xs
xsm
sm
md
lg

ทำไม 5จี จึงเป็นแค่ขั้นตอนแรกของสงครามเทคสหรัฐฯ-จีน

เผยแพร่:   โดย: ประพีร์ ปุรกายาสถา



(เก็บความจากเอเชียไทมส์ WWW.asiatimes.com)

Why 5G is first stage of US-China tech war
by Prabir Purkayastha
13/08/2020

หัวเว่ยยังไม่ใช่ว่าถูกรุกหนักจนถึงกับแพ้พ่ายปิดเกม อย่างที่พวกนักวิเคราะห์ด้านเทคจำนวนมากกำลังสรุปกันแบบก่อนเวลาอันควร

สงครามเทค (tec war) ที่สหรัฐฯทำกับจีน [1] กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง วอชิงตันสั่งห้าม [2] ไม่ให้ใช้อุปกรณ์จีนในเครือข่ายของอเมริกัน อีกทั้งกำลังขอร้องพวกชาติหุ้นส่วนในกลุ่มไฟฟ์อายส์[3] (Five Eyes ประกอบด้วยสหรัฐฯ, แคนาดา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์) และเหล่าชาติพันธมิตรนาโต้ [4] ให้กระทำตาม นี่คือระบบวิธีแบบมุ่งปฏิเสธการเข้าถึงตลาดและการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งสหรัฐฯนำมาใช้เพื่อเป็นหนทางในการดึงดูดอุตสาหกรรมการผลิต [5] ที่สหรัฐฯและเหล่าประเทศยุโรปสูญเสียให้แก่จีน
ให้ยินยอมหวนกลับมายังอเมริกา

ในทางการค้าระหว่างประเทศ มีข้อสมมุติฐานประการหนึ่งว่า สินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่สามารถจัดหามาจากแหล่งซึ่งตั้งอยู่ในส่วนใดๆ ของโลกก็ได้ การแหกกฎทำลายแนวคิดในเรื่องนี้ครั้งใหญ่โตครั้งแรกสุด เกิดขึ้นเมื่อสหรัฐฯดำเนินการลงโทษคว่ำบาตร หัวเว่ย รอบแรกๆ เมื่อปีที่แล้ว ด้วยการประกาศกฎระเบียบที่ระบุว่า บริษัทใดก็ตามที่ใช้คอนเทนต์สหรัฐฯตั้งแต่ 25% ขึ้นไป จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเรื่องการแซงก์ชั่นต่างๆ ของสหรัฐฯ[6] นี่หมายความว่า ซอฟต์แวร์สหรัฐฯ, หรือชิปที่อิงอยู่กับดีไซน์ของสหรัฐฯ จะไม่สามารถส่งออกไปให้แก่หัวเว่ยอีกต่อไป

สำหรับการประกาศมาตรการแซงก์ชั่นต่างๆ ในรอบล่าสุดของสหรัฐฯเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ มันคือการขยายการสั่งห้ามเช่นนี้ให้แผ่กว้างครอบคลุมรวมไปถึงสินค้าใดๆ ก็ตามซึ่งผลิตโดยมีการใช้อุปกรณ์สหรัฐฯ
นับเป็นการแผ่ขยายอำนาจอธิปไตยให้เลยล้ำออกไปจากเส้นแนวพรมแดนของตนโดยแท้ [7]

ในระยะเวลา 3 ทศวรรษหลังสุดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางด้านการค้า
สหรัฐฯได้เพิ่มการเอาต์ซอร์สการผลิตทางอุตสาหกรรมออกไปยังประเทศอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ทว่ายังคงรักษาการควบคุมเหนือเศรษฐกิจโลกเอาไว้ได้ โดยผ่านการควบคุมเหนือภาคการเงิน—ตั้งแต่ธนาคารแห่งต่างๆ, ระบบการชำระเงิน, การประกันภัย, และกองทุนเพื่อการลงทุน เป็นต้น แล้วจากมาตการแซงก์ชั่นชุดใหม่ๆ ที่ประกาศออกมาไม่ขาดสาย กำลังเปิดเผยให้มองเห็นถึงระดับอีกระดับหนึ่งในการควบคุมเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ อันได้แก่ การที่สหรัฐฯมีอำนาจควบคุมเหนือเทคโนโลยี ทั้งในแง่มุมของทรัพย์สินทางปัญญา และในแง่มุมของอุปกรณ์ส่วนประกอบที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำการผลิตพวกไมโครชิป

มาตรการแซงก์ชั่นทางการค้าใหม่ๆ ที่สหรัฐฯประกาศออกมาบังคับใช้เหล่านี้ เป็นการละเมิดกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างชัดเจน [8] ทั้งนี้วอชิงตันหยิบยกอ้างเหตุผลในด้านความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งในWTO ถือกันว่าเป็นเหตุผลข้ออ้างแบบรุนแรงสุดโต่งที่สุด มาใช้กับกรณีซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้าอย่างชัดเจน ทำไมสหรัฐฯจึงสร้างความหงุดหงิดผิดหวังให้แก่ WTO มาพักใหญ่แล้ว ด้วยการปฏิเสธไม่ยอมเห็นชอบใดๆ เลยกับการเสนอชื่อบุคคลใหม่ๆ เข้าไปนั่งในคณะกรรมการแก้ไขข้อพิพาทของWTO เพื่อทดแทนคนเก่าที่หมดวาระลง มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันตาสว่างได้รับคำเฉลยกันอย่างแจ่มแจ้ง
เวลานี้จีนไม่สามารถที่จะนำเอาเรื่องที่สหรัฐฯประกาศแซงก์ชั่นอย่างผิดกฎระเบียบเข้าสู่WTO เพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขข้อพิพาทได้ เนื่องจากตัวองค์กรทำหน้าที่แก้ไขข้อพิพาทเองกำลังถูกสหรัฐฯทำให้สิ้นชีพไปในทางพฤตินัย [9]

ศึกการต่อสู้เพื่อช่วงชิงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเจเนอเรชั่นที่ 5 ที่มีหัวเว่ยเป็นตัวละครสำคัญ กำลังกลายเป็นสมรภูมิซึ่งสงครามเทคสหรัฐฯ-จีนกำลังสู้รบฟาดฟันกัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ตลาด 5จี
(ซึ่งครอบคลุมถึงการติดตั้งและอุปกรณ์เครือข่าย) จะมีมูลค่าขึ้นไปถึงระดับ 48,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายในปี 2027 [10] แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ เป็นที่คาดหมายกันว่า เครือข่าย 5จีซึ่งติดตั้งใช้งานกันได้แล้ว จะเป็นตัวขับดันให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจติดตามมาคิดเป็นมูลค่าระดับหลายล้านล้านดอลลาร์ [11] ดังนั้นบริษัทใดหรือประเทศไหนก็ตามทีซึ่งสามารถควบคุมเทคโนโลยี 5จี จะมีความได้เปรียบเหนือคนอื่นๆ ในแวดวงทางเศรษฐกิจและแวดวงทางเทคโนโลยีนี้

เครือข่ายเจเนอเรชั่นที่ 5 จะเพิ่มพูนยกระดับอัตราเร็วของอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับ 10 เท่าตัวจนถึง 40
เท่าตัว[12] สำหรับบรรดาผู้บริโภคแล้ว อัตราเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เชื่องช้าคืออุปสรรคที่แก้ไขไม่ตกสำหรับพวกแอปพลิเคชั่นอย่างเช่น วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และการเล่นเกมออนไลน์แบบที่มีผู้เข้าร่วมเล่นพร้อมกันหลายๆ คน ซึ่งต่างเรียกร้องต้องการอัตราเร็วที่สูงในการอัปโหลดและดาวน์โหลด ทว่านี่ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับพวกบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง อย่างเช่น เนตฟลิกซ์ ซึ่งอัตราเร็วในการดาวน์โหลดเท่านั้นที่มีความสำคัญ

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการเฉพาะในพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีผู้พำนักอาศัยหนาแน่น อีกทั้งเป็นการให้บริการผ่านเครือข่ายสายไฟเบอร์ออปติกเท่านั้น เครือข่ายเจเนอเรชั่นที่ 5 จะทำให้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีใช้มีให้บริการกันเกินล้ำไปจากข้อจำกัดเหล่านี้ –และทำให้พวกอุปกรณ์ไร้สายทั้งหลายสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไฮสปีดได้

พื้นที่อื่นๆ อีก 2 พื้นที่ซึ่งจะได้ประโยชน์จาก 5จี ได้แก่พวกรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวมันเอง
[13] และเรื่องอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งทุกอย่าง (Internet of Thingsใช้อักษรย่อว่าIoT) ซึ่งพวกเครื่องมืออุปกรณ์ชิ้นต่างๆ ของเราสามารถติดต่อสื่อสารกับชิ้นอื่นๆ ได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ตไร้สาย ขณะที่เรื่องรถยนต์ซึ่งสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง ยังคงเป็นเรื่องที่ยังดูห่างไกลไปสักหน่อย เรื่องIoT กลับน่าจะกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกว่ามากมายนักในเวลาไม่ช้าไม่นานจากนี้ไป ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการปรับปรุงยกระดับประสิทธิภาพและการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของกระแสไฟฟ้า, ไฟจราจร, ระบบน้ำประปาและระบบจัดการน้ำเสีย ตาม “เมืองอัจฉริยะต่างๆ” [14] ที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคต

ตัวย่อ “จี” ในเรื่องเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมนั้น เป็นอักษรย่อของคำว่าเจเนอเรชั่น โดยที่เทคโนโลยีของแต่ละเจเนอเรชั่นในการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไร้สาย หมายถึงปริมาณข้อมูลข่าวสารซึ่งคลื่นวิทยุสามารถนำพาไปได้ เครือข่าย 5จี มีความรวดเร็วกว่ามากมายนัก [15] เมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่าย 4 จีในระดับพอๆ กัน อีกทั้งยังสามารถให้ความสนับสนุนแก่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้อยู่ภายในพื้นที่หนึ่งๆเป็นจำนวนสูงกว่ากันเยอะ [16]

จุดอ่อนของ 5 จีก็คือ มันไม่เหมือนกับ 3จี หรือ 4จี ในปัจจุบัน 5จีไม่สามารถเดินทางเป็นระยะไกลๆ และจำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ซึ่งหมายถึงแบตเตอรีและสายอากาศ เป็นจำนวนเพื่มมากขึ้น สำหรับครอบลุมระยะทางเท่าเดิม กระนั้น เครือข่าย 5จี ยังคงสามารถให้บริการไฮสปีดซึ่งพวกเครือข่ายสายไฟเบอร์ออปติกให้ได้ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมากสำหรับการวางสายเคเบิลในทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ มันจึงสามารถที่จะเข้าถึงศูนย์รวมประชากรต่างๆ ที่มีผู้คนแน่นหนาน้อยกว่า รวมทั้งพวกพื้นที่ชนบท ด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาก

ใครกันบ้างคือเพลเยอร์รายอื่นๆ ในเรื่อง 5จี?

นอกเหนือจากหัวเว่ยแล้ว เพลเยอร์สำคัญรายอื่นๆ ได้แก่ ซัมซุง (เกาหลีใต้), โนเกีย (ฟินแลนด์), อีริคสัน (สวีเดน), และ แซดทีอี (จีน) ขณะที่สหรัฐฯไม่มีเพลเยอร์สำคัญใดๆ เลยในระดับอุปกรณ์เครือข่าย แต่ก็มีควอลคอมม์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตพวกชิ้นส่วนอุปกรณ์ไร้สายและชิปเซ็ต แล้วก็มีแอปเปิล ซึ่งเป็นผู้นำตลาดในด้านเครื่องสมาร์ตโฟน

มาตรการแซงก์ชั่นที่สหรัฐฯประกาศใช้ในตอนแรกๆ เป็นการโจมตีเล่นงานหัวเว่ยโดยอาศัยฐานะการเป็นผู้ทรงอิทธิพลครอบงำเรื่องซอฟต์แวร์ของอเมริกัน ระบบปฏิบัติการ “แอนดรอยด์” ของกูเกิล คือตัวให้พลังแก่โทรศัพท์มือถือแทบทั้งหมดของจีน เฉกเช่นเดียวกับที่โทรศัพท์มือถือรายอื่นๆ เกือบทั้งหมดซึ่งไม่ใช่ของแอปเปิล ก็ใช้แอนดรอยด์กันทั้งนั้นนั่นแหละ

เวลาเดียวกันในเรื่องชิปเซมิคอนดักเตอร์ พวกตัวโปรเซสเซอร์ (processors ตัวประมวลผล) ของเออาร์เอ็ม (ARM) มีฐานะเป็นผู้นำในเรื่องระบบที่ฝังมากับเครื่องคอมพิวเตอร์และในตลาดโทรศัพท์ไร้สาย
โดยที่บริษัทส่วนใหญ่ซึ่งต้องการตัวโปรเซสเซอร์ระดับก้าวหน้า ต่างกำลังสับเปลี่ยนจากการใช้ของอินเทล (Intel) มาใช้ของเออาร์เอ็ม [17] ทั้งนี้ เออาร์เอ็ม เป็นบริษัทที่ตั้งฐานอยู่ในอังกฤษ ทว่าเจ้าของในเวลานี้คือบริษัทซอฟต์แบงก์ (SoftBank) ของญี่ปุ่น จริงๆ แล้ว เออาร์เอ็มไม่ได้เป็นผู้ลงมือผลิตชิปด้วยตนเอง หากแต่เป็นผู้จ้ดทำดีไซน์ต่างๆ สำหรับส่วนแกนกลาง (cores) ที่บรรจุเข้าไปในตัวโปรเซสเซอร์

ดีไซน์เหล่านี้ทางเออาร์เอ็มใช้วิธีทำข้อตกลงให้ไลเซนส์แก่พวกบริษัทอย่างเช่น หัวเว่ย, ควอลคอมม์, ซัมซุง, และแอปเปิล โดยที่พวกบริษัทเหล่านี้จะเป็นผู้ดีไซน์ตัวโปรเซสเซอร์ซึ่งตนเองต้องการใช้โดยอิงอยู่กับส่วนแกนกลางเออาร์เอ็ม และดำเนินการให้พวกโรงงานผลิตชิปซิลิคอนแห่งต่างๆ ทำการผลิตออกมา พวกตัวโปรเซสเซอร์เหล่านี้จะเป็นตัวที่พลังแก่พวกอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย, โทรศัพท์ไร้สาย, และแล็ปท็อป ซึ่งออกมาจากโรงงานผู้ผลิตต่างๆ นานา

บริษัทโรงงานผลิตชิปซิลิคอนแห่งสำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งผลิตโปรเซสเซอร์จริงๆ ออกมาโดยใช้ส่วนแกนกลางเออาร์เอ็มที่จัดเรียงตามดีไซน์ต่างๆ ของพวกหัวเว่ย, ซัมซุง, หรือว่า แอปเปิล ก็คือ ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง คอมพานี (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) บริษัทที่นิยมเรียกกันด้วยอักษรย่อว่าTSMC แห่งนี้ คือบริษัทโรงงานผลิตชิปซิลิคอนรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกเอาไว้ประมาณ 48%

ซัมซุงก็เป็นบริษัทโรงงานผลิตชิปซิลิคอนที่มีศักยภาพสูงรายหนึ่งเช่นกัน โดยเป็นผู้ครองส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกไปอีก 20% บริษัทใช้โรงงานต่างๆ ที่มีอยู่ของตนมาทำการผลิตเพื่อสนองความต้องการภายใน แต่ก็ยังมีเหลือให้ผลิตขายแก่บริษัทแห่งอื่นๆ เช่นกัน

ขณะที่จีนมีบริษัทโรงงานผลิตชิปซิลิคอนรายใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก นั่นคือ เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล (Semiconductor Manufacturing International Corpใช้อักษรย่อว่า
SMIC) ทว่ามันขนาดเพียงแค่ 1 ใน 10 ของTSMC เท่านั้น ทั้งTSMC และซัมซุง ต่างมีเทคโนโลยีในการผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตร[20] ที่มีความก้าวหน้ามากกว่า ขณะที่ SMIC ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผลิตชิปขนาด 14 นาโนเมตร [21] ซึ่งมีความก้าวหน้าน้อยกว่า

หัวเว่ยตอบโต้กลับ

การโจมตีที่สหรัฐฯกระทำต่อจีนในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการสั่งห้ามไม่ให้ใช้ซอฟต์แวร์สหรัฐฯในระบบต่างๆ ของหัวเว่ยนั้น หมายความว่าหัวเว่ยจำเป็นต้องยุติการใช้ระบบปฏิบัติการไร้สายแบบแอนดอรยด์ ตลอดจนแอปอื่นๆ อีกหลายหลากซึ่งอิงอาศัยระบบแอนดรอยด์ และมีเสนอให้ดาวน์โหลดในแอปสโตร์ของกูเกิล (Google Play Store) หัวเว่ยนั้นคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าจะถูกโจมตีเช่นนี้ และได้สร้างระบบปฏิบัติการไร้สายของตนเอง ซึ่งคือ ฮาร์โมนีโอเอส (HarmonyOS) [22] ตลอดจนตั้งแอปสโตร์ของตนเองขึ้นมา

นอกจากนั้น บริษัทยังกำลังใช้ระบบปฏิบัติแอนดรอยด์ที่เป็นเวอร์ชั่นโอเพน-ซอร์ส [23] และแอปสโตร์ของเวอร์ชั่นนี้ นั่นคือ แอป แกลเลอรี (App Gallery) เพื่อให้ใช้แทนGoogle Play Store ยูสเซอร์ของหัวเว่ยจะยอมรับได้มากน้อยแค่ไหนเมื่อปราศจาก Google Play Store? นี่เป็นเรื่องที่จะต้องเฝ้าติดตามกันต่อไป ทั้งนี้มันจะขึ้นอยู่กับว่ามีนักพัฒนาแอปมากน้อยแค่ไหนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนมาเน้นพัฒนาให้หัวเว่ย ตลอดจนแอปต่างๆ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาสำหรับพวกยูสเซอร์หัวเว่ยในตลาดจีนเองนั้นมีคุณภาพขนาดไหน

ในช่วงแรกๆ คิดกันว่าหัวเว่ยจะไม่สามารถใช้ตัวโปรเซสเซอร์ทั้งหลายของเออาร์เอ็มได้อีกแล้วในอนาคตข้างหน้า เรื่องนี้ก่อให้เกิดคำถามตัวโตต่ออุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ของหัวเว่ย เนื่องจากบริษัทต้องพึ่งพาอาศัยโปรเซสเซอร์ที่ออกแบบโดยเออาร์เอ็มอย่างมากมายเหลือเกิน ทั้งสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ของบริษัททางด้านอุปกรณ์เครือข่าย, เครื่องโทรศัพท์มือถือ, และเครื่องแล็ปท็อป

เออาร์เอ็มช่วงแรกๆ ทีเดียวได้ระงับ [24] การขายดีไซน์ตัวโปรเซสเซอร์ทั้งหมดของตนให้แก่หัวเว่ย
ในแบบขายล่วงหน้าเพื่อการส่งมอบในอนาคต เนื่องจากสหรัฐฯอ้างว่ามันมีคอนเทนต์สหรัฐฯเกิน 25%
และด้วยเหตุนี้จึงตกอยู่ในข่ายที่ต้องกระทำตามระบบการแซงก์ชั่นคว่ำบาตรของสหรัฐฯ แต่ในเวลาต่อมา เออาร์เอ็มมีข้อสรุปว่า มันมีคอนเทนต์สหรัฐฯไม่ถึง 25% และด้วยเหตุนี้จึงไม่ตกอยู่ใต้กฎระเบียบดังกล่าว
[25]

นี่คือสิ่งที่เร่งให้มีการแซงก์ชั่นครั้งใหม่ซึ่งสหรัฐฯประกาศออกมาบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม [26] ภายใต้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรคราวนี้ ถ้าหากอุปกรณ์ใดๆ ที่มีแหล่งกำเนิดในสหรัฐฯ ถูกใช้เพื่อการผลิตส่วนประกอบต่างๆ หรือระบบต่างๆ ให้แก่หัวเว่ยแล้ว ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นหรือระบบต่างๆ เหล่านั้นก็จะต้องอยู่ภายใต้ระบบการแซงก์ชั่นของสหรัฐฯด้วย

TSMCใช้เครื่องจักรต่างๆ ที่มีแหล่งกำเนิดในสหรัฐฯ มาทำการการผลิตชิป และดังนั้นจึงได้ยุติการรับออร์เดอร์ใหม่ๆ จากหัวเว่ยแล้ว 27] ขณะที่ซัมซุงมีทั้งเครื่องจักรของสหรัฐฯและไม่ใช่ของสหรัฐฯผสมผเสใช้อยู่ในสายการผลิตชิปของตน โดยที่ถ้าหากบริษัทต้องการ ก็สามารถที่จะสับเปลี่ยนทำให้เกิดสายการผลิตชิปอย่างน้อยที่สุดบางสายซึ่งใช้แต่เครื่องจักรที่ไม่ใช่ของสหรัฐฯล้วนๆ

นี่ทำให้ยังมีช่องทางสำหรับให้หัวเว่ยต่อสู้เอาชนะการแซงก์ชั่น โดยที่หัวเว่ยยังคงมีไพ่บางใบที่สามารถนำมาเล่นได้ [28] หนึ่งในนั้นคือการยินยอมสละตลาดโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอ็นให้ซัมซุง เพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้เข้าถึงโรงงานผลิตชิปของยักษ์ใหญ่เกาหลีใต้รายนี้

ถ้าหากหัวเว่ยจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยแค่เฉพาะแหล่งที่มาภายในประเทศเท่านั้นแล้ว มันก็จะส่งผลกระทบกระเทือนการผลิตของบริษัทในอเนาคต เป็นไปได้ว่าหัวเว่ยมีการเก็บสต็อกชิปที่ผลิตแล้วซึ่งจะสามารถใช้ไปได้ราวๆ 12-18 เดือน ดังนั้นนี่จึงเป็นช่วงเวลาพักหายใจสำหรับให้บริษัทมองหาซัปพลายเออร์รายใหม่ หรือเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีที่ด้อยลงมา อย่างเช่น แผ่นชิปขนาด 10 นาโนโมตร หรือไม่ก็
14 นาโนเมตร อันเป็นเทคโนโลยีซึ่งสามารถใช้ซัปพลายเออร์ภายในประเทศอย่างSMIC ได้

สำหรับตลาด 5จี แผ่นชิปขนาด 7 นาโนเมตรอาจจะไม่ได้เป็นปัจจัยตัดสินชี้ขาดเพียงปัจจัยเดียว หัวเว่ยยังคงเป็นผู้นำหน้าอยู่มากในเรื่องวิทยุและเสาอากาศ [29] ซึ่งต่างเป็นชิ้นส่วนหลักๆ ในเครือข่าย 5จี

เครือข่ายเจเนอเรชั่นที่ 5 นั้นพึ่งพาอาศัยสิ่งที่เรียกกันว่าเสาอากาศmassive multiple-input and
multiple-output (MIMO) [30] โดยที่เรื่องนี้หัวเว่ยนำหน้ารายอื่นๆ ไปไกลมาก เรื่องนี้ต่างหากซึ่งมีความสำคัญมากกว่าขนาดของตัวโปรเซสเซอร์ และอาจกลายเป็นจุดตัดสินความได้เปรียบทางเทคนิคที่หัวเว่ยสามารถเสนอให้แก่ลูกค้าได้ หัวเว่ยเป็นผู้นำที่ออกหน้าไปไกลกว่ารายอื่นเยอะทีเดียว [31]ในพวกอุปกรณ์ที่อิงอยู่กับแกลเลียมไนไตรด์ (gallium-nitride-based devices) ไม่ใช่เรื่องซิลิคอน

โนเกีย และ อีริคสัน ต่างกำลังใช้ชิปอินเทลสำหรับพวกสถานีฐานของพวกตน ซึ่งไม่สามารถขันแข่งกับโปรเซสเซอร์เออาร์เอ็มได้เลย และเมื่อได้รับการสนับสนุนของหัวเว่ย บริษัทSMIC ของจีนซึ่งตั้งฐานอยู่ในเซี่ยงไฮ้ ก็อาจจะสามารถเปลี่ยนมาสู่เทคโนโลยี 10 นาโนเมตรได้อย่างรวดเร็ว เป็นการลดช่วงห่างระหว่างโปรเซสเซอร์ของตนกับของรายอื่นๆ

หัวเว่ยยังมีความสามารถในการเสนอขายโซลูชั่น 5จี ชนิดสมบูรณ์แบบ นั่นคือจากเรื่องเครือข่าย ไปจนถึงสมาร์ตโฟนระบบ 5จี รวมทั้งสามารถติดตั้งเครือข่ายได้รวดเร็วกว่ารายอื่นๆ มาก ตลาดภายในประเทศในจีนของหัวเว่ยนั้นมีขนาดใหญ่โตกว่าตลาด 5 จีแห่งอื่นๆทั้งหมดในโลก ซึ่งเรื่องนี้สามารถกลายเป็นพลังในการช่วยการเติบโตของบริษัทได้ดี

มันจึงเป็นเรื่องแน่นอนทีเดียวว่า สำหรับหัวเว่ยแล้วนี่ไม่ใช่การถูกรุกฆาตจนต้องปิดเกมเลิกเล่น อย่างที่พวกนักวิเคราะห์ด้านเทคจำนวนมากกำลังมีข้อสรุปอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร พวกเขาควรที่จะกล่าวย้ำว่าการปิดเกมเลิกเล่นนั้นมีอยู่ 2 ครั้ง 2 หน หนหนึ่งคือการถูกปฏิเสธไมให้ใช้ระบบแอนดรอยด์ของกูเกิล[32] แล้วต่อมาคือการถูกห้ามใช้โปรเซสเซอร์เออาร์เอ็ม [33] แต่จากมาตรการแซงก์ชั่นชุดใหม่นี้
ขณะที่ทำให้สหรัฐฯสร้างความได้เปรียบชั่วคราวให้แก่พวกเพลเยอร์ตะวันตก มันก็ได้สร้างแรงจูงใจให้แก่พวกโรงงานนอกสหรัฐฯ ให้โยกย้ายสับเปลี่ยนไม่ใช้อุปกรณ์สหรัฐฯเช่นเดียวกัน การสั่งห้ามดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเหมือนดาบสองคมอยู่เสมอ [34]

ดังนั้น มันจึงเป็นเกมที่ยังคงเล่นกันต่อไปอีกอย่างแน่นอน ทั้งสำหรับหัวเว่ยและสำหรับจีนในสงครามเทคซึ่งสู้รบกับสหรัฐฯ แล้วก้อเหมือนกับในสงครามอื่นๆ ไม่ว่าครั้งไหน มันไม่ใช่ว่าสมรถูมิแห่งหนึ่งในพื้นที่หนึ่งๆ จะสามารถตัดสินได้เลยว่าใครคือผู้ชนะ เทคโนโลยีเจเนอเรชั่นที่ 5 คือยุทธบริเวณการสู้รบเพียงแค่ 1 ยุทธบริเวณเท่านั้น ยังมียุทธบริเวณอื่นๆ อีกมากมาย และในยุทธบริเวณเหล่านั้นจำนวนมากทีเดียว
จีนยังถือไพ่เหนือกว่า

สำหรับส่วนอื่นๆ ของโลกแล้ว พวกเขาไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ดูอยู่เฉยๆ แต่จะต้องเป็นผู้ตัดสินด้วยว่าอนาคตนั้นอยู่ตรงไหน โดยที่ไมใช่เป็นเพียงแค่การเลือกแบบฐานสอง นั่นคือระหว่างสหรัฐฯกับจีนเท่านั้น
หากแต่พวกเขาสามารถวางตัวเป็นเพลเยอร์ที่มีอิสระได้ ทั้งนี้ ยังคงมีพวกพลังอันใหญ่โตยิ่งกว่านี้ในทางด้านเศรษฐกิจการเมืองในระดับโลก ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินสงครามคราวนี้

เชิงอรรถ

[1] https://www.commerce.gov/news/press-releases/2020/05/commerce-addresses-huaweis-efforts-undermine-entity-list-restricts

[2] https://www.whitehouse.gov/presidential-actions/executive-order-securing-information-communications-technology-services-supply-chain/

[3] https://techhq.com/2020/07/the-state-of-huawei-in-light-of-the-five-eyes-partnership/

[4] https://asia.nikkei.com/Economy/Trade-war/US-tells-NATO-allies-to-wake-up-to-Huawei-5G-threat

[5] https://www.inc.com/glenn-leibowitz/apple-ceo-tim-cook-this-is-number-1-reason-we-make-iphones-in-china-its-not-what-you-think.html

[6] https://www.bis.doc.gov/index.php/policy-guidance/lists-of-parties-of-concern/entity-list

[7] https://asiatimes.com/2020/05/trump-bets-the-farm-on-huawei-equipment-ban/

[8] https://thewire.in/trade/will-the-wto-finally-tackle-the-trump-card-of-national-security

[9] https://www.economist.com/finance-and-economics/2019/11/28/its-the-end-of-the-world-trade-organisation-as-we-know-it

[10] https://www.marketsandmarkets.com/Market-Reports/5g-technology-market-202955795.html

[11] https://cdn.ihs.com/www/pdf/IHS-Technology-5G-Economic-Impact-Study.pdf

[12] https://5g.co.uk/guides/how-fast-is-5g/

[13] https://www.zdnet.com/article/why-5g-is-a-crucial-technology-for-autonomous-vehicles/

[14] https://www.zdnet.com/article/how-5g-will-make-smart-cities-a-reality/

[15] https://www.raconteur.net/technology/4g-vs-5g-mobile-technology#:~:text=So%20how%20fast%20will%205G,quicker%20to%20smartphones%20and%20tablets.

[16] https://www.raconteur.net/technology/4g-vs-5g-mobile-technology#:~:text=So%20how%20fast%20will%205G,quicker%20to%20smartphones%20and%20tablets.

[17] https://www.extremetech.com/computing/227816-how-intel-lost-the-mobile-market-part-2-the-rise-and-neglect-of-atom

[18] https://www.howtogeek.com/394267/what-do-7nm-and-10nm-mean-and-why-do-they-matter/

[19] https://www.kitguru.net/components/cpu/christopher-nohall/chinese-chipmaker-smic-getting-closer-to-7nm/

[20] https://www.howtogeek.com/394267/what-do-7nm-and-10nm-mean-and-why-do-they-matter/

[21] https://www.kitguru.net/components/cpu/christopher-nohall/chinese-chipmaker-smic-getting-closer-to-7nm/

[22] https://www.techradar.com/in/news/harmonyos

[23] https://www.pocket-lint.com/phones/news/huawei/148118-huawei-alternative-os-without-google-huawei-plan-b

[24] https://www.theverge.com/2019/5/22/18635326/huawei-arm-chip-designs-business-suspension

[25] https://www.theverge.com/2019/10/25/20932096/arm-license-chip-architecture-huawei-trump-trade-ban-uk-us

[26] https://www.commerce.gov/news/press-releases/2020/05/commerce-addresses-huaweis-efforts-undermine-entity-list-restricts

[27] https://www.taipeitimes.com/News/biz/archives/2020/05/19/2003736638

[28] https://www.globaltimes.cn/content/1192322.shtml

[29] https://www.rcrwireless.com/20200220/wireless/huawei-shows-off-new-5g-gear-restates-tech-leadership

[30] https://en.wikipedia.org/wiki/5G#Massive_MIMO

[31] https://www.telecomlead.com/telecom-equipment/huawei-brings-5g-antenna-technology-with-advanced-features-92636

[32] https://www.theverge.com/2019/5/20/18632266/huawei-android-google-ban-phone-business-future

[33] https://www.theverge.com/2019/5/22/18635326/huawei-arm-chip-designs-business-suspension

[34] https://www.wired.com/story/newest-us-sanctions-chinas-huawei-backfire/

ข้อเขียนชิ้นนี้ผลิตขึ้นด้วยความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกันระหว่าง นิวสคลิก (Newsclick) กับ โกลบทร็อตเทอร์ (Globetrotter) ที่เป็นโครงการหนึ่งของสถาบันสื่ออิสระ (Independent Media Institute) และเป็นผู้จัดหาข้อเขียนนี้ให้แก่เอเชียไทมส์

ประพีร์ ปุรกายาสถา เป็นบรรณาธิการผู้ก่อตั้งของNewsclick.inแพลตฟอร์มสื่อดิจิตอล รวมทั้งเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อวิทยาศาสตร์และขบวนการซอฟต์แวร์ฟรี (free software movement)
กำลังโหลดความคิดเห็น