซ่อมเรือ จากต่างประเทศได้
ซึ่งมีข้อสังเกตจาก ครม.ว่า ในการที่จะให้กองทัพเรือใช้ดุลพินิจว่าจะต่อเรือจากต่างประเทศได้หรือไม่นั้น ก็ควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยอื่นเข้าร่วมพิจารณาด้วย
ครม.อนุมัติการร่วมลงนามระเบียบฯ การลาดตระเวนร่วมช่องแคบมะละกา
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า กระทรวงกลาโหม นำเสนอให้ ครม.เห็นชอบในหลักการการร่วมลงนามในระเบียบปฏิบัติประจำและการเข้าร่วมในการลาดตระเวนร่วมทางทะเลและทางอากาศในช่องแคบมะละกา ดังนี้
1.ให้ผู้แทนของกระทรวงกลาโหม ร่วมลงนามในระเบียบปฏิบัติประจำการลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมลาดตระเวน ตามขีดความสามารถของกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และงบประมาณที่มีอยู่
2.ให้กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือกับประเทศรัฐชายฝั่งทั้ง 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เกี่ยวกับการลงนามและการดำเนินการที่เหมาะสม ให้หน่วยที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2548 ได้มีมติ ครม.จากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีที่สิงคโปร์ ในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา สรุปว่าประเทศไทยจะรับสถานะเป็นรัฐชายฝั่งของช่องแคบมะละกา จะสนับสนุนสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีบทบาทหลักในการรักษาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา โดยมอบให้กระทรวงกลาโหมของไทยเป็นผู้รับผิดชอบ
คืบหน้ามาจนถึงปี 2550 ได้มีการประชุมหารือความคืบหน้าดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าเรื่องนี้หากไม่มีการดำเนินการตามแนวทางที่แน่นอนในการเข้าร่วมลงนามในระเบียบปฏิบัติประจำการลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกา ก็อาจจะส่งผลกระทบในเชิงยุทธศาสตร์ต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยได้ประวิงเวลา โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาต่างๆ ซึ่งอาจจะล่าช้าไป จึงขออนุมัติดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ครม.อนุมัติในหลักการปรับเงินเดือน-ค่าตอบแทนครอบคลุมทหารผ่านศึก
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงอีกว่า กระทรวงกลาโหม ขอให้ ครม.อนุมัติในหลักการกรณีที่ ครม.มีมติให้ปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ โดยให้ขอให้มติ ครม.ดังกล่าว ครอบคลุมถึงการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าว ครม.เคยมีมติไปเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2550 เห็นชอบแนวทางการปรับค่าตอบแทนภาคราชการ ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปรับของข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ครู บุคลากรทางการศึกษา ตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง อัยการ ข้าราชการฝ่ายการเมือง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายๆ ฝ่ายที่ยังไม่ได้ ก็ทยอยขอปรับแก้เพื่อให้ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนอย่างเท่าเทียม ในคราวนี้องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจึงได้ขออนุมัติในหลักการมา
ทั้งนี้ นอกเหนือจากได้รับประโยชน์ในทางเจ้าหน้าที่ได้รับเพิ่มขึ้นด้วยแล้ว ยังเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับทหารผ่านศึกด้วย โดยขอให้ปรับเงินเพิ่มสงเคราะห์รายเดือนทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1 ถึงบัตรชั้นที่ 4 และครอบครัวทหารผ่านศึก ผู้ถือบัตรครอบครัว ในบัตรชั้นที่ 1 ให้สอดคล้องกับการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม.ให้ข้อสังเกตว่า หากสามารถปรับใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเองได้ ก็ให้ปรับใช้ตามความเหมาะสม แต่หากไม่ได้ก็ขอให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
ครม.อนุมัติ พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติในหลักการ พ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ที่เสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
สำหรับสาเหตุในการนำเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เจริญก้าวหน้าในการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีการขยายตัว การเคลื่อนย้ายข้ามแดนของการใช้ประโยชน์สิ่งที่มีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยของเราได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารคาตาเฮนา ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 มาแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามพันธกรณีของพิธีสารดังกล่าว จึงเสนอร่างกฎหมายมาเพื่อพิจารณา
สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว
- กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ
- กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุม การให้มีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
- การให้มีกองทุนความปลอดภัยทางชีวภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการการปฏิบัติต่างๆ และความรับผิดชอบ
- ความชดใช้กรณีเกิดความเสียหายของผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้ว คงจะได้นำเสนอในรัฐบาลชุดต่อไป
ครม.เห็นชอบการคัดเลือกเอกชนดำเนินการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.ให้ความเห็นชอบในเรื่องผลการพิจารณาคัดเลือกเอกชนผู้ยื่นเสนอที่ได้รับคะแนนลำดับที่ 1 ตามที่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานดำเนินการในโครงการศูนย์บริหารการจัดการวัสดุเหลือใช้ อุตสาหกรรมเตาเผาขยะอุตสาหกรรม ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ
อนุมัติผลการเจรจาต่อรองเรื่องผลประโยชน์ของรัฐ ร่วมทั้งร่างสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการบริหารและประกอบการของศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อุตสาหกรรม หรือเตาเผาขยะอุตสาหกรรมที่บางปูด้วย
สาระสำคัญ คือ คณะกรรมการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 49 เห็นชอบในหลักการให้เอกชนเข้าร่วมบริหารในศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้เตาเผาขยะที่นิยมอุตสาหกรรมบางปู โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินงานในโครงการ ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก คณะกรรมการได้คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงาน โดยสรุป รับเข้ามา 4 ราย ปรากฏว่ามีเอกชน 3 ราย ที่เสนอ อีก 1 รายสละสิทธิ์
ลำดับที่ 1 บริษัท กลุ่มร่วมค้าบี วาย เอส ซี
ลำดับที่ 2 บริษัท วังตุลา ดีเวลลอปเมนท์
ลำดับที่ 3 บริษัท เวสเมเนจเมนท์ สยาม จำกัด
คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกตามเหตุตามผลแล้วอนุมัติให้เอกชนผู้ได้รับคะแนนอันดับ 1 คือ กลุ่มร่วมค้าบี วาย เอส ซี ปรากฏว่า สามารถเจรจาต่อรองได้สำเร็จ โดยมีประเด็นการเจรจาต่อรอง 11 ประเด็น จึงลงมติตัดสินเลือกเอกชนรายนี้ เมื่อเดือนตุลาคม 2550 เป็นผู้เข้าดำเนินการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม
เหตุผลที่เลือก กลุ่มร่วมค้าบี วาย เอส ซี มีความพร้อม 3 ด้าน คือ ด้านความเชื่อถือของรายการตามข้อเสนอ ด้านความสอดคล้องของรายการที่เสนอมาเปรียบเทียบกับข้อตกลง และด้านผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐ ได้คะแนนรวมถึง 81.38 คะแนน ซึ่งผลการเจรจาต่อรองใน 11 ประเด็นมีหลายเรื่อง ทั้งเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน เรื่องการชำระผลประโยชน์ให้กับรัฐ เรื่องการยอมรับสภาพของศูนย์ ขณะเข้าดำเนินการ รวมทั้งประเด็นการให้สนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐด้วย
ครม.อนุมัติแผนปรับโครงสร้างบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงิน ขสมก.
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ได้อนุม้ติแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อการฟื้นฟูฐานะการเงินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งกระทรวงคมนาคม
โดย ครม.อนุมัติให้ดำเนินการตามแผนดังกล่าว พร้อมทั้งเร่งรัดในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 แล้วให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรด้านการขนส่ง การประยุกต์ใช้สัญญาพีวีซี ให้ความเห็นชอบในหลักการ ให้ปรับเปลี่ยนระบบค่าโดยสารจากการจัดเก็บเป็นรายสาย และผู้ประกอบการสามารถจัดเก็บรายได้ไว้กับตัว โดยระบบที่ผู้ประกอบการต่างๆ มีหน้าที่เป็นผู้รับจ้างเดินรถ และนำส่งรายได้ค่าโดยสารที่เป็นเงินสดเข้าบัญชีกองทุนกลาง ให้รัฐรับภาระหนี้สินสะสมที่มีอยู่เดิมทั้งหมด อันเนื่องมาจากผลการดำเนินงานขาดทุนของ ขสมก. ที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ
ซึ่งให้ ขสมก.และกระทรวงคมนาคม เร่งหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาแนวทางบริหารจัดการภาระหนี้ รวมดอกเบี้ยของ ขสมก. จำนวน 57,200 ล้านบาท พร้อมทั้งเตรียมการในเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทการให้บริการ ซึ่งต้องแข่งขันกับเอกชน ทั้งนี้ให้มีการจัดทำรายละเอียดแยกบัญชี ระหว่างผลประกอบการที่เกิดจากประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Commercial Basis) กับผลประกอบการที่เกิดจากการดำเนินการตามนโยบาย (Public Service Obligation)
ครม.อนุมัติ ขสมก.กู้เงินชำระหนี้ค่าน้ำมัน-ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย
นายโชติชัย แถลงว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ที่ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ย และหนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย ในปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 - กันยายน 2550) ซึ่งประกอบด้วย
- หนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 3,476 ล้านบาท
- หนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 1,944 ล้านบาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้นไม่เกิน 5,421 ล้านบาท
โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และกำหนดเงื่อนไขในการกู้ดังกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดเงินกู้นั้น ทาง ขสมก.ได้เจรจาต่อรองเพื่อขอลดหนี้ค่าน้ำมัน และค่าเหมาซ่อม พร้อมดอกเบี้ย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทผู้รับเหมาซ่อมรถทั้ง 5 บริษัท โดย ปตท.จะคิดดอกเบี้ยจากอัตรา MOR ทบต้น เป็น MOR -3
ขณะที่รายละเอียดในเรื่องบริษัทผู้รับเหมาซ่อมทั้ง 5 บริษัท ซึ่งจะยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา คือ MOR
ดังนั้น ครม.จึงได้เห็นชอบให้สนับสนุนการกู้เงินเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวของ ขสมก.
ครม.เห็นชอบทบทวนการดำเนินโครงการศูนย์ประชุมฯ จ.เชียงใหม่
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้มีการทบทวนมติเดิมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ โดยให้ทำการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ ณ ที่ราชพัสดุ บริเวณหนองฮ่อ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จัดการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติการเปลี่ยนแปลงแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รายการค่าก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ และศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จำนวน 262 ล้านบาท
ครม.อนุมัติมาตรการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงิน
นายโชติชัย แถลงว่า ครม.ได้อนุมัติแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดยเห็นชอบให้มีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว จึงเห็นควรให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 พร้อมทั้งเงินงบประมาณที่กันไว้เป็นการเบิกเหลื่อมปีของปีงบประมาณ 2546 และ 2550 พร้อมทั้งเร่งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
โดยที่ประชุมมีการรายงานว่า 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 มีการเบิกจ่ายไปแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นอัตราการเบิกจ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการติดขัดในเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับโครงการในเรื่องของมาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งน่าจะมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในปี 51
ผลการเบิกจ่ายที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไปแล้ว 682,550 ล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายปี 51 แล้ว 439,635 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี 2546-2550 จำนวน 39,664 ล้านบาท งบลงทุนประจำปี 2550 ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่ง จำนวน 203,251 ล้านบาท ยังมีเม็ดเงินคงเหลืออยู่ 1,429,558 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องขับเคลื่อนลงสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไปโดยเร็ว
ซึ่งที่ประชุมมีการรายงานถึงรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่ง ที่ยังมีการเบิกจ่ายได้ต่ำ ได้แก่
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. สามารถเบิกจ่ายได้เพียง 496 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 15,553 ล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 3.19
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 4,609 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 16,847 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.36
- โรงงานยาสูบเบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 140 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 4,953 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.83
- บริษัท ทีโอที จำกัด เบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 7,007 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 16,595 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.22
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากโครงการโทรศัพท์ 565,000 เลขหมาย ที่ได้รับอนุมัติงบลงทุนไปแล้ว 3,283 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้เพียง 363 ล้านบาท
- บริษัท กสท โทรคมนาคม เบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 2,394 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 8,091 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.59
สืบเนื่องมาจากโครงการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซีดีเอ็มเอ 2000 ในส่วนภูมิภาค สามารถเบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 3.54
สำหรับปีงบประมาณ 51 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนไปแล้ว 289,756 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของจีดีพี โดยเป็นการลงทุนที่มีความพร้อม จำนวน 216,000 ล้านบาท
สาเหตุหลักของการลงทุนที่ลดลง คือ มีการขออนุมัติโครงการใหม่ลดลงมาก และการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท การบินไทย ที่เปลี่ยนแผนการจัดหาเครื่องบิน จากการซื้อเป็นการเช่าแทน และการเคหแห่งชาติ มีการปรับลดจำนวนการสร้างบ้านในโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นต้น
ครม.อนุมัตจัดสรรงบฯ สนับสนุนการทำงานของเลขาฯ อาเซียน
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ได้อนุมัติการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในกรอบวงเงินไม่เกินปีละ 20 ล้านบาท เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ ดร.สุรินทร์ ในช่วง 5 ปี ในฐานะเลขาธิการอาเซียน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสนับสนุน ดร.สุรินทร์ เป็นการช่วยผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบายของไทยในเวทีอาเซียน และในเวทีโลกด้วย
ครม.อนุมัติการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้มีการอนุมัติการดำเนินงานของโครงการบ้านมั่นคง พร้อมทั้งข้อเสนอต่างๆ ของโครงการบ้านมั่นคง
นอกจากนั้น ยังมีการอนุมัติโครงการบ้านกรมธนารักษ์ด้วย มีวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ประกอบด้วยการสร้างทั้งหมด ประมาณ 964 หน่วย จำนวน 4 โครงการ วันนี้ ครม.ได้อนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรอง ทั้งนี้ เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มก่อสร้าง
ครม.อนุมัติยุทธศาสตร์แก้ปัญหาโลกร้อน
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโลกร้อน ทั้งนี้ เนื่องจากมีความสำคัญต่อประเทศไทย ในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซ บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งการเร่งรัดในกรอบความร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้น และเร่งรัดการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ครม.อนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์ม เพิ่มปริมาณสต๊อกสำรองในประเทศ
นายโชติชัย แถลงว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติในเรื่องเกี่ยวกับการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ดังนี้
1. ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส ปริมาณ 30,000 ตัน โดยนำเข้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า และจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม ตามสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ปี 2550 แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551
2. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิด LC กับธนาคารกรุงไทย เพื่อนำเข้าน้ำมันปาล์ม 30,000 ตัน ในวงเงิน 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ การอนุมัติการนำเข้าดังกล่าวจะไม่มีผลต่อราคาของน้ำมันปาล์ม เพราะเป็นการเพิ่มปริมาณสต๊อกพอเพียง เพื่อลดการเก็งกำไร และลดการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม แต่ภายหลังเดือนมีนาคม จะมีการผลิตน้ำมันปาล์มมากขึ้นแล้ว ก็จะสอดคล้องพอดีกับปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มที่ได้ให้มีการนำเข้าไปแล้ว ซึ่งจะช่วยในเรื่องของน้ำมันปาล์มที่จะนำไปใช้ผลิตไบโอดีเซล ทั้ง บี 20 และบี 100 ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้อาจจะมีสต๊อกคงเหลืออยู่เพียงประมาณ 83,000 ตัน
ครม.เห็นชอบขยายสิทธิพิเศษการลงทุนกิจการเหมืองแร่แก่นักลงทุนอาเซียน
นายโชติชัย แถลงว่า ในวันนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบเรื่องการขยายสิทธิพิเศษการลงทุนในกิจการเหมืองแร่แก่นักลงทุนอาเซียน ให้เท่ากับที่ให้กับนักลงทุนออสเตรเลีย ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ให้ไทยขยายสิทธิพิเศษในการลงทุนในกิจการเหมืองแร่ให้สมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เท่ากับที่ให้กับออสเตรเลีย ภายใต้ความตกลงทาฟต้า โดยให้ถือหุ้นข้างมากได้ไม่เกินร้อยละ 60 ตามเงื่อนไขเดียวกับที่กำหนดให้ทาฟต้า คือ
1. ต้องเป็นธุรกิจที่จดทะเบียน
2. มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3 ต่อ 1
3. คณะกรรมการบริหารจำนวน 2 ใน 5 ต้องมีสัญชาติไทย
4. ต้องได้รับประทานบัตรจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ทั้งนี้ นักลงทุนอาเซียนที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อ สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ครม.เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี 51-55
นายโชติชัย แถลงว่า ในวันนี้ ครม.ได้ให้ความเห็นชอบกับร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี 2551 - 2555 ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1. ร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ที่อนุมัติ ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาไก่ไข่ทั้งระบบ ซึ่งใช้วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 401.5 ล้านบาท
2. อนุมัติให้กรมปศุสัตว์เจียดจ่ายเงินงบประมารปกติ ปี 2551 จำนวน 5 ล้านบาท ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการบริโภคไข่ไก่
3. ให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตั้งงบประมาณรองรับแผนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานต่อ ครม.ว่า ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ปัจจุบันยังสามารถผลิตไข่ไก่ได้ถึง 10,335 ล้านฟอง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 22,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นอันดับ 2 ในด้านสินค้าสัตว์ปีก รองจากไก่เนื้อ
แต่ทั้งนี้ ปัญหาคือตลาดไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 99 ของการผลิตทั้งหมด การส่งออกไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อระบายผลผลิตส่วนเกิน ประมาณ 160 - 200 ล้านฟองต่อปี ซึ่งสามารถส่งออกได้ค่อนข้างต่ำและขาดทุน เพราะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้
ร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มอัตราการบริโภคของคนไทย จาก 160 ฟองต่อคนต่อปี เป็น 200 ต่อคนต่อปี ภายในปี 2555
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มการส่งออกไข่ไก่สด เป็นไข่ไก่แปรรูป
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 นี้เป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ โดยการขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่และสนับสนุนการเพิ่มบทบาทให้ภาคเอกชนรวมกลุ่มเพื่อดูแลอุตสาหกรรมไก่ไข่ทั้งระบบ และมีการสร้างหลักประกันความเสี่ยงในการเลี้ยงไก่ไข่ให้ด้วย พัฒนาวิจัยพันธุ์สัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการสร้างมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าไข่ไก่ โดยฟาร์มไก่ไข่เชิงพาณิชย์จะต้องเข้าสู่มาตรฐานให้ได้ร้อยละ 100 ของจำนวนฟาร์มทั้งหมด และให้มีการเฝ้าระวังป้องกันและความปลอดภัยต่อโรคสัตว์ และยุทธศาสตร์ป้องกันโรคไข้หวัดนก
ซึ่งที่ประชุม ครม.ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เพราะการบริโภคไข่อาจจะมีข้อเสียต่อสุขภาพในเรื่องคอเลสเตอรอล ก็อยากให้มีการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ แต่ให้เข้าใจถึงด้านลบของการบริโภคมากเกินไปด้วย เพื่อให้ดูแลสุขภาพให้เรียบร้อย
ครม.อนุมัติงบกลางกว่าพันล้านบาท
นายโชติชัย แถลงว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
สำนักงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ สำหรับวงเงินที่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งได้มีการรายงานว่า เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะรัฐมนตรีที่เคยอนุมัติ เห็นควรที่นายกรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบ จำนวน 7 เรื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,129 ล้านบาท
เรื่องที่เห็นสมควรอนุมัติ วงเงินเกิน 100 ล้านบาท แบ่งเป็นของ กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม 248 ล้านบาท เรื่องของการสนับสนุนงบประมาณของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน 185 ล้านบาท การขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การฟอกหนัง กระทรวงกลาโหม 458 ล้านบาท การขอรับสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 เพิ่มเติมขององค์การแบตเตอรี่ กระทรวงกลาโหม อีก 189 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,081.38 ล้านบาท
สำหรับรายจ่ายที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งไม่อนุมัติ มี 4 เรื่อง เรื่อง การแก้ไขปัญหาเงินค่าตอบแทนรายเดือนของข้าราชการและเงินวิทยฐานะ ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษา เรื่องงบกลางเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร การขอรับการสนับสนุนงบประมาณของกองทัพอากาศ และเรื่องการของบกลางของกระทรวงวัฒนธรรม
ครม.อนุมัติจัดสรรทุนประเดิมให้แก่ TPBS
นายโชติชัย แถลงว่า ในเรื่องการจัดสรรทุนประเดินให้แก่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นของประธานกรรมการนโยบายและกรรมการบริหารอื่นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติตามที่เสนอ จะมีการจัดสรรทุนประเทินให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพฯ เป็นเงินจำนวน 340 ล้านบาท เพื่อให้องค์การสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงได้ต่อไป
สำหรับเรื่องของประโยชน์ตอบแทนของบุคคลดังกล่าว เช่น ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นๆ ที่มีหน้าที่ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ผลประโยชน์ตอบแทนระบุไว้ตามมาตรา 30 ว่าให้เป็นไปตามกฤษฎีกา ดังนั้นเพื่อให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นๆ ได้รับค่าตอบแทน จึงเห็นควรออกเป็นพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของประธานกรรมการนโยบาย
โดยอัตราค่าตอบแทนของประธานกรรมการนโยบายดังกล่าว เทียบเคียงจากอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สอดคล้องไปกับคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับตัวประธาน ตัวกรรมการ และกรรมการบริหารอื่นๆ ประธานกรรมการนโยบาย 60,000 บาทต่อเดือน กรรมการนโยบาย 50,000 บาทต่อเดือน กรรมการบริหารอื่นๆ 40,000 บาทต่อเดือน เช่น ให้กรรมการนโยบาย รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายเดือน ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท
ส่วนกรรมการบริหารอื่นได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายเดือน อัตราเดือนละ 20,000 บาท ประธานกรรมการนโยบาย ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4 ของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการนโยบายมีสิทธิได้รับ ให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการอื่นๆ มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริง อัตราเบี้ยประกัน คนละไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ครม.เห็นชอบการลงนามร่วมกันระหว่าง ปตท.- ปิโตรนาส
นายโชติชัย แถลงว่า องค์การร่วมไทย-มาเลเซีย ขอความเป็นชอบข้อตกลงเรื่องการผลิตปิโตรเลียมระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของไทยคือ ปตท. ขณะที่ฝ่ายมาเลเซีย คือ ปิโตรนาส จะมีการทำสัญญา 2 ฝ่าย ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที สามารถผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่กำหนด ให้ทำการผลิตร่วมได้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2551
โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดพื้นที่ร่วมกันผลิต ส่วนแบ่งของปิโตรเลียมตามสัดส่วนเบื้องต้น แนวทางการพัฒนาร่วม ชั้นต้น บริษัทผู้ดำเนินการแปลง A 18 เป็นผู้ดำเนินการ อาจจะไม่ใช่ ปตท.เจ้าเดียว
ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในพื้นที่พัฒนาร่วม โดยได้ระบุบริษัทผู้ดำเนินงานแปลง A 18 สามารถดำเนินการผลิตก๊าซจากแหล่งภูมี ได้ทันที ตามแนวการพัฒนาพื้นที่ที่วางไว้ ทั้งนี้ก๊าซที่ผลิตจะทำให้องค์กรร่วมดังกล่าวสามารถส่งมอบก๊าซให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A 18 ระยะที่ 2 จำนวน 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยจะนำส่งก๊าซเข้ามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงธรรมชาติได้กว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี จึงเห็นชอบให้มีการลงนามร่วมกับระหว่างองค์กรร่วมและบริษัท ปิโตรนาส โดยเร็ว
นอกจากนี้ นายโชติชัย แถลงด้วยว่า สำหรับเรื่องท่อก๊าซ ในวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รายงานต่อ ครม.ว่า ยังไม่ได้ข้อยุติระหว่างกระทรวงพลังงานกับกระทรวงการคลัง ยังไม่สามารถรายงานความคืบหน้าได้ระหว่างประชุม ครม.ในครั้งนี้ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีรับทราบ เป็นที่เข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังอยู่แล้ว กระทรวงการคลังสามารถไปเจรจาต่อเพื่อให้บรรลุข้อยุติโดยเร็ว ถ้าสามารถบรรลุข้อยุติภายในรัฐบาลชุดนี้ได้ก็ดี
ครม.ไม่อนุมัติการขอเพิ่มอัตรากำลัง ขรก.ตร.
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.ไม่อนุมัติการขอเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการตำรวจในปีงบประมาณ 2552 โดยเป็นการเพิ่มอัตรากำลังที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการขอเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการตำรวจ ในปีงบประมาณ 2552-2553 ปีละ 8,000 อัตรา สัญญาบัตร 4,000 และชั้นประทวน 4,000 อัตรา รวมทั้งสิ้น 16,000 อัตรา โดยใช้งบประมาณปีละ 925,680 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าวมีการอภิปรายกันอย่างกว้าง โดยสรุป คือ ไม่อนุมัติในเรื่องการเพิ่มอัตราทั้งหมด 16,000 อัตรา แต่อนุมัติในเรื่องการจัดสรรอัตราคืน เนื่องจากการเกษียณอายุราชการของข้าราชการตำรวจ ในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 1,494 อัตรา ส่วนในเรื่องการเพิ่มอัตรานั้น ให้กลับไปพิจารณาทบทวน
ครม.ไฟเขียวก่อสร้างอาคารกองบัญชาการ-ที่พักอาศัย ตร.ภ.8-9
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติการก่อสร้างอาคารกองบัญชาการและที่พักอาศัย 5 ชั้น ของตำรวจภูธรภาค 8 และ 9 พร้อมส่วนประกอบ และขออนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 จำนวน 338 ล้านบาท
ครม.รับทราบมติ กพช.ออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.พิจารณาเรื่องของการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ที่ทางกระทรวงพลังงานเสนอมา 2 ข้อ คือ
1.รับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่องการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน
2.เห็นชอบแผนการดำเนินงานงบประมาณรายได้และแผนการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์ต่างๆ ให้มีการเก็บอัตราค่าธรรมเนียมในรูปแบบเดิมไปก่อน
สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 7 ท่าน จากคณะกรรมการสรรหาเดิม จำนวน 9 ท่าน ซึ่งเป็นมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 มกราคม มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา จำนวน 9 ท่าน ปรากฏว่า วันนี้กระทรวงพลังงานได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ทั้งหมด 7 ท่าน ได้แก่
1.นายชลิต เรืองวิเศษ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง สาขาพลังงานไฟฟ้า
2.นายนพดล มัณฑะจิตร สาขาพลังงานด้านก๊าซธรรมชาติ อดีตอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
3.ศ.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.นางพัลลภา เรืองรอง สาขาเศรษฐศาสตร์คณิตศาสตร์บริหารจัดการ หรือการจัดการพลังงาน ปัจจุบันเป็นนักวิชาการคลัง 9 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง
5.นายจงเจตน์ บุญเกิด สาขาการเงินและการบัญชี เป็นรองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี
6.นายทักษิณ ลิ่มสุวรรณ สาขานิติศาสตร์ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
7.นายศุภชัย ตั้งใจตรง สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเป็น รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาพแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ครม.อนุมัติจัดตั้ง สนง.การท่องเที่ยวและกีฬาฯ ครอบคลุม 31 จังหวัด
นายไชยา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด จำนวน 31 สำนักงาน ตามข้อเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
จากเดิมมีการเสนอว่า ก.พ.ร.เสนอว่า จะให้มีการจัดกลุ่มจังหวัด และการกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และให้มีการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดได้ จำนวน 18 สำนักงาน มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ทั้งในส่วนกระทรวงศึกษา ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในที่สุด ครม.อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ให้ครอบคลุมทั้งหมด 31 จังหวัด
นอกจากนี้ นายไชยา แถลงด้วยว่า ในวันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551/2555 โดย นายไชยา กล่าวติดตลกว่า บังเอิญตนไม่ได้เป็นรัฐมนตรี จะเสนอร่างยุทธศาสตร์ไข่เค็ม
พ.อ.ประชาสัณห์ ได้แถลงเพิ่มเติมในเรื่องการทำงานของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอีกประเด็นหนึ่งที่ที่ประชุม ครม.ได้มีการหารือกัน คือการใช้อำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การลงนามในหนังสือ การปฏิบัติราชการประจำต่างๆ คงจะมีอำนาจหน้าที่ในการลงนามในหนังสือของทางราชการอยู่ ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย และเรื่องที่จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี
นอกจากนี้ สำหรับเรื่องของผลงานของคณะรัฐมนตรี ที่เคยมีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมเมื่อเดือนก่อน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ กล่าวว่า ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีทั้งผลงานในภาพรวม และผลงานที่แยกแต่ละกระทรวง แต่ละรัฐมนตรี ซึ่งจะได้มีการนำเสนอกันต่อไป
ครม.อนุมัติ กห.เปลี่ยนแปลงงบประมาณโครงการ
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณจากโครงการที่เคยได้รับไป คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการผลิตกระสุนปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง ขนาด 105 มม.ชนิดระเบิดระยะกลาง ตามข้อเสนอของกระทรวงกลาโหม
โครงการนี้ กระทรวงกลาโหมได้รับอนุมัติไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2550 เป็นการผูกพันข้ามปีงบประมาณ (2550-2552) แต่การดำเนินการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนมาแล้วในปีแรก 437 ล้านบาท แต่เนื่องจากในปีปัจจุบันนี้ กระทรวงกลาโหมมีโครงการเร่งด่วนเข้ามา 2 โครงการ ซึ่งได้ขออนุมัติปรับเปลี่ยนโครงการ เพื่อมาใช้ในโครงการปัจจุบันนี้ ได้แก่
1.โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดเพื่อความมั่นคง พ.ศ.2550-2559 ขั้นตอนที่ 1 ของสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม วงเงิน 350 ล้านบาท
2.งานปรับปรุงและการจัดหาเครื่องจักรกล ปรับปรุงสภาพโรงงานและงานผลิตของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร วงเงิน 87.5 ล้านบาท
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเป็นข้อตกลงที่กองทัพไทย กับกองทัพของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีข้อตกลงร่วมกันเมื่อเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งเป็นโครงการลงนามร่วมกัน เป็นโครงการนำร่องตามหนังสือแสดงเจตจำนงระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทย และหน่วยงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจีน ซึ่งโครงการนี้มีความจำเป็นและมีความสำคัญที่จะต้องพัฒนาปรับปรุง และหาเครื่องจักรกลต่างๆ มาสนับสนุน
กระทรวงกลาโหม ให้เหตุผลว่า เนื่องจากโครงการนี้เป็นไปตามแนวความคิดการป้องกันเชิงรุก ซึ่งการมีอาวุธระยะยิงไกลที่สามารถเข้าโจมตีได้ถึงจุดศูนย์ดุลของข้าศึก ย่อมเป็นเครื่องมือในการป้องปรามไม่ให้เกิดสงคราม และเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองและขีดความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเป็นเหตุผลในการสนับสนุนโครงการดังกล่าว คือ โครงการนี้ได้ริเริ่มในสมัยที่ท่านเป็นผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งท่านก็จะมีข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน
ครม.อนุมัติหลักเกณฑ์การจัดหาเรือโดยการประกอบรือ -ซ่อมเรือ ของราชการ
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า กระทรวงกลาโหมขอให้ ครม.พิจารณาเพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์การจัดหาเรือ โดยการประกอบ หรือการต่อเรือ หรือการซ่อมเรือ ของทางราชการ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ตามข้อ 2.2 คือ ขอเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าว ดังนี้ "การจัดหาเรือของทางราชการทหารในกรณีจำเป็น รวมทั้งในกรณีเป็นการสร้างเรือที่ต้องการใช้เทคโนโลยีสูง หรืออู่เรือภายในประเทศไม่มีขีดความสามารถเพียงพอ ให้สามารถจัดหาเรือจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ การพิจารณาความจำเป็นและขีดความสามารถของอู่เรือนั้น รวมทั้งเทคโนโลยีในการสร้างเรือ ให้อยู่ในดุลพินิจของกองทัพเรือ"
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2546 ครม.ได้อนุมัติ เห็นชอบในหลักเกณฑ์การจัดหาเรือโดยการประกอบ การต่อเรือ หรือซ่อมเรืองของทางราชการ 4 ข้อหลัก คือ
1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐ สนับสนุนกิจการอู่เรือภายในประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไข รายละเอียด ให้เกื้อกูลแก่การต่อเรือ ซ่อมเรือ ภายในประเทศ
2. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การของรัฐ ถ้าประสงค์จะประกอบ ต่อเรือ และซ่อมเรือ จากอู่เรือของทางราชการ และอู่เรือของรัฐวิสาหกิจ หรือจากแหล่งอื่น ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และต่อกรณีตามหลักเหตุผลความจำเป็น
ทั้งนี้ จะต้องแจ้งอู่เรือของรัฐวิสาหกิจให้มีส่วนร่วมในการยื่นซองประกวดราคาด้วยทุกครั้ง
3. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรของรัฐ ที่จะจัดหาเรือด้วยการกู้เงิน หรือเงินช่วยเหลือ เจรจากับแหล่งเงินเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดหาเรือภายในประเทศได้ทั้งหมด หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4. ให้กองทัพเรือ และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ตามที่อู่เรือภายในประเทศจะร้องขอ เกี่ยวกับแบบ หรือรายละเอียด หรือเทคโนโลยี หรือยืมตัวบุคคลเข้ามาช่วยสนับสนุนอู่ต่อเรือของภายในประเทศ
สรุป อู่ต่อเรือภายในประเทศที่อาจจะมีขีดความสามารถในการรับภาระที่จะต่อเรือให้กับทางราชการ โดยเฉพาะทางกองทัพเรือ ไม่ได้ในขีดความสามารถขั้นสูง ก็มีความจำเป็นที่กองทัพเรือจะต้องขอความเห็นชอบจาก ครม.ที่จะขออนุมัติในการประกอบเรือก็ดี ต่อเรือ หรือซ่อมเรือ จากต่างประเทศได้
ซึ่งมีข้อสังเกตจาก ครม.ว่า ในการที่จะให้กองทัพเรือใช้ดุลพินิจว่าจะต่อเรือจากต่างประเทศได้หรือไม่นั้น ก็ควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยอื่นเข้าร่วมพิจารณาด้วย
ครม.อนุมัติการร่วมลงนามระเบียบฯ การลาดตระเวนร่วมช่องแคบมะละกา
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า กระทรวงกลาโหม นำเสนอให้ ครม.เห็นชอบในหลักการการร่วมลงนามในระเบียบปฏิบัติประจำและการเข้าร่วมในการลาดตระเวนร่วมทางทะเลและทางอากาศในช่องแคบมะละกา ดังนี้
1.ให้ผู้แทนของกระทรวงกลาโหม ร่วมลงนามในระเบียบปฏิบัติประจำการลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมลาดตระเวน ตามขีดความสามารถของกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และงบประมาณที่มีอยู่
2.ให้กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือกับประเทศรัฐชายฝั่งทั้ง 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เกี่ยวกับการลงนามและการดำเนินการที่เหมาะสม ให้หน่วยที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปี 2548 ได้มีมติ ครม.จากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีที่สิงคโปร์ ในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา สรุปว่าประเทศไทยจะรับสถานะเป็นรัฐชายฝั่งของช่องแคบมะละกา จะสนับสนุนสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีบทบาทหลักในการรักษาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา โดยมอบให้กระทรวงกลาโหมของไทยเป็นผู้รับผิดชอบ
คืบหน้ามาจนถึงปี 2550 ได้มีการประชุมหารือความคืบหน้าดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าเรื่องนี้หากไม่มีการดำเนินการตามแนวทางที่แน่นอนในการเข้าร่วมลงนามในระเบียบปฏิบัติประจำการลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกา ก็อาจจะส่งผลกระทบในเชิงยุทธศาสตร์ต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยได้ประวิงเวลา โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาต่างๆ ซึ่งอาจจะล่าช้าไป จึงขออนุมัติดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ครม.อนุมัติในหลักการปรับเงินเดือน-ค่าตอบแทนครอบคลุมทหารผ่านศึก
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงอีกว่า กระทรวงกลาโหม ขอให้ ครม.อนุมัติในหลักการกรณีที่ ครม.มีมติให้ปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ โดยให้ขอให้มติ ครม.ดังกล่าว ครอบคลุมถึงการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ทั้งนี้ ในเรื่องดังกล่าว ครม.เคยมีมติไปเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2550 เห็นชอบแนวทางการปรับค่าตอบแทนภาคราชการ ซึ่งครั้งนั้นเป็นการปรับของข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ครู บุคลากรทางการศึกษา ตุลาการศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง อัยการ ข้าราชการฝ่ายการเมือง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายๆ ฝ่ายที่ยังไม่ได้ ก็ทยอยขอปรับแก้เพื่อให้ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนอย่างเท่าเทียม ในคราวนี้องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกจึงได้ขออนุมัติในหลักการมา
ทั้งนี้ นอกเหนือจากได้รับประโยชน์ในทางเจ้าหน้าที่ได้รับเพิ่มขึ้นด้วยแล้ว ยังเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับทหารผ่านศึกด้วย โดยขอให้ปรับเงินเพิ่มสงเคราะห์รายเดือนทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1 ถึงบัตรชั้นที่ 4 และครอบครัวทหารผ่านศึก ผู้ถือบัตรครอบครัว ในบัตรชั้นที่ 1 ให้สอดคล้องกับการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม.ให้ข้อสังเกตว่า หากสามารถปรับใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเองได้ ก็ให้ปรับใช้ตามความเหมาะสม แต่หากไม่ได้ก็ขอให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
ครม.อนุมัติ พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติในหลักการ พ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ที่เสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
สำหรับสาเหตุในการนำเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจากปัจจุบันนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เจริญก้าวหน้าในการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีการขยายตัว การเคลื่อนย้ายข้ามแดนของการใช้ประโยชน์สิ่งที่มีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยของเราได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารคาตาเฮนา ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 มาแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการตามพันธกรณีของพิธีสารดังกล่าว จึงเสนอร่างกฎหมายมาเพื่อพิจารณา
สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว
- กำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ
- กำหนดหลักเกณฑ์การควบคุม การให้มีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
- การให้มีกองทุนความปลอดภัยทางชีวภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการการปฏิบัติต่างๆ และความรับผิดชอบ
- ความชดใช้กรณีเกิดความเสียหายของผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ผ่านคณะรัฐมนตรีไปแล้ว คงจะได้นำเสนอในรัฐบาลชุดต่อไป
ครม.เห็นชอบการคัดเลือกเอกชนดำเนินการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้
พ.อ.ประชาสัณห์ แถลงว่า ที่ประชุม ครม.ให้ความเห็นชอบในเรื่องผลการพิจารณาคัดเลือกเอกชนผู้ยื่นเสนอที่ได้รับคะแนนลำดับที่ 1 ตามที่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานดำเนินการในโครงการศูนย์บริหารการจัดการวัสดุเหลือใช้ อุตสาหกรรมเตาเผาขยะอุตสาหกรรม ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ
อนุมัติผลการเจรจาต่อรองเรื่องผลประโยชน์ของรัฐ ร่วมทั้งร่างสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการบริหารและประกอบการของศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อุตสาหกรรม หรือเตาเผาขยะอุตสาหกรรมที่บางปูด้วย
สาระสำคัญ คือ คณะกรรมการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 49 เห็นชอบในหลักการให้เอกชนเข้าร่วมบริหารในศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้เตาเผาขยะที่นิยมอุตสาหกรรมบางปู โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินงานในโครงการ ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก คณะกรรมการได้คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงาน โดยสรุป รับเข้ามา 4 ราย ปรากฏว่ามีเอกชน 3 ราย ที่เสนอ อีก 1 รายสละสิทธิ์
ลำดับที่ 1 บริษัท กลุ่มร่วมค้าบี วาย เอส ซี
ลำดับที่ 2 บริษัท วังตุลา ดีเวลลอปเมนท์
ลำดับที่ 3 บริษัท เวสเมเนจเมนท์ สยาม จำกัด
คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกตามเหตุตามผลแล้วอนุมัติให้เอกชนผู้ได้รับคะแนนอันดับ 1 คือ กลุ่มร่วมค้าบี วาย เอส ซี ปรากฏว่า สามารถเจรจาต่อรองได้สำเร็จ โดยมีประเด็นการเจรจาต่อรอง 11 ประเด็น จึงลงมติตัดสินเลือกเอกชนรายนี้ เมื่อเดือนตุลาคม 2550 เป็นผู้เข้าดำเนินการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม
เหตุผลที่เลือก กลุ่มร่วมค้าบี วาย เอส ซี มีความพร้อม 3 ด้าน คือ ด้านความเชื่อถือของรายการตามข้อเสนอ ด้านความสอดคล้องของรายการที่เสนอมาเปรียบเทียบกับข้อตกลง และด้านผลประโยชน์ตอบแทนของรัฐ ได้คะแนนรวมถึง 81.38 คะแนน ซึ่งผลการเจรจาต่อรองใน 11 ประเด็นมีหลายเรื่อง ทั้งเรื่องผลประโยชน์ตอบแทน เรื่องการชำระผลประโยชน์ให้กับรัฐ เรื่องการยอมรับสภาพของศูนย์ ขณะเข้าดำเนินการ รวมทั้งประเด็นการให้สนับสนุนต่างๆ ของภาครัฐด้วย
ครม.อนุมัติแผนปรับโครงสร้างบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงิน ขสมก.
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ได้อนุม้ติแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อการฟื้นฟูฐานะการเงินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งกระทรวงคมนาคม
โดย ครม.อนุมัติให้ดำเนินการตามแผนดังกล่าว พร้อมทั้งเร่งรัดในเรื่องของร่างพระราชบัญญัติบริหารการขนส่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 แล้วให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรด้านการขนส่ง การประยุกต์ใช้สัญญาพีวีซี ให้ความเห็นชอบในหลักการ ให้ปรับเปลี่ยนระบบค่าโดยสารจากการจัดเก็บเป็นรายสาย และผู้ประกอบการสามารถจัดเก็บรายได้ไว้กับตัว โดยระบบที่ผู้ประกอบการต่างๆ มีหน้าที่เป็นผู้รับจ้างเดินรถ และนำส่งรายได้ค่าโดยสารที่เป็นเงินสดเข้าบัญชีกองทุนกลาง ให้รัฐรับภาระหนี้สินสะสมที่มีอยู่เดิมทั้งหมด อันเนื่องมาจากผลการดำเนินงานขาดทุนของ ขสมก. ที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ
ซึ่งให้ ขสมก.และกระทรวงคมนาคม เร่งหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาแนวทางบริหารจัดการภาระหนี้ รวมดอกเบี้ยของ ขสมก. จำนวน 57,200 ล้านบาท พร้อมทั้งเตรียมการในเรื่องการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทการให้บริการ ซึ่งต้องแข่งขันกับเอกชน ทั้งนี้ให้มีการจัดทำรายละเอียดแยกบัญชี ระหว่างผลประกอบการที่เกิดจากประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Commercial Basis) กับผลประกอบการที่เกิดจากการดำเนินการตามนโยบาย (Public Service Obligation)
ครม.อนุมัติ ขสมก.กู้เงินชำระหนี้ค่าน้ำมัน-ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย
นายโชติชัย แถลงว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ที่ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กู้เงินเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ย และหนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย ในปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 - กันยายน 2550) ซึ่งประกอบด้วย
- หนี้ค่าน้ำมันพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 3,476 ล้านบาท
- หนี้ค่าเหมาซ่อมพร้อมดอกเบี้ย วงเงินไม่เกิน 1,944 ล้านบาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้นไม่เกิน 5,421 ล้านบาท
โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และกำหนดเงื่อนไขในการกู้ดังกล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดเงินกู้นั้น ทาง ขสมก.ได้เจรจาต่อรองเพื่อขอลดหนี้ค่าน้ำมัน และค่าเหมาซ่อม พร้อมดอกเบี้ย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทผู้รับเหมาซ่อมรถทั้ง 5 บริษัท โดย ปตท.จะคิดดอกเบี้ยจากอัตรา MOR ทบต้น เป็น MOR -3
ขณะที่รายละเอียดในเรื่องบริษัทผู้รับเหมาซ่อมทั้ง 5 บริษัท ซึ่งจะยังคงคิดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา คือ MOR
ดังนั้น ครม.จึงได้เห็นชอบให้สนับสนุนการกู้เงินเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวของ ขสมก.
ครม.เห็นชอบทบทวนการดำเนินโครงการศูนย์ประชุมฯ จ.เชียงใหม่
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้มีการทบทวนมติเดิมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ โดยให้ทำการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ ณ ที่ราชพัสดุ บริเวณหนองฮ่อ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จัดการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติการเปลี่ยนแปลงแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รายการค่าก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ และศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จำนวน 262 ล้านบาท
ครม.อนุมัติมาตรการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงิน
นายโชติชัย แถลงว่า ครม.ได้อนุมัติแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดยเห็นชอบให้มีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว จึงเห็นควรให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 พร้อมทั้งเงินงบประมาณที่กันไว้เป็นการเบิกเหลื่อมปีของปีงบประมาณ 2546 และ 2550 พร้อมทั้งเร่งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
โดยที่ประชุมมีการรายงานว่า 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2551 มีการเบิกจ่ายไปแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นอัตราการเบิกจ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการติดขัดในเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับโครงการในเรื่องของมาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งน่าจะมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในปี 51
ผลการเบิกจ่ายที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไปแล้ว 682,550 ล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายปี 51 แล้ว 439,635 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี 2546-2550 จำนวน 39,664 ล้านบาท งบลงทุนประจำปี 2550 ของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่ง จำนวน 203,251 ล้านบาท ยังมีเม็ดเงินคงเหลืออยู่ 1,429,558 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องขับเคลื่อนลงสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไปโดยเร็ว
ซึ่งที่ประชุมมีการรายงานถึงรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่ง ที่ยังมีการเบิกจ่ายได้ต่ำ ได้แก่
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. สามารถเบิกจ่ายได้เพียง 496 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 15,553 ล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 3.19
- บริษัท ท่าอากาศยานไทย สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 4,609 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 16,847 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27.36
- โรงงานยาสูบเบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 140 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 4,953 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.83
- บริษัท ทีโอที จำกัด เบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 7,007 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 16,595 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.22
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากโครงการโทรศัพท์ 565,000 เลขหมาย ที่ได้รับอนุมัติงบลงทุนไปแล้ว 3,283 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายได้เพียง 363 ล้านบาท
- บริษัท กสท โทรคมนาคม เบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 2,394 ล้านบาท จากยอดอนุมัติทั้งสิ้น 8,091 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.59
สืบเนื่องมาจากโครงการลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซีดีเอ็มเอ 2000 ในส่วนภูมิภาค สามารถเบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 3.54
สำหรับปีงบประมาณ 51 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินลงทุนไปแล้ว 289,756 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.2 ของจีดีพี โดยเป็นการลงทุนที่มีความพร้อม จำนวน 216,000 ล้านบาท
สาเหตุหลักของการลงทุนที่ลดลง คือ มีการขออนุมัติโครงการใหม่ลดลงมาก และการเปลี่ยนนโยบายการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท การบินไทย ที่เปลี่ยนแผนการจัดหาเครื่องบิน จากการซื้อเป็นการเช่าแทน และการเคหแห่งชาติ มีการปรับลดจำนวนการสร้างบ้านในโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นต้น
ครม.อนุมัตจัดสรรงบฯ สนับสนุนการทำงานของเลขาฯ อาเซียน
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ได้อนุมัติการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการอาเซียน ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในกรอบวงเงินไม่เกินปีละ 20 ล้านบาท เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของ ดร.สุรินทร์ ในช่วง 5 ปี ในฐานะเลขาธิการอาเซียน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสนับสนุน ดร.สุรินทร์ เป็นการช่วยผลักดันยุทธศาสตร์และนโยบายของไทยในเวทีอาเซียน และในเวทีโลกด้วย
ครม.อนุมัติการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้มีการอนุมัติการดำเนินงานของโครงการบ้านมั่นคง พร้อมทั้งข้อเสนอต่างๆ ของโครงการบ้านมั่นคง
นอกจากนั้น ยังมีการอนุมัติโครงการบ้านกรมธนารักษ์ด้วย มีวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท ประกอบด้วยการสร้างทั้งหมด ประมาณ 964 หน่วย จำนวน 4 โครงการ วันนี้ ครม.ได้อนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรอง ทั้งนี้ เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ดำเนินโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มก่อสร้าง
ครม.อนุมัติยุทธศาสตร์แก้ปัญหาโลกร้อน
นายโชติชัย แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโลกร้อน ทั้งนี้ เนื่องจากมีความสำคัญต่อประเทศไทย ในการลดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซ บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งการเร่งรัดในกรอบความร่วมมือกับต่างประเทศให้มากขึ้น และเร่งรัดการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ครม.อนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์ม เพิ่มปริมาณสต๊อกสำรองในประเทศ
นายโชติชัย แถลงว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติในเรื่องเกี่ยวกับการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ดังนี้
1. ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบใส ปริมาณ 30,000 ตัน โดยนำเข้าภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า และจัดสรรให้กับสมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม ตามสัดส่วนการรับซื้อผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ปี 2550 แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตปาล์มที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551
2. อนุมัติให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิด LC กับธนาคารกรุงไทย เพื่อนำเข้าน้ำมันปาล์ม 30,000 ตัน ในวงเงิน 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ การอนุมัติการนำเข้าดังกล่าวจะไม่มีผลต่อราคาของน้ำมันปาล์ม เพราะเป็นการเพิ่มปริมาณสต๊อกพอเพียง เพื่อลดการเก็งกำไร และลดการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม แต่ภายหลังเดือนมีนาคม จะมีการผลิตน้ำมันปาล์มมากขึ้นแล้ว ก็จะสอดคล้องพอดีกับปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มที่ได้ให้มีการนำเข้าไปแล้ว ซึ่งจะช่วยในเรื่องของน้ำมันปาล์มที่จะนำไปใช้ผลิตไบโอดีเซล ทั้ง บี 20 และบี 100 ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้อาจจะมีสต๊อกคงเหลืออยู่เพียงประมาณ 83,000 ตัน
ครม.เห็นชอบขยายสิทธิพิเศษการลงทุนกิจการเหมืองแร่แก่นักลงทุนอาเซียน
นายโชติชัย แถลงว่า ในวันนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบเรื่องการขยายสิทธิพิเศษการลงทุนในกิจการเหมืองแร่แก่นักลงทุนอาเซียน ให้เท่ากับที่ให้กับนักลงทุนออสเตรเลีย ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
ทั้งนี้ ให้ไทยขยายสิทธิพิเศษในการลงทุนในกิจการเหมืองแร่ให้สมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เท่ากับที่ให้กับออสเตรเลีย ภายใต้ความตกลงทาฟต้า โดยให้ถือหุ้นข้างมากได้ไม่เกินร้อยละ 60 ตามเงื่อนไขเดียวกับที่กำหนดให้ทาฟต้า คือ
1. ต้องเป็นธุรกิจที่จดทะเบียน
2. มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3 ต่อ 1
3. คณะกรรมการบริหารจำนวน 2 ใน 5 ต้องมีสัญชาติไทย
4. ต้องได้รับประทานบัตรจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ทั้งนี้ นักลงทุนอาเซียนที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อ สามารถขอใช้สิทธิ์ได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ครม.เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี 51-55
นายโชติชัย แถลงว่า ในวันนี้ ครม.ได้ให้ความเห็นชอบกับร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี 2551 - 2555 ตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1. ร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ที่อนุมัติ ในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาไก่ไข่ทั้งระบบ ซึ่งใช้วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 401.5 ล้านบาท
2. อนุมัติให้กรมปศุสัตว์เจียดจ่ายเงินงบประมารปกติ ปี 2551 จำนวน 5 ล้านบาท ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการบริโภคไข่ไก่
3. ให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตั้งงบประมาณรองรับแผนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานต่อ ครม.ว่า ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี ปัจจุบันยังสามารถผลิตไข่ไก่ได้ถึง 10,335 ล้านฟอง คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 22,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นอันดับ 2 ในด้านสินค้าสัตว์ปีก รองจากไก่เนื้อ
แต่ทั้งนี้ ปัญหาคือตลาดไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคภายในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 99 ของการผลิตทั้งหมด การส่งออกไข่ไก่ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อระบายผลผลิตส่วนเกิน ประมาณ 160 - 200 ล้านฟองต่อปี ซึ่งสามารถส่งออกได้ค่อนข้างต่ำและขาดทุน เพราะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้
ร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มอัตราการบริโภคของคนไทย จาก 160 ฟองต่อคนต่อปี เป็น 200 ต่อคนต่อปี ภายในปี 2555
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มการส่งออกไข่ไก่สด เป็นไข่ไก่แปรรูป
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 นี้เป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ โดยการขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่และสนับสนุนการเพิ่มบทบาทให้ภาคเอกชนรวมกลุ่มเพื่อดูแลอุตสาหกรรมไก่ไข่ทั้งระบบ และมีการสร้างหลักประกันความเสี่ยงในการเลี้ยงไก่ไข่ให้ด้วย พัฒนาวิจัยพันธุ์สัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการสร้างมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าไข่ไก่ โดยฟาร์มไก่ไข่เชิงพาณิชย์จะต้องเข้าสู่มาตรฐานให้ได้ร้อยละ 100 ของจำนวนฟาร์มทั้งหมด และให้มีการเฝ้าระวังป้องกันและความปลอดภัยต่อโรคสัตว์ และยุทธศาสตร์ป้องกันโรคไข้หวัดนก
ซึ่งที่ประชุม ครม.ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เพราะการบริโภคไข่อาจจะมีข้อเสียต่อสุขภาพในเรื่องคอเลสเตอรอล ก็อยากให้มีการส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ แต่ให้เข้าใจถึงด้านลบของการบริโภคมากเกินไปด้วย เพื่อให้ดูแลสุขภาพให้เรียบร้อย
ครม.อนุมัติงบกลางกว่าพันล้านบาท
นายโชติชัย แถลงว่า วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองรายจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
สำนักงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ สำหรับวงเงินที่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งได้มีการรายงานว่า เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะรัฐมนตรีที่เคยอนุมัติ เห็นควรที่นายกรัฐมนตรีจะให้ความเห็นชอบ จำนวน 7 เรื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,129 ล้านบาท
เรื่องที่เห็นสมควรอนุมัติ วงเงินเกิน 100 ล้านบาท แบ่งเป็นของ กองทัพเรือ กระทรวงกลาโหม 248 ล้านบาท เรื่องของการสนับสนุนงบประมาณของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน 185 ล้านบาท การขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมขององค์การฟอกหนัง กระทรวงกลาโหม 458 ล้านบาท การขอรับสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 เพิ่มเติมขององค์การแบตเตอรี่ กระทรวงกลาโหม อีก 189 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,081.38 ล้านบาท
สำหรับรายจ่ายที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งไม่อนุมัติ มี 4 เรื่อง เรื่อง การแก้ไขปัญหาเงินค่าตอบแทนรายเดือนของข้าราชการและเงินวิทยฐานะ ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษา เรื่องงบกลางเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร การขอรับการสนับสนุนงบประมาณของกองทัพอากาศ และเรื่องการของบกลางของกระทรวงวัฒนธรรม
ครม.อนุมัติจัดสรรทุนประเดิมให้แก่ TPBS
นายโชติชัย แถลงว่า ในเรื่องการจัดสรรทุนประเดินให้แก่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นของประธานกรรมการนโยบายและกรรมการบริหารอื่นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติตามที่เสนอ จะมีการจัดสรรทุนประเทินให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพฯ เป็นเงินจำนวน 340 ล้านบาท เพื่อให้องค์การสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงได้ต่อไป
สำหรับเรื่องของประโยชน์ตอบแทนของบุคคลดังกล่าว เช่น ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นๆ ที่มีหน้าที่ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ผลประโยชน์ตอบแทนระบุไว้ตามมาตรา 30 ว่าให้เป็นไปตามกฤษฎีกา ดังนั้นเพื่อให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นๆ ได้รับค่าตอบแทน จึงเห็นควรออกเป็นพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของประธานกรรมการนโยบาย
โดยอัตราค่าตอบแทนของประธานกรรมการนโยบายดังกล่าว เทียบเคียงจากอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้สอดคล้องไปกับคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับตัวประธาน ตัวกรรมการ และกรรมการบริหารอื่นๆ ประธานกรรมการนโยบาย 60,000 บาทต่อเดือน กรรมการนโยบาย 50,000 บาทต่อเดือน กรรมการบริหารอื่นๆ 40,000 บาทต่อเดือน เช่น ให้กรรมการนโยบาย รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายเดือน ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท
ส่วนกรรมการบริหารอื่นได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมรายเดือน อัตราเดือนละ 20,000 บาท ประธานกรรมการนโยบาย ได้รับเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4 ของอัตราเบี้ยประชุมที่กรรมการนโยบายมีสิทธิได้รับ ให้ประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการอื่นๆ มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริง อัตราเบี้ยประกัน คนละไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ครม.เห็นชอบการลงนามร่วมกันระหว่าง ปตท.- ปิโตรนาส
นายโชติชัย แถลงว่า องค์การร่วมไทย-มาเลเซีย ขอความเป็นชอบข้อตกลงเรื่องการผลิตปิโตรเลียมระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของไทยคือ ปตท. ขณะที่ฝ่ายมาเลเซีย คือ ปิโตรนาส จะมีการทำสัญญา 2 ฝ่าย ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที สามารถผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่กำหนด ให้ทำการผลิตร่วมได้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2551
โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดพื้นที่ร่วมกันผลิต ส่วนแบ่งของปิโตรเลียมตามสัดส่วนเบื้องต้น แนวทางการพัฒนาร่วม ชั้นต้น บริษัทผู้ดำเนินการแปลง A 18 เป็นผู้ดำเนินการ อาจจะไม่ใช่ ปตท.เจ้าเดียว
ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในพื้นที่พัฒนาร่วม โดยได้ระบุบริษัทผู้ดำเนินงานแปลง A 18 สามารถดำเนินการผลิตก๊าซจากแหล่งภูมี ได้ทันที ตามแนวการพัฒนาพื้นที่ที่วางไว้ ทั้งนี้ก๊าซที่ผลิตจะทำให้องค์กรร่วมดังกล่าวสามารถส่งมอบก๊าซให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A 18 ระยะที่ 2 จำนวน 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยจะนำส่งก๊าซเข้ามาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงธรรมชาติได้กว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี จึงเห็นชอบให้มีการลงนามร่วมกับระหว่างองค์กรร่วมและบริษัท ปิโตรนาส โดยเร็ว
นอกจากนี้ นายโชติชัย แถลงด้วยว่า สำหรับเรื่องท่อก๊าซ ในวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รายงานต่อ ครม.ว่า ยังไม่ได้ข้อยุติระหว่างกระทรวงพลังงานกับกระทรวงการคลัง ยังไม่สามารถรายงานความคืบหน้าได้ระหว่างประชุม ครม.ในครั้งนี้ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีรับทราบ เป็นที่เข้าใจว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังอยู่แล้ว กระทรวงการคลังสามารถไปเจรจาต่อเพื่อให้บรรลุข้อยุติโดยเร็ว ถ้าสามารถบรรลุข้อยุติภายในรัฐบาลชุดนี้ได้ก็ดี