เอเอฟพี - ธนาคารกลางญี่ปุ่นเลื่อนกรอบเวลาสำหรับการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในวันนี้ (1 พ.ย.) นับเป็นการยอมรับครั้งล่าสุดว่าการต่อสู้กับการชะลอทางเศรษฐกิจของโตเกียวได้ผลต่ำกว่าที่คาดการณ์
หลังจากการประชุมนโยบาย ธนาคารแห่งญี่ปุ่น (บีโอเจ) ระบุว่า ในตอนนี้พวกเขาคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมีนาคมปี 2019 การปรับการคาดการณ์รอบล่าสุดจากหลายๆครั้ง
กรอบเวลาใหม่คืออีก 4 ปีจากเป้าหมายเดิมในเดือนเมษายนปี 2015 ที่ประกาศไว้โดยผู้ว่าการบีโอเจ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ซึ่งจะหมดวาระการตำแหน่งในเดือนเมษายนปี 2018
กลุ่มผู้กำหนดนโยบายปรับการคาดการณ์ราคาผู้บริโภคของพวกเขาสำหรับปีการเงินปัจจุบันที่จะถึงเดือนมีนาคมปี 2017 และอีก 2 ปีให้หลัง
ในวันนี้ (1) บีโอเจไม่ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินรวมถึงโครงการจัดซื้อสินทรัพย์ขนานใหญ่มูลค่าราว 80 ล้านล้านเยนต่อปี
พวกเขายังไม่เปลี่ยนนโยบายดอกเบี้ยติดลบทีมรจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการกู้ยืนและการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย
เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของบโอเจเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายเพื่อการเติบโตของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่เรียกกันว่าอาเบะโนมิกส์ ซึ่งถูกเผยโฉมอย่างอึกทึกครึกโครมเมื่อช่วงต้นปี 2013
โครงการดังกล่าวทำให้เงินเยนอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กำไรของบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการฟื้นตัวของตลาดหุ้นที่สร้างความหวังว่าเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองจะกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากช่วงเวลากว่า 3 ปี ญี่ปุ่นยังคงมีการเติบโตที่ไม่มั่นคงและอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เข้าใกล้เป้าหมายของบีโอเจเลย
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วข้อมูลของรัฐบาลเผยให้เห็นว่าราคาผู้บริโภคลดลงในเดือนกันยายนเป็นเดือนที่เจ็ดติดต่อกัน เน้นย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอนี้
เมื่อวันจันทร์ (31) ข้อมูลอีกชุดหนึ่งเผยให้เห็นว่า ยอดการส่งออกและยอดขายปลีกของโรงงานญี่ปุ่นไม่กระเตื้องขึ้นเลยในเดือนกันยายน
ข้อมูลที่น่าผิดหวังนี้แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวที่เชื่องช้าในอัตรากรเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน
อัตราการเติบโตของแดนอาทิตย์อุทัยหดลงในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี 2015 ก่อนที่จะกลับสู่สภาพเดิมในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมด้วยการเพิ่มขึ้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ต่อไตรมาส และลดเหลือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน