xs
xsm
sm
md
lg

In Clip : “นักข่าวฝรั่งตาน้ำข้าว” สยดสยองสภาพตลาดสดไทย ชี้อาจกลายเป็นอู่ฮั่น 2

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เอเจนซีส์ - แชแนลนิวส์ 4 ของอังกฤษ ส่งนักข่าวฝรั่งตาน้ำข้าว แฝงตัวเดินตามตลาดสดในไทย ชี้ มีการขายสัตว์มีชีวิต อาจแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาไม่ต่างจากตลาดอาหารทะเลอู่ฮั่น

แชแนลนิวส์ 4 ของอังกฤษ รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี (30 เม.ย.) ที่ผ่านมา ผ่านคลิปวิดีโอลงยูทูปที่มียอดผู้เข้าชมล่าสุดวันนี้ (5) อยู่ที่ 51,295 วิว ส่ง โจนาธาน มิลเลอร์ (Jonathan Miller) นักข่าวอังกฤษสวมหน้ากากอนามัย เดินตลาดสดคลองเตย ที่สามารถส่งภาษาไทยต่อรองซื้อผักกำละ 5 บาทได้

เขากล่าวว่า หลังจากเกิดโรคระบาดที่เมืองอู่อั่น ตลาดสดที่มีของแบกะดินตั้งขายทั่วเอเชียมีชื่อเสียงด้านลบทันที โดยแชแนลนิวส์ 4 ชี้ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่า “ตลาดสดขายสัตว์มีชีวิต” เป็นอันตราย

อย่างไรก็ตาม มิลเลอร์ ยอมรับว่า เขาไม่พบการขายหนูปิ้ง หรือค้างคาว ที่ตลาดคลองเตย พบแต่หัวหมู ไส้หมูกองอยู่บนกระบะ และพ่อค้ากำลังตกแต่งขาไก่ ซึ่งตลาดคลองเตยถือเป็นแหล่งอาหารใหญ่ของคนเมืองกรุง ที่มีของครบครันในสายตาของคนไทยทั่วไป

มิลเลอร์เดินไปจนถึงย่านขายสัตว์ที่มีชีวิต เป็นต้นว่า ปลากำลังแหวกว่ายอยู่ในน้ำ กบเป็นๆ ที่อยู่ในถุงตาข่าย และในส่วนท้ายสุดด้านตะวันออกของตลาดคลองเตย เป็นโซนขายสัตว์ปีกที่มีชีวิต พบไก่จำนวนมากที่ยังมีชีวิตถูกขังรวมกันอย่างแออัดอยู่ในเล้า พร้อมให้พ่อค้าจับออกมา เขาชี้ว่า เป็นภาพที่ชวนอึดอัดและสัตว์ปีกเหล่านั้นกำลังอยู่ในความเครียด ที่มีบางคนกล่าวว่า เรื่องแบบนี้ก็โหดร้ายไม่ต่างจากฟาร์มเลี้ยงไก่แบบกรงขัง แต่การที่ตลาดสดมีการปะปนกันระหว่างห่าน เป็ด และไก่ เช่นนี้ มิลเลอร์ ชี้ว่า แสดงให้เห็นอย่างดีว่าไข้หวัดนกนั้นระบาดไปทั่วเอเชียตะวันออกได้อย่างไร

วิดีโอคลิปของแชแนลนิวส์ตัดภาพไปที่ตลาดสดในอินโดนีเซีย ที่ระบุว่า ถูกถ่ายเมื่อเดือนเมษายนล่าสุด เป็นภาพการขายสัตว์ป่าที่มีทั้งงูเป็นๆ ค้างคาวรมควัน และอื่นๆ ที่ไม่สามารถจินตนาการได้เหมือนกับเปรียบเทียบกับตลาดคลองเตยไปกลายๆ

และหลังจากนั้น เป็นภาพที่ตัดไปที่ตลาดสัตว์เลี้ยงจตุจักรในส่วนของตลาดซันเดย์ โดยกล่าวว่า ภายใต้หลังคาสีเขียวเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในแหล่งขายสัตว์ป่าหายากที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

ซึ่งในช่วงเวลาที่มิลเลอร์เดินทางไปที่ตลาดจตุจักรนั้น ถูกรัฐบาลไทยสั่งปิดจากสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนาเมื่อ 1 เดือนก่อนหน้า แต่เขาค้นพบว่ามันยังคงเปิดอยู่ โดยในคลิปมีการกล่าวว่า สัตว์ที่อยู่ในสวนจัตุจักรนั้น ถูกซื้อขายอย่างถูกกฎหมายแต่ในความเป็นจริงแล้วมันผิดกฎหมาย

แชแนลนิวส์ 4 ชี้ว่า สัตว์ป่าหายากในตลาดจตุจักรนั้น มาจากทั่วทุกมุมโลก แต่ต้องทนอยู่รวมกันอย่างแออัดภายใต้สภาพอากาศร้อนจัด มีร่มกั้นและอาจมีอันตรายจากการติดต่อเชื้อโรค โดยเขาชี้ว่า เป็นสภาพที่ป่าเถื่อน มันทั้งโหดร้ายและเป็นอันตรายต่อตัวสัตว์และต่อมนุษย์ที่อาจเป็นพาหะโรคและเชื้อไวรัสได้ที่มนุษย์ยังไม่มีภูมิคุ้มกันป้องกัน และอาจคาดไม่ถึงสามารถกลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกได้

นักข่าวอังกฤษแอบใช้กล้องถ่ายไปตามทางในตลาดนัดซันเดย์ ที่เขาชี้ว่า พบทั้งนกหายากถูกขังใกล้กับกรงสัตว์ปีกที่อาจอยู่ในหม้อไม่วันใดก็วันหนึ่ง และในวิดีโอคลิปยังถ่ายไปถึงเต่าหลายตัวกำลังคลานอยู่ในกรงที่มีผักกองอยู่ตรงกลาง

มิลเลอร์พบเมียร์แคท (meerkat) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งอยู่ตระกูลเดียวกับพังพอน ถูกขังในกรงตั้งเทินสูงเป็นชั้น และมีแรคคูนราคา 1,000 ดอลลาร์ถูกขาย เขาแสดงอาการแปลกใจที่เห็นแพรี่ด็อก (Prairie Dog) ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณแถบทุ่งหญ้าแพรี่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ

มิลเลอร์ชี้ว่า ถึงแม้ตลาดนัดจตุจักรจะถูกสั่งให้ปิดอย่างเป็นทางการ แต่เขาพบว่า 1 ใน 3 ของตลาดยังเปิดขายอยู่ตามปกติ ซึ่งในตลาดมีเต่าแอฟริกา และเต่าอินเดีย และกิ้งก่าบลูเบีร์ยดเด็ด (blue bearded lizard) จากออสเตรเลีย รวมไปถึงงูหลามพม่า และแมวป่าแอฟริกา (african serval cat) เป็นต้น

ในรายงานกล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นฮับใหญ่ระดับโลกของการลักลอบขายสัตว์ป่าหายากมานานแล้ว และมีมูลค่าทางการค้าร่วมหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี และชี้ว่า สถานที่เช่นนี้ (ตลาดจตุจักร) อาจกลายเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดครั้งต่อไปได้อย่างไม่ต้องสงสัย

มิลเลอร์ได้แสดงภาพที่เขาได้ถ่ายให้กับ พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่หยุดการขายสัตว์ป่าให้รับทราบ ซึ่งทาง พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ตอบกลับมิลเลอร์ว่า กฎหมายฉบับใหม่ที่มีความเข้มงวด พร้อมกับบทลงโทษหนักเพิ่งผ่านออกไปก่อนการเกิดโรคโควิด-19 ระบาด และชี้ว่า “หากไม่มีการค้า การควบคุมก็จะง่ายและก็จะปลอดภัย” และเสริมว่า “ไม่มีการค้าก็ไม่มีอุปสงค์อุปทานในการเชิงพาณิชย์” เขายังชี้ว่า “ตัดเรื่องการค้าได้ทุกอย่างก็จะง่ายและดีต่อทุกฝ่าย”

ด้านผู้เชี่ยวชาญคณะสัตว์วิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ดร.เอมี ฮินสลีย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่ชี้ว่า การเหวี่ยงแหห้ามจำหน่ายสัตว์ป่าโดยใช้เหตุผลความปลอดภัยทางสาธารณสุขนั้น ไม่ได้ผล เพราะการลักลอบขายสัตว์ป่านั้นเป็นระบบที่ซับซ้อน เธอแนะนำให้ใช้การวิเคราะห์เพื่อเข้าถึงสถานการณ์เพื่อป้องกันวิธีการสภาพความเป็นอยู่ที่แย่ มีสุขอนามัยต่ำของการค้าและรวมไปถึงหลีกเลี่ยงการค้าสัตว์ป่าสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง










กำลังโหลดความคิดเห็น