รอยเตอร์ – ผู้ป่วยในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม 2 รายถูกยืนยันว่ากลับมาติดเชื้อไวรัสโคโรนาอีกครั้ง เกิดขึ้นหลังนักวิจัยฮ่องกงเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่ามีผู้ป่วยชายฮ่องกงกลับมาติดไวรัสโคโรนาในสายพันธุ์ที่ต่างออกไป
รอยเตอร์รายงานวันนี้(25 ส.ค)ว่า นักไวรัสวิทยาเบลเยียม มาร์ค แวน แรนสต์(Marc Van Ranst )เปิดเผยล่าสุดว่า ในกรณีผู้ป่วยที่กลับมาติดเชื้อโควิด-19อีกครั้งในเบลเยียมเป็นสตรีที่ได้เคยมีผลการติดเชื้อครั้งแรกเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และถูกพบว่ามีการติดเชื้ออีกครั้งในเดือนมิถุนายน โดยผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า เชื่อว่าเคสลักษณะการกลับมาติดเชื้อซ้ำนี้คาดว่าจะปรากฎให้เห็น
“เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหรือไม่ แต่ผมคิดว่าไม่ เราต้องรอดู” แวน แรนสต์ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ พร้อมชี้ว่า ไวรัสโควิด-19 นั้นอยู่ในตัวมนุษย์น้อยกว่า 1 ปี
เขาเสริมว่า “บางทีเราต้องเปลี่ยนวัคซีนใหม่ทุกปี หรือทุก 2 – 3 ปี มันดูเหมือนแน่ชัดว่าพวกเราไม่มีสิ่งที่สามารถรักษาให้ได้ผล เป็นต้นว่า 10 ปี”
แวน แรนสต์ที่มีตำแหน่งในคณะกรรมาธิการโควิด-19ของเบลเยียมบางชุดเปิดเผยว่า ในกรณีของเคสคนไข้หญิงชาวเบลเยียมนั้นแสดงอาการติดเชื้อระยะแรก และทำให้ร่างกายยังอาจไม่สร้างแอนติบอดี้อย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการกลับมาติดเชื้อใหม่
ทั้งนี้สถาบันแห่งชาติเพื่อการสาธารณสุข (The National Institute for Public Health) ในเนเธอร์แลนด์ออกมาชี้ว่า อยู่ในระหว่างการเฝ้าสังเกตเคสคนไข้กลับมาติดเชื้อใหม่เช่นกัน
แมเรียน คูปแมนส์ (Marion Koopmans) นักไวรัสวิทยาเนเธอร์แลนด์ ได้กล่าวผ่านสื่อดัตช์ NOS ว่า คนไข้ชาวดัตช์ที่กลับมาติดเชื้อเป็นคนไข้สูงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
เธอกล่าวต่อว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยป่วยด้วยไวรัสมาเป็นเวลานานและหากว่ามันกลับมาเป็นอีกครั้งจะเป็นที่สังเกตได้ง่าย แต่สำหรับในเคสที่มีการกลับมาติดเชื้อรอบ 2 อย่างแท้จริงที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฮ่องกง จำเป็นต้องมีการตรวจทางพันธุกรรมของไวรัสทั้งในการติดเชื้อครั้งแรกและการติดเชื้อรอบ 2 เพื่อหาว่ามีไวรัสมีความต่างกันเล็กน้อยหรือไม่
คูปแมนส์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลดัตช์กล่าวว่า มีการคาดถึงการกลับมาติดเชื้อใหม่เกิดขึ้น
“ในการที่จะมีคนกลับมาติดเชื้อใหม่นั้นจะไม่ทำให้ดิฉันรู้สึกหวาดวิตก” และเสริมว่า “พวกเราจะต้องรอดูว่ามันจะเกิดบ่อยหรือไม่”
ด้านโฆษกองค์การอนามัยโลก WHO ได้รายงานสรุปสหประชาชาติไปถึงเคสการติดเชื้อซ้ำที่เกิดขึ้นในฮ่องกงว่า ในขณะที่มีรายงานถึงการกลับมาติดเชื้อเกิดขึ้นในเวลานี้ แต่มีความจำเป็นที่ต้องมีการบันทึกเคสเช่นนี้อย่างชัดเจน
ด้านผู้เชี่ยวชาญ ดร. เดวิด สเตรน (Dr David Strain) ประจำมหาวิทยาลัยเอ็กเซเธอร์( University of Exeter) และประธานคณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่วิชาการทางการแพทย์ในสมาพันธ์การแพทย์อังกฤษแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
รอยเตอร์ – ผู้ป่วยในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม 2 รายถูกยืนยันว่ากลับมาติดเชื้อไวรัสโคโรนาอีกครั้ง เกิดขึ้นหลังนักวิจัยฮ่องกงเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่ามีผู้ป่วยชายฮ่องกงกลับมาติดไวรัสโคโรนาในสายพันธุ์ที่ต่างออกไป
รอยเตอร์รายงานวันนี้(25 ส.ค)ว่า นักไวรัสวิทยาเบลเยียม มาร์ค แวน แรนสต์(Marc Van Ranst )เปิดเผยล่าสุดว่า ในกรณีผู้ป่วยที่กลับมาติดเชื้อโควิด-19อีกครั้งในเบลเยียมเป็นสตรีที่ได้เคยมีผลการติดเชื้อครั้งแรกเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และถูกพบว่ามีการติดเชื้ออีกครั้งในเดือนมิถุนายน โดยผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า เชื่อว่าเคสลักษณะการกลับมาติดเชื้อซ้ำนี้คาดว่าจะปรากฎให้เห็น
“เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากหรือไม่ แต่ผมคิดว่าไม่ เราต้องรอดู” แวน แรนสต์ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ พร้อมชี้ว่า ไวรัสโควิด-19 นั้นอยู่ในตัวมนุษย์น้อยกว่า 1 ปี
เขาเสริมว่า “บางทีเราต้องเปลี่ยนวัคซีนใหม่ทุกปี หรือทุก 2 – 3 ปี มันดูเหมือนแน่ชัดว่าพวกเราไม่มีสิ่งที่สามารถรักษาให้ได้ผล เป็นต้นว่า 10 ปี”
แวน แรนสต์ที่มีตำแหน่งในคณะกรรมาธิการโควิด-19ของเบลเยียมบางชุดเปิดเผยว่า ในกรณีของเคสคนไข้หญิงชาวเบลเยียมนั้นแสดงอาการติดเชื้อระยะแรก และทำให้ร่างกายยังอาจไม่สร้างแอนติบอดี้อย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการกลับมาติดเชื้อใหม่
ทั้งนี้สถาบันแห่งชาติเพื่อการสาธารณสุข (The National Institute for Public Health) ในเนเธอร์แลนด์ออกมาชี้ว่า อยู่ในระหว่างการเฝ้าสังเกตเคสคนไข้กลับมาติดเชื้อใหม่เช่นกัน
แมเรียน คูปแมนส์ (Marion Koopmans) นักไวรัสวิทยาเนเธอร์แลนด์ ได้กล่าวผ่านสื่อดัตช์ NOS ว่า คนไข้ชาวดัตช์ที่กลับมาติดเชื้อเป็นคนไข้สูงอายุที่ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
เธอกล่าวต่อว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยป่วยด้วยไวรัสมาเป็นเวลานานและหากว่ามันกลับมาเป็นอีกครั้งจะเป็นที่สังเกตได้ง่าย แต่สำหรับในเคสที่มีการกลับมาติดเชื้อรอบ 2 อย่างแท้จริงที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฮ่องกง จำเป็นต้องมีการตรวจทางพันธุกรรมของไวรัสทั้งในการติดเชื้อครั้งแรกและการติดเชื้อรอบ 2 เพื่อหาว่ามีไวรัสมีความต่างกันเล็กน้อยหรือไม่
คูปแมนส์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลดัตช์กล่าวว่า มีการคาดถึงการกลับมาติดเชื้อใหม่เกิดขึ้น
“ในการที่จะมีคนกลับมาติดเชื้อใหม่นั้นจะไม่ทำให้ดิฉันรู้สึกหวาดวิตก” และเสริมว่า “พวกเราจะต้องรอดูว่ามันจะเกิดบ่อยหรือไม่”
ด้านโฆษกองค์การอนามัยโลก WHO ได้รายงานสรุปสหประชาชาติไปถึงเคสการติดเชื้อซ้ำที่เกิดขึ้นในฮ่องกงว่า ในขณะที่มีรายงานถึงการกลับมาติดเชื้อเกิดขึ้นในเวลานี้ แต่มีความจำเป็นที่ต้องมีการบันทึกเคสเช่นนี้อย่างชัดเจน
ด้านผู้เชี่ยวชาญ ดร. เดวิด สเตรน (Dr David Strain) ประจำมหาวิทยาลัยเอ็กเซเธอร์( University of Exeter) และประธานคณะกรรมาธิการเจ้าหน้าที่วิชาการทางการแพทย์ในสมาพันธ์การแพทย์อังกฤษแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
“ประการแรกชี้ว่าการติดเชื้อครั้งแรกนั้นไม่ช่วยป้องกัน”
และเสริมต่อว่า “ประกาศที่สองมันทำให้เกิดความน่าจะเป็นว่าการให้วัคซีนอาจไม่ช่วยให้ความหวังถึงในสิ่งที่พวกเราเฝ้ารอ”
“ประการแรกชี้ว่าการติดเชื้อครั้งแรกนั้นไม่ช่วยป้องกัน”
และเสริมต่อว่า “ประกาศที่สองมันทำให้เกิดความน่าจะเป็นว่าการให้วัคซีนอาจไม่ช่วยให้ความหวังถึงในสิ่งที่พวกเราเฝ้ารอ”