(เก็บความจากเอเชียไทมส์ WWW.asiatimes.com)
What Asia Times’ ‘open letter’ missed
By JONATHAN TENNENBAUM
10/11/2020
“การสร้างอเมริกาให้กลับมีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง” อาจจะเป็นเรื่องไร้ความหมาย ถ้าหากเทคโนโลยีไมได้โฟกัสที่ “โครงสร้างพื้นฐาน”
สิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ คือการแสดงความคิดเห็นต่อ “จดหมายเปิดผนึกถึงว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน” ซึ่งเผยแพร่โดย เอเชียไทมส์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
เห็นได้ชัดเจนว่านี่เป็นช่วงจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่สุดสำหรับการรบเร้า โจ ไบเดน ให้หยิบยกนำเอาเรื่อง “การสร้างอเมริกาให้กลับมีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง” ขึ้นมาชูเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในฐานะเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับการ “สร้างความสนับสนุนจากทุกพรรคทุกฝ่าย, ยึดตรึงความคิดจินตนาการของประเทศชาติเอาไว้, และทำให้สมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีของท่านกลายเป็นสมัยหนึ่งซึ่งทรงความสำคัญทางประวัติศาสตร์”
“จดหมายเปิดผนึก” ของเอเชียไทมส์ เสนอจุดต่างๆ ได้ดีทีเดียว แต่ในความเห็นของผมเองนั้น วิสัยทัศน์เกี่ยวกับ “เทคโนโลยี” ซึ่งเสนอแนะเอาไว้ในข้อเขียนที่ต้องยอมรับว่ามีขนาดสั้นๆ เช่นนี้ ต้องถือว่ายังไม่เพียงพอ และยังไม่เพียงพอในระดับที่ร้ายแรงมาก
ยกเว้นแต่ตอนที่กล่าวถึง “วัสดุศาสตร์, ฟิชชั่นและฟิวชั่น ” เอาไว้ในจุดหนึ่งแล้ว เนื้อหาจำนวนมากของจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ในความเห็นของผม มีการเน้นย้ำแบบด้านเดียวอย่างร้ายแรงยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับ ชิป, การสื่อสารโทรมคมนาคม, และปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
ขออนุญาตให้ผมได้แสดงการเสียดสีเหน็บแนมนิดๆ หน่อยๆ เอาไว้ในความคิดเห็นบางประการของผมเถอะ –บางทีมันอาจจะไม่เป็นธรรมไปสักนิดแก่ผู้ที่เขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ แต่เพื่อเห็นแก่วัตถุประสงค์ของการมุ่งเพิ่มเติมจุดที่จดหมายนี้ผิดพลาดล้มเหลวไม่ได้ระบุถึงให้เพียงพอ
อุตสาหกรรมการรผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และพวกเทคโนโลยีส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง คือประเด็นปัญหาทางยุทธศาสตร์สำหรับสหรัฐฯ ผมไม่ได้โต้แย้งเรื่องนี้หรอก เรื่องเหล่านี้มีความหมายความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติ ทว่าผู้คนอาจจะมีความโน้มเอียงที่จะมองเรื่องเอไอ และพวกเทคโนโลยีดิจิตอล –ซึ่งก็รวมไปถึงอุตสาหกรรมการผลิตชิปด้วย – ว่าเป็นปัจจัยตัดสินชี้ขาดในสมรภูมิการสู้รบเพื่อช่วงชิงความเหนือล้ำกว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยี ในความเห็นของผมแล้ว นี่จะกลายเป็นความผิดพลาดที่ใหญ่โตมากๆ
เอไอนั้นเห็นได้ชัดเจนว่ามีความสำคัญมากๆ ถึงแม้มันจะตกระกำลำบากจากการถูกโฆษณาป่าวร้องมากเกินไป และจากการถูกเน้นย้ำแบบผิดที่ผิดทางอยู่บ่อยครั้ง ประเด็นที่สำคัญที่สุดอยู่ตรงที่ว่า: ใครจะอยู่ในฐานะอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ซึ่งจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ไปในวิถีทางอันเฉลียวฉลาดที่สุด, กว้างขวางที่สุด, และก่อให้เกิดผลมากที่สุด? นี่ต้องขึ้นอยู่กับพวกปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับตัวเอไอเองเลย
ถึงแม้มีการประกาศแถลงและมีโปรแกรมต่างๆ อันเอิกเกริกเกรียวกราว แต่ทางพวกคนจีนก็ไม่ได้โง่เขลาถึงขนาดที่จะมุ่งโฟกัสเน้นหนักแบบเด้านเดียวอยู่ที่เรื่องต่างๆ ที่ได้เอ่ยถึงข้างต้น พวกเขากำลังสร้างสมรรถนะแบบลงลึกในตลอดทั่วทั้งแผ่นทั่วทั้งผืน ในทุกๆ ปริมณฑลอันก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม บางครั้งก็เปิดเผยตรงไปตรงมา แต่บ่อยครั้งก็กระทำอย่างเงียบเชียบกว่านั้นมาก
ถ้าใครคิดว่า ชิป + 5จี + เทคโนโลยีเอไอ คือสมรภูมิที่จะตัดสินว่าใครจะแพ้ชนะในสงครามแล้ว พวกเขาก็มีหวังจะต้องเผชิญกับเรื่องเซอร์ไพรซ์อันน่าชิงชังบางอย่างบางประการ
ยิ่งไปกว่านั้น ขอให้สมมุติกันว่าสหรัฐฯสามารถช่วงชิงการผลิตไมโครชิปของโลกและเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ กลับคืนมาได้โดยองค์รวมแล้ว ไชโย! มันไม่ใช่ความยอดเยี่ยมหรอกหรือที่มีไมโครชิปสหรัฐฯและซอฟต์แวร์ไอเอสหรัฐฯติดตั้งอยู่ในผลิตภัณฑ์ของยุโรป, จีน, เกาหลีใต้, และญี่ปุ่น? ในอุปกรณ์ของอุตสาหกรรมการผลิตอันก้าวหน้า, รถยนต์, เครื่องบิน, รางรถไฟความเร็วสูง, โรงไฟฟ้า, ระบบขนส่งในเมืองใหญ่, เครื่องจักรเพื่อการก่อสร้าง ฯลฯ ของพวกเขา ซึ่งกำลังจะอยู่ในฐานะครอบงำตลาดโลก?
จดหมายฉบับนี้ล้มเหลวไม่ได้นำเอาประเด็นเรื่องการมีความสำคัญยิ่งกว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยี มาใส่เอาไว้ภายในบริบททางเศรษฐกิจแม้แต่นิดเดียว
ตัวอย่างเช่น คำว่า “โครงสร้างพื้นฐาน” ไม่ได้ปรากฏให้เห็นแม้สักครั้งเดียวในจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ถึงแม้สำหรับผู้ที่กำลังจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีแล้ว มันสามารถกลายเป็นประเด็นที่ทุกพรรคทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันได้อย่างมากมายมหาศาลเหลือเกิน
แทบไม่มีใครคนไหนเลยซึ่งดูเหมือนมีความเฉลียวฉลาดเพียงพอที่จะเชื่อมโยงประเด็นปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เข้ากับเรื่อง “การมีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยี” เรากำลังจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานพื้นๆ (basic infrastructure) ของเราขึ้นมาใหม่ด้วยเทคโนโลยีแห่งทศวรรษ 1950 กันหรือ? หรือว่าด้วยเทคโนโลยีแห่งทศวรรษ 2050 ล่ะ?
แน่นอนละ โครงสร้างพื้นฐานนั้นครอบคลุมถึงการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง แต่มันยังมีอะไรมากมายกว่านั้นเยอะแยะ นี่พูดกันแบบเบาๆ แล้วนะ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาใหม่ มีความหมายมากกว่าการติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณ 5จี (เจนเนอเรชั่นที่ 5) บนเสาโทรศัพท์ต้นเก่า
ลองจินตนาการดูเถอะว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานพื้นๆ (basic infrastructure) ของอเมริกาขึ้นมาใหม่ –ด้วยเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21— จะทำให้เกิดอุปสงค์ความต้องการทางตลาดอย่างใหญ่โตมหึมาขนาดไหน สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตอันก้าวหน้า รวมไปถึงไอเอ และรวมไปถึงสิ่งต่างๆ อย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากพวกวัสดุที่ตัดต่อด้วยเทคโนโลยีนาโนอย่างแสนมหัศจรรย์ ในขนาดขอบเขตที่มโหฬารมหึมาเหลือเกิน บางทีอาจจะเปรียบเทียบได้กระทั่งกับการใช้เหล็กกล้าในทุกวันนี้ทีเดียว
ใครๆ ย่อมได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับ “ช่องโหว่ด้านเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน” มูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ในสหรัฐฯ แต่ตัวเลขนี้ช่างเล็กจ้อยอย่างน่าหัวเราะเยาะทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนที่คุณจำเป็นจะต้องใช้กันจริงๆ ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯขึ้นมาใหม่ด้วยระดับแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แค่เพียงการถมหลุมบ่อบนท้องถนน หรือการนำสะพานใหม่ๆ มาเปลี่ยนแทนที่สะพานเก่าซึ่งสนิมจับเขลอะเท่านั้น
ตามการประเมินของทางภาคอุตสาหกรรมเอง เฉพาะการก่อสร้างโครงข่ายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่แสนโบร่ำโบราณของอเมริกาเพียงอย่างเดียว จะต้องหมดค่าใช้จ่ายไปราวๆ 5 ล้านล้านดอลลาร์ แล้วถ้าหากเราเกิดเอาจริงเอาจังกับสิ่งที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจไฮโดรเจน” และ/หรือการเปลี่ยนพวกยานขนส่งภาคพื้นดินให้ไปเป็นสู่ยานที่ใช้ไฟฟ้ากันทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ล่ะ? แล้วถ้าหากเราเกิดเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับการกำจัดเลิกราเรื่องที่อเมริกาต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อความต้องการพื้นฐาน (base-load electric power generation) จากที่เวลานี้มันเป็นตัวที่ใช้ทำกระแสไฟฟ้าเพื่อความต้องการพื้นฐานเกินกว่าครึ่งหนึ่งของอเมริกาไปมากมายเหลือเกินล่ะ?
โชคร้ายเสียจริงๆ ผู้คนยังคงนำเอาเรื่องโครงสร้างพื้นฐานพื้นๆ ไปโยงใยกับแค่เรื่องการขุดหลุมและการเทปูนซีเมนต์ พวกเขาคิดว่ามันเป็นงานสกปรกและเหงื่อไหลไคลย้อย เราสามารถนำเอาแรงงานอพยพจากเม็กซิโกมาทำงานอย่างนี้ได้
แน่นอนทีเดียว มันจะเป็นการดีกว่าที่จะใช้อุปกรณ์ก่อสร้างแบบหุ่นยนต์ ซึ่งเวลานี้กำลังเริ่มมีการผลิตกันออกมาแล้ว แต่จากเส้นทางที่สิ่งต่างๆ กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ อุปกรณ์พวกนี้จะต้องนำเข้าจากจีนนะ เราอาจจะปลอบโยนตัวเราเองด้วยความคิดที่ว่าเจ้าไมโครชิปและบางทีอาจจะกระทั่งส่วนของระบบรับส่งข้อมูลของหุ่นยนต์พวกนี้อาจจะเมดอินยูเอสเอก็ได้
แล้วเรื่องระบบรางรถไฟความเร็วสูงของสหรัฐฯล่ะ มันไปอยู่เสียที่ไหน? ระบบรางรถไฟความเร็วสูงความยาว 40,000 กิโลเมตรของจีน คือความภาคภูมิใจของประเทศนั้น ส่วนญี่ปุ่นก็กำลังสร้างรถไฟแมกเลฟ (maglev) ซึ่งสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับระบบรางรถไฟไฮสปีดในสหรัฐฯนั้นมันนอนตายอยู่ตรงรางของมันนั่นแหละ ช่างตลกอะไรยังงี้ ช่างน่าอับอายขายหน้าเหลือเกิน
มันเป็นการดีเลิศเลยที่เรามีการทดลองภาคสนามเรื่องการขนส่งภาคพื้นดินด้วย “ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://edition.cnn.com/2020/11/08/tech/virgin-hyperloop-passengers/index.html) สหรัฐฯจะสร้างระบบไฮเปอร์ลูปขึ้นมาในขนาดที่จะสามารถเข้าไปแบกรับส่วนหนึ่งของการขนส่งผู้โดยสารไหมล่ะ? หรือว่าไฮเปอร์ลูปจะเคลื่อนไปในทิศทางที่พวกเทคโนโลยีระดับปฏิวัติจำนวนเป็นร้อยๆ หรือบางทีอาจจะถึงพันๆ ทีเดียว ซึ่งพวกนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรอเมริกันได้สร้างสรรค์ขึ้นมา – นั่นคือเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ ทว่าไม่เคยถูกผลิตออกมาเกินเลยขั้นการทดสอบภาคสนามหรอก?
(เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นแบบเกลือหลอมเหลว molten salt fission reactor เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างที่ผุดขึ้นมาในความคิดของผม ใครเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้? พวกนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสหรัฐฯ ใครกำลังเป็นผู้สร้างเครื่องประเภทนี้อยู่ในตอนนี้? จีน!! โดยที่มีการปรับปรุงยกระดับให้ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว)
เครือข่ายรางรถไฟสหรัฐฯจำนวนมากหรือแทบทั้งหมดทีเดียวเป็นของโบราณยุคทศวรรษ 1930 หรือกระทั่งเก่ากว่านั้นอีก เราสามารถที่จะเรียนรู้จากพวกคนจีนถึงวิธีการในการวางรางได้อย่างรวดเร็วและด้วยความถูกต้องแม่นยำอย่างยอดเยี่ยม แล้วจากนั้นขบวนรถไฟของเราก็อาจจะสามารถวิ่งด้วยได้ความเร็วมากกว่า 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พวกคนจีน, คนญี่ปุ่น, และคนเกาหลีใต้ ยังสามารถช่วยเหลือได้ในเรื่องพวกโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองใหญ่ ระบบรถไฟใต้ดินและระบบรถไฟยกระดับนิวยอร์กมีชื่อเสียงเลื่องลือมากในเรื่องอุปกรณ์ยุคทศวรรษ 1930 ของมัน เวลาผ่านมาเกือบๆ 1 ศตวรรษให้หลังแล้ว พวกข้าวของเหล่านี้สมควรที่จะอยู่ในพิพิธภัณฑ์
คุณอาจจะผลิตชิปที่ยอดเยี่ยม และเครือข่ายสื่อสาร 5จี ที่แสนมหัศจรรย์ แต่ไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปถึงไหนได้เลยเพราะเจอพวกหลุมบ่อในถนนของสหรัฐฯ
คุณยังสามารถที่จะป่าวร้องความมหัศจรรย์เกี่ยวกับ “เมืองอัจฉริยะ” ด้วยการใช้บิ๊กดาต้าและเอไอมาประคับประคองให้เจ้าอุปกรณ์แห่งทศวรรษ 1930 นี่ยังทำงานได้ต่อไปอีกทศวรรษหนึ่ง
ต้องขอบคุณเจ้าปัญญาประดิษฐ์ คุณกระทั่งอาจจะได้รถยนต์ซึ่งสามารถกระโดดข้ามพวกหลุมบ่อต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ ดังนั้นคุณก็จะได้ไม่ต้องถมมัน (ช่างโชคร้ายเสียจริง พวกแอปพลิเคชั่นเอไอในสหรัฐฯทุกวันนี้ไม่มีบ้างเลยที่จะมีคุณสมบัติเช่นนี้สักนิดสักหน่อย --คุณสมบัติในการปรับตัวให้เข้ากับพวกปัญหาซึ่งอันที่จริงไม่ควรปรากฏอยู่เลยตั้งแต่เริ่มแรก)
ตลาดเซมิคอนดักเตอร์โลกมีมูลค่าหยาบๆ คร่าวๆ ราว 300,000 ล้านดอลลาร์ นี่ต้องถือว่าเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นจริงเป็นจังทีเดียวล่ะ แต่ว่ามันก็แค่มากขึ้นมาหนึ่งในสามของตลาดเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาด 200,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ตลาดนี้พวกเราชาวอเมริกันกำลังอยู่ในกระบวนการที่จะสูญเสียให้แก่ แอร์บัส และให้แก่ –ครับ พวกเขากำลังก้าวเข้ามาอย่างรวดเร็ว –พวกคนจีน
ตลาดรถยนต์โลกนั้นมีขนาดใหญ่เป็น 20 เท่าตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ นั่นคืออยู่ที่ราวๆ 6 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนแบ่งของสหรัฐฯได้พังครืนลงมาจนเวลานี้เหลืออยู่ที่ประมาณ 13% นี่ต้องขอบคุณพวกผู้ขับขี่ชาวอเมริกันราวครึ่งหนึ่งที่ยังคงซื้อรถอเมริกันกันอยู่ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นเพราะเหตุผลในทางอารมณ์ความรู้สึก
บางคนอาจจะพูดว่า ไม่เห็นเป็นปัญหาเลย ตราบเท่าที่เรายังสามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าพวกรถยนต์ต่างประเทศใช้ไมโครชิปอเมริกัน และอาจจะใช้ซอฟต์แวรเอไอทำในอเมริกาเพื่อการขับขี่แบบอัตโนมัติด้วย (แต่ตัวเซนเซอร์สำหรับระบบเอไอมาจากเมืองจีนนะ) ถ้าเรายังคงมีความเหนือล้ำกว่าใครๆ ในแวดวงเหล่านี้แล้ว ทำไมเราควรจะต้องแคร์ว่าใครเป็นผู้ผลิตส่วนอื่นๆ ที่เหลือของรถล่ะ?
เป๊ะเลย นี่แหละความคิดแบบที่นำไปสู่การกัดกร่อนจนถึงขั้นวิบัติหายนะของฐานอุตสาหกรรมสหรัฐฯตั้งแต่ตอนเริ่มแรก!!
หากยกเอาพวกการเสียดสีเหน็บแนมแบบตลกร้ายออกไปข้างๆ ผมก็จะขอเสนอแนะอย่างจริงจังว่า ท่านว่าที่ประธานาธิบดีควรที่จะเปิดตัวแผนริเริ่มแบบไม่แยกพรรคแยกพวก ซึ่งจะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหาทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ ช่วงชิงเอาความเหนือล้ำกว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยีกลับคืนมา และสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอเมริกาขึ้นมาใหม่บนระดับแห่งศตวรรษที่ 21
เรายังสามารถที่จะโยนอะไรอื่นๆ ใส่เข้ามาได้อีก อย่างโครงการอวกาศที่จริงจังของสหรัฐฯ –ซึ่งในขณะนี้ไม่มีปรากฏอยู่แล้ว หรือโปรแกรมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่จริงจัง ตลอดจนอะไรอื่นๆ อีกสักอย่างสองอย่าง ซึ่งจะสามารถ “ยึดตรึงความคิดจินตนาการของประเทศชาติเอาไว้” ได้มากมายกว่าชิปคอมพิวเตอร์, การต่อเชื่อมข้อมูลความเร็วสูง, และหุ่นยนต์พูดได้
โจนาธาน เทนเนนโบม ได้รับปริญญาเอก PhD สาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1973 ขณะมีอายุ 22 ปี นอกจากนั้นเขายังเป็นนักฟิสิกส์, นักภาษาศาสตร์, และนักเปียโน เขาเป็นอดีตบรรณาธิการของวารสาร FUSION เขาพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลิน และเดินทางบ่อยครั้งมายังเอเชียและที่อื่นๆ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
What Asia Times’ ‘open letter’ missed
By JONATHAN TENNENBAUM
10/11/2020
“การสร้างอเมริกาให้กลับมีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง” อาจจะเป็นเรื่องไร้ความหมาย ถ้าหากเทคโนโลยีไมได้โฟกัสที่ “โครงสร้างพื้นฐาน”
สิ่งที่ผมเขียนต่อไปนี้ คือการแสดงความคิดเห็นต่อ “จดหมายเปิดผนึกถึงว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน” ซึ่งเผยแพร่โดย เอเชียไทมส์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน
เห็นได้ชัดเจนว่านี่เป็นช่วงจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่สุดสำหรับการรบเร้า โจ ไบเดน ให้หยิบยกนำเอาเรื่อง “การสร้างอเมริกาให้กลับมีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง” ขึ้นมาชูเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในฐานะเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับการ “สร้างความสนับสนุนจากทุกพรรคทุกฝ่าย, ยึดตรึงความคิดจินตนาการของประเทศชาติเอาไว้, และทำให้สมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีของท่านกลายเป็นสมัยหนึ่งซึ่งทรงความสำคัญทางประวัติศาสตร์”
“จดหมายเปิดผนึก” ของเอเชียไทมส์ เสนอจุดต่างๆ ได้ดีทีเดียว แต่ในความเห็นของผมเองนั้น วิสัยทัศน์เกี่ยวกับ “เทคโนโลยี” ซึ่งเสนอแนะเอาไว้ในข้อเขียนที่ต้องยอมรับว่ามีขนาดสั้นๆ เช่นนี้ ต้องถือว่ายังไม่เพียงพอ และยังไม่เพียงพอในระดับที่ร้ายแรงมาก
ยกเว้นแต่ตอนที่กล่าวถึง “วัสดุศาสตร์, ฟิชชั่นและฟิวชั่น ” เอาไว้ในจุดหนึ่งแล้ว เนื้อหาจำนวนมากของจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ในความเห็นของผม มีการเน้นย้ำแบบด้านเดียวอย่างร้ายแรงยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับ ชิป, การสื่อสารโทรมคมนาคม, และปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
ขออนุญาตให้ผมได้แสดงการเสียดสีเหน็บแนมนิดๆ หน่อยๆ เอาไว้ในความคิดเห็นบางประการของผมเถอะ –บางทีมันอาจจะไม่เป็นธรรมไปสักนิดแก่ผู้ที่เขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ แต่เพื่อเห็นแก่วัตถุประสงค์ของการมุ่งเพิ่มเติมจุดที่จดหมายนี้ผิดพลาดล้มเหลวไม่ได้ระบุถึงให้เพียงพอ
อุตสาหกรรมการรผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และพวกเทคโนโลยีส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง คือประเด็นปัญหาทางยุทธศาสตร์สำหรับสหรัฐฯ ผมไม่ได้โต้แย้งเรื่องนี้หรอก เรื่องเหล่านี้มีความหมายความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติ ทว่าผู้คนอาจจะมีความโน้มเอียงที่จะมองเรื่องเอไอ และพวกเทคโนโลยีดิจิตอล –ซึ่งก็รวมไปถึงอุตสาหกรรมการผลิตชิปด้วย – ว่าเป็นปัจจัยตัดสินชี้ขาดในสมรภูมิการสู้รบเพื่อช่วงชิงความเหนือล้ำกว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยี ในความเห็นของผมแล้ว นี่จะกลายเป็นความผิดพลาดที่ใหญ่โตมากๆ
เอไอนั้นเห็นได้ชัดเจนว่ามีความสำคัญมากๆ ถึงแม้มันจะตกระกำลำบากจากการถูกโฆษณาป่าวร้องมากเกินไป และจากการถูกเน้นย้ำแบบผิดที่ผิดทางอยู่บ่อยครั้ง ประเด็นที่สำคัญที่สุดอยู่ตรงที่ว่า: ใครจะอยู่ในฐานะอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ซึ่งจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ไปในวิถีทางอันเฉลียวฉลาดที่สุด, กว้างขวางที่สุด, และก่อให้เกิดผลมากที่สุด? นี่ต้องขึ้นอยู่กับพวกปัจจัยทางเศรษฐกิจซึ่งไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับตัวเอไอเองเลย
ถึงแม้มีการประกาศแถลงและมีโปรแกรมต่างๆ อันเอิกเกริกเกรียวกราว แต่ทางพวกคนจีนก็ไม่ได้โง่เขลาถึงขนาดที่จะมุ่งโฟกัสเน้นหนักแบบเด้านเดียวอยู่ที่เรื่องต่างๆ ที่ได้เอ่ยถึงข้างต้น พวกเขากำลังสร้างสมรรถนะแบบลงลึกในตลอดทั่วทั้งแผ่นทั่วทั้งผืน ในทุกๆ ปริมณฑลอันก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม บางครั้งก็เปิดเผยตรงไปตรงมา แต่บ่อยครั้งก็กระทำอย่างเงียบเชียบกว่านั้นมาก
ถ้าใครคิดว่า ชิป + 5จี + เทคโนโลยีเอไอ คือสมรภูมิที่จะตัดสินว่าใครจะแพ้ชนะในสงครามแล้ว พวกเขาก็มีหวังจะต้องเผชิญกับเรื่องเซอร์ไพรซ์อันน่าชิงชังบางอย่างบางประการ
ยิ่งไปกว่านั้น ขอให้สมมุติกันว่าสหรัฐฯสามารถช่วงชิงการผลิตไมโครชิปของโลกและเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ กลับคืนมาได้โดยองค์รวมแล้ว ไชโย! มันไม่ใช่ความยอดเยี่ยมหรอกหรือที่มีไมโครชิปสหรัฐฯและซอฟต์แวร์ไอเอสหรัฐฯติดตั้งอยู่ในผลิตภัณฑ์ของยุโรป, จีน, เกาหลีใต้, และญี่ปุ่น? ในอุปกรณ์ของอุตสาหกรรมการผลิตอันก้าวหน้า, รถยนต์, เครื่องบิน, รางรถไฟความเร็วสูง, โรงไฟฟ้า, ระบบขนส่งในเมืองใหญ่, เครื่องจักรเพื่อการก่อสร้าง ฯลฯ ของพวกเขา ซึ่งกำลังจะอยู่ในฐานะครอบงำตลาดโลก?
จดหมายฉบับนี้ล้มเหลวไม่ได้นำเอาประเด็นเรื่องการมีความสำคัญยิ่งกว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยี มาใส่เอาไว้ภายในบริบททางเศรษฐกิจแม้แต่นิดเดียว
ตัวอย่างเช่น คำว่า “โครงสร้างพื้นฐาน” ไม่ได้ปรากฏให้เห็นแม้สักครั้งเดียวในจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ถึงแม้สำหรับผู้ที่กำลังจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีแล้ว มันสามารถกลายเป็นประเด็นที่ทุกพรรคทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันได้อย่างมากมายมหาศาลเหลือเกิน
แทบไม่มีใครคนไหนเลยซึ่งดูเหมือนมีความเฉลียวฉลาดเพียงพอที่จะเชื่อมโยงประเด็นปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เข้ากับเรื่อง “การมีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยี” เรากำลังจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานพื้นๆ (basic infrastructure) ของเราขึ้นมาใหม่ด้วยเทคโนโลยีแห่งทศวรรษ 1950 กันหรือ? หรือว่าด้วยเทคโนโลยีแห่งทศวรรษ 2050 ล่ะ?
แน่นอนละ โครงสร้างพื้นฐานนั้นครอบคลุมถึงการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง แต่มันยังมีอะไรมากมายกว่านั้นเยอะแยะ นี่พูดกันแบบเบาๆ แล้วนะ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาใหม่ มีความหมายมากกว่าการติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณ 5จี (เจนเนอเรชั่นที่ 5) บนเสาโทรศัพท์ต้นเก่า
ลองจินตนาการดูเถอะว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานพื้นๆ (basic infrastructure) ของอเมริกาขึ้นมาใหม่ –ด้วยเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21— จะทำให้เกิดอุปสงค์ความต้องการทางตลาดอย่างใหญ่โตมหึมาขนาดไหน สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตอันก้าวหน้า รวมไปถึงไอเอ และรวมไปถึงสิ่งต่างๆ อย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากพวกวัสดุที่ตัดต่อด้วยเทคโนโลยีนาโนอย่างแสนมหัศจรรย์ ในขนาดขอบเขตที่มโหฬารมหึมาเหลือเกิน บางทีอาจจะเปรียบเทียบได้กระทั่งกับการใช้เหล็กกล้าในทุกวันนี้ทีเดียว
ใครๆ ย่อมได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับ “ช่องโหว่ด้านเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน” มูลค่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ในสหรัฐฯ แต่ตัวเลขนี้ช่างเล็กจ้อยอย่างน่าหัวเราะเยาะทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนที่คุณจำเป็นจะต้องใช้กันจริงๆ ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯขึ้นมาใหม่ด้วยระดับแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่แค่เพียงการถมหลุมบ่อบนท้องถนน หรือการนำสะพานใหม่ๆ มาเปลี่ยนแทนที่สะพานเก่าซึ่งสนิมจับเขลอะเท่านั้น
ตามการประเมินของทางภาคอุตสาหกรรมเอง เฉพาะการก่อสร้างโครงข่ายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่แสนโบร่ำโบราณของอเมริกาเพียงอย่างเดียว จะต้องหมดค่าใช้จ่ายไปราวๆ 5 ล้านล้านดอลลาร์ แล้วถ้าหากเราเกิดเอาจริงเอาจังกับสิ่งที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจไฮโดรเจน” และ/หรือการเปลี่ยนพวกยานขนส่งภาคพื้นดินให้ไปเป็นสู่ยานที่ใช้ไฟฟ้ากันทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ล่ะ? แล้วถ้าหากเราเกิดเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับการกำจัดเลิกราเรื่องที่อเมริกาต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อความต้องการพื้นฐาน (base-load electric power generation) จากที่เวลานี้มันเป็นตัวที่ใช้ทำกระแสไฟฟ้าเพื่อความต้องการพื้นฐานเกินกว่าครึ่งหนึ่งของอเมริกาไปมากมายเหลือเกินล่ะ?
โชคร้ายเสียจริงๆ ผู้คนยังคงนำเอาเรื่องโครงสร้างพื้นฐานพื้นๆ ไปโยงใยกับแค่เรื่องการขุดหลุมและการเทปูนซีเมนต์ พวกเขาคิดว่ามันเป็นงานสกปรกและเหงื่อไหลไคลย้อย เราสามารถนำเอาแรงงานอพยพจากเม็กซิโกมาทำงานอย่างนี้ได้
แน่นอนทีเดียว มันจะเป็นการดีกว่าที่จะใช้อุปกรณ์ก่อสร้างแบบหุ่นยนต์ ซึ่งเวลานี้กำลังเริ่มมีการผลิตกันออกมาแล้ว แต่จากเส้นทางที่สิ่งต่างๆ กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ อุปกรณ์พวกนี้จะต้องนำเข้าจากจีนนะ เราอาจจะปลอบโยนตัวเราเองด้วยความคิดที่ว่าเจ้าไมโครชิปและบางทีอาจจะกระทั่งส่วนของระบบรับส่งข้อมูลของหุ่นยนต์พวกนี้อาจจะเมดอินยูเอสเอก็ได้
แล้วเรื่องระบบรางรถไฟความเร็วสูงของสหรัฐฯล่ะ มันไปอยู่เสียที่ไหน? ระบบรางรถไฟความเร็วสูงความยาว 40,000 กิโลเมตรของจีน คือความภาคภูมิใจของประเทศนั้น ส่วนญี่ปุ่นก็กำลังสร้างรถไฟแมกเลฟ (maglev) ซึ่งสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับระบบรางรถไฟไฮสปีดในสหรัฐฯนั้นมันนอนตายอยู่ตรงรางของมันนั่นแหละ ช่างตลกอะไรยังงี้ ช่างน่าอับอายขายหน้าเหลือเกิน
มันเป็นการดีเลิศเลยที่เรามีการทดลองภาคสนามเรื่องการขนส่งภาคพื้นดินด้วย “ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://edition.cnn.com/2020/11/08/tech/virgin-hyperloop-passengers/index.html) สหรัฐฯจะสร้างระบบไฮเปอร์ลูปขึ้นมาในขนาดที่จะสามารถเข้าไปแบกรับส่วนหนึ่งของการขนส่งผู้โดยสารไหมล่ะ? หรือว่าไฮเปอร์ลูปจะเคลื่อนไปในทิศทางที่พวกเทคโนโลยีระดับปฏิวัติจำนวนเป็นร้อยๆ หรือบางทีอาจจะถึงพันๆ ทีเดียว ซึ่งพวกนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรอเมริกันได้สร้างสรรค์ขึ้นมา – นั่นคือเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ ทว่าไม่เคยถูกผลิตออกมาเกินเลยขั้นการทดสอบภาคสนามหรอก?
(เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชั่นแบบเกลือหลอมเหลว molten salt fission reactor เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างที่ผุดขึ้นมาในความคิดของผม ใครเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้? พวกนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสหรัฐฯ ใครกำลังเป็นผู้สร้างเครื่องประเภทนี้อยู่ในตอนนี้? จีน!! โดยที่มีการปรับปรุงยกระดับให้ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว)
เครือข่ายรางรถไฟสหรัฐฯจำนวนมากหรือแทบทั้งหมดทีเดียวเป็นของโบราณยุคทศวรรษ 1930 หรือกระทั่งเก่ากว่านั้นอีก เราสามารถที่จะเรียนรู้จากพวกคนจีนถึงวิธีการในการวางรางได้อย่างรวดเร็วและด้วยความถูกต้องแม่นยำอย่างยอดเยี่ยม แล้วจากนั้นขบวนรถไฟของเราก็อาจจะสามารถวิ่งด้วยได้ความเร็วมากกว่า 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พวกคนจีน, คนญี่ปุ่น, และคนเกาหลีใต้ ยังสามารถช่วยเหลือได้ในเรื่องพวกโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองใหญ่ ระบบรถไฟใต้ดินและระบบรถไฟยกระดับนิวยอร์กมีชื่อเสียงเลื่องลือมากในเรื่องอุปกรณ์ยุคทศวรรษ 1930 ของมัน เวลาผ่านมาเกือบๆ 1 ศตวรรษให้หลังแล้ว พวกข้าวของเหล่านี้สมควรที่จะอยู่ในพิพิธภัณฑ์
คุณอาจจะผลิตชิปที่ยอดเยี่ยม และเครือข่ายสื่อสาร 5จี ที่แสนมหัศจรรย์ แต่ไม่สามารถที่จะเคลื่อนที่ไปถึงไหนได้เลยเพราะเจอพวกหลุมบ่อในถนนของสหรัฐฯ
คุณยังสามารถที่จะป่าวร้องความมหัศจรรย์เกี่ยวกับ “เมืองอัจฉริยะ” ด้วยการใช้บิ๊กดาต้าและเอไอมาประคับประคองให้เจ้าอุปกรณ์แห่งทศวรรษ 1930 นี่ยังทำงานได้ต่อไปอีกทศวรรษหนึ่ง
ต้องขอบคุณเจ้าปัญญาประดิษฐ์ คุณกระทั่งอาจจะได้รถยนต์ซึ่งสามารถกระโดดข้ามพวกหลุมบ่อต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ ดังนั้นคุณก็จะได้ไม่ต้องถมมัน (ช่างโชคร้ายเสียจริง พวกแอปพลิเคชั่นเอไอในสหรัฐฯทุกวันนี้ไม่มีบ้างเลยที่จะมีคุณสมบัติเช่นนี้สักนิดสักหน่อย --คุณสมบัติในการปรับตัวให้เข้ากับพวกปัญหาซึ่งอันที่จริงไม่ควรปรากฏอยู่เลยตั้งแต่เริ่มแรก)
ตลาดเซมิคอนดักเตอร์โลกมีมูลค่าหยาบๆ คร่าวๆ ราว 300,000 ล้านดอลลาร์ นี่ต้องถือว่าเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นจริงเป็นจังทีเดียวล่ะ แต่ว่ามันก็แค่มากขึ้นมาหนึ่งในสามของตลาดเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ที่มีขนาด 200,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ตลาดนี้พวกเราชาวอเมริกันกำลังอยู่ในกระบวนการที่จะสูญเสียให้แก่ แอร์บัส และให้แก่ –ครับ พวกเขากำลังก้าวเข้ามาอย่างรวดเร็ว –พวกคนจีน
ตลาดรถยนต์โลกนั้นมีขนาดใหญ่เป็น 20 เท่าตัวของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ นั่นคืออยู่ที่ราวๆ 6 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนแบ่งของสหรัฐฯได้พังครืนลงมาจนเวลานี้เหลืออยู่ที่ประมาณ 13% นี่ต้องขอบคุณพวกผู้ขับขี่ชาวอเมริกันราวครึ่งหนึ่งที่ยังคงซื้อรถอเมริกันกันอยู่ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นเพราะเหตุผลในทางอารมณ์ความรู้สึก
บางคนอาจจะพูดว่า ไม่เห็นเป็นปัญหาเลย ตราบเท่าที่เรายังสามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าพวกรถยนต์ต่างประเทศใช้ไมโครชิปอเมริกัน และอาจจะใช้ซอฟต์แวรเอไอทำในอเมริกาเพื่อการขับขี่แบบอัตโนมัติด้วย (แต่ตัวเซนเซอร์สำหรับระบบเอไอมาจากเมืองจีนนะ) ถ้าเรายังคงมีความเหนือล้ำกว่าใครๆ ในแวดวงเหล่านี้แล้ว ทำไมเราควรจะต้องแคร์ว่าใครเป็นผู้ผลิตส่วนอื่นๆ ที่เหลือของรถล่ะ?
เป๊ะเลย นี่แหละความคิดแบบที่นำไปสู่การกัดกร่อนจนถึงขั้นวิบัติหายนะของฐานอุตสาหกรรมสหรัฐฯตั้งแต่ตอนเริ่มแรก!!
หากยกเอาพวกการเสียดสีเหน็บแนมแบบตลกร้ายออกไปข้างๆ ผมก็จะขอเสนอแนะอย่างจริงจังว่า ท่านว่าที่ประธานาธิบดีควรที่จะเปิดตัวแผนริเริ่มแบบไม่แยกพรรคแยกพวก ซึ่งจะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหาทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ ช่วงชิงเอาความเหนือล้ำกว่าใครๆ ในทางเทคโนโลยีกลับคืนมา และสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอเมริกาขึ้นมาใหม่บนระดับแห่งศตวรรษที่ 21
เรายังสามารถที่จะโยนอะไรอื่นๆ ใส่เข้ามาได้อีก อย่างโครงการอวกาศที่จริงจังของสหรัฐฯ –ซึ่งในขณะนี้ไม่มีปรากฏอยู่แล้ว หรือโปรแกรมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่จริงจัง ตลอดจนอะไรอื่นๆ อีกสักอย่างสองอย่าง ซึ่งจะสามารถ “ยึดตรึงความคิดจินตนาการของประเทศชาติเอาไว้” ได้มากมายกว่าชิปคอมพิวเตอร์, การต่อเชื่อมข้อมูลความเร็วสูง, และหุ่นยนต์พูดได้
โจนาธาน เทนเนนโบม ได้รับปริญญาเอก PhD สาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1973 ขณะมีอายุ 22 ปี นอกจากนั้นเขายังเป็นนักฟิสิกส์, นักภาษาศาสตร์, และนักเปียโน เขาเป็นอดีตบรรณาธิการของวารสาร FUSION เขาพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลิน และเดินทางบ่อยครั้งมายังเอเชียและที่อื่นๆ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี