(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Another reason China s adding troops on its border with North Korea
By Robert E. McCoy
28/07/2017
จีนกำลังเพิ่มกำลังทหารและยุทโธปกรณ์เข้าไปในพื้นที่ชายแดนของตนที่อยู่ประชิดเกาหลีเหนือ โดยที่หลายฝ่ายเห็นว่าน่าจะเป็นการเตรียมไว้รับมือในกรณีที่เกิดศึกสงครามหรือความวิบัติหายนะขึ้นมาแล้วมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากมายทะลักจากแดนโสมแดงเข้ามายังแดนมังกร อย่างไรก็ตาม ยังมีคำอธิบายอย่างอื่นอีกซึ่งควรต้องนำมาขบคิดพิจารณา
จีนกำลังเพิ่มทหารเข้าไปในบริเวณแนวชายแดนของตนติดต่อกับเกาหลีเหนือซึ่งมีความยาว 880 ไมล์ (1,416 กิโลเมตร) ขณะที่ความตึงเครียดต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้เพิ่มความร้อนรุ่ม โดยที่มีรายงานของสื่อเจ้าหนึ่งระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ปักกิ่งได้จัดซ้อมรบทางทหารโดยใช้กระสุนจริงในพื้นที่นี้ด้วย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://english.chosun.com/site/data/html_dir/2017/07/26/2017072600869.html)
มีรายงานข่าวระบุว่าทหารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพน้อยที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งดูเหมือนถูกส่งไปประจำการที่นั่นก็เพื่อควบคุมการทะลักไหล่บ่าของผู้ลี้ภัยจำนวนมากมายมหาศาล ที่คาดหมายกันว่าจะปะทุขึ้นมาหากเกิดสงครามหรือความวิบัติหายนะอื่นๆ บางอย่างในคาบสมุทรเกาหลี
เป็นความจริงอย่างแน่นอนที่ว่า กองทัพปลดแอกประชาชนจีนสามารถถูกจัดส่งไปเพื่อใช้ทำงานดังกล่าวนี้อย่างไม่ยากลำบากอะไร แต่ถึงอย่างไรมันก็ยังดูเหมือนกับการกระทำแบบ “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” จนเกินไป ที่จะมอบหมายกองทหารซึ่งผ่านการฝึกมามากมายให้ปฏิบัติภารกิจเช่นนี้
เมื่อติดตามทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระยะหลังๆ มานี้ ปรากฏว่ามีร่องรอยของการที่จีนเสริมกำลังทหารของตนในบริเวณชายแดนติดต่อกับเกาหลีเหนืออย่างเป็นกระบวนการ ถึงแม้สมควรที่จะพิจารณาถึงภาพสมมุติสถานการณ์ในแนวทางอื่นๆ ด้วยซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าทำไมปักกิ่งจึงทำแบบนี้
ย้อนหลังกลับไปจนถึงอย่างน้อยเมื่อเดือนกันยายน 2003 จีนได้ส่งกำลังทหารรวมแล้วเป็นจำนวนสูงถึง 150,000 คนทีเดียวไปยังเขตดังกล่าว โดยเข้ารับมอบความรับผิดชอบในการป้องกันชายแดนจากกองกำลังตำรวจ ทั้งนี้ปักกิ่งพยายามอธิบายว่าเรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามกิจวัตรปกติเท่านั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nytimes.com/2003/09/15/international/asia/china-sends-troops-to-monitor-north-korean-border.html)
ในเดือนสิงหาคม 2015 มีรายงานหลายชิ้นระบุว่าจีนยังได้เพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างจรวดต่อสู้รถถัง และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบอัตตาจร ตลอดจนปืนใหญ่อัตตาจร ตามแนวพรมแดนติดกับโสมแดง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://thediplomat.com/2015/08/why-did-china-amass-tanks-at-the-north-korean-border/)
จากนั้นในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2016 ปักกิ่งได้ส่งทหารอีก 5,000 คนไปยังพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ความตึงเครียดร้อนระอุขึ้นมา สืบเนื่องจากเปียงยางได้ทำการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.upi.com/Top_News/World-News/2016/04/20/China-deploying-troops-along-North-Korea-border/9411461165635/) ในเดือนพฤษภาคมของปีนี้ จีนได้ออกประกาศระบุว่าต้องการได้ล่ามแปลภาษาจีน-ภาษาเกาหลีอย่างเร่งด่วน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://koreatimes.co.kr/www/news/nation/2017/05/103_228584.html )
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ว่า สืบเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือที่อาจจะไหลทะลักเข้ามา ตลอดจนความเป็นไปได้ที่ชายแดนตรงนี้อาจกลายเป็นแนวหน้าแนวหนึ่งในการสู้รบขัดแย้งกับกองกำลังอาวุธที่หนุนหลังโดยสหรัฐฯ
ทว่าความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งก็คืออุดมการณ์แบบลัทธิสนับสนุนให้เรียกร้องดินแดนคืน (irredentism) ซึ่งเป็นแนวความคิดทางการเมืองที่เห็นว่า หากดินแดนใดๆ ได้เคยอยู่ในความครอบครองของประเทศหนึ่งๆ แล้ว มันก็ควรที่จะมอบกลับคืนไปให้แก่ประเทศนั้นๆ
ในทัศนะของพวกนักลัทธิเรียกร้องดินแดนคืนชาวจีนแล้ว หลายๆ อาณาบริเวณในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเข้าข่ายต้องเรียกร้องกลับคืน รวมทั้งพื้นที่จำนวนมากของเกาหลีเหนือด้วย แน่นอนทีเดียวว่าเรื่องนี้เป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่ง ซึ่งไปไกลเกินกว่าแค่การสร้างเสริมความมั่นคงบริเวณชายแดน สำหรับรับสถานการณ์ในกรณีที่เกาหลีเหนือล่มสลายและดึงเอากองทหารเกาหลีใต้ตลอดจนพันธมิตรอเมริกันของพวกเขาเข้ามาจ่อประชิดธรณีประตูของจีน
ทัศนะเช่นนี้ยังเข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะกับข้อเท็จจริงที่ว่า จีนนั้นมีความปรารถนาเสมอมาที่จะสามารถเข้าถึงทะเลญี่ปุ่นได้โดยตรง ทว่ารัสเซียในยุคพระเจ้าซาร์ได้ผนวกพื้นที่บริเวณนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของแดนหมีขาวเสียแล้วเมื่อปี 1860 เวลานี้มีดินแดนของรัสเซียและเกาหลีเหนือคอยขวางกั้นเส้นทางอยู่ ทำให้จีนยังขาดอยู่อีกเพียง 10 ไมล์ (16 กิโลเมตร) ก็จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้แล้ว
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในแง่มุมที่ว่า ปักกิ่งกำลังชุมนุมทหารอยู่ตรงบริเวณชายแดนของตนซึ่งประชิดกับเกาหลีเหนือนั้น เนื่องจากถ้าระบอบปกครองเปียงยางล้มครืนลงไปจากการสู้รบขัดแย้งทางทหารกับเกาหลีใต้แล้ว จีนก็จะสามารถเข้าฉวยคว้าพื้นที่ในดินแดนเกาหลีเหนือได้
เครื่องบ่งชี้ประการหนึ่งของเรื่องนี้ปรากฏให้เห็นในบทบรรณาธิการชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ของ โกลบอลไทมส์ (Global Times) หนังสือพิมพ์ขายดีที่อยู่ในเครือของเหรินหมินรึเป้า ปากเสียงอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน บทบรรณาธิการนี้เสนอแนะให้ปักกิ่งจัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยนานาชาติแห่งหนึ่งขึ้นมาภายในเกาหลีเหนือเพื่อรับมือกับผู้ลี้ภัย ในระหว่างเวลาของการสู้รบขัดแย้งหรือความวิบัติหายนะ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.scmp.com/news/china/diplomacy-defence/article/2089944/opinion-chinas-position-north-korea-appears-shift )
บางทีสงครามหรือเหตุการณ์อื่นๆ บางสิ่งบางอย่างซึ่งจะนำไปสู่การมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากมายหลบหนีไหลทะลักจากเกาหลีเหนือเข้ามายังดินแดนจีน อาจจะไม่เกิดขึ้นมาเลยก็ได้ แต่เหล่านักยุทธศาสตร์ทั้งหลายที่กำลังขบคิดพิจารณาเกี่ยวกับความทะเยอทะยานของปักกิ่งอยู่นั้น จำเป็นที่จะต้องเพิ่มเรื่องลัทธิสนับสนุนให้เรียกร้องดินแดนคืน เข้าไปในคู่มือแผนการเดินหมากของพวกเขาด้วย
โรเบิร์ต อี. แมคคอย เป็นผู้ชำนาญการเรื่องเกาหลีเหนือของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่เกษียณอายุแล้ว เขาเคยประจำการอยู่ในเอเชียมาเป็นเวลากว่า 14 ปี สามารถติดต่อเขาได้ทางเว็บไซต์ของเขา http://musingsbymccoy.com/
Another reason China s adding troops on its border with North Korea
By Robert E. McCoy
28/07/2017
จีนกำลังเพิ่มกำลังทหารและยุทโธปกรณ์เข้าไปในพื้นที่ชายแดนของตนที่อยู่ประชิดเกาหลีเหนือ โดยที่หลายฝ่ายเห็นว่าน่าจะเป็นการเตรียมไว้รับมือในกรณีที่เกิดศึกสงครามหรือความวิบัติหายนะขึ้นมาแล้วมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากมายทะลักจากแดนโสมแดงเข้ามายังแดนมังกร อย่างไรก็ตาม ยังมีคำอธิบายอย่างอื่นอีกซึ่งควรต้องนำมาขบคิดพิจารณา
จีนกำลังเพิ่มทหารเข้าไปในบริเวณแนวชายแดนของตนติดต่อกับเกาหลีเหนือซึ่งมีความยาว 880 ไมล์ (1,416 กิโลเมตร) ขณะที่ความตึงเครียดต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้เพิ่มความร้อนรุ่ม โดยที่มีรายงานของสื่อเจ้าหนึ่งระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ปักกิ่งได้จัดซ้อมรบทางทหารโดยใช้กระสุนจริงในพื้นที่นี้ด้วย (ดูรายละเอียดได้ที่ http://english.chosun.com/site/data/html_dir/2017/07/26/2017072600869.html)
มีรายงานข่าวระบุว่าทหารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพน้อยที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งดูเหมือนถูกส่งไปประจำการที่นั่นก็เพื่อควบคุมการทะลักไหล่บ่าของผู้ลี้ภัยจำนวนมากมายมหาศาล ที่คาดหมายกันว่าจะปะทุขึ้นมาหากเกิดสงครามหรือความวิบัติหายนะอื่นๆ บางอย่างในคาบสมุทรเกาหลี
เป็นความจริงอย่างแน่นอนที่ว่า กองทัพปลดแอกประชาชนจีนสามารถถูกจัดส่งไปเพื่อใช้ทำงานดังกล่าวนี้อย่างไม่ยากลำบากอะไร แต่ถึงอย่างไรมันก็ยังดูเหมือนกับการกระทำแบบ “ขี่ช้างจับตั๊กแตน” จนเกินไป ที่จะมอบหมายกองทหารซึ่งผ่านการฝึกมามากมายให้ปฏิบัติภารกิจเช่นนี้
เมื่อติดตามทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระยะหลังๆ มานี้ ปรากฏว่ามีร่องรอยของการที่จีนเสริมกำลังทหารของตนในบริเวณชายแดนติดต่อกับเกาหลีเหนืออย่างเป็นกระบวนการ ถึงแม้สมควรที่จะพิจารณาถึงภาพสมมุติสถานการณ์ในแนวทางอื่นๆ ด้วยซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าทำไมปักกิ่งจึงทำแบบนี้
ย้อนหลังกลับไปจนถึงอย่างน้อยเมื่อเดือนกันยายน 2003 จีนได้ส่งกำลังทหารรวมแล้วเป็นจำนวนสูงถึง 150,000 คนทีเดียวไปยังเขตดังกล่าว โดยเข้ารับมอบความรับผิดชอบในการป้องกันชายแดนจากกองกำลังตำรวจ ทั้งนี้ปักกิ่งพยายามอธิบายว่าเรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามกิจวัตรปกติเท่านั้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nytimes.com/2003/09/15/international/asia/china-sends-troops-to-monitor-north-korean-border.html)
ในเดือนสิงหาคม 2015 มีรายงานหลายชิ้นระบุว่าจีนยังได้เพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างจรวดต่อสู้รถถัง และปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานแบบอัตตาจร ตลอดจนปืนใหญ่อัตตาจร ตามแนวพรมแดนติดกับโสมแดง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://thediplomat.com/2015/08/why-did-china-amass-tanks-at-the-north-korean-border/)
จากนั้นในช่วงเดือนแรกๆ ของปี 2016 ปักกิ่งได้ส่งทหารอีก 5,000 คนไปยังพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ความตึงเครียดร้อนระอุขึ้นมา สืบเนื่องจากเปียงยางได้ทำการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.upi.com/Top_News/World-News/2016/04/20/China-deploying-troops-along-North-Korea-border/9411461165635/) ในเดือนพฤษภาคมของปีนี้ จีนได้ออกประกาศระบุว่าต้องการได้ล่ามแปลภาษาจีน-ภาษาเกาหลีอย่างเร่งด่วน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://koreatimes.co.kr/www/news/nation/2017/05/103_228584.html )
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้สามารถอธิบายได้ว่า สืบเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือที่อาจจะไหลทะลักเข้ามา ตลอดจนความเป็นไปได้ที่ชายแดนตรงนี้อาจกลายเป็นแนวหน้าแนวหนึ่งในการสู้รบขัดแย้งกับกองกำลังอาวุธที่หนุนหลังโดยสหรัฐฯ
ทว่าความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งก็คืออุดมการณ์แบบลัทธิสนับสนุนให้เรียกร้องดินแดนคืน (irredentism) ซึ่งเป็นแนวความคิดทางการเมืองที่เห็นว่า หากดินแดนใดๆ ได้เคยอยู่ในความครอบครองของประเทศหนึ่งๆ แล้ว มันก็ควรที่จะมอบกลับคืนไปให้แก่ประเทศนั้นๆ
ในทัศนะของพวกนักลัทธิเรียกร้องดินแดนคืนชาวจีนแล้ว หลายๆ อาณาบริเวณในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเข้าข่ายต้องเรียกร้องกลับคืน รวมทั้งพื้นที่จำนวนมากของเกาหลีเหนือด้วย แน่นอนทีเดียวว่าเรื่องนี้เป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่ง ซึ่งไปไกลเกินกว่าแค่การสร้างเสริมความมั่นคงบริเวณชายแดน สำหรับรับสถานการณ์ในกรณีที่เกาหลีเหนือล่มสลายและดึงเอากองทหารเกาหลีใต้ตลอดจนพันธมิตรอเมริกันของพวกเขาเข้ามาจ่อประชิดธรณีประตูของจีน
ทัศนะเช่นนี้ยังเข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะกับข้อเท็จจริงที่ว่า จีนนั้นมีความปรารถนาเสมอมาที่จะสามารถเข้าถึงทะเลญี่ปุ่นได้โดยตรง ทว่ารัสเซียในยุคพระเจ้าซาร์ได้ผนวกพื้นที่บริเวณนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของแดนหมีขาวเสียแล้วเมื่อปี 1860 เวลานี้มีดินแดนของรัสเซียและเกาหลีเหนือคอยขวางกั้นเส้นทางอยู่ ทำให้จีนยังขาดอยู่อีกเพียง 10 ไมล์ (16 กิโลเมตร) ก็จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้แล้ว
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในแง่มุมที่ว่า ปักกิ่งกำลังชุมนุมทหารอยู่ตรงบริเวณชายแดนของตนซึ่งประชิดกับเกาหลีเหนือนั้น เนื่องจากถ้าระบอบปกครองเปียงยางล้มครืนลงไปจากการสู้รบขัดแย้งทางทหารกับเกาหลีใต้แล้ว จีนก็จะสามารถเข้าฉวยคว้าพื้นที่ในดินแดนเกาหลีเหนือได้
เครื่องบ่งชี้ประการหนึ่งของเรื่องนี้ปรากฏให้เห็นในบทบรรณาธิการชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ของ โกลบอลไทมส์ (Global Times) หนังสือพิมพ์ขายดีที่อยู่ในเครือของเหรินหมินรึเป้า ปากเสียงอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน บทบรรณาธิการนี้เสนอแนะให้ปักกิ่งจัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยนานาชาติแห่งหนึ่งขึ้นมาภายในเกาหลีเหนือเพื่อรับมือกับผู้ลี้ภัย ในระหว่างเวลาของการสู้รบขัดแย้งหรือความวิบัติหายนะ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.scmp.com/news/china/diplomacy-defence/article/2089944/opinion-chinas-position-north-korea-appears-shift )
บางทีสงครามหรือเหตุการณ์อื่นๆ บางสิ่งบางอย่างซึ่งจะนำไปสู่การมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากมายหลบหนีไหลทะลักจากเกาหลีเหนือเข้ามายังดินแดนจีน อาจจะไม่เกิดขึ้นมาเลยก็ได้ แต่เหล่านักยุทธศาสตร์ทั้งหลายที่กำลังขบคิดพิจารณาเกี่ยวกับความทะเยอทะยานของปักกิ่งอยู่นั้น จำเป็นที่จะต้องเพิ่มเรื่องลัทธิสนับสนุนให้เรียกร้องดินแดนคืน เข้าไปในคู่มือแผนการเดินหมากของพวกเขาด้วย
โรเบิร์ต อี. แมคคอย เป็นผู้ชำนาญการเรื่องเกาหลีเหนือของกองทัพอากาศสหรัฐฯที่เกษียณอายุแล้ว เขาเคยประจำการอยู่ในเอเชียมาเป็นเวลากว่า 14 ปี สามารถติดต่อเขาได้ทางเว็บไซต์ของเขา http://musingsbymccoy.com/