xs
xsm
sm
md
lg

‘คริสตี เคนนีย์’ อดีตทูตสหรัฐฯประจำไทย ได้ตำแหน่งใหญ่ในกระทรวงต่าง ปท.อเมริกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<i>คริสตี้ เคนนีย์ (กลาง) ขณะเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไทย ภาพจากแฟ้มภาพนี้ถ่ายที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2011 </i>
รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ - คริสตี เคนนีย์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไทย, ฟิลิปปินส์ และเอกวาดอร์ ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สืบต่อจาก ทอม แชนนอน ผู้ได้รับการรับรองจากวุฒิสภาให้เป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายกิจการการเมือง

การที่เคนนีย์ได้รับแต่งตั้งคราวนี้ ทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่หญิงอาวุโสที่สุด ซึ่งทำงานอยู่ในด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯเวลานี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ระบุในคำแถลงประกาศชื่อเธอเข้าดำรงตำแหน่งนี้เมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.)

เคนนีย์เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไทย ในช่วงระหว่างปี 2011 - 2014 เธอสร้างความประทับใจจากความสามารถพูดภาษาไทย รวมทั้งใช้สื่อสังคมอย่างเช่นเฟซบุ๊ก ในการสื่อสารกับชาวไทย อย่างไรก็ตาม เธอก็ถูกตั้งข้อครหาจากการแสดงตัวฝักใฝ่เข้าข้าง ทักษิณ ชินวัตร และคนเสื้อแดง

สำหรับตำแหน่งใหม่ของเธอ คือ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (Counselor of the United States Department of State) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพิเศษของรัฐมนตรีในปัญหาใหญ่ ๆ ด้านนโยบายการต่างประเทศ อีกทั้งเป็นผู้ให้คำชี้แนะในเรื่องเหล่านี้แก่กรมกองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันถือว่าตำแหน่งนี้อยู่ในระดับเทียบเท่าปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (Under Secretary of State)

กระบวนการที่วุฒิสภาพิจารณารับรองให้ แชนนอน เข้าเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายการเมือง ดำเนินไปอย่างล่าช้ามาก โดยที่สำคัญเนื่องมาจากการที่วุฒิสมาชิก เท็ด ครูซ คัดค้านข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านซึ่ง 6 ชาติมหาอำนาจกับเตหะรานสามารถทำความตกลงกันได้สำเร็จตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว


‘ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน’ทำให้ ‘โอบามา’ ควรค่าที่ได้ ‘รางวัลโนเบล’
ร่างข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ซึ่งเห็นพ้องจัดทำกันออกมาได้ ในการเจรจาเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ควรต้องถือว่าเป็นชัยชนะทางการทูตอย่างเหลือเชื่อของสหรัฐฯ ร่างข้อตกลงดังกล่าวนี้บรรจุไว้ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งดียิ่งกว่าที่ใครๆ จะเคยคาดหมายเอาไว้เป็นอย่างมาก ถึงแม้ไม่ได้มีการกำหนดให้ทำลายระบบโครงข่ายทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านไปจนหมดสิ้น เราพูดได้ว่าผู้ชนะอย่างแท้จริงจากการบรรลุร่างข้อตกลงนี้ก็คือประธานาธิบดีบารัค โอบามา เวลาผันผ่านไป 6 ปีหลังจากที่เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เขาเพิ่งมีผลงานอันสมควรแก่การได้รางวัลนี้ในคราวนี้เอง
กำลังโหลดความคิดเห็น