xs
xsm
sm
md
lg

ผู้รู้ชี้เหตุโจมตีล่าสุดฉีกหน้าปากีสถาน ย้ำความล้มเหลวแผนปราบก่อการร้าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>บรรดาญาติและชาวเมืองช่วยกันแบกโลกศพเหยื่อเหตุการณ์มือปืนบุกกราดยิงมหาวิทยาลัยบาชา ข่าน เพื่อนำไปฝังตามประเพณีอิสลาม ในเมืองชาร์ซัดดา วันที่ 21 ม.ค. -- Agence France-Presse/Aamir Qureshi.</font></b>
เอเอฟพี - ปากีสถานไว้อาลัยเหยื่อ 21 ชีวิตจากเหตุการณ์มือปืนพร้อมอาวุธหนักบุกกราดยิงมหาวิทยาลัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นการฟ้องความล้มเหลวของแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อปราบปรามลัทธิหัวรุนแรงของรัฐบาล รวมทั้งยังเป็นการส่งสารโดยตรงจากตอลิบานว่า แม้ถูกกดดันอย่างหนักแต่ก็ยังสามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการได้

ช่วงเช้าวันพฤหัสฯ (21 ม.ค.) ตำรวจติดอาวุธซึ่งมีบางส่วนเฝ้าระวังอยู่บนดาดฟ้าอาคาร ยังประจำการณ์อยู่ในมหาวิทยาลัยบาชา ข่านในเมืองชาร์ซัดดา ที่เกิดเหตุโจมตีของกลุ่มมือปืนที่พกพาระเบิดและปืนอัตโนมัติเมื่อวันพุธ (20)

ขณะเดียวกัน กองกำลังความมั่นคงยังคงเฝ้าระวัง หลังจากตำรวจล้มแผนการโจมตีด้วยระเบิดที่ท่ารถที่มีคนพลุกพล่านแห่งหนึ่งใกล้เมืองเปชาวาร์เมื่อเช้าวันพฤหัสฯ

ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากทั้งหมด 21 ราย ถูกนำไปฝังหลังเหตุโจมตีไม่นานตามประเพณีอิสลาม โดยเมื่อคืนวันพุธ นักศึกษาที่ได้รับบาดเจ็บคนหนึ่งเสียชีวิตและจะมีพิธีศพในช่วงเย็นวันพฤหัสฯ ขณะที่มีประชาชนราว 1,000 คนจากหมู่บ้านใกล้เคียง เดินทางไปร่วมพิธีศพนักการภารโรงคนหนึ่งที่เสียชีวิตจากเหตุโจมตีดังกล่าว ที่จัดขึ้นในวันพฤหัสฯ เช่นเดียวกัน

อนึ่ง สำนักนายกรัฐมนตรีปากีสถานสั่งการให้อาคารรัฐบาลทุกแห่งทั้งในและนอกประเทศลดธงลงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต โดยจะมีพิธีสวดมนตร์ในกรุงอิสลามาบัด

นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟ ประกาศตอบโต้ “อย่างไร้ความปรานี” และสั่งให้หน่วยงานความมั่นคงออกตามล่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุสังหารหมู่ครั้งล่าสุด ซึ่งคาลิฟา อูมาร์ มานซูร์ หัวหน้านักรบกลุ่มฮากิมุลลาห์ เมห์ซุด ของกลุ่มตอลิบานปากีสถาน (ทีทีพี) ออกมาอ้างความรับผิดชอบ ทว่า ในเวลาต่อมา มูฮัมหมัด คูราซานี โฆษกของกลุ่มทีทีพี ได้ออกคำแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรปฏิเสธไม่ได้เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุคราวนี้ อีกทั้งเรียกการกระทำนี้ว่า “เป็นการโจมตีที่ไม่ใช่อิสลาม”

ทางด้านหน่วยงานความมั่นคงแสดงความหวังว่าจะสามารถระบุตัวตนของมือปืนทั้งสี่คนที่ถูกยิงเสียชีวิตในที่เกิดเหตุได้ในเร็วๆ นี้

เหตุการณ์โจมตีเมื่อวันพุธกระตุ้นความทรงจำเลวร้ายถึงการโจมตีโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเปชาวาร์เมื่อเดือนธันวาคม 2014 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 150 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก และลักษณะการก่อเหตุที่คล้ายคลึงกันนี้ตอกย้ำความล้มเหลวของแผนการริเริ่มของรัฐบาลและกองทัพปากีสถานที่ออกมาเพื่อตอบโต้การลอบโจมตีสถาบันการศึกษาภายใต้การดูแลของกองทัพ
.
<br><FONT color=#000033>ชาวปากีสถานรวมตัวสวดให้เหยื่อเหตุการณ์มือปืนบุกกราดยิงมหาวิทยาลัยบาชา ข่าน ระหว่างชุมนุมประท้วงในเมืองเปชาวาร์ วันที่ 21 ม.ค. -- Agence France-Presse/Hasham Ahmed.</font></b>
<br><FONT color=#000033>ตำรวจปากีสถานยืนรักษาความปลอดภัยอยู่ด้านหน้าโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเปชาวาร์ หนึ่งวันหลังเกิดเหตุโจมตีที่มหาวิทยาลัยบาชา ข่าน. -- Agence France-Presse/Hasham Ahmed.</font></b>
.
“มันเกิดขึ้นอีกแล้ว” ซาฮีรุดดิน พ่อของนักเรียนคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่มือปืนตอลิบานบุกโจมตีโรงเรียนในเปชาวาร์เมื่อกว่าปี ปรารภและว่า รัฐบาลล้มเหลวในการคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชน

การสังหารหมู่ที่เปชาวาร์ครั้งนั้น ทำให้กองทัพลุกขึ้นมาปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรงในเขตพื้นที่ชนเผ่าอย่างดุเดือด และเพิ่งประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า สามารถสังหารนักรบหัวรุนแรงได้นับพัน

ขณะที่รัฐบาลประกาศแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อต่อสู้ลัทธิก่อการร้าย ซึ่งรวมถึงการตั้งศาลทหารและฟื้นโทษประหารชีวิตหลังจากระงับไป 6 ปีเต็ม

การดำเนินการทั้งของกองทัพและรัฐบาลส่งผลให้ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่มีเหตุโจมตีนองเลือดน้อยที่สุดนับจากการก่อตั้งทีพีพีในปี 2007

กระนั้น ซาอัด ข่าน อดีตนายพลจัตวาและนักวิเคราะห์อาวุโส ชี้ว่า เหตุโจมตีครั้งล่าสุดเป็นการส่งสารจากตอลิบานว่า แม้ถูกกดดันอย่างหนัก แต่ผู้ก่อการร้ายกลุ่มนี้ยังสามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการได้ รวมทั้งยังปลุกเร้าความรู้สึกต่อต้านรัฐบาล ที่ก่อนหน้านี้อวดอ้างว่า สามารถจัดการผู้ก่อการร้ายอยู่หมัด

เช่นเดียวกัน ทาลัต มาซูด นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมและความมั่นคง มองว่า รัฐบาลและกองทัพล้มเหลวในการกวาดล้างลัทธิหัวรุนแรง เห็นได้จากการโจมตีครั้งล่าสุดที่เป็นรูปแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นที่เปชาวาร์ กล่าวคือกลุ่มก่อการร้ายมองหาเป้าหมายที่เป็นพลเรือน โดยเฉพาะบริเวณใกล้พรมแดนติดกับอัฟกานิสถาน

รัฐบาลปากีสถานยังถูกวิจารณ์ว่า ไม่ได้พยายามมากพอในประเด็นสำคัญหลายอย่าง อาทิ การควบคุมดูแลโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่มีอยู่นับพันแห่ง และถูกมองว่า เป็นแหล่งเพาะพันธุ์การต่อต้านรัฐบาล ขณะที่การฟื้นโทษประหารชีวิตถูกนักเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิมนุษยชนโจมตีว่า นักโทษส่วนใหญ่จากกว่า 300 คนที่ถูกประหารในปีที่ผ่านมา ไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิสุดโต่งแต่อย่างใด

นอกจากนั้น ผู้สังเกตการณ์ อาทิ สถาบันเพื่อการศึกษาสันติภาพของปากีสถานยังระบุว่า โทษปรหารไม่สามารถทำให้นักรบหัวรุนแรงกลัวเกรงได้ เนื่องจากคนเหล่านั้นพร้อมที่จะตายเพื่ออุดมการณ์หรือความเชื่อของตนเองอยู่แล้ว.
กำลังโหลดความคิดเห็น