(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Britain bests Brussels
By David P. Goldman
24/06/2016
ผลการลงประชามติในสหราชอาณาจักร ถือว่าผิดความคาดหมายอย่างยิ่ง เพราะเสียงใหญ่เลือกที่จะถอนตัวออกมาจากสหภาพยุโรป ถึงแม้มันจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในตลาดการเงิน แต่แท้ที่จริงแล้วจะให้ผลดีต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเอง
ตรงกันข้ามกับความคาดหมายทั้งหลายทั้งมวล รวมทั้งการสำรวจความคิดเห็นของผู้ออกเสียงในนาทีสุดท้ายด้วย ปรากฏว่าสหราชอาณาจักรโหวตเลือกที่จะถอนตัวออกจากประชาคมยุโรปด้วยคะแนน 52% ต่อ 48% ชนะกันด้วยเสียงมากกว่า 850,000 เสียง บีบีซีและสกายนิวส์ พยากรณ์เอาไว้ ณ เวลา 05.00 น.ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตามรายงานผลอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา ฝ่ายที่เลือกให้ถอนตัว ชนะฝ่ายที่เลือกให้อยู่ในอียูต่อไปด้วยคะแนน 51.9% ต่อ 48.1% หรือ 17.4 ล้านเสียง ต่อ 16.1 ล้านเสียง ชนะกว่า 1.3 ล้านเสียง –ผู้แปล) การซื้อขายช่วงเที่ยงคืนในตลาดการเงินต่างๆ เกิดการเหวี่ยงตัวแรงจนราคาสกุลเงินตราและราคาหุ้นพากันสร้างสถิติใหม่ๆ ขณะที่ทองคำพุ่งขึ้นเกือบ 100 ดอลลาร์ในช่วงเกือบๆ จะถึง 05.00 น. และเงินปอนด์สหราชอาณาจักรซื้อขายด้วยค่าที่ลดฮวบลงเหลือเพียงแค่ 1 ปอนด์แลกได้ 1.33 ดอลลาร์ หล่นวูบจากระดับ 1.50 ดอลลาร์เมื่อช่วงก่อนการลงประชามติจะเริ่มต้นขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ ไม่ใช่ วิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลก เสียงขู่ฟ่อที่คุณได้ยินแท้ที่จริงแล้วคือเสียงของลมที่กำลังออกมาจากฟองสบู่ทางการเงินต่างๆ ทว่านี่ไม่ใช่การหวนกลับมาอีกครั้งของวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2008 แม้แต่น้อย
ภาคบริษัทของสหราชอาณาจักรนั้นมีงบดุลบัญชีที่แข็งแกร่ง ในหมู่บริษัทต่างๆ ซึ่งถูกนำไปใช้คำนวณในดัชนีราคาหุ้น FTSE 100 ของตลาดลอนดอน ปรากฏว่าหนี้สินสุทธิคิดเป็นเพียง 2 เท่าตัวของรายได้ก่อนหักอัตราดอกเบี้ยและภาษี สูงกว่าเพียงนิดหน่อยจากพวกบริษัทซึ่งอยู่ในดัชนี S&P 500 ในตลาดสหรัฐฯ หากเปรียบเทียบกับพวกบริษัทอิตาลีแล้วจะเห็นได้ชัดว่าตรงกันข้ามกันเลย เพราะพวกบริษัทแดนพาสตามีระดับหนี้สินสุทธิเกือบเป็น 8 เท่าตัวของรายได้ก่อนหักอัตราดอกเบี้ยและภาษีทีเดียว การตกวูบเป็นประวัติการณ์ของค่าเงินปอนด์คราวนี้ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราสกุลนี้กับเงินยูโร ถอยไปสู่ระดับที่เคยอยู่เมื่อปี 2014 นั่นคือก่อนที่เงินปอนด์จะไต่สูงขึ้นแบบเคียงคู่กับดอลลาร์สหรัฐฯในการแลกเปลี่ยนกับยูโร นี่จึงเป็นการปรับฐานซึ่งเป็นที่ต้องการกันมานานแล้วและจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับความเสียหายจากสกุลเงินตราที่มีค่าสูงเกินจริง
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทางการเงินทั่วโลกต่างออกมาเตือนตั้งแต่ก่อนหน้านี้ว่า จะเกิดผลพวงต่อเนื่องอันหนักหนาสาหัส ถ้าหากสหราชอาณาจักรตัดสินใจผละออกจากอียู ทว่าจริงๆ แล้วเป็นเรื่องยากทีเดียวที่ความหนักหนาเหล่านี้จะเกิดขึ้นมา อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหราชอาณาจักรนั้น แทบทั้งหมดเลยพวกบริษัทเยอรมันนั่นแหละที่เป็นเจ้าของ พวกเขาจะไม่ยุติการผลิตหรือยุติการซื้อรถยนต์ที่ทำออกมาจากโรงงานในสหราชอาณาจักรของพวกเขาหรอก สำหรับภาคธนาคารและการเงิน ภาวะถล่มพังครืนที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ปี 2008 ก็ได้ชำระล้างฟองสบู่แทบทั้งหมดออกไปจากซิตี้ ออฟ ลอนดอน (City of London) แล้ว โดยที่ตำแหน่งงานในศูนย์กลางทางการเงินแห่งนี้ได้ลดหายไปถึง 130,000 ตำแหน่งในช่วงไม่กี่ปีภายหลังวิกฤตการณ์คราวนั้น ความทะเยอทะยานของพวกธนาคารยุโรปทั้งหลายที่จะก้าวขึ้นสู่ระดับโลก ก็สูญสิ้นไปนานแล้วเช่นเดียวกัน และไม่น่าที่จะมีธุรกิจทางการเงินมากมายมโหฬารอะไรถอนตัวออกไปจากซิตี้ ซึ่งก็อยู่ในสภาพหดเล็กลงมาเรียบร้อยแล้ว
แต่ละปีที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรเป็นผู้อุทิศจีดีพีของตนราวครึ่งเปอร์เซ็นต์ ไปให้แก่ชาติอื่นๆ ของยุโรป ส่วนใหญ่ให้แก่พวกยุโรปตะวันออก การไหลออกไปของเงินภาษีอากรที่ชาวสหราชอาณาจักรควักกระเป๋าจ่ายเช่นนี้ ต่อไปจะยุติลงแล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือ ความทะเยอทะยานของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission องค์กรบริหารของอียู) ที่จะจัดตั้งรัฐบาลชนิดเหนือชาติเหนือประเทศขึ้นมาคอยบงการนโยบายทางการคลังและนโยบายด้านกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของพวกรัฐสมาชิกนั้นเป็นอันพังทลายลงไปแล้ว ความทะเยอทะยานของยุโรปที่จะจัดวางนโยบายการต่างประเทศร่วมของ 28 ชาติสมาชิกก็ล้มคว่ำลงด้วย ภายหลังการออกเสียงประชามติของชาวสหราชอาณาจักร
ในความเห็นของผม มันเป็นชัยชนะสำหรับประชาธิปไตยและอธิปไตยแห่งชาติโดยแท้ ขณะที่เป็นความปราชัยพ่ายแพ้สำหรับความทะเยอทะยานแบบยูโทเปียฝันเฟื่องของเหล่าชนชั้นนำของยุโรป แน่นอนทีเดียว บางภาคส่วนของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะได้รับประโยชน์ (พวกที่ได้มากที่สุดยิ่งกว่าใครๆ ก็คืออุตสาหกรรมส่งออก) ขณะที่ภาคส่วนอื่นๆ จะประสบความลำบาก สืบเนื่องจากมีการตั้งกำแพงขวางกั้นการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปรากฏขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อสหราชอาณาจักรถอนตัวออกไปจากอียู
ความสนใจคอยตามลุ้นด้วยความระทึกของยุโรปขณะนี้ จะหันไปสู่อิตาลี ซึ่งปริมาณหนี้สินภาครัฐรวม 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับเยอรมนี ทว่ากลับมีขนาดของเศรษฐกิจเพียงแค่เกินครึ่งนิดๆ ของแดนดอยช์เท่านั้น หนี้สินที่ปล่อยกู้โดยพวกธนาคารอิตาลีราวๆ 1 ใน 5 เป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหุ้นของพวกแบงก์อิตาลีกำลังซื้อขายกันในระดับราคาตอนที่ปิดกิจการชำระบัญชี ชาวอิตาลีขณะนี้ไม่เพียงแต่คิดที่จะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปเท่านั้น หากยังต้องการทะลวงออกมาจากการใช้สกุลเงินยูโรอีกด้วย ซึ่งจะเปิดทางให้กระทรวงการคลังอิตาลีสามารถชำระคืนหนี้สินที่ตนเองติดค้างอยู่ด้วยสกุลเงินตราท้องถิ่นที่ปรับค่าให้อ่อนตัวลงมา รวมทั้งสามารถที่จะออกพันธบัตรตราสารหนี้เพื่อนำมาใช้ปกปิดปกคลุมปัญหาต่างๆ ซึ่งแบงก์ของประเทศตนเผชิญอยู่ ชัยชนะในการเลือกตั้งระดับเทศบาลในกรุงโรมและเมืองตูรินเมื่อสัปดาห์ที่แล้วของ “ขบวนการ 5 ดาว” (Five Star Movement) ซึ่งก็คือการแสดงออกของลัทธิเหนือจริงแบบประชานิยม (populist surrealism) เป็นลางบอกเหตุล่วงหน้าว่ารัฐบาลแนวทางกลาง-ซ้ายของนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี (Matteo Renzi) จะไปไม่รอดและพังทลายลง บางทีผลของประชามติเบร็กซิต อาจจะกลายเป็นการสร้างตัวอย่างสำหรับพวกประชานิยมอิตาลี ตลอดจนพวกสงสัยข้องใจอยากออกจากอียู (Euroskeptics) ในประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้
นี่ถือเป็นปัญหาอันหนักหนาสาหัสทีเดียว – ไม่ได้ใหญ่โตถึงขนาดที่จะฉุดดึงให้ระบบการเงินของโลกล้มครืนลงมา แต่ก็ใหญ่โตเพียงพอที่จะทำให้พวกขุนนางข้าราชการยุโรปต้องวิ่งวุ่นวายเป็นหนูติดจั่นในอีกหลายๆ ปีข้างหน้านี้
ผู้มีชัยอีกคนหนึ่งในการลงประชามติเบร็กซิตแบบผิดความคาดหมายคราวนี้ ก็คือ โดนัลด์ ทรัมป์ แคนดิเดตลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกัน ผู้ซึ่งแบรนด์ลัทธิชาตินิยมแบบประชานิยม (populist nationalism) ของเขา เป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านยุโรปในสหราชอาณาจักรได้อย่างเหมาะเหม็ง ทรัมป์จะต้องชี้ไปที่การโหวตในสหราชอาณาจักรเพื่อใช้เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นว่า นี่คือความพ่ายแพ้ปราชัยของการบริหารจัดการเศรษฐกิจแบบชนชั้นนำ และเป็นแบบอย่างให้แก่ขบวนการประชาชนทั้งหลาย ที่มุ่งเรียกร้องต้องการฟื้นฟูให้อธิปไตยแห่งชาติมีอำนาจเหนือเศรษฐกิจอีกครั้ง
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengler) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขาเคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสาร First Thing และเคยเป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสาร Forbes รวมทั้งเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
Britain bests Brussels
By David P. Goldman
24/06/2016
ผลการลงประชามติในสหราชอาณาจักร ถือว่าผิดความคาดหมายอย่างยิ่ง เพราะเสียงใหญ่เลือกที่จะถอนตัวออกมาจากสหภาพยุโรป ถึงแม้มันจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในตลาดการเงิน แต่แท้ที่จริงแล้วจะให้ผลดีต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเอง
ตรงกันข้ามกับความคาดหมายทั้งหลายทั้งมวล รวมทั้งการสำรวจความคิดเห็นของผู้ออกเสียงในนาทีสุดท้ายด้วย ปรากฏว่าสหราชอาณาจักรโหวตเลือกที่จะถอนตัวออกจากประชาคมยุโรปด้วยคะแนน 52% ต่อ 48% ชนะกันด้วยเสียงมากกว่า 850,000 เสียง บีบีซีและสกายนิวส์ พยากรณ์เอาไว้ ณ เวลา 05.00 น.ตามเวลามาตรฐานกรีนิช (ตามรายงานผลอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา ฝ่ายที่เลือกให้ถอนตัว ชนะฝ่ายที่เลือกให้อยู่ในอียูต่อไปด้วยคะแนน 51.9% ต่อ 48.1% หรือ 17.4 ล้านเสียง ต่อ 16.1 ล้านเสียง ชนะกว่า 1.3 ล้านเสียง –ผู้แปล) การซื้อขายช่วงเที่ยงคืนในตลาดการเงินต่างๆ เกิดการเหวี่ยงตัวแรงจนราคาสกุลเงินตราและราคาหุ้นพากันสร้างสถิติใหม่ๆ ขณะที่ทองคำพุ่งขึ้นเกือบ 100 ดอลลาร์ในช่วงเกือบๆ จะถึง 05.00 น. และเงินปอนด์สหราชอาณาจักรซื้อขายด้วยค่าที่ลดฮวบลงเหลือเพียงแค่ 1 ปอนด์แลกได้ 1.33 ดอลลาร์ หล่นวูบจากระดับ 1.50 ดอลลาร์เมื่อช่วงก่อนการลงประชามติจะเริ่มต้นขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ ไม่ใช่ วิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลก เสียงขู่ฟ่อที่คุณได้ยินแท้ที่จริงแล้วคือเสียงของลมที่กำลังออกมาจากฟองสบู่ทางการเงินต่างๆ ทว่านี่ไม่ใช่การหวนกลับมาอีกครั้งของวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2008 แม้แต่น้อย
ภาคบริษัทของสหราชอาณาจักรนั้นมีงบดุลบัญชีที่แข็งแกร่ง ในหมู่บริษัทต่างๆ ซึ่งถูกนำไปใช้คำนวณในดัชนีราคาหุ้น FTSE 100 ของตลาดลอนดอน ปรากฏว่าหนี้สินสุทธิคิดเป็นเพียง 2 เท่าตัวของรายได้ก่อนหักอัตราดอกเบี้ยและภาษี สูงกว่าเพียงนิดหน่อยจากพวกบริษัทซึ่งอยู่ในดัชนี S&P 500 ในตลาดสหรัฐฯ หากเปรียบเทียบกับพวกบริษัทอิตาลีแล้วจะเห็นได้ชัดว่าตรงกันข้ามกันเลย เพราะพวกบริษัทแดนพาสตามีระดับหนี้สินสุทธิเกือบเป็น 8 เท่าตัวของรายได้ก่อนหักอัตราดอกเบี้ยและภาษีทีเดียว การตกวูบเป็นประวัติการณ์ของค่าเงินปอนด์คราวนี้ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราสกุลนี้กับเงินยูโร ถอยไปสู่ระดับที่เคยอยู่เมื่อปี 2014 นั่นคือก่อนที่เงินปอนด์จะไต่สูงขึ้นแบบเคียงคู่กับดอลลาร์สหรัฐฯในการแลกเปลี่ยนกับยูโร นี่จึงเป็นการปรับฐานซึ่งเป็นที่ต้องการกันมานานแล้วและจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับความเสียหายจากสกุลเงินตราที่มีค่าสูงเกินจริง
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทางการเงินทั่วโลกต่างออกมาเตือนตั้งแต่ก่อนหน้านี้ว่า จะเกิดผลพวงต่อเนื่องอันหนักหนาสาหัส ถ้าหากสหราชอาณาจักรตัดสินใจผละออกจากอียู ทว่าจริงๆ แล้วเป็นเรื่องยากทีเดียวที่ความหนักหนาเหล่านี้จะเกิดขึ้นมา อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหราชอาณาจักรนั้น แทบทั้งหมดเลยพวกบริษัทเยอรมันนั่นแหละที่เป็นเจ้าของ พวกเขาจะไม่ยุติการผลิตหรือยุติการซื้อรถยนต์ที่ทำออกมาจากโรงงานในสหราชอาณาจักรของพวกเขาหรอก สำหรับภาคธนาคารและการเงิน ภาวะถล่มพังครืนที่เกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ปี 2008 ก็ได้ชำระล้างฟองสบู่แทบทั้งหมดออกไปจากซิตี้ ออฟ ลอนดอน (City of London) แล้ว โดยที่ตำแหน่งงานในศูนย์กลางทางการเงินแห่งนี้ได้ลดหายไปถึง 130,000 ตำแหน่งในช่วงไม่กี่ปีภายหลังวิกฤตการณ์คราวนั้น ความทะเยอทะยานของพวกธนาคารยุโรปทั้งหลายที่จะก้าวขึ้นสู่ระดับโลก ก็สูญสิ้นไปนานแล้วเช่นเดียวกัน และไม่น่าที่จะมีธุรกิจทางการเงินมากมายมโหฬารอะไรถอนตัวออกไปจากซิตี้ ซึ่งก็อยู่ในสภาพหดเล็กลงมาเรียบร้อยแล้ว
แต่ละปีที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรเป็นผู้อุทิศจีดีพีของตนราวครึ่งเปอร์เซ็นต์ ไปให้แก่ชาติอื่นๆ ของยุโรป ส่วนใหญ่ให้แก่พวกยุโรปตะวันออก การไหลออกไปของเงินภาษีอากรที่ชาวสหราชอาณาจักรควักกระเป๋าจ่ายเช่นนี้ ต่อไปจะยุติลงแล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือ ความทะเยอทะยานของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission องค์กรบริหารของอียู) ที่จะจัดตั้งรัฐบาลชนิดเหนือชาติเหนือประเทศขึ้นมาคอยบงการนโยบายทางการคลังและนโยบายด้านกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของพวกรัฐสมาชิกนั้นเป็นอันพังทลายลงไปแล้ว ความทะเยอทะยานของยุโรปที่จะจัดวางนโยบายการต่างประเทศร่วมของ 28 ชาติสมาชิกก็ล้มคว่ำลงด้วย ภายหลังการออกเสียงประชามติของชาวสหราชอาณาจักร
ในความเห็นของผม มันเป็นชัยชนะสำหรับประชาธิปไตยและอธิปไตยแห่งชาติโดยแท้ ขณะที่เป็นความปราชัยพ่ายแพ้สำหรับความทะเยอทะยานแบบยูโทเปียฝันเฟื่องของเหล่าชนชั้นนำของยุโรป แน่นอนทีเดียว บางภาคส่วนของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะได้รับประโยชน์ (พวกที่ได้มากที่สุดยิ่งกว่าใครๆ ก็คืออุตสาหกรรมส่งออก) ขณะที่ภาคส่วนอื่นๆ จะประสบความลำบาก สืบเนื่องจากมีการตั้งกำแพงขวางกั้นการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปรากฏขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อสหราชอาณาจักรถอนตัวออกไปจากอียู
ความสนใจคอยตามลุ้นด้วยความระทึกของยุโรปขณะนี้ จะหันไปสู่อิตาลี ซึ่งปริมาณหนี้สินภาครัฐรวม 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันกับเยอรมนี ทว่ากลับมีขนาดของเศรษฐกิจเพียงแค่เกินครึ่งนิดๆ ของแดนดอยช์เท่านั้น หนี้สินที่ปล่อยกู้โดยพวกธนาคารอิตาลีราวๆ 1 ใน 5 เป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหุ้นของพวกแบงก์อิตาลีกำลังซื้อขายกันในระดับราคาตอนที่ปิดกิจการชำระบัญชี ชาวอิตาลีขณะนี้ไม่เพียงแต่คิดที่จะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปเท่านั้น หากยังต้องการทะลวงออกมาจากการใช้สกุลเงินยูโรอีกด้วย ซึ่งจะเปิดทางให้กระทรวงการคลังอิตาลีสามารถชำระคืนหนี้สินที่ตนเองติดค้างอยู่ด้วยสกุลเงินตราท้องถิ่นที่ปรับค่าให้อ่อนตัวลงมา รวมทั้งสามารถที่จะออกพันธบัตรตราสารหนี้เพื่อนำมาใช้ปกปิดปกคลุมปัญหาต่างๆ ซึ่งแบงก์ของประเทศตนเผชิญอยู่ ชัยชนะในการเลือกตั้งระดับเทศบาลในกรุงโรมและเมืองตูรินเมื่อสัปดาห์ที่แล้วของ “ขบวนการ 5 ดาว” (Five Star Movement) ซึ่งก็คือการแสดงออกของลัทธิเหนือจริงแบบประชานิยม (populist surrealism) เป็นลางบอกเหตุล่วงหน้าว่ารัฐบาลแนวทางกลาง-ซ้ายของนายกรัฐมนตรีมัตเตโอ เรนซี (Matteo Renzi) จะไปไม่รอดและพังทลายลง บางทีผลของประชามติเบร็กซิต อาจจะกลายเป็นการสร้างตัวอย่างสำหรับพวกประชานิยมอิตาลี ตลอดจนพวกสงสัยข้องใจอยากออกจากอียู (Euroskeptics) ในประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้
นี่ถือเป็นปัญหาอันหนักหนาสาหัสทีเดียว – ไม่ได้ใหญ่โตถึงขนาดที่จะฉุดดึงให้ระบบการเงินของโลกล้มครืนลงมา แต่ก็ใหญ่โตเพียงพอที่จะทำให้พวกขุนนางข้าราชการยุโรปต้องวิ่งวุ่นวายเป็นหนูติดจั่นในอีกหลายๆ ปีข้างหน้านี้
ผู้มีชัยอีกคนหนึ่งในการลงประชามติเบร็กซิตแบบผิดความคาดหมายคราวนี้ ก็คือ โดนัลด์ ทรัมป์ แคนดิเดตลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกัน ผู้ซึ่งแบรนด์ลัทธิชาตินิยมแบบประชานิยม (populist nationalism) ของเขา เป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านยุโรปในสหราชอาณาจักรได้อย่างเหมาะเหม็ง ทรัมป์จะต้องชี้ไปที่การโหวตในสหราชอาณาจักรเพื่อใช้เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นว่า นี่คือความพ่ายแพ้ปราชัยของการบริหารจัดการเศรษฐกิจแบบชนชั้นนำ และเป็นแบบอย่างให้แก่ขบวนการประชาชนทั้งหลาย ที่มุ่งเรียกร้องต้องการฟื้นฟูให้อธิปไตยแห่งชาติมีอำนาจเหนือเศรษฐกิจอีกครั้ง
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengler) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขาเคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสาร First Thing และเคยเป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสาร Forbes รวมทั้งเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)