กองทัพปลดแอกประชาชนจีน(อีแอลเอ) เมื่อเร็วๆนี้ได้ทำการทดลอบอาวุธชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในบัญชีที่สหรัฐฯแสดงความกังวลในลำดับต้นๆ นั่นก็คือโดรนพิฆาตพลีชีพ โดยเป็นการยิงจากแฟลตฟอร์มที่หลากหลาย ในนั้นรวมถึงหย่อนจากเฮลิคอปเตอร์และยิงจากท้ายรถบรรทุกซึ่งติดตั้งเครื่องยิงหลายลำกล้อง
ภาพในวิดีโอพบเห็นสถาบันอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติจีน (CAEIT) ได้ทำการทดสอบโดรนพิฆาตพลีชีพในหลายๆรูปแบบ
ในการทดสอบเมื่อเดือนกันยายน โดรนที่มีลักษณะเหมือนท่อ สยายปีกหลังถูกยิงออกจากเครื่องบินหลายลำกล้องที่ติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6x6 ตงเฟิง เมิ่งฉือ โดยแท่นยิงรูปทรงสี่เหลี่ยมมีลำกล้องทั้งหมด 48 ลำกล้อง เพียงเป็น 4 แถว แถวละ 12 ท่อ ทำให้มันดูคล้ายเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง (Multiple rocket launcher)
นอกจากนี้แล้วยังพบเห็นโดรนชนิดเดียวกันถูกหย่อนลงจากเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง ซึ่งระหว่างการยิงจาก 2 รูปแบบ พบเห็นปีกของมันกางพรึบบนท้องฟ้า ไม่นานหลังจากโดรนถูกยิงออกมา และอีกภาพพบเห็นโดรนหลายสิบลูกกำลังบินว่อนอยู่เต็มท้องฟ้า
ในสถานการณ์การสู้รบ อาวุธชนิดนี้สามารถบินร่อนอยู่เหนือสมรภูมิจนกว่าเป้าหมายจะปรากฏตัว ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นที่รู้จักในอีกเชื่อหนึ่งว่า "กระสุนร่อน" นั่นเอง
ช่วงท้ายของวิดีโอพบเห็นโดรนลำหนึ่งพุ่งเข้าโจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการทดสอบครั้งนี้ แต่โดรนที่พบเห็นในวิดีโอมีลักษณะคล้ายกับโดรนพิฆาตพลีชีพ CH-901 ที่ก่อนหน้านี้ทางกองทัพปลดแอกประชาชนจีนบอกว่าอยู่ระหว่างการพัฒนา
ตามข้อมูลของโกลบอลไทม์ส ระบุว่า CH-901 มีความยาว 1.2 เมตร น้ำหนัก 9 กิโลกรัม สามารถบินด้วยความเร็วสูงสุุด 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และร่อนอยู่บนท้องฟ้าได้นาน 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่ามันอาจเป็นเวอร์ชันดัดแปลง หรืออาจเป็นระบบที่ต่างออกไปโดยสิ้นเชิง
สำหรับโดรนพิฆาตพลีชีพ อยู่ในลำดับต้นๆของรายชื่อบรรดาอาวุธที่สหรัฐฯแสดงความกังวล นับตั้งแต่มันถูกใช้โจมตีก่อความเสียหายแก่อุตสาหกรรมน้ำมันของซาอุดีอาระเบียในเดือนกันยายน 2019 ที่ทางกบฏฮูตีออกมาอ้างความรับผิดชอบ แต่ทางหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของอิหร่าน
มีรายงานว่าวอชิงตันกำลังสร้างระบบต่อต้านทางอากาศระยะประชิดเพื่อจัดการเหตุโจมตีด้วยโดรน ในนั้นรวมถึงระบบที่ติดตั้งบนยานยนต์เคลื่อนที่ อย่างเช่นระบบ Direct Fire Defeat System ซึ่งจะติดตั้งบนยานยนต์บรรทุก JLTV(Joint Light Tactical Vehicles) และระบบป้องกันภัยทางอากาศอัตตาจรแบบ IM-SHORAD พาหนะหุ้มเกราะ Stryker บรรทุกขีนาปวุธต่อต้านอากาศยาน
(ที่มา:สปุตนิก)