xs
xsm
sm
md
lg

อินเดียสร้างความฮือฮา ทุบสถิติยิงจรวดส่งดาวเทียมรวดเดียว 20 ลูก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

 อินเดียในวันพุธ(22มิ.ย.) ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม 20 ดวงขึ้นสู่วงโคจรภายในการส่งครั้งเดียวผ่านจรวดลูกหนึ่ง ถือเป็นการสร้างสถิติใหม่ของประเทศ
เอเอฟพี - อินเดียในวันพุธ (22 มิ.ย.) ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียม 20 ดวงขึ้นสู่วงโคจรภายในการส่งครั้งเดียวผ่านจรวดลูกหนึ่ง ถือเป็นการสร้างสถิติใหม่ของประเทศ ขณะที่หน่วยงานอวกาศที่มัธยัสถ์ของพวกเขากำลังมองหาส่วนแบ่งขนาดใหญ่ขึ้นในตลาดอวกาศเชิงพาณิชย์ที่มีกำไรงาม



จรวดลูกดังกล่าวถูกปล่อยขึ้นจากท่าอวกาศศรีหาริโคตร ทางภาคใต้ของอินเดีย ขณะที่มันบรรทุกดาวเทียม 20 ดวงของทั้งสหรัฐฯ เยอรมนี แคนาดา และอินโดนีเซีย นับเป็นภารกิจส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรมากสุดในคราวเดียวของอินเดีย

ดาวเทียมส่วนใหญ่มีเจตนาส่งขึ้นไปเพื่อสำรวจและตรวจวัดชั้นบรรยากาศโลก ส่วนที่เหลือมีเป้าหมายให้บริการแก่เหล่าผู้ดำเนินการวิทยุสมัครเล่น “ดาวเทียมขนาดเล็กเหล่านี้ที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจะทำหน้าที่ของตนเอง มันมีอิสระจากกันและกัน และแต่ละดวงจะมีขอบเขตอายุใช้งานจำกัด” เอ.เอส. ไคราน คูมาร์ ประธานองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย บอกกับสถานีโทรทัศน์เอ็นดีทีวี

ธุรกิจส่งดาวเทียมพาณิชย์ขึ้นสู่อวกาศแลกกับค่าบริการกำลังเติบโตขึ้นเช่นเดียวกับธุรกิจมือถือ อินเทอร์เน็ต และบริษัทอื่นๆ ขณะที่หลายประเทศต่างแสวงหาระบบโทรคมนาคมที่กว้างไกลและทันสมัยมากขึ้น

อินเดียกำลังแข่งขันกับผู้เล่นระหว่างประเทศชาติอื่นๆ สำหรับแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดการยิงจรวด ขณะที่พวกเขามีชื่อเสียงด้านโครงการอวกาศต้นทุนต่ำ

นายนาเรนดรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย บอกว่า การยิงจรวดครั้งนี้เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ แม้ว่าพวกเขายังคงตามหลังสถิติสูงสุดส่งดาวเทียมในคราวเดียว 33 ดวงของรัสเซียที่ทำเอาไว้ในปี 2014 และ 29 ดวงของนาซา หนึ่งปีก่อนหน้านั้น “เป็นอีกครั้งที่โครงการอวกาศของเราแสดงให้เห็นว่าศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้” โมดีระบุในทวิตเตอร์

เมื่อเดือนที่แล้ว อินเดียเพิ่งประสบความสำเร็จในการส่งกระสวยอวกาศขนาดมินิลำแรกของประเทศขึ้นสู่อวกาศ ขณะที่พวกเขาเข้าร่วมแข่งขันกับชาติอื่นๆ ในการผลิตจรวดรีไซเคิล

ในปี 2013 อินเดียส่งที่ไม่มีมนุษย์ควบคุมเข้าไปยังวงโคจรของดาวอังคาร ด้วยต้นทุนแค่ 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ น้อยกว่าภารกิจ Maven Mars ของนาซา ซึ่งใช้งบประมาณถึง 671 ดอลลาร์สหรัฐ

ความสำเร็จของภารกิจดังกล่าวสร้างความภาคภูมิใจครั้งใหญ่ในอินเดีย ที่เอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่างจีน ในการเป็นประเทศแรกของเอเชียที่เดินทางไปถึงดาวอังคาร


กำลังโหลดความคิดเห็น