ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ในวันพุธ (16 มี.ค.) เรียกประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียว่าเป็น "อาชญากรสงคราม" ต่อการโจมตียูเครน พร้อมแถลงมอบเงินช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่เคียฟเพิ่มเติมอีก 800 ล้านดอลลาร์ ในนั้นรวมถึงอาวุธที่ใช้สอยเครื่องบินและรถถังของรัสเซีย แม้การเจรจาสันติภาพของสองฝ่ายคู่ขัดแย้งมีสัญญาณความคืบหน้าและมีท่าทีประนีประนอม
ระหว่างพูดโต้ตอบกับผู้สื่อข่าวรายหนึ่งที่ทำเนียบขาว ไบเดน กล่าวว่า "โอ้ ผมคิดว่าเขาเป็นอาชญากรสงคราม" หลังจากตอนแรก ตอบกลับว่า "ไม่" เมื่อถูกถามว่าเขาพร้อมเรียก ปูติน ด้วยถ้อยคำดังกล่าวหรือเปล่า
ถือเป็นครั้งแรกที่ ไบเดน ตราหน้า ปูติน ต่อหน้าสาธารณะด้วยถ้อยคำดังกล่าว หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ พูดระหว่างเยือนโปแลนด์ ว่า รัสเซียควรถูกสืบสวนอย่างที่สุดในความเป็นไปได้ของการก่ออาชญากรรมสงคราม
โฆษกของวังเครมลิน รุดออกมาตอบโต้ โดยบอกว่าความเห็นของ ไบเดน ซึ่งกล่าวหาประธานาธิบดีรัสเซียก่ออาชญากรรมสงครามนั้น "เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้" และ "เป็นถ้อยคำที่ไม่สามารถอภัยได้"
อย่างไรก็ตาม เจน ซากิ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาวระบุในเวลาต่อมา ว่า ไบเดน พูดออกมาจากใจ พร้อมเน้นย้ำว่ากำลังมีกระบวนการทางกฎหมายแยกกันเพื่อสรุปว่า ปูติน ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและก่ออาชญากรรมสงครามหรือไม่ ซึ่งกระบวนการนี้อยู่ระหว่างดำเนินการโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ไบเดนเผยว่า สหรัฐฯ เสนอมอบความช่วยเหลือด้านความมั่นคงแก่ยูเครนเพิ่มอีก 800 ล้านดอลลาร์ หลังจากประธานาธิบดีวลาดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวปราศรัยต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ผ่านวิดีโอลิงก์ ร้องขอความสนับสนุนด้านทหารอย่างเร่งด่วน เพื่อปัดเป่าการรุกรานของรัสเซีย
"สหรัฐฯ จะเดินหน้ามอบอาวุธแก่ยูเครน เพื่อต่อสู้และป้องกันตนเอง มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสนับสนุนเศรษฐกิจยูเครน ด้วยความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม" ไบเดนกล่าว "แพกเกจใหม่นี้จะเป็นการมอบความช่วยเหลือยูเครนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน และในนั้นรวมถึงขีปนาวุธต่อต้านรถถังและอากาศยาน" ที่ช่วยชะลอการบุกของรัสเซียตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ตามคำขอของเซเลนสกี วอชิงตันจะมอบระบบต่อต้านอากาศยานขีปนาวุธพิสัยไกลแก่ยูเครนเพิ่มเติม ไบเดนระบุ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังจะมอบระบบต่อต้านยานเกราะ 9,000 กระบอก โดรนและอาวุธขนาดเล็ก เช่น ปืนกล ปืนสั้น และเครื่องยิงระเบิดอีก 7,000 กระบอก ซึ่งจะช่วยพลเรือนต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศของตนเอง
เงินช่วยเหลือก้อนใหม่จะมาจากร่างงบประมาณฉบับหนึ่งซึ่ง ไบเดน ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ซึ่งในนั้นรวมไปถึงจัดสรรเงินช่วยเหลือรอบใหม่แก่ยูเครน 13,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ระหว่างการปราศรัยต่อสภาคองเกรส เซเลนสกีเปรียบเทียบการโจมตียูเครน กับเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ซึ่งลากสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมอ้อนวอนสมาชิกสภาคองเกรสและไบเดนโดยตรง ยกระดับความช่วยเหลือมากกว่าที่เป็นอยู่
ไบเดน เคยอ้างถึงการกำหนดเขตห้ามบินเหนือท้องฟ้ายูเครน ว่าอาจจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 3 และเพนตากอนยืนกรานปฏิเสธว่าจะไม่ส่งเครื่องบินรบเข้าไปยังยูเครน
ก่อนหน้าคำสัมภาษณ์ของไบเดน ในวันพุธ (16 มี.ค.) รัสเซียและยูเครนต่างเปิดเผยว่าเริ่มมองเห็นขอบเขตแห่งการประนีประนอม ในขณะที่มีกำหนดกลับมาเจรจาสันติภาพกันอีกรอบ 3 สัปดาห์หลังจากมอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครน ทว่าจนถึงตอนนี้ยังคงล้มเหลวในความพยายามโค่นล้มรัฐบาลยูเครน
เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์บีซีเมื่อวันพุธ (16 มี.ค.) ว่า ขณะนี้มีการหารืออย่างจริงจังเกี่ยวกับสถานะการให้ยูเครนเป็นประเทศที่เป็นกลาง รวมถึงการรับประกันด้านความมั่นคง และเขาคิดว่าใกล้บรรลุข้อตกลงบางส่วนแล้ว
ลาฟรอฟ เสริมว่า เดือนที่แล้วประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เคยเสนอทางเลือกสถานะประเทศที่เป็นกลาง รวมถึงการรับประกันด้านความมั่นคงสำหรับยูเครนโดยที่ไม่ต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) มาแล้ว และสำทับว่า การเจรจาคงไม่ง่ายดายนักแต่มีความหวังที่สองฝ่ายจะประนีประนอมกันได้
รัฐมนตรีต่างประเทศแดนหมีขาวยังระบุว่า ประเด็นสำคัญในการหารือรวมถึงความปลอดภัยของประชาชนในยูเครนตะวันออก การกำหนดให้ยูเครนเป็นเขตปลอดทหาร และสิทธิของประชาชนที่พูดภาษารัสเซียในยูเครน
ทางด้านยูเครนแสดงความคิดเห็นแง่ดีอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพเช่นเดียวกัน โดยบอกว่า ยินดีเจรจาเพื่อยุติสงคราม แต่จะไม่ยอมจำนนหรือยอมรับคำชี้ขาดของรัสเซีย
อเมริกาและชาติสมาชิกอื่นๆ ของนาโต้ประกาศเมื่อวันพุธ (16 มี.ค.) ว่าจะช่วยยูเครนรบกับรัสเซียต่อไป ควบคู่กับการปรับระบบความมั่นคงของตนเองให้สอดรับกับ “ความเป็นจริงใหม่” หลังสงคราม
(ที่มา : รอยเตอร์)
ตามคำขอของเซเลนสกี วอชิงตันจะมอบระบบต่อต้านอากาศยานขีปนาวุธพิสัยไกลแก่ยูเครนเพิ่มเติม ไบเดนระบุ นอกจากนี้แล้วสหรัฐฯยังจะมอบระบบต่อต้านยานเกราะ 9,000 กระบอก โดรนและอาวุธขนาดเล็ก อาทิปืนพล ปืนสั้นและเครื่องยิงระเบิด อีก 7,000 กระบอก ซึ่งจะช่วยพลเรือนต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศของตนเอง
เงินช่วยเหลือก้อนใหม่จะมาจากร่างงบประมาณฉบับหนึ่งซึ่ง ไบเดน ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ซึ่งในนั้นรวมไปถึงจัดสรรเงินช่วยเหลือรอบใหม่แก่ยูเครน 13,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ระหว่างการปราศรัยต่อสภาคองเกรส เซเลนสกีเปรียบเทียบการโจมตียูเครน กับเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ซึ่งลากสหรัฐฯเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมอ้อนวอนสมาชิกสภาคองเกรสและไบเดนโดยตรง ยกระดับความช่วยเหลือมากกว่าที่เป็นอยู่
ไบเดน เคยอ้างถึงการกำหนดเขตห้ามบินเหนือท้องฟ้ายูเครน ว่าอาจจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 3 และ เพนตากอนยืนกรานปฏิเสธว่าจะไม่ส่งเครื่องบินรบเข้าไปยังยูเครน
ก่อนหน้าคำสัมภาษณ์ของไบเดน ในวันพุธ(16มี.ค.) รัสเซียและยูเครน ต่างเปิดเผยว่าเริ่มมองเห็นขอบเขตแห่งการประนีประนอม ในขณะที่มีกำหนดกลับมาเจรจาสันติภาพกันอีกรอบ 3 สัปดาห์หลังจากมอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครน ทว่าจนถึงตอนนี้ยังคงล้มเหลวในความพยายามโค่นล้มรัฐบาลยูเครน
เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์บีซีเมื่อวันพุธ (16มี.ค.) ว่า ขณะนี้มีการหารืออย่างจริงจังเกี่ยวกับสถานะการให้ยูเครนเป็นประเทศที่เป็นกลาง รวมถึงการรับประกันด้านความมั่นคง และเขาคิดว่าใกล้บรรลุข้อตกลงบางส่วนแล้ว
ลาฟรอฟ เสริมว่า เดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เคยเสนอทางเลือกสถานะประเทศที่เป็นกลาง รวมถึงการรับประกันด้านความมั่นคงสำหรับยูเครนโดยที่ไม่ต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) มาแล้ว และสำทับว่า การเจรจาคงไม่ง่ายดายนักแต่มีความหวังที่สองฝ่ายจะประนีประนอมกันได้
รัฐมนตรีต่างประเทศแดนหมีขาวยังระบุว่า ประเด็นสำคัญในการหารือรวมถึงความปลอดภัยของประชาชนในยูเครนตะวันออก การกำหนดให้ยูเครนเป็นเขตปลอดทหาร และสิทธิของประชาชนที่พูดภาษารัสเซียในยูเครน
ทางด้านยูเครนแสดงความคิดเห็นแง่ดีอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพเช่นเดียวกัน โดยบอกว่า ยินดีเจรจาเพื่อยุติสงคราม แต่จะไม่ยอมจำนนหรือยอมรับคำชี้ขาดของรัสเซีย
อเมริกาและชาติสมาชิกอื่นๆ ของนาโต้ประกาศเมื่อวันพุธ(16มี.ค.) ว่า จะช่วยยูเครนรบกับรัสเซียต่อไป ควบคู่กับการปรับระบบความมั่นคงของตนเองให้สอดรับกับ “ความเป็นจริงใหม่” หลังสงคราม
(ที่มา:รอยเตอร์)