ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในจีนอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จีนจะใช้ปฏิบัติการทางทหารกับไต้หวัน ตามคำกล่าวของประธานคณะกรรมาธิการด้านจีนของสภาคองเกรสหรัฐฯ จากรีพับลิกัน ในวันจันทร์ (11 ก.ย.) ความคิดเห็นที่สวนทางกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่มองว่าปัญหาทางเศรษฐกิจของปักกิ่ง ทำให้มันมีความเป็นไปได้ลดน้อยลง
ไบเดน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (10 ก.ย.) เรียกปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนว่า "วิกฤต" และกล่าวระหว่างเดินทางทัวร์เอเชีย ไม่คิดว่ามันจะเป็นต้นตอให้จีนตัดสินใจรุกรานไต้หวัน โดยเน้นว่าจากภาวการณ์ดังกล่าวทำให้เขารู้สึกว่า ปักกิ่งอาจไม่มีศักยภาพแบบเดียวกับที่เคยมีก่อนหน้านี้
"ผมไม่รู้ว่ามันเป็นจริงหรือไม่" ไมค์ กัลลาเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันกับจีน แห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ บอกกับกิจกรรมหนึ่งของสภาความพันธ์ระหว่างประเทศ ในนิวยอร์ก "ผมคิดว่ามันมีความเป็นไปได้ ด้วยจีนเผชิญหน้ากับประเด็นปัญหาทางประชากรศาสตร์และเศรษฐกิจร้ายแรงอย่างร้ายแรง สี จิ้นผิง อาจยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น และคาดเดาได้ยากกว่าเดิมและทำอะไรที่โง่ๆ บางอย่าง"
สมาชิกสภาคองเกรสรายนี้ชี้แจงว่าเขาหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาในฐานะเป็นอีกหนึ่งในสมมติฐาน และไม่ได้มีเจตนาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของไบเดน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทัพจีนยกระดับความเคลื่อนไหวรอบเกาะไต้หวัน ซึ่งปักกิ่งกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ในขณะที่ วิลเลียม เบิร์นส ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) เผยว่า สี ได้ออกคำสั่งให้กองทัพปลดแอกประชาชนจีน พร้อมสำหรับรุกรานภายในปี 2027 แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะสั่งให้ดำเนินการเช่นนั้น
กัลลาเดอร์ เผยว่าเขาเดินทางมายังนิวยอร์ก โดยมีเป้าหมายโดยเฉพาะเพื่อทำงานร่วมกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงิน สำหรับประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อระบบการเงินโลก ในกรณีทีจีนรุกรานหรือปิดล้อมไต้หวัน
แหล่งข่าวใกล้ชิดรายหนึ่ง เปิดเผยว่า บรรดาผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการลงทุนหลักๆ ทั้งหลาย ผู้บริหารอดีตและปัจจุบันจากอุตสาหกรรมยา แร่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากและเหมืองแร่ เช่นเดียวกับบรรดานายพลปลดเกษียณ จะเข้าร่วมชมการซ้อมรบหนึ่งหลังจากนี้ในวันอังคาร (12 ก.ย.)
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจีนเริ่มหนักหน่วงมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการงดเข้าร่วมประชุมจี20 ของ สี จิ้นผิง เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ บอกว่าปักกิ่งมีทรัพยากรต่างๆ ที่จะจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่พวกเขาอาจต้องเผชิญกับประเด็นปัญหาเศรษฐกิจในทางโครงสร้างในระยะยาว อย่างเช่นในด้านประชากรศาสตร์ และยอดหนี้ระดับสูง
(ที่มา : รอยเตอร์)