เอเอฟพี/รอยเตอร์/เอเจนซีส์ - ผู้นำโลกที่รวมถึงจากฝรั่งเศส ตุรกี และรัสเซีย เห็นชอบร่วมกันในที่ประชุมเบอร์ลินซัมมิตเมื่อวานนี้(19 ม.ค) ต่างชาติต้องหยุดเข้าแทรกแซงสงครามกลางเมืองลิเบีย และบังคับใช้การปิดล้อมอาวุธตามมติยูเอ็นต่อไป แต่ล้มเหลวที่จะทำให้นายพลฮัฟตาร์และนายกรัฐมนตรีรัฐบาลแห่งชาติตริโปลีตกลงหยุดยิงถาวร
เอเอฟพีรายงานวันนี้(20 ม.ค)ว่า ผู้นำรัสเซีย ตุรกี และฝรั่งเศสรวมอยู่ในกลุ่มผู้นำโลกอื่นๆได้ให้คำมั่นที่จะให้ "ต่างชาติ" หยุดการเข้าแทรกแซงในสงครามกลางเมืองลิเบีย ผ่านทางกองกำลัง อาวุธ หรือการให้สับสนุนการเงิน
โดยประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมี ปูติน และประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ที่ต่างส่งทหารรับจ้างเข้าสู่ลิเบียได้เดินทางมาร่วมการประชุมด้วยตัวเอง หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สกล่าว
เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตร์เรส กล่าวแสดงความเห็นว่า มหาอำนาจของโลกมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะหยุดความขัดแย้งที่ยกระดับกลายเป็นความขัดแย้งระดับภูมิภาค
แต่การหารือล้มเหลวทเพราะไม่สามารถทำให้ “การเจรจาอย่างจริงจัง” ระหว่างนายพลคาลิฟาร์ ฮัฟตาร์และฟาเยซ อัล เซอร์ราจ (Fayez al-Sarraj )นายกรัฐมนตรีลิเบียรัฐบาลแห่งชาติตริโปลีที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติสามารถเกิดขึ้น หรือทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายยอมลงนามในข้อตกลงหยุดยิงถาวรได้
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า ผู้เจรจาในการประชุมอย่างน้อยมีแถลงการณ์เกิดขึ้นที่เป็นการตกลงโดยผู้นำ 12 ชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน เข้าร่วมรวมสหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหภาพแอริฟา และอาหรับลีก ในการให้คำมั่น
“เราเรียกร้องต่อการยุติการเคลื่อนไหวกองกำลังทหารทั้งหมดจาก หรือการสนับสนุนโดยตรงของ ฝ่ายของความขัดแย้ง ทั้งในและตลอดทั่งทั้งดินแดนของลิเบีย เริ่มต้นตั้งแต่การเริ่มกระบวนการหยุดยิง” รายงานจากแถลงการณ์
และในแถลงการณ์ยังกล่าวต่อว่า “เราให้คำมั่นที่จะไม่เข้าแทรกแซงในการขัดแย้งทางอาวุธหรือกิจการภายในของลิเบียและร้องขอให้ผู้เล่นหลักระหว่างประเทศกระทำตามเช่นกัน มีเพียงแต่ที่นำโดยลิเบียและกระบวนการทางการเมืองของลิเบียสามารถยุติความขัดแย้งและนำสันติภาพอย่างแท้จริงมาได้”
ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ กล่าวว่าสหรัฐฯยังคงยึดมั่นในทางออกทางการเมืองต่อปัญหาลิเบียพร้อมเชื่อมั่นว่า ข้อตกลงในวันอาทิตย์(19)นั้นเป็นตัวแทนก้าวแรกของความสำเร็จต่อเป้าหมาย
ข้อตกลงที่ถูกลงนามที่กรุงเบอร์ลินในวันอาทิตย์(19) ประกอบไปด้วย 55 มาตราและมีความยาวจำนวน 6 หน้า
ซึ่งผู้เชี่ยวชาวแอฟริกาเหนือ เมอร์โก เคอิลเบิร์ธ( Mirco Keilberth) แสดงความเห็นว่า “ทหารรับจ้างต่างชาติสามารถทำเงินในสงครามนั้น” และเสริมต่อว่า “พวกลักลอบทำเงิน สงครามเป็นขุมทองสำหรับคนจำนวนมาก” และเขายังแสดงความเห็นว่า “เบอร์ลินเป็นแค่ย่างก้าวแรกเท่านั้น” พร้อมชี้ว่า “ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะรู้ว่ามันสำเร็จหรือไม่”
นายกรัฐมนตรีเยอรมัน อังเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมเบอร์ลินซัมมิตวันอาทิตย์(19)กล่าวยอมรับว่า ทั้งฮัฟตาร์และเซอร์ราจไม่ได้พบหน้ากันที่กรุงเบอร์ลิน
นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า คนทั้งคู่ปฎิเสธที่จะไม่ยอมแม้แต่อยู่ร่วมในห้องเดียวกัน แมร์เคิลกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมนานาชาติได้พูดคุยเฉพาะตัวต่อผู้นำลิเบียทั้งสองที่ไม่ยอมเข้าร่วมในซัมมิตแต่ได้รับการแจ้งถึงความคืบหน้าของการประชุมตลอดทั้งวัน
แต่แมร์เคิลตั้งความหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยผลักดันทำให้เกิดข้อตกลงหยุดยิงถาวรขึ้นในอนาคต
รอยเตอร์รายงานว่า ผู้นำเยอรมันได้แถลงต่อนักข่าวว่า การประชุมเบอร์ลินซัมมิตที่เข้าร่วมโดยผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มต่างๆในสงครามกลางเมืองลิเบีย ได้เห็นชอบร่วมกันว่า ข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราวในกรุงตริโปลีในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาสมควรที่จะถูกเปลี่ยนเป็นข้อตกลงหยุดยิงถาวรเพื่อทำให้กระบวนการทางการเมืองเกิดขึ้น
เธอกล่าวว่า ชุดคณะกรรมการพิเศษที่ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทหาร 5 คนจากแต่ละฝ่ายจะเฝ้าจับตาการหยุดยิง และมหาอำนาจต่างชาติที่เคลื่อนไหวอยู่ในลิเบียได้ประกาศให้คำมั่นจะยังคงยึดถือตามมติสหประชาชาติในการปิดล้อมอาวุธ และหยุดการส่งอาวุธไปที่นั่น แมร์เคิลชี้
รอยเตอร์รายงานว่า ตุรกีเร่งส่งกองกำลังทหารไปที่ลิเบียรวมไปถึงกลุ่มนักรบที่มีตรุกีหนุนหลังจากซีเรียไปช่วยนายกฯเซอร์ราจของลิเบียในการต่อต้านการบุกทางตะวันออกของนายพลฮัฟตาร์
ก่อนหน้าการประชุม ประธานาธิบดีแอร์โดอันของตุรกีได้ตำหนิฮัฟตาร์ว่า เขาจำเป็นต้องหยุดทัศนคติที่ไม่เป็นมิตรหากลิเบียมีโอกาสที่จะได้สันติภาพกลับคืน ซึ่งเซอร์ราจได้รับการสนับสนุนจากทั้งตุรกีและกาตาร์
ในขณะที่รัสเซียถูกกล่าวหาว่า แอบส่งทหารรับจ้างไปช่วยฮัฟาร์เพื่อต้องการขยายอิทธิพลเข้าสู่ภูมิภาค ฮัฟตาร์ที่นอกจากจะมีรัสเซียสนับสนุนแล้วยังมีอียิปต์และยูเออีอยู่เบื้องหลัง
ฮัฟตาร์ได้เดินออกมาจากประชุมรัสเซีย-ตุรกีซัมมิตสัปดาห์ที่แล้วโดยที่ไม่มีทั้งการลงนามหรือแถลงการณ์และยกระดับความขัดแย้งในวันศุกร์(16) ทำให้ท่าเรือน้ำมันทางตะวันออกถูกปิด โดยบริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย NOC (National Oil Corporation)แถลงว่า การปิดเกิดขึ้นมาจากคำสั่งโดยตรงของกองกำลังฮัฟตาร์
และในวันเสาร์(17) บริษัท NOC แถลงว่า หลุมพลังงาน เอล ชารารา( El Sharara )และเอล ฟีล (El Feel) ถูกปิดลงจากกลุ่มกองกำลังที่จงรักภักดีต่อฮัฟตาร์ดิปิดท่อส่ง
การสั่งปิดจะส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์น้ำมันลิเบียลดลงอยู่ที่ 72,000 บาร์เรล/วัน จากแต่เดิม 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน อีกในไม่กี่วันเว้นแต่การปิดกั้นจะถูกยกเลิก อ้างอิงจากแถลงการณ์ของ NOC รอยเตอร์รายงานว่า การปิดนี้จะส่งผลเป็นอย่างมากต่อตริโปลิเนื่องมาจากต้องพึ่งพารายได้จากน้ำมันเป็นหลัก
อิตาลีซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาณานิคมนั้นมีความวิตกในสถานการณ์ความมั่นคงของลิเบียโดยเฉพาะจากการที่มีผู้อพยพจำนวนมากจากทวีปแอฟริกาถูกกลุ่มลักลอบค้ามนุษย์ช่วยเหลือให้ข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าสู่ยุโรปจำนวนมากจนกระทั่งในปี 2017 จึงมีจำนวนลดลง
รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี ลูอิจี ดิมาโย (Luigi Di Maio) เรียกการประชุมซัมมิตเบอร์ลินว่า “เป็นจุดเริ่มต้น” ของการหยุดยิง และการหยุดการทะลักของอาวุธเข้าสู่ลิเบียที่ทำให้ฮัฟตาร์สามารถยกระดับการโจมตีได้
รอยเตอรรายงานว่า พบว่ารัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ และบรรดาผู้นำชาติอาหรับเข้าร่วมการประชุมเช่นกัน และพบว่ากองกำลังฮัฟตาร์ได้เผยแพร่ภาพของตัวเขาพบกับแมร์เคิลและประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานุแอล มาครง
ซึ่งทั้งเซอร์ราจและฮัฟตาร์พบแมร์เคิลในโอกาสที่ต่างกัน โดยเซอร์ราจได้มีโอกาสสวมกอดประธานาธิบดีแอร์โดอัน ในขณะที่ฮัฟตาร์และมาครงนั้นถูกจับภาพกำลังยิ้มให้กันระหว่างการพบที่ระว่างทางเดิน