(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
As economy slows, China’s NPC takes flexible approach to boost growth
By Fong Tak Ho
12/03/2016
สภาผู้แทนประชาชน หรือรัฐสภาจีน กำลังประชุมกันเป็นเวลา 10 วันในกรุงปักกิ่ง เพื่อหารือถึงแผนการการเติบโตของจีนในช่วงต่อไป ในสภาพที่เศรษฐกิจของจีนกำลังขยายตัวล่าช้าลง, เว็บไซต์ในความดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเผยแพร่จดหมายที่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ลาออกเพราะล้มเหลวในเรื่องเศรษฐกิจ, อีกทั้งมีข่าวลือที่ยังไม่มีมูลว่า นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง จะถูกปลด
ฮ่องกง - ผู้แทนเกือบๆ 3,000 คนของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress) ซึ่งก็คือรัฐสภาของจีน กำลังจัดการประชุมประจำปีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่ออภิปรายหารือกันถึงแผนการเจริญเติบโตของจีนในช่วง 5 ปีข้างหน้า
ขณะที่สภาผู้แทนประชาชนของจีน ถูกมองว่าเป็นเพียง “สภาตรายาง” ทว่าการประชุมประจำปีของรัฐสภาแดนมังกรนี้ ถึงแม้เป็นเหตุการณ์ที่มีการขบคิดจัดวางแผนกันเอาไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม ก็ใช่ว่าจะปราศจากความตึงเครียดทางการเมืองเบื้องหลังฉาก ในขณะที่มีคำถามสำคัญฉกาจฉกรรจ์ถูกหยิบยกขึ้นมา ได้แก่เรื่องที่ว่าคณะผู้นำจะทำอย่างไรในการจัดการแก้ไขคลี่คลายความท้าทายต่างๆ ซึ่งเผชิญหน้าเศรษฐกิจที่เติบโตเชื่องช้าลงของประเทศ
จุดโฟกัสสำคัญยิ่งจุดหนึ่งของการประชุมลับเป็นเวลา 10 วันคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 มีนาคมและยุติลงในวันที่ 15 มีนาคม ก็คือการแก้ไขเป้าหมายของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยที่ในครั้งนี้ คณะผู้นำมีช่องมีมุมสำหรับขยับเนื้อขยับตัวได้บ้าง เมื่อมีการประกาศเป้าหมายเป็นแถบช่วงระหว่าง 6.5% ถึง 7% แทนที่การระบุอัตราเติบโตของจีดีพีอย่างเจาะจงแน่นอนลงไปแบบครั้งก่อนๆ
ตามความเห็นของนักวิเคราะห์หลายๆ ราย เรื่องนี้ถือเป็นการผละออกจากวิธีปฏิบัติในอดีตอย่างชัดเจน และก็เป็นการส่งข้อความที่สำคัญประการหนึ่งไปถึงบรรดาสมาชิกรัฐสภาของจีนด้วย ข้อความดังกล่าวนี้คือ “รัดเข็มขัดที่นั่งของคุณให้แน่น และเตรียมตัวรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้”
เมื่อปีที่แล้ว จีนแถลงเอาไว้ว่าอัตราเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่แถวๆ 7% ทัศนะแบบมีความยืดหยุ่นดังที่กล่าวข้างต้นจึงมีความจำเป็น เพราะในที่สุดแล้วแดนมังกรทำอัตราขยายตัวของจีดีพีในปี 2015 ได้ที่ 6.9% ซึ่งถือเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 25 ปี
ความไม่พอใจในหมู่คนรากหญ้า
เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับเหล่าผู้นำจีน ที่จะต้องบรรลุอัตราเติบโตของเศรษฐกิจตามที่ได้ให้สัญญาเอาไว้ เพราะด้วยการสร้างความมั่นอกมั่นใจว่าทั้งเศรษฐกิจและสังคมต่างมีเสถียรภาพนั่นแหละ พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงจะได้รับการยอมรับจากประชาชนว่ามีความชอบธรรมที่จะปกครองบริหารประเทศ
เวลานี้ผู้คนระดับรากหญ้ากำลังมีความไม่พอใจต่อภาวะทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นทุกที จนกระทั่งถึงระดับขอบเขตที่ว่า Wu Jie Xin Wen (ข่าวไร้พรมแดน) เว็บไซต์ที่ดำเนินการโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อเร็วๆ นี้ได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเรียกร้องให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ลาออกในทันที เหตุผลข้อหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาในจดหมายฉบับดังกล่าวก็คือ การที่สีประสบความล้มเหลวในแนวรบด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้มีการกล่าวหากันว่าเว็บไซต์แห่งนี้ถูกแฮ็ก แต่สิ่งที่เขียนเอาไว้ในจดหมายฉบับนั้นก็เป็นความจริงอยู่บางส่วน
สี เป็นผู้นำของคณะทำงานทางเศรษฐกิจส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเท่ากับเป็นองค์กรตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจของแดนมังกร ด้วยเหตุนี้เองจึงควรถือว่าเขาต้องเป็นผู้รับผิดสำหรับความเพลี่ยงพล้ำใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นมาในทางเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นทั้งหลายก็มีความตื่นเต้นกันมากเหลือเกิน เกี่ยวกับข่าวลือที่ว่า สี กำลังคิดที่จะหาคนมาแทนที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง เพื่อทำให้หลี่ “กลายเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นมา” ถึงแม้ข่าวลือเช่นนี้ลงท้ายก็ไม่ได้มีมูลความจริง แต่มันก็ถูกปล่อยแพร่สะพัดออกมาก่อนหน้าการปรับเปลี่ยนผู้นำระดับสูงครั้งสำคัญซึ่งคาดหมายกันว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า
พวกผู้นำระดับท็อปนั้นมีความวิตกเกี่ยวกับข่าวลือทำนองนี้ ดังสะท้อนให้เห็นจากหนังสือเวียนภายในฉบับหนึ่งซึ่งรั่วไหลออกมาในระหว่างการประชุมประจำปีของรัฐสภาคราวนี้ หนังสือเวียนดังกล่าวเรียกร้องให้พวกผู้ถือหุ้นในตลาดหุ้น “วางตัวประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม” ส่วนพวกบริษัทจดทะเบียนในตลาดทั้งหลายและพวกโบรกเกอร์หลักทรัพย์ทั้งหลายก็ถูกเรียกร้องให้ “ดูแลเสถียรภาพของตลาดทุน”
ท่ามกลางการถูกตั้งข้อสงสัยข้องใจทั้งหลายทั้งปวง รัฐบาลจีนประกาศว่าจีดีพีและรายได้ของประชากรที่พำนักอาศัยในเขตชุมชนเมืองของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวในช่วงระยะเวลาจากปี 2010 ถึงปี 2020 และขนาดของเศรษฐกิจจะไปถึงระดับ 120,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนี้ จีนจะต้องทำอัตราเติบโตให้ได้ปีละมากกว่า 8% เมื่อคิดคำนึงถึงปัจจัยด้านเงินเฟ้อด้วย ทว่าลู่ทางโอกาสของทั่วโลกที่กำลังมืดมัวลง ทำให้เป้าหมายนี้ยากที่จะบรรลุได้ ถ้าหากไม่ถึงกับไม่อาจเป็นไปได้เอาเลย
ต่ง ซีตัว (Tong Xiduo) นักเศรษฐศาสตร์ผู้พำนักอยู่ในปักกิ่ง และทำงานกับบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์ของจีน ซึ่งเป็นองค์กรคลังสมองสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของรัฐบาลส่วนกลาง บอกกับสื่อมวลชนจีนว่า การที่แถบช่วงเป้าหมายอัตราการเติบโตกำหนดจุดต่ำสุดเอาไว้ที่ 6.5% นั้น เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความน่าเป็นห่วงในเรื่องปัญหาคนว่างงาน
“มีการคำนวณกันว่า ถ้าอัตราเติบโตของจีนลดต่ำ (ล้มเหลว) อัตราการว่างงานจะกลายเป็นปัญหาหนักหน่วงสาหัส” ต่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมหภาค กล่าว “ดังนั้น แรงกดดันเรื่องการว่างงานจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”
สมาชิกรัฐสภาบางคน ซึ่งให้ความเห็นโดยขอให้สงวนนาม บอกว่ารัฐบาลควรจะต้องประกาศ “มาตรการที่เด็ดขาดทั้งหลาย” ออกมาบังคับใช้ ถ้าอัตราการเติบโตลงมาอยู่ใกล้ๆ ระดับเตือนภัยที่ 6.5% มาตรการเหล่านี้มีดังเช่น การลดค่าเงินหยวนลงไปอีก และการเปลี่ยนแปลงนโยบายการคลัง
หลี่ เถากุ้ย (Li Daokwai) ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อจีนในเศรษฐกิจโลก แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา (Centre for China in the World Economy, Tsinghua University) ในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า การกำหนดแถบช่วงการเติบโตที่ยืดหยุ่นเช่นนี้ จะทำให้พวกเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นมีช่องทางสำหรับการจัดทำแผนกู้ภัยของพวกเขาเองเพื่อช่วยชีวิตเศรษฐกิจของท้องถิ่น ทั้งนี้ในอดีตที่ผ่านมา พวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถูกกำหนดเป้าหมายโหดๆ ซึ่งจะต้องบรรลุให้ได้ในทันที ภายใต้แรงกดดันเช่นนั้น พวกเขาจำนวนมากจึงหันไปหาวิธีการแบบระยะสั้นซึ่งแท้ที่จริงแล้วกลายเป็นอันตรายต่อการพัฒนาในระยะยาว แถบช่วงการเติบโตที่ยืดหยุ่นแบบใหม่นี้ จึงน่าที่จะป้องกันความผิดพลาดดังกล่าวได้
ภายหลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อัตราการเติบโตของจีนได้เคยหล่นลงมาอยู่ในระดับราวๆ 7% รวม 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ ระหว่างปีงบประมาณ 1980 ถึง 1981, 1990 ถึง 1991, และ 1997 ถึง 1998 และจีนก็ได้ใช้ความพยายามจนสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้สำเร็จ
ในปี 1980 เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดที่ล่วงลับไปแล้ว ได้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จีนกำลังเผชิญอยู่ ด้วยการประกาศการปฏิรูปที่อิงกับพลังตลาด จากนั้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เมื่อจีนกำลังได้รับความเสียหายจากการถูกนานาชาติคว่ำบาตรสืบเนื่องจากเหตุการณ์เทียนอันเหมิน เติ้งก็ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมมณฑลกวางตุ้งทางภาคใต้ของประเทศในปี 1992 ซึ่งถือเป็นการตรวจเยี่ยมที่มีความสำคัญยิ่งในเชิงสัญลักษณ์และในทางการเมือง โดยที่เขากล่าวเตือนว่า “พวกเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่มีความคิดจิตใจในทางปฏิรูปจะต้องลงจากตำแหน่ง”
เชื่อกันว่าคำพูดของเติ้งมุ่งหมายถึง เจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดีของจีนในตอนนั้น ผู้ซึ่งทำตัวเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาระหว่างแนวทางซ้ายจัดกับแนวทางของเติ้ง อีกไม่นานหลังจากนั้น จีนก็ได้ฟื้นชีพเศรษฐกิจสไตล์ทุนนิยมของตน และสามารถแล่นผ่านพ้นช่วงขณะอันยากลำบากที่สุดของการถูกโดดเดี่ยวโดยนานาชาติ
ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จู หลงจี ผู้กุมนโยบายเศรษฐกิจของจีนในเวลานั้น ประสบความสำเร็จในการนำพาประเทศชาติให้เอาชนะผ่านพ้นความปั่นป่วนวุ่นวายของวิกฤตการเงินในเอเชีย ด้วยการปิดรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์จำนวนมาก และเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO)
คำถามในเวลานี้จึงมีอยู่ว่า จีนสามารถที่จะรอดชีวิตจากความท้าทายที่กำลังย่างก้าวเข้ามา เฉกเช่นที่เคยทำได้ในอดีตหรือไม่? ถ้าหากได้ จะต่อสู้ให้ผ่านพ้นไปด้วยวิธีการใด?
ประการแรกเลย ปักกิ่งคาดการณ์ว่าในปี 2016 งบประมาณแผ่นดินจะขาดดุลในระดับ 3% ของจีดีพี หรือคิดเป็นปริมาณเงินเท่ากับ 2.18 ล้านล้านหยวน (หรือ 335,040 ล้านดอลลาร์) นี่เป็นการขยับขึ้นจากการขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวน 2.3% ของจีดีพีในปี 2015 ทั้งนี้เชื่อกันว่าการจับจ่ายใช้สอยในภาคสาธารณะอย่างสนุกสนานเช่นนี้ คือส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
เจี่ย คัง (Jia Kang) ที่ปรึกษาคนหนึ่งของปักกิ่ง บอกว่าการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมครั้งใหม่นี้ ส่วนใหญ่ที่สุดจะมาจากการยกเว้นภาษีรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีทางอ้อมในการช่วยเหลือภาคเอกชน
ปักหมุดพัฒนาขยายชุมชนเมือง
ประการที่สอง รัฐบาลกำลังปักหมุดเน้นหนักความวาดหวังของพวกตนไปที่โปรแกรมการขยายชุมชนเมืองอย่างห้าวหาญ
ไช่ ฟาง (Cai Fang) รองประธานของบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์ของจีน กล่าวในการแถลงข่าวครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งว่า นโยบายการขยายชุมชนเมืองล่าสุดนี้ จะได้เห็นประชาชนจำนวน 16 ล้านคนอพยพจากพื้นที่ชนบทเข้ามาพำนักอาศัยตามเมืองใหญ่ต่างๆ ภายในปี 2020 ซึ่งจะทำให้ประชากรที่อยู่ในเขตเมืองของประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 45% ของประชากรรวมทั้งหมดของประเทศ 1,300 ล้านคน
“จากการทำให้แผนการขยายชุมชนเมืองนี้สำเร็จกลายเป็นความจริงขึ้นมา แท้จริงแล้วเราก็กำลังยิงนกได้ถึง 3 ตัวด้วยการใช้กระสุนเพียงนัดเดียว นกเหล่านี้ได้แก่ การแก้ปัญหาตัวเมืองใหญ่ขาดแคลนแรงงาน, การเพิ่มผลิตภาพโดยองค์รวม, และการขยายความต้องการในการบริโภค” ไช่ ระบุ
ยิ่งกว่านั้น จีนยังประกาศเพิ่มงบประมาณในด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนของตนขึ้นมาอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง โดยเพิ่มขึ้น 43.4% เมื่อเปรียบเทียบกับยอดของปีที่แล้ว จีนคาดหมายว่าจะสามารถนำพาประชาชนอย่างน้อยที่สุด 10 ล้านคนให้ออกจากความยากจนได้ภายในสิ้นปีนี้
ไช่ กล่าวว่าคณะผู้นำจีนกำลังพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการให้ความสำคัญมากขึ้นแก่ด้านอุปสงค์ (ดีมานด์) แทนที่จะเป็นด้านอุปทาน (ซัปพลาย) เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
จีนจะสามารถหลุดออกมาจากความท้าทายอันฉกาจฉกรรจ์ต่างๆ ได้สำเร็จหรือไม่ ยังคงไม่เป็นที่แน่นอนและต้องคอยติดตามกันต่อไป กระนั้นก็มีสิ่งหนึ่งซึ่งเราสามารถพูดได้อย่างแน่นอนมั่นอกมั่นใจ นั่นก็คือ การแก้ไขปัญหาทั้งหลายเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญาอย่างมากมายมหาศาลทีเดียว
ฟง ตั๊ก โฮ เป็นนักหนังสือพิมพ์ฮ่องกงที่มีประสบการณ์ยาวนาน โดยเคยทำงานอยู่กับ ฮ่องกงสแตนดาร์ด, เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, หมิงเป้า, เอเชียไทมส์ออนไลน์, และสิ่งพิมพ์อื่นๆ
As economy slows, China’s NPC takes flexible approach to boost growth
By Fong Tak Ho
12/03/2016
สภาผู้แทนประชาชน หรือรัฐสภาจีน กำลังประชุมกันเป็นเวลา 10 วันในกรุงปักกิ่ง เพื่อหารือถึงแผนการการเติบโตของจีนในช่วงต่อไป ในสภาพที่เศรษฐกิจของจีนกำลังขยายตัวล่าช้าลง, เว็บไซต์ในความดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเผยแพร่จดหมายที่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ลาออกเพราะล้มเหลวในเรื่องเศรษฐกิจ, อีกทั้งมีข่าวลือที่ยังไม่มีมูลว่า นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง จะถูกปลด
ฮ่องกง - ผู้แทนเกือบๆ 3,000 คนของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress) ซึ่งก็คือรัฐสภาของจีน กำลังจัดการประชุมประจำปีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่ออภิปรายหารือกันถึงแผนการเจริญเติบโตของจีนในช่วง 5 ปีข้างหน้า
ขณะที่สภาผู้แทนประชาชนของจีน ถูกมองว่าเป็นเพียง “สภาตรายาง” ทว่าการประชุมประจำปีของรัฐสภาแดนมังกรนี้ ถึงแม้เป็นเหตุการณ์ที่มีการขบคิดจัดวางแผนกันเอาไว้ล่วงหน้าอย่างรัดกุม ก็ใช่ว่าจะปราศจากความตึงเครียดทางการเมืองเบื้องหลังฉาก ในขณะที่มีคำถามสำคัญฉกาจฉกรรจ์ถูกหยิบยกขึ้นมา ได้แก่เรื่องที่ว่าคณะผู้นำจะทำอย่างไรในการจัดการแก้ไขคลี่คลายความท้าทายต่างๆ ซึ่งเผชิญหน้าเศรษฐกิจที่เติบโตเชื่องช้าลงของประเทศ
จุดโฟกัสสำคัญยิ่งจุดหนึ่งของการประชุมลับเป็นเวลา 10 วันคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 มีนาคมและยุติลงในวันที่ 15 มีนาคม ก็คือการแก้ไขเป้าหมายของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยที่ในครั้งนี้ คณะผู้นำมีช่องมีมุมสำหรับขยับเนื้อขยับตัวได้บ้าง เมื่อมีการประกาศเป้าหมายเป็นแถบช่วงระหว่าง 6.5% ถึง 7% แทนที่การระบุอัตราเติบโตของจีดีพีอย่างเจาะจงแน่นอนลงไปแบบครั้งก่อนๆ
ตามความเห็นของนักวิเคราะห์หลายๆ ราย เรื่องนี้ถือเป็นการผละออกจากวิธีปฏิบัติในอดีตอย่างชัดเจน และก็เป็นการส่งข้อความที่สำคัญประการหนึ่งไปถึงบรรดาสมาชิกรัฐสภาของจีนด้วย ข้อความดังกล่าวนี้คือ “รัดเข็มขัดที่นั่งของคุณให้แน่น และเตรียมตัวรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้”
เมื่อปีที่แล้ว จีนแถลงเอาไว้ว่าอัตราเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่แถวๆ 7% ทัศนะแบบมีความยืดหยุ่นดังที่กล่าวข้างต้นจึงมีความจำเป็น เพราะในที่สุดแล้วแดนมังกรทำอัตราขยายตัวของจีดีพีในปี 2015 ได้ที่ 6.9% ซึ่งถือเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 25 ปี
ความไม่พอใจในหมู่คนรากหญ้า
เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับเหล่าผู้นำจีน ที่จะต้องบรรลุอัตราเติบโตของเศรษฐกิจตามที่ได้ให้สัญญาเอาไว้ เพราะด้วยการสร้างความมั่นอกมั่นใจว่าทั้งเศรษฐกิจและสังคมต่างมีเสถียรภาพนั่นแหละ พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงจะได้รับการยอมรับจากประชาชนว่ามีความชอบธรรมที่จะปกครองบริหารประเทศ
เวลานี้ผู้คนระดับรากหญ้ากำลังมีความไม่พอใจต่อภาวะทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นทุกที จนกระทั่งถึงระดับขอบเขตที่ว่า Wu Jie Xin Wen (ข่าวไร้พรมแดน) เว็บไซต์ที่ดำเนินการโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อเร็วๆ นี้ได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเรียกร้องให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ลาออกในทันที เหตุผลข้อหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาในจดหมายฉบับดังกล่าวก็คือ การที่สีประสบความล้มเหลวในแนวรบด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้มีการกล่าวหากันว่าเว็บไซต์แห่งนี้ถูกแฮ็ก แต่สิ่งที่เขียนเอาไว้ในจดหมายฉบับนั้นก็เป็นความจริงอยู่บางส่วน
สี เป็นผู้นำของคณะทำงานทางเศรษฐกิจส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเท่ากับเป็นองค์กรตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจของแดนมังกร ด้วยเหตุนี้เองจึงควรถือว่าเขาต้องเป็นผู้รับผิดสำหรับความเพลี่ยงพล้ำใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นมาในทางเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นทั้งหลายก็มีความตื่นเต้นกันมากเหลือเกิน เกี่ยวกับข่าวลือที่ว่า สี กำลังคิดที่จะหาคนมาแทนที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง เพื่อทำให้หลี่ “กลายเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นมา” ถึงแม้ข่าวลือเช่นนี้ลงท้ายก็ไม่ได้มีมูลความจริง แต่มันก็ถูกปล่อยแพร่สะพัดออกมาก่อนหน้าการปรับเปลี่ยนผู้นำระดับสูงครั้งสำคัญซึ่งคาดหมายกันว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า
พวกผู้นำระดับท็อปนั้นมีความวิตกเกี่ยวกับข่าวลือทำนองนี้ ดังสะท้อนให้เห็นจากหนังสือเวียนภายในฉบับหนึ่งซึ่งรั่วไหลออกมาในระหว่างการประชุมประจำปีของรัฐสภาคราวนี้ หนังสือเวียนดังกล่าวเรียกร้องให้พวกผู้ถือหุ้นในตลาดหุ้น “วางตัวประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม” ส่วนพวกบริษัทจดทะเบียนในตลาดทั้งหลายและพวกโบรกเกอร์หลักทรัพย์ทั้งหลายก็ถูกเรียกร้องให้ “ดูแลเสถียรภาพของตลาดทุน”
ท่ามกลางการถูกตั้งข้อสงสัยข้องใจทั้งหลายทั้งปวง รัฐบาลจีนประกาศว่าจีดีพีและรายได้ของประชากรที่พำนักอาศัยในเขตชุมชนเมืองของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวในช่วงระยะเวลาจากปี 2010 ถึงปี 2020 และขนาดของเศรษฐกิจจะไปถึงระดับ 120,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนี้ จีนจะต้องทำอัตราเติบโตให้ได้ปีละมากกว่า 8% เมื่อคิดคำนึงถึงปัจจัยด้านเงินเฟ้อด้วย ทว่าลู่ทางโอกาสของทั่วโลกที่กำลังมืดมัวลง ทำให้เป้าหมายนี้ยากที่จะบรรลุได้ ถ้าหากไม่ถึงกับไม่อาจเป็นไปได้เอาเลย
ต่ง ซีตัว (Tong Xiduo) นักเศรษฐศาสตร์ผู้พำนักอยู่ในปักกิ่ง และทำงานกับบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์ของจีน ซึ่งเป็นองค์กรคลังสมองสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของรัฐบาลส่วนกลาง บอกกับสื่อมวลชนจีนว่า การที่แถบช่วงเป้าหมายอัตราการเติบโตกำหนดจุดต่ำสุดเอาไว้ที่ 6.5% นั้น เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความน่าเป็นห่วงในเรื่องปัญหาคนว่างงาน
“มีการคำนวณกันว่า ถ้าอัตราเติบโตของจีนลดต่ำ (ล้มเหลว) อัตราการว่างงานจะกลายเป็นปัญหาหนักหน่วงสาหัส” ต่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจมหภาค กล่าว “ดังนั้น แรงกดดันเรื่องการว่างงานจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”
สมาชิกรัฐสภาบางคน ซึ่งให้ความเห็นโดยขอให้สงวนนาม บอกว่ารัฐบาลควรจะต้องประกาศ “มาตรการที่เด็ดขาดทั้งหลาย” ออกมาบังคับใช้ ถ้าอัตราการเติบโตลงมาอยู่ใกล้ๆ ระดับเตือนภัยที่ 6.5% มาตรการเหล่านี้มีดังเช่น การลดค่าเงินหยวนลงไปอีก และการเปลี่ยนแปลงนโยบายการคลัง
หลี่ เถากุ้ย (Li Daokwai) ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อจีนในเศรษฐกิจโลก แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา (Centre for China in the World Economy, Tsinghua University) ในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า การกำหนดแถบช่วงการเติบโตที่ยืดหยุ่นเช่นนี้ จะทำให้พวกเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นมีช่องทางสำหรับการจัดทำแผนกู้ภัยของพวกเขาเองเพื่อช่วยชีวิตเศรษฐกิจของท้องถิ่น ทั้งนี้ในอดีตที่ผ่านมา พวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถูกกำหนดเป้าหมายโหดๆ ซึ่งจะต้องบรรลุให้ได้ในทันที ภายใต้แรงกดดันเช่นนั้น พวกเขาจำนวนมากจึงหันไปหาวิธีการแบบระยะสั้นซึ่งแท้ที่จริงแล้วกลายเป็นอันตรายต่อการพัฒนาในระยะยาว แถบช่วงการเติบโตที่ยืดหยุ่นแบบใหม่นี้ จึงน่าที่จะป้องกันความผิดพลาดดังกล่าวได้
ภายหลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรม อัตราการเติบโตของจีนได้เคยหล่นลงมาอยู่ในระดับราวๆ 7% รวม 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ ระหว่างปีงบประมาณ 1980 ถึง 1981, 1990 ถึง 1991, และ 1997 ถึง 1998 และจีนก็ได้ใช้ความพยายามจนสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้สำเร็จ
ในปี 1980 เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดที่ล่วงลับไปแล้ว ได้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จีนกำลังเผชิญอยู่ ด้วยการประกาศการปฏิรูปที่อิงกับพลังตลาด จากนั้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เมื่อจีนกำลังได้รับความเสียหายจากการถูกนานาชาติคว่ำบาตรสืบเนื่องจากเหตุการณ์เทียนอันเหมิน เติ้งก็ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมมณฑลกวางตุ้งทางภาคใต้ของประเทศในปี 1992 ซึ่งถือเป็นการตรวจเยี่ยมที่มีความสำคัญยิ่งในเชิงสัญลักษณ์และในทางการเมือง โดยที่เขากล่าวเตือนว่า “พวกเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่มีความคิดจิตใจในทางปฏิรูปจะต้องลงจากตำแหน่ง”
เชื่อกันว่าคำพูดของเติ้งมุ่งหมายถึง เจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดีของจีนในตอนนั้น ผู้ซึ่งทำตัวเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาระหว่างแนวทางซ้ายจัดกับแนวทางของเติ้ง อีกไม่นานหลังจากนั้น จีนก็ได้ฟื้นชีพเศรษฐกิจสไตล์ทุนนิยมของตน และสามารถแล่นผ่านพ้นช่วงขณะอันยากลำบากที่สุดของการถูกโดดเดี่ยวโดยนานาชาติ
ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จู หลงจี ผู้กุมนโยบายเศรษฐกิจของจีนในเวลานั้น ประสบความสำเร็จในการนำพาประเทศชาติให้เอาชนะผ่านพ้นความปั่นป่วนวุ่นวายของวิกฤตการเงินในเอเชีย ด้วยการปิดรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์จำนวนมาก และเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO)
คำถามในเวลานี้จึงมีอยู่ว่า จีนสามารถที่จะรอดชีวิตจากความท้าทายที่กำลังย่างก้าวเข้ามา เฉกเช่นที่เคยทำได้ในอดีตหรือไม่? ถ้าหากได้ จะต่อสู้ให้ผ่านพ้นไปด้วยวิธีการใด?
ประการแรกเลย ปักกิ่งคาดการณ์ว่าในปี 2016 งบประมาณแผ่นดินจะขาดดุลในระดับ 3% ของจีดีพี หรือคิดเป็นปริมาณเงินเท่ากับ 2.18 ล้านล้านหยวน (หรือ 335,040 ล้านดอลลาร์) นี่เป็นการขยับขึ้นจากการขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวน 2.3% ของจีดีพีในปี 2015 ทั้งนี้เชื่อกันว่าการจับจ่ายใช้สอยในภาคสาธารณะอย่างสนุกสนานเช่นนี้ คือส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
เจี่ย คัง (Jia Kang) ที่ปรึกษาคนหนึ่งของปักกิ่ง บอกว่าการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมครั้งใหม่นี้ ส่วนใหญ่ที่สุดจะมาจากการยกเว้นภาษีรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีทางอ้อมในการช่วยเหลือภาคเอกชน
ปักหมุดพัฒนาขยายชุมชนเมือง
ประการที่สอง รัฐบาลกำลังปักหมุดเน้นหนักความวาดหวังของพวกตนไปที่โปรแกรมการขยายชุมชนเมืองอย่างห้าวหาญ
ไช่ ฟาง (Cai Fang) รองประธานของบัณฑิตยสถานทางสังคมศาสตร์ของจีน กล่าวในการแถลงข่าวครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งว่า นโยบายการขยายชุมชนเมืองล่าสุดนี้ จะได้เห็นประชาชนจำนวน 16 ล้านคนอพยพจากพื้นที่ชนบทเข้ามาพำนักอาศัยตามเมืองใหญ่ต่างๆ ภายในปี 2020 ซึ่งจะทำให้ประชากรที่อยู่ในเขตเมืองของประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 45% ของประชากรรวมทั้งหมดของประเทศ 1,300 ล้านคน
“จากการทำให้แผนการขยายชุมชนเมืองนี้สำเร็จกลายเป็นความจริงขึ้นมา แท้จริงแล้วเราก็กำลังยิงนกได้ถึง 3 ตัวด้วยการใช้กระสุนเพียงนัดเดียว นกเหล่านี้ได้แก่ การแก้ปัญหาตัวเมืองใหญ่ขาดแคลนแรงงาน, การเพิ่มผลิตภาพโดยองค์รวม, และการขยายความต้องการในการบริโภค” ไช่ ระบุ
ยิ่งกว่านั้น จีนยังประกาศเพิ่มงบประมาณในด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนของตนขึ้นมาอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง โดยเพิ่มขึ้น 43.4% เมื่อเปรียบเทียบกับยอดของปีที่แล้ว จีนคาดหมายว่าจะสามารถนำพาประชาชนอย่างน้อยที่สุด 10 ล้านคนให้ออกจากความยากจนได้ภายในสิ้นปีนี้
ไช่ กล่าวว่าคณะผู้นำจีนกำลังพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการให้ความสำคัญมากขึ้นแก่ด้านอุปสงค์ (ดีมานด์) แทนที่จะเป็นด้านอุปทาน (ซัปพลาย) เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
จีนจะสามารถหลุดออกมาจากความท้าทายอันฉกาจฉกรรจ์ต่างๆ ได้สำเร็จหรือไม่ ยังคงไม่เป็นที่แน่นอนและต้องคอยติดตามกันต่อไป กระนั้นก็มีสิ่งหนึ่งซึ่งเราสามารถพูดได้อย่างแน่นอนมั่นอกมั่นใจ นั่นก็คือ การแก้ไขปัญหาทั้งหลายเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญาอย่างมากมายมหาศาลทีเดียว
ฟง ตั๊ก โฮ เป็นนักหนังสือพิมพ์ฮ่องกงที่มีประสบการณ์ยาวนาน โดยเคยทำงานอยู่กับ ฮ่องกงสแตนดาร์ด, เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, หมิงเป้า, เอเชียไทมส์ออนไลน์, และสิ่งพิมพ์อื่นๆ