เอเอฟพี - หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศให้ไวรัสซิกาที่กำลังแพร่ระบาดในละตินอเมริกาเป็นภัยฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ล่าสุด ทางการสหรัฐฯ ยืนยันวานนี้ (2 ก.พ.) ว่า พบผู้ป่วยในรัฐเทกซัสที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมี “เพศสัมพันธ์” ซึ่งหมายความว่าไวรัสชนิดนี้ไม่ได้มีเพียง “ยุงลาย” เป็นพาหะอย่างที่เข้าใจกัน
ข้อมูลล่าสุดนี้นับว่าน่ากังวลไม่น้อยสำหรับสหรัฐฯ แคนาดา และยุโรป ซึ่งที่ผ่านมายังพบเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อจากการเดินทางไปในกลุ่มประเทศที่มีการแพร่ระบาดเท่านั้น
“สำนักงานบริการสาธารณสุขประจำเทศมณฑลดัลลัส ได้รับคำยืนยันจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ว่า พบผู้ป่วยรายแรกที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่เทศมณฑลดัลลัส ในปี 2016” คำแถลงดังกล่าว ระบุ
“ผู้ป่วยได้รับเชื้อหลังมีกิจกรรมทางเพศกับบุคคลซึ่งล้มป่วยหลังเดินทางกลับจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้กำลังแพร่ระบาด”
เทศมณฑลดัลลัสได้แถลงเพิ่มเติมผ่านทวิตเตอร์ว่า ผู้ป่วยรายนี้ได้รับเชื้อต่อจากบุคคลที่เพิ่งเดินทางกลับจากเวเนซุเอลา นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยที่ “นำเข้า” เชื้อจากเวเนซุเอลาเป็นรายที่ 2 ด้วย
โฆษกซีดีซีให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่า ทางศูนย์ยืนยันว่าผู้ป่วยคนดังกล่าวติดเชื้อไวรัสซิกาจริง แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดว่า เชื้อสามารถติดต่อกันได้อย่างไร
ซีดีซี แถลงเมื่อเดือนที่แล้วว่า ได้รับแจ้งกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และอีกรายหนึ่งที่พบว่าเชื้อยังปรากฏอยู่ใน “น้ำอสุจิ” ทั้งที่ตรวจเลือดไม่พบแล้ว
ไวรัสซิกาซึ่งถูกพบครั้งแรกในยูกันดาเมื่อปี 1947 จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และมีผื่นขึ้นตามตัว แต่สิ่งที่หน่วยงานสาธารณสุขกังวลที่สุดก็คือ ความเชื่อมโยงระหว่างไวรัสชนิดนี้กับความพิการแต่กำเนิดของทารก หลังพบว่ามีเด็กในละตินอเมริกาหลายพันคนที่เกิดมาศีรษะเล็กผิดปกติ ในช่วงเดียวกับที่ไวรัสแพร่ระบาด
นอกจากนี้ยังมีคำเตือนว่า ไวรัสซิกาอาจทำให้เกิดโรค Guillain-Barre syndrome หรือกลุ่มอาการจีบีเอส ซึ่งเป็นภาวะการอักเสบของเส้นประสาทหลายๆ เส้นพร้อมกัน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน หรืออาจถึงขั้นเป็นอัมพาต
ที่ผ่านมาเป็นที่เข้าใจกันว่า ไวรัสซิกามี “ยุงลายบ้าน” ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนเป็นพาหะ ซึ่งทำให้ประเทศในเขตอากาศอบอุ่นพอจะเบาใจได้บ้าง แต่หากไวรัสสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย การรับมือวิกฤตสาธารณสุขครั้งนี้ก็จะยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก
“ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ” ปีเตอร์ ฮอร์บี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อชนิดใหม่ๆ และสาธารณสุขโลก จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระบุ
“มีความเสี่ยงหรือไม่ที่จะติดเชื้อ หากไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ? เชื้อจะอยู่ในสเปิร์มของผู้ป่วยนานแค่ไหน? คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เรายังมีความรู้เท่าทันไวรัสชนิดนี้น้อยมาก”
ข้อมูลล่าสุดนี้นับว่าน่ากังวลไม่น้อยสำหรับสหรัฐฯ แคนาดา และยุโรป ซึ่งที่ผ่านมายังพบเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อจากการเดินทางไปในกลุ่มประเทศที่มีการแพร่ระบาดเท่านั้น
“สำนักงานบริการสาธารณสุขประจำเทศมณฑลดัลลัส ได้รับคำยืนยันจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ว่า พบผู้ป่วยรายแรกที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่เทศมณฑลดัลลัส ในปี 2016” คำแถลงดังกล่าว ระบุ
“ผู้ป่วยได้รับเชื้อหลังมีกิจกรรมทางเพศกับบุคคลซึ่งล้มป่วยหลังเดินทางกลับจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้กำลังแพร่ระบาด”
เทศมณฑลดัลลัสได้แถลงเพิ่มเติมผ่านทวิตเตอร์ว่า ผู้ป่วยรายนี้ได้รับเชื้อต่อจากบุคคลที่เพิ่งเดินทางกลับจากเวเนซุเอลา นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยที่ “นำเข้า” เชื้อจากเวเนซุเอลาเป็นรายที่ 2 ด้วย
โฆษกซีดีซีให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่า ทางศูนย์ยืนยันว่าผู้ป่วยคนดังกล่าวติดเชื้อไวรัสซิกาจริง แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดว่า เชื้อสามารถติดต่อกันได้อย่างไร
ซีดีซี แถลงเมื่อเดือนที่แล้วว่า ได้รับแจ้งกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และอีกรายหนึ่งที่พบว่าเชื้อยังปรากฏอยู่ใน “น้ำอสุจิ” ทั้งที่ตรวจเลือดไม่พบแล้ว
ไวรัสซิกาซึ่งถูกพบครั้งแรกในยูกันดาเมื่อปี 1947 จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และมีผื่นขึ้นตามตัว แต่สิ่งที่หน่วยงานสาธารณสุขกังวลที่สุดก็คือ ความเชื่อมโยงระหว่างไวรัสชนิดนี้กับความพิการแต่กำเนิดของทารก หลังพบว่ามีเด็กในละตินอเมริกาหลายพันคนที่เกิดมาศีรษะเล็กผิดปกติ ในช่วงเดียวกับที่ไวรัสแพร่ระบาด
นอกจากนี้ยังมีคำเตือนว่า ไวรัสซิกาอาจทำให้เกิดโรค Guillain-Barre syndrome หรือกลุ่มอาการจีบีเอส ซึ่งเป็นภาวะการอักเสบของเส้นประสาทหลายๆ เส้นพร้อมกัน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน หรืออาจถึงขั้นเป็นอัมพาต
ที่ผ่านมาเป็นที่เข้าใจกันว่า ไวรัสซิกามี “ยุงลายบ้าน” ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนเป็นพาหะ ซึ่งทำให้ประเทศในเขตอากาศอบอุ่นพอจะเบาใจได้บ้าง แต่หากไวรัสสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย การรับมือวิกฤตสาธารณสุขครั้งนี้ก็จะยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก
“ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ” ปีเตอร์ ฮอร์บี อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อชนิดใหม่ๆ และสาธารณสุขโลก จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระบุ
“มีความเสี่ยงหรือไม่ที่จะติดเชื้อ หากไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ? เชื้อจะอยู่ในสเปิร์มของผู้ป่วยนานแค่ไหน? คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เรายังมีความรู้เท่าทันไวรัสชนิดนี้น้อยมาก”