xs
xsm
sm
md
lg

นิสสันทุ่ม $2.2 พันล้านต่อลมมิตซูฯ ปูทางเจาะอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>คาร์ลอส กอส์น ประธานนิสสัน (ซ้าย) สัมผัสมือกับโอซามุ มาซุโกะ ประธานบริหารมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ขวา) หลังเสร็จสิ้นการแถลงข่าวร่วมกัน ในโยโกฮามา เมื่อวันที่ 12 พ.ค. -- Agence France-Presse/Toshifumi Kitamura.</font></b>

เอเจนซีส์ – นิสสัน มอเตอร์ทุ่มทุนกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ซื้อหุ้น 34% ต่อลมหายใจมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่กำลังตกเป็นข่าวฉาวกรณีการปลอมแปลงการทดสอบการประหยัดน้ำมันของเครื่องยนต์ เนื่องจากเล็งผลเลิศในการเกาะกระแสความนิยมของแบรนด์รถมิตซูบิชิเพื่อเจาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งก้าวขึ้นเป็นค่ายรถท็อป 3 ของโลกในอนาคต

ในการแถลงข่าวที่จัดขึ้นอย่างรีบเร่งเมื่อวันพฤหัสบดี (12) ในโยโกฮามา ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของนิสสัน คาร์ลอส กอส์น ประธานนิสสัน และโอซามุ มาซุโกะ ประธานบริหารมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ร่วมกันแถลงรายละเอียดของข้อตกลง ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า จะช่วยให้มิตซูบิชิเรียกคืนความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค

ภายใต้ข้อตกลงนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์สจะออกหุ้นใหม่ขายให้นิสสันรวมมูลค่า 2,180 ล้านดอลลาร์ อันจะทำให้นิสสันมีหุ้นในมิตซูบิชิ 34% ซึ่งสามารถเข้าควบคุมกิจการได้ภายใต้กฎหมายการถือหุ้นของญี่ปุ่น

กอส์นประกาศว่า สองบริษัทจะแบ่งปันและร่วมพัฒนาเทคโนโลยี และอาจสร้างผลประโยชน์เชิงทบทวีนับพันล้านดอลลาร์จากการร่วมกันในด้านการจัดซื้อ การใช้ศักยภาพของโรงงาน และการร่วมมือในตลาดที่มีการเติบโต

ประธานนิสสันสำทับว่า ข้อตกลงนี้จะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย และว่า นิสสันสามารถแต่งตั้งสมาชิก 1 ใน 3 ในคณะกรรมการบริหารของมิตซูบิชิ พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า ผู้บริหารของนิสสันจะขึ้นเป็นประธานบอร์ดของมิตซูบิชิ

อย่างไรก็ดี มิตซูบิชิจะยังใช้แบรนด์และมีตัวแทนจำหน่ายของตัวเองเช่นเดิม

ทั้งนี้ มิตซูบิชิและนิสสันร่วมมือกันในการพัฒนาและผลิตตั้งแต่ปี 2011 แต่ไม่เคยถือหุ้นระหว่างกัน
เดือนที่แล้ว มิตซูบิชิยอมรับว่า ตกแต่งข้อมูลการทดสอบการประหยัดน้ำมันของเครื่องยนต์ในรถอย่างน้อย 4 รุ่น ซึ่งเป็นรถเล็กที่จำหน่ายในญี่ปุ่น โดย 2 รุ่นเป็นรถที่รับจ้างผลิตให้นิสสัน

ข่าวฉาวล่าสุดฉุดมูลค่าตลาดของมิตซูบิชิหายวับ 3,000 ล้านดอลลาร์ และสร้างความเสียหายต่อแบรนด์ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทวูบลงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี หลังการแถลงข่าวข้อตกลงต่อลมหายใจจากนิสสัน ราคาหุ้นของมิตซูบิชิ มอเตอร์ที่รูดลง 40% นับจากข่าวฉาวแดงโร่เมื่อเดือนที่แล้ว กลับดีดขึ้นกว่า 16% ในตลาดโตเกียว

นักวิเคราะห์มองว่า ข้อตกลงนี้จะทำให้นิสสันสามารถเจาะตลาดรถเล็กญี่ปุ่น ซึ่งครอบงำโดยซูซูกิและไดฮัทสึของโตโยต้า มอเตอร์ รวมทั้งในตลาดเกิดใหม่สำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะเอเชียที่ไม่รวมจีน ที่มีสัดส่วนยอดขายปลีก 7% ของทั่วโลกในเดือนเมษายน-ธันวาคม

โคจิ เอนโดะ นักวิเคราะห์ยานยนต์ของแอดวานซ์ รีเสิร์ช เจแปน ชี้ว่า ผลประโยชน์สูงสุดที่นิสสันจะได้รับคือ การเกาะกระแสความนิยมของมิตซูบิชิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม ภารกิจหนักอึ้งของนิสสันคือการฟื้นมิตซูบิชิโดยที่ไม่สามารถเข้าคุมกิจการทั้งหมด

แหล่งข่าวที่เป็นนายธนาคารและรู้เห็นข้อตกลงครั้งนี้เผยว่า มิตซูบิชิ มอเตอร์สมีแนวโน้มยกเครื่องทีมบริหารระดับสูง แต่จะไม่เปิดโอกาสให้นิสสันเทกโอเวอร์โดยเด็ดขาด เนื่องจากบริษัทในตระกูลมิตซูบิชิไม่มีแนวโน้มยอมขายหุ้น

ทั้งนี้ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสทรีส์, มิตซูบิชิ คอร์ป และแบงก์ ออฟ โตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ถือหุ้นในมิตซูบิชิ มอเตอร์ร่วมกัน 34% แต่หลังจากข้อตกลงกับนิสสัน สัดส่วนหุ้นดังกล่าวลดเหลืออยู่ที่ราว 22%

ในทางกลับกัน ข้อตกลงนี้ทำให้นิสสันถือหุ้นในมิตซูบิชิมากกว่า 15% ที่ถือในเรโนลต์ ค่ายรถฝรั่งเศสที่ร่วมเป็นพันธมิตรกันและถือหุ้นในนิสสัน 44.3%

ค่ายรถทั้งสามนี้จะมียอดขายทั่วโลกรวม 9.3 ล้านคัน มีลุ้นท้าทายผู้นำในตลาดโลกทั้งโตโยต้า, โฟล์คสวาเก้น และเจเนอรัล มอเตอร์ ที่มียอดขายทั่วโลกในปีที่ผ่านมา 10.15 ล้านคัน, 9.9 ล้านคัน และ 9.8 ล้านคันตามลำดับ และทำให้ฝันของกอส์นที่ต้องการบริหารค่ายรถท็อป 3 ของโลกใกล้ความจริง.
.
<br><FONT color=#000033>บรรยากาศหน้าอาคารสำนักงานใหญ่บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในกรุงโตเกียว. -- Agence France-Presse/Kazuhiro Nogi.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>พนักงานชาวญี่ปุ่นทำงานอยู่ในสายการผลิตเครื่องยนต์ V6 ที่โรงงานนิสสันอิวากิ ในเมืองอิวากิ จังหวัดฟุกุชิมะ. -- Reuters/Yuya Shino.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>รถยนต์หลากรุ่นของค่ายนิสสันจัดแสดงอยู่ในโชว์รูมที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท ที่เมืองโยโกฮามา. -- Reuters/Toru Hanai.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น