ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในประเทศไทยนั้น ได้เติบโตอย่างต่อเนื่องภายหลังจากการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศเมื่อประมาณ 6 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย มีมูลค่าตลาดประมาณ 5,600 ล้านบาท ขยายตัวจากปี 2549 ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 5,200 ล้านบาท เนื่องจากการขยายจำนวนสถานบริการที่เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น และการลดราคาค่าบริการลงค่อนข้างมากของบรรดาผู้ให้บริการฟิตเนสระดับกลางและระดับล่าง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้ง่ายขึ้น ซึ่งธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย ยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเป็นสมาชิกฟิตเนสต่อจำนวนประชากรในประเทศ (Penetration Rate) เข้าใกล้ 1% เท่านั้น ซึ่งขยายตัวจากปี 2549 ที่มีอัตราการเป็นสมาชิก ฟิตเนสต่อจำนวนประชากรที่ 0.6% โดยยังคงสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกมากหากเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่มีอัตราการเป็นสมาชิกฟิตเนสที่สูงกว่าประเทศไทย เช่น มาเลเซีย มีอัตราการเป็นสมาชิกฟิตเนสต่อจำนวนประชากรในประเทศที่ 1.1% ญี่ปุ่นที่ 2.7% ฮ่องกงที่ 4.7% และสิงคโปร์ที่ 7.1% เป็นต้น ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัจจัยภายนอก...กระแสรักสุขภาพหนุนต่อเนื่อง
กระแสรักสุขภาพถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์ ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นอิทธิพลที่สามารถกระตุ้นความต้องการภายในของผู้บริโภคให้เกิดการใส่ใจรักษาสุขภาพของตนเอง ซึ่งกระแสรักสุขภาพได้เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
โรคภัยไข้เจ็บที่ประชาชนเผชิญมีเพิ่มมากขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบโรคภัยไข้เจ็บแปลกใหม่ที่สามารถทำให้ประชาชนเสียชีวิตได้มากขึ้น ประชาชนเริ่มเข้าใจและพยายามหาหนทางที่จะป้องกันตนเองไม่ให้เป็นผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เหล่านี้ หันมาออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
การรณรงค์และสนับสนุนการออกกำลังกายจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาลโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมและเผยแพร่โฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันการทำงานของประชาชนมักอยู่ในอาคารสำนักงานต่างๆ โดยใช้เวลาในการทำงานตั้งแต่ 08.00-17.00 น.หรืออาจยาวนานมากกว่านั้น อีกทั้งสวนสาธารณะ หรือลานกีฬาตามบริเวณต่างๆ ที่ใช้สำหรับออกกำลังกายก็อยู่ห่างไกล และใช้เวลาในการเดินทางค่อนข้างมาก และการออกกำลังกายด้วยตนเองทั้งที่บ้านหรือตามสวนสาธารณะหรือลานกีฬาอาจจะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการออกกำลังกายได้ง่าย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับความต้องการออกกำลังกายในสถานที่ที่สามารถเดินทางได้สะดวก มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและควบคุม
ปัจจัยภายใน...จุดเด่นที่แตกต่างของธุรกิจ
ลักษณะของการให้บริการของธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจการให้บริการสถานออกกำลังกายอื่นๆ ในตลาดสถานออกกำลังกายทั้งสโมสร (Mega Club) ศูนย์กีฬา (Multi-Sports Center) และศูนย์บริการเฉพาะ (Niche Club) ดังนี้
สมัครเข้าใช้บริการได้ง่าย ด้วยข้อจำกัดของการสมัครเพื่อเป็นสมาชิกของสโมสร หรือศูนย์กีฬาที่จะสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเข้าใช้บริการได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นบริการสำหรับลูกค้าในวงจำกัด ขณะที่ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ สามารถทำการสมัครเป็นสมาชิกเข้าใช้บริการได้โดยไม่มีข้อจำกัด และรองรับต่อจำนวนผู้สนใจใช้บริการได้มาก
ค่าบริการที่ไม่สูงมากนัก ฟิตเนส เซ็นเตอร์ จะเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิกในอัตราที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉลี่ยค่าบริการที่เรียกเก็บจากสมาชิกรวมทั้งสิ้นจะอยู่ที่ประมาณ 500-2,000 บาทต่อเดือนขึ้นอยู่กับสถานที่ จำนวน ประเภท และรูปแบบการออกกำลังกายที่แต่ละแห่งมี ?สถานที่ตั้งสามารถเดินทางสะดวก และใช้พื้นที่ในการจัดตั้งที่ต่ำ เนื่องจากฟิตเนส เซ็นเตอร์ มักตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณแหล่งชุมชนที่ประชาชนสามารถเดินทางมาใช้บริการได้สะดวก โดยเฉลี่ยจะใช้พื้นที่เพียงประมาณ 700-3,000 ตารางเมตร ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถหาสถานที่จัดตั้งได้ไม่ยากนัก
รูปแบบกิจกรรมมีความหลากหลาย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบ โดยได้ขยายรูปแบบกิจกรรมการให้บริการออกไปให้มีความหลากหลายมากขึ้น ปัจจุบัน ฟิตเนส เซ็นเตอร์ บางแห่งได้เพิ่มกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิก เช่น บริการสปา บริการเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ บริการยืมสื่อบันเทิงต่างๆ ทั้งในรูปแบบซีดี และดีวีดี กลับบ้าน หรือแม้กระทั่งการเปิดให้บริการร้านอาหาร ร้านเสริมความงามในฟิตเนส เซ็นเตอร์ เป็นต้น
รูปแบบการให้บริการที่มีความยืดหยุ่น ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีช่วงเวลาในการเปิดให้บริการแก่สมาชิกที่ยืดหยุ่นมากกว่าธุรกิจออกกำลังกายอื่น ส่วนมากมักเปิดบริการตั้งแต่ 08.00-20.00 น.แต่ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในปัจจุบันบางแห่งได้ขยายช่วงเวลาการเปิดให้บริการตั้งแต่หกโมงเช้าจนถึงเที่ยงคืน หรือบางแห่งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สมาชิกฟิตเนส เซ็นเตอร์ บางแห่งยังสามารถใช้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์ในต่างสาขากันได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2551 นี้ ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์จะยังคงสามารถขยายตัวต่อไปโดยคาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 7% จากปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ด้วยสาเหตุหลักจากกระแสการรักสุขภาพที่เพิ่มระดับมากขึ้น และการพัฒนารูปแบบการให้บริการของผู้ให้บริการเพื่อสร้างความแตกต่างทั้งด้านสินค้าและการให้บริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายจำนวนสาขาและสถานที่ให้บริการที่จะครอบคลุม เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้นเสริมด้วยกลยุทธทางการตลาดของผู้ให้บริการ แต่ทั้งนี้ คุณภาพในการให้บริการและการให้ความใส่ใจแก่สมาชิกขณะมาใช้บริการออกกำลังกายของผู้ให้บริการยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเป็นสมาชิกฟิตเนสต่อจำนวนประชากรในประเทศ (Penetration Rate) เข้าใกล้ 1% เท่านั้น ซึ่งขยายตัวจากปี 2549 ที่มีอัตราการเป็นสมาชิก ฟิตเนสต่อจำนวนประชากรที่ 0.6% โดยยังคงสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกมากหากเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียที่ส่วนใหญ่มีอัตราการเป็นสมาชิกฟิตเนสที่สูงกว่าประเทศไทย เช่น มาเลเซีย มีอัตราการเป็นสมาชิกฟิตเนสต่อจำนวนประชากรในประเทศที่ 1.1% ญี่ปุ่นที่ 2.7% ฮ่องกงที่ 4.7% และสิงคโปร์ที่ 7.1% เป็นต้น ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัจจัยภายนอก...กระแสรักสุขภาพหนุนต่อเนื่อง
กระแสรักสุขภาพถือได้ว่ามีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์ ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นอิทธิพลที่สามารถกระตุ้นความต้องการภายในของผู้บริโภคให้เกิดการใส่ใจรักษาสุขภาพของตนเอง ซึ่งกระแสรักสุขภาพได้เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
โรคภัยไข้เจ็บที่ประชาชนเผชิญมีเพิ่มมากขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบโรคภัยไข้เจ็บแปลกใหม่ที่สามารถทำให้ประชาชนเสียชีวิตได้มากขึ้น ประชาชนเริ่มเข้าใจและพยายามหาหนทางที่จะป้องกันตนเองไม่ให้เป็นผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เหล่านี้ หันมาออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
การรณรงค์และสนับสนุนการออกกำลังกายจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาลโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมและเผยแพร่โฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนหันมาออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันการทำงานของประชาชนมักอยู่ในอาคารสำนักงานต่างๆ โดยใช้เวลาในการทำงานตั้งแต่ 08.00-17.00 น.หรืออาจยาวนานมากกว่านั้น อีกทั้งสวนสาธารณะ หรือลานกีฬาตามบริเวณต่างๆ ที่ใช้สำหรับออกกำลังกายก็อยู่ห่างไกล และใช้เวลาในการเดินทางค่อนข้างมาก และการออกกำลังกายด้วยตนเองทั้งที่บ้านหรือตามสวนสาธารณะหรือลานกีฬาอาจจะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการออกกำลังกายได้ง่าย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับความต้องการออกกำลังกายในสถานที่ที่สามารถเดินทางได้สะดวก มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและควบคุม
ปัจจัยภายใน...จุดเด่นที่แตกต่างของธุรกิจ
ลักษณะของการให้บริการของธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจการให้บริการสถานออกกำลังกายอื่นๆ ในตลาดสถานออกกำลังกายทั้งสโมสร (Mega Club) ศูนย์กีฬา (Multi-Sports Center) และศูนย์บริการเฉพาะ (Niche Club) ดังนี้
สมัครเข้าใช้บริการได้ง่าย ด้วยข้อจำกัดของการสมัครเพื่อเป็นสมาชิกของสโมสร หรือศูนย์กีฬาที่จะสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเข้าใช้บริการได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นบริการสำหรับลูกค้าในวงจำกัด ขณะที่ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์ สามารถทำการสมัครเป็นสมาชิกเข้าใช้บริการได้โดยไม่มีข้อจำกัด และรองรับต่อจำนวนผู้สนใจใช้บริการได้มาก
ค่าบริการที่ไม่สูงมากนัก ฟิตเนส เซ็นเตอร์ จะเรียกเก็บค่าบริการจากสมาชิกในอัตราที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉลี่ยค่าบริการที่เรียกเก็บจากสมาชิกรวมทั้งสิ้นจะอยู่ที่ประมาณ 500-2,000 บาทต่อเดือนขึ้นอยู่กับสถานที่ จำนวน ประเภท และรูปแบบการออกกำลังกายที่แต่ละแห่งมี ?สถานที่ตั้งสามารถเดินทางสะดวก และใช้พื้นที่ในการจัดตั้งที่ต่ำ เนื่องจากฟิตเนส เซ็นเตอร์ มักตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณแหล่งชุมชนที่ประชาชนสามารถเดินทางมาใช้บริการได้สะดวก โดยเฉลี่ยจะใช้พื้นที่เพียงประมาณ 700-3,000 ตารางเมตร ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถหาสถานที่จัดตั้งได้ไม่ยากนัก
รูปแบบกิจกรรมมีความหลากหลาย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบ โดยได้ขยายรูปแบบกิจกรรมการให้บริการออกไปให้มีความหลากหลายมากขึ้น ปัจจุบัน ฟิตเนส เซ็นเตอร์ บางแห่งได้เพิ่มกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิก เช่น บริการสปา บริการเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ บริการยืมสื่อบันเทิงต่างๆ ทั้งในรูปแบบซีดี และดีวีดี กลับบ้าน หรือแม้กระทั่งการเปิดให้บริการร้านอาหาร ร้านเสริมความงามในฟิตเนส เซ็นเตอร์ เป็นต้น
รูปแบบการให้บริการที่มีความยืดหยุ่น ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีช่วงเวลาในการเปิดให้บริการแก่สมาชิกที่ยืดหยุ่นมากกว่าธุรกิจออกกำลังกายอื่น ส่วนมากมักเปิดบริการตั้งแต่ 08.00-20.00 น.แต่ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ในปัจจุบันบางแห่งได้ขยายช่วงเวลาการเปิดให้บริการตั้งแต่หกโมงเช้าจนถึงเที่ยงคืน หรือบางแห่งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สมาชิกฟิตเนส เซ็นเตอร์ บางแห่งยังสามารถใช้บริการฟิตเนส เซ็นเตอร์ในต่างสาขากันได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2551 นี้ ธุรกิจฟิตเนส เซ็นเตอร์จะยังคงสามารถขยายตัวต่อไปโดยคาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 7% จากปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ด้วยสาเหตุหลักจากกระแสการรักสุขภาพที่เพิ่มระดับมากขึ้น และการพัฒนารูปแบบการให้บริการของผู้ให้บริการเพื่อสร้างความแตกต่างทั้งด้านสินค้าและการให้บริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายจำนวนสาขาและสถานที่ให้บริการที่จะครอบคลุม เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้นเสริมด้วยกลยุทธทางการตลาดของผู้ให้บริการ แต่ทั้งนี้ คุณภาพในการให้บริการและการให้ความใส่ใจแก่สมาชิกขณะมาใช้บริการออกกำลังกายของผู้ให้บริการยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน