xs
xsm
sm
md
lg

รอยเตอร์รายงาน ‘เอเปก’ ให้คำมั่นส่งเสริมเพิ่มพูนการค้า ขณะที่ความแตกร้าวทางภูมิรัฐศาสตร์ทำ ‘3 ซัมมิต’ ซึ่งจัดในเอเชียอาคเนย์ ‘งานกร่อย’

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บรรดาผู้นำของ 21 สมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ให้คำมั่นในวันเสาร์ (19 พ.ย.) ที่จะส่งเสริมเพิ่มพูนการค้า และจะลงมือทำให้มากขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจอย่างอื่นๆ เป็นการสรุปปิดม่านการประชุมซัมมิตนานาชาติงานสุดท้ายใน 3 งานซึ่งจัดขึ้นในภูมิภาคนี้ภายในเวลา 1 สัปดาห์เศษ ซึ่งถูกบดบังจากความเป็นปรปักษ์กันทางภูมิรัฐศาสตร์อันตึงเครียดที่กำลังครอบงำโลกอยู่ในเวลานี้

ซัมมิต 3 ครั้งนี้มีผู้นำระดับโลกเข้าร่วมการประชุม แต่บ่อยครั้งที่การเจรจาหารือต้องมีอันสะดุดถูกขัดจังหวะจากความเครียดเค้นที่ปลิวกระจายไปทั่ว ทั้งจากสงครามในยูเครน ตลอดจนจากจากสถานการณ์ที่จุดร้อนๆ อย่างช่องแคบไต้หวัน และคาบสมุทรเกาหลี

เริ่มตั้งแต่ซัมมิตของสมาคมอาเซียน ที่มีทั้งผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เข้าร่วม โดยจัดขึ้นที่กัมพูชา จากนั้นก็เป็นกลุ่ม 20 ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก (จี20) ซึ่งพบปะกันที่เกาะบาหลี ของอินโดนีเซีย

สำหรับการประชุมเอเปก ถูกขัดจังหวะเมื่อวันศุกร์ (18) โดยที่รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ซึ่งเป็นหัวหน้าของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ได้เรียกประชุมฉุกเฉินเหล่าชาติพันธมิตรของตน ข้างเคียงซัมมิตตัวหลัก เพื่อประณามเกาหลีเหนือซึ่งยิงทดสอบขีปนาวุธแบบทิ้งตัวข้ามทวีป (ICBM) ที่มีศักยภาพไปไกลถึงสหรัฐฯ

ในวันเสาร์ (19) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยซึ่งเป็นประธานเอเปกวาระปัจจุบัน พยายามหาทางดึงโฟกัสกลับมายังพวกประเด็นทาเศรษฐกิจ และกล่าวว่า เอเปกได้ “สร้างความก้าวหน้าที่สำคัญๆ ด้วยการเห็นชอบกับแผนปฏิบัติงานที่ครอบคลุมระยะเวลาหลายปี เพื่อสร้าง “เขตการค้าเสรีและเอเชีย-แปซิฟิก” (Free Trade Area of the Asia-Pacific หรือ FTAAP) ขึ้นมา

ขณะที่คำแถลงร่วมของบรรดาผู้นำเอเปก ซึ่งออกมาในตอนสิ้นสุดการประชุม ระบุว่า ทางกลุ่มจะยึดมั่นและเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ระบบการค้าพหุภาคีชนิดที่ยึดโยงกับกฎระเบียบ แต่เวลาเดียวกันก็ยอมรับว่าจำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างเข้มข้นเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ อย่างเรื่อง อัตราเงินฟ้อที่กำลังพุ่งสูง ความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล และภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งหลาย

“ปีนี้เรายังเป็นประจักษ์พยานของสงครามในยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้นอีก” คำแถลงร่วมนี้บอก พร้อมกับอ้างอิงถึงญัตติที่ผ่านการรับรองด้วยเสียงข้างมาก ณ การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่ง “ตำหนิติเตียนด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุดต่อการรุกรานยูเครนของสหพันธรัฐรัสเซีย และเรียกร้องให้รัสเซียถอนออกไปจากดินแดนของยูเครนอย่างสมบูรณ์และอย่างไม่มีเงื่อนไข”

จากนั้นคำแถลงร่วมของเอเปกกล่าวว่า สำหรับที่ประชุมซัมมิตคราวนี้ “สมาชิกส่วนใหญ่ประณามสงครามในยูเครนอย่างแข็งขัน และเน้นย้ำว่ามันกำลังก่อให้เกิดความทุกข์ยากเดือดร้อนแก่มนุษย์อย่างมหาศาล และกำลังทำให้ความอ่อนเปราะต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาอยู่แล้วในเศรษฐกิจโลกยิ่งทรุดหนักลงไปอีก”

อย่างไรก็ดี คำแถลงร่วมบอกด้วยว่า “ยังมีทัศนะมุมมองและการประเมินอย่างอื่นๆ ที่แตกต่างออกไป” พร้อมกับระบุว่า “ด้วยความสำนึกว่า เอเปกไม่ใช่เวทีประชุมเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาต่างๆ ด้านความมั่นคง แต่เราตระหนักดีว่าประเด็นปัญหาต่างๆ ด้านความมั่นคงสามารถที่จะมีผลต่อเนื่องอย่างสำคัญให้แก่เศรษฐกิจ”

ทั้งนี้ คำแถลงร่วมนี้ของเอเปก แทบจะใช้ถ้อยคำอย่างเดียวกับคำแถลงร่วม ณ ซัมมิต จี20 ที่อินโดนีเซีย ซึ่งบรรดาสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมได้รับรองด้วยเสียงเอกฉันท์ โดยที่มีคณะผู้แทนของรัสเซียอยู่ในที่ประชุมด้วย เช่นเดียวกับผู้แทนของจีนและอีกหลายชาติซึ่งที่ผ่านมา ต่างไม่เปิดปากวิพากษ์วิจารณ์การรุกรานยูเครนของรัสเซีย

รัสเซียนั้นเป็นสมาชิกรายหนึ่งของเอเปก ด้วย โดยในคราวนี้จัดส่ง อันเดร เบลูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง เป็นตัวแทนเข้าประชุมที่กรุงเทพฯ แทนประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน

(ที่มา : รอยเตอร์)
กำลังโหลดความคิดเห็น