xs
xsm
sm
md
lg

อินโดฯวอนอย่างแตกตื่น พบกัมมันตรังสีปนเปื้อนระดับอันตรายมากนอกกรุงจาการ์ตา

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รอยเตอร์ - เจ้าหน้าที่นิวเคลียร์ของอินโดนีเซียในวันจันทร์(17ก.พ.) เผยจะดำเนินการสืบสวนกรณีพบการปนเปื้อนกัมมันตรังสีในเขตที่ดินของอาคารที่พักอาศัยแห่งหนึ่งรอบนอกกรุงจาการ์ตา และเรียกร้องขอทุกคนอยู่ในความสงบ

สำนักงานกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์(Bapeten) ออกถ้อยแถลงเมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) แจ้งกับประชาชนให้อยู่ห่างจากพื้นที่ส่วนหนึ่งของที่เขตที่ดินดังกล่าวซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเซอร์ปง ห่างจากกรุงจาการ์ตา ไปทางใต้ 43 กิโลเมตร สืบเนื่องจากมันปนเปื้อนกัมมันตรังสี ขณะที่สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับสนามวอลเลย์บอล

ทางสำนักงานกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์ระบุว่าพวกเขาตรวจพบระดับไอโซโทปเสถียร ซีเซียม-137 สูงลิ่ว ระหว่างการตรวจหากัมมันตรังสีตามปกติในพื้นที่เมื่อช่วงปลายเดือนที่แล้ว ก่อความกังวลในหมู่ชาวบ้านท้องถิ่น รวมถึงข้อสงสัยที่ว่ามันมีต้นตอมาจากไหน

ระดับกัมมันตรังสีอยู่ที่ 680 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ตอนที่ตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่ระดับปกติจะอยู่ที่ 0.03 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง อับดุล โกห์ฮาร์ โฆษกของสำนักงานกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์เปิดเผยกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(17ก.พ.) "เราจะสืบสวนแหล่งที่มาของการปนเปื้อน" เขากล่าวพร้อมบอกกับพวกชาวบ้านว่าไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกกับระดับการปนเปื้อนในปัจจุบัน

การสัมผัสภายนอกกับซีเซียม-137 ปริมาณมาก สามารถก่อแผลไหม้, ล้มป่วยจากกัมมันตรังสีและแม้แต่กระทั่งเสียชีวิตในบางกรณี นอกจากนี้แล้วมันยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็ง

"ตอนนี้ เรามุ่งเน้นไปที่การเก็บกวาด เพื่อที่พวกชาวบ้านจะไม่มีโอกาสสัมผัสกับกัมมันตสังสีที่ผิดปกตินี้ตอนที่พวกเขาทำกิจกรรมต่างๆ" โกห์ฮาร์กล่าว พร้อมระบุว่าจะมีการตรวจร่างกายชาวบ้าน 9 คนว่าได้รับกัมมันตรังสีปนเปื้อนเข้าไปร่างกายหรือไม่

อย่างไรก็ตามโกห์ฮาร์บอกว่าระดับกัมมันตรังสีได้ลดลงแล้วเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว จากกระบวนการขจัดการปนเปื้อนของทางสำนักงานกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์ ในนั้นรวมถึงดักเอาเนื้อดินในบริเวณที่พบการปนเปื้อนออกและโค่นต้นไม้ทิ้งไปหลายต้น

สำนักงานกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์เผยว่าได้ทำการตรวจสอบระดับกัมมันตรังสีในพื้นที่แถบนี้เป็นประจำมาตั้งแต่ปี 2013

ขณะที่ จาโรช ซูลิสติโอ วิสนุโบรโต นักวิจัยของสำนักงานกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์ บอกว่าผลกระทบของมันไม่น่าจะเป็นอันตรายกับชาวบ้านและบอกว่าตอนนี้ระดับของกัมมันตรังสีลดลงมาอยู่ที่ 20-30 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงแล้ว

อินโดนีเซียไม่เคยมีอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ แต่พวกเขามีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งที่เคยใช้งานในด้านการวิจัยและมันอยู่ห่างจากจุดที่พบการปนเปื้อนไปแค่ 3 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามอากุา บุดี วิจัตนา นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลรยร์ของมหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดา เชื่อว่าเหตุปนเปื้อนไม่น่าจะมีต้นตอจากเตาปฏิกรณ์ดังกล่าว นับจากมันได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นประจำ
กำลังโหลดความคิดเห็น