xs
xsm
sm
md
lg

เจอกันจีน-เกาหลีเหนือ! ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ลงนามข้อตกลงพัฒนาระบบสกัดกั้นขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ กำลังมีแผนพัฒนาระบบสกัดกั้นสำหรับสอยขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ภายในปี 2030 ภายใต้สัญญาหนึ่งที่ลงนามโดยทั้ง 2 ประเทศ เมื่อวันพุธ (15 พ.ค.)

แผนดังกล่าวซึ่งรายงานข่าวระบุว่า น่าจะใช้ต้นทุนมากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ เคยถูกแถลงออกมาเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคมปีก่อน ครั้งที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศพบปะกัน ณ ที่ประชุมซัมมิตหนึ่งกับเกาหลีใต้ ในแคมป์เดวิด รอบนอกกรุงวอชิงตัน

"ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แถวๆ ญี่ปุุ่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับขีปนาวุธ ในนั้นรวมถึงอาวุธไฮเปอร์โซนิกมีพัฒนาการขึ้นอย่างมาก" กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวในถ้อยแถลง ในเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสำหรับร่วมพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าระบบ Glide Phase Interceptor (GPI) "การเสริมความเข้มแข็งแก่ศักยภาพในการสกัดกั้นอาวุธดังกล่าวจึงเป็นประเด็นเร่งด่วน"

รัฐบาลญี่ปุ่นได้นับรวมงบประมาณ 75,000 ล้านเยน (ราว 480 ล้านดอลลาร์) สำหรับพัฒนาระบบสกัดกั้น อยู่ในงบประมาณปี 2024 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกพุ่งด้วยความเร็วเหนือเสียง 5 เท่า และมีวิถีโคจรที่ไม่แน่นอน ดังนั้นจึงทำให้มันยากต่อการสกัดกั้น

งบประมาณ 75,00 ล้านเยน เป็นส่วนหนึ่งของร่างงบประมาณกลาโหมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 7.95 ล้านล้านเยน ที่ผ่านความเห็นชอบเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางความตึงเครียดที่พุ่งสูงกับจีนและเกาหลีเหนือ

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ รับปากว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมให้เทียบเท่ากับมาตรฐานของนาโตที่ 2% ของจีดีพีภายในปี 2027

ญี่ปุ่น มีรัฐธรรมนูญฉบับสันติภาพหลังสงคราม ซึ่งจำกัดศักยภาพด้านการทหารของพวกเขา เหลือไว้เพียงแค่มาตรการป้องกันตนเองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ปรับปรุงนโยบายความมั่นคงและกลาโหมสำคัญๆ ในปี 2022 ความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดว่ามีต้นตอจากภัยคุกคามจากจีน

(ที่มา : เอเอฟพี)


กำลังโหลดความคิดเห็น