xs
xsm
sm
md
lg

In Clip : แถลงการณ์ร่วมซัมมิตชี้ “สหรัฐฯ” พร้อมเปิดศักราชใหม่ เริ่มต้นสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ - “คิม” ยืนยันตามข้อตกลงปันมุนจอมเมื่อเมษาฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รอยเตอร์ - ทรัมป์และคิมประกาศร่วมกันผ่านการลงนามในแถลงการณ์ร่วมวันนี้ (12 มิ.ย.) ในการทำงานร่วมกันเพื่อเดินหน้าไปสู่การปลอดนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์บนคาบสมุทรเกาหลี แถลงการณ์ร่วมชี้ ผู้นำสหรัฐฯรับปากยอมให้หลักประกันทางความมั่นคงแก่เกาหลีเหนือ แลกเปลี่ยนกับความร่วมมือปลอดนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ แต่ไม่มีการเอ่ยถึงการยกเลิกคว่ำบาตร และในการแถลงการณ์ร่วมยังระบุ ทั้ง 2 ชาติจะเดินหน้าเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ ส่วนผู้นำเกาหลียืนยันอีกครั้งที่จะยึดมั่นในข้อตกลงปันมุนจอมที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 เม.ย.ล่าสุด

รอยเตอร์รายงานวันนี้ (12 มิ.ย.) ว่า ในแถลงการณ์ร่วมที่ออกมาจากที่ประชุมซัมมิตสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือ พบว่า เกาหลีเหนือยอมตกลงที่จะร่วมมือในการทำให้ปลอดนิวเคลียร์เกิดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ได้รับหลักประกันทางความมั่นคงกับสหรัฐฯ แต่ทว่าแถลงการณ์ร่วมที่ลงนามโดยทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีคิม จองอึน ในตอนท้ายของการประชุมนั้นกลับพบว่าแสดงในรายละเอียดไม่มากนักถึงขั้นตอนไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างไร

“ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีพันธะในการให้หลักประกันทางความมั่นคงแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ และผู้นำเกาหลีเหนือ ประธานคิม จองอึน ได้ยืนยันอีกครั้งถึงพันธสัญญาที่หนักแน่นและไม่อาจบอกเลิกได้ที่จะทำให้การปลอดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีนั้นสมบูรณ์” รายงานจากแถลงการณ์ร่วมการประชุมซัมมิต

โดยข้อตกลงที่ทางผู้นำคิมยืนยันนั้นคือ ปฏิญญาปันมุนจอม ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ทางเกาหลีเหนือให้คำมั่นจะร่วมมือเพื่อเดินหน้าการนำไปสู่การปลอดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีในที่สุด

ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศว่า เขาคาดหวังว่ากระบวนการปลอดนิวเคลียร์นั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทางรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ และเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือจะสานต่อในระหว่างการประชุมเจรจาที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ในระยะเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเกิดขึ้นได้ แถลงการณ์ระบุ

รอยเตอร์รายงานว่าI ข้อแรกของแถลงการณ์ร่วมได้มีการระบุถึงการที่สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือมีพันธะในการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ให้สอดคล้องไปตามความปราถนาของประชาชนทั้ง 2 ชาติเพื่อควาสงบสุขและความมั่งคั่ง

แต่ทว่าบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า การประชุมซัมมิตระหว่างผู้นำสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือนั้นประสบความสำเร็จเฉพาะแค่ในเชิงสัญลักษณ์ แต่ไม่มีสิ่งที่จับต้องได้

“ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการเจรจาที่จะเกิดขึ้นตามมานั้นจะนำไปสู่เป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการปลอดนิวเคลียร์อย่างแท้จริง” แอนโธนี รักเกียโร (Anthony Ruggiero) นักวิจัยอาวุโสประจำธิงแธงก์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สถาบันเพื่อการปกป้องประชาธิปไตย (Foundation for Defense of Democracies)

รอยเตอร์ชี้ว่า เอกสารแถลงการณ์ร่วมไม่ได้กล่าวถึง มาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศต่อเกาหลีเหนือ หรือการอ้างอิงที่จะนำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาสันติภาพในตอนท้าย ทั้งนี้ เกาหลีเหนือและสหรัฐฯ ต่างอยู่ฝั่งตรงข้ามในสงครามเกาหลีที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1950-1953 ซึ่งในทางเทคนิกแล้วสงครามนี้ยังคงมีอยู่เพราะยังไม่มีสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างเกาหลืทั้ง 2 ชาติมีเพียงข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว ซึ่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ มุน แจ-อิน คาดหวังเป็นอย่างมากว่าการประชุมซัมมิตจะนำไปสู่การลงนามสิ้นสุดสงครามได้ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในแถลงการณ์ร่วมได้กล่าวไปถึง ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะตามหาร่างส่วนที่เหลือของนักโทษ (POW/MIA) ในสงครามเกาหลี และผู้ที่สูญหายในระหว่างสงคราม และส่งคนเหล่านั้นกลับประเทศบ้านเกิด

จีน ชาติที่ 3 ที่ร่วมอยู่ในข้อตกลงยุติหยุดยิงแถลงชี้ หวังว่าทั้งเกาหลีเหนือและสหรัฐฯ จะสามารถบรรลุความเห็นร่วมพื้นฐานของการปลอดนิวเคลียร์ได้











กำลังโหลดความคิดเห็น