xs
xsm
sm
md
lg

ทางการพม่าชี้เหตุการณ์โจมตีฐานชายแดนรัฐยะไข่ โยงกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 14 ต.ค.และเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ต.ค. โดยสำนักงานประธานาธิบดีพม่าเผยให้เห็น นางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ (หน้าขวา) เดินลงบันไดพร้อมกับพล.อ.อาวุโส มิน ออง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเจ้าหน้าที่ทหารอื่นๆ หลังประชุมความมั่นคงในกรุงเนปีดอ เกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่. -- Agence France-Presse/Presidents Office.</font></b>

รอยเตอร์ - รัฐบาลพม่ากล่าวเมื่อวันศุกร์ (15) ว่า กลุ่มที่ได้แรงบันดาลใจจากกลุ่มกองกำลังชาวมุสลิม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีฐานชายแดนตำรวจในรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ขณะที่เจ้าหน้าที่ระบุว่า มีความวิตกว่าจะมีเหตุความไม่สงบรอบใหม่โดยสมาชิกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา

ความรุนแรงที่ยกระดับขึ้นอย่างฉับพลันในรัฐยะไข่ก่อให้เกิดความท้าทายอย่างร้ายแรงต่อรัฐบาลของนางอองซานซูจี ที่บริหารประเทศมาได้เพียง 6 เดือน แต่เผชิญต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากต่างชาติถึงความล้มเหลวที่จะจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงญา และชาวมุสลิมอื่นๆ

คำแถลงจากสำนักงานประธานาธิบดีถิ่น จอ ได้กล่าวโทษกลุ่มที่รู้จักในชื่อ “Aqa Mul Mujahidin” จากการโจมตีเมื่อไม่นานนี้ทั่วเมืองหม่องดอ พื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมใกล้กับบังกลาเทศ

“พวกเขาชักชวนคนหนุ่มสาวด้วยการใช้แนวคิดสุดโต่งทางศาสนา และพวกเขาได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากภายนอก" คำแถลงภาษาพม่า ระบุ

"พวกเขาแพร่ภาพวิดีโอบนอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกับกลุ่มไอเอส กลุ่มตอลิบาน และอัลกออิดะห์ ในตอนนี้พวกเขามีผู้ก่อการจลาจล 400 คน ต่อสู้ในเมืองหม่องดอ”

คลิปวิดีโอหลายชิ้นแสดงให้เห็นกลุ่มชายติดอาวุธพูดด้วยภาษาที่ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ใช้แพร่อยู่บนสื่อออนไลน์ในสัปดาห์นี้ แต่รอยเตอร์ยังไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของวิดีโอได้

ชาวโรฮิงญาราว 1.1 ล้านคนที่อาศัยในรัฐยะไข่ เผชิญต่อการเลือกปฏิบัติ ข้อจำกัดเข้มงวดต่อการเคลื่อนไหว และการเข้าถึงบริการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ความรุนแรงระหว่างชุมชนในปี 2555 ที่ทำให้ผู้คนราว 125,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย

ชาวโรฮิงญาไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ 135 กลุ่มที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในพม่า ที่หลายคนในประเทศมองว่า กลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

อองซานซูจี ที่ถูกห้ามจากการทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ แต่นำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกของพม่าในรอบหลายทศวรรษ ในฐานะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ได้แต่งตั้ง นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะที่มีหน้าที่เสนอทางแก้ไขปัญหาของรัฐยะไข่

เป มี้น รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารที่เดินทางลงพื้นที่เมืองหม่องดอในสัปดาห์นี้ กล่าวว่า การยกระดับของความรุนแรงอาจกระทบการทำงานที่กำลังดำเนินอยู่ในรัฐยะไข่

“ก่อนหน้านี้มีเหตุจลาจล และความขัดแย้งระหว่างชุมชน ในตอนนี้เป็นปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธ” เป มี้น กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในเมืองสิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ เมื่อวันศุกร์ (14)

“ธรรมชาติของความขัดแย้งได้เปลี่ยนแปลงไป”

เจ้าหน้าที่ได้กล่าวว่า ชายหลายร้อยคน บางคนมีอาวุธปืน บางคนมีดาบ และไม้ เปิดการโจมตีที่มีการประสานงานกันยังฐานชายแดน 3 แห่ง ในช่วงรุ่งเช้าของวันที่ 9 ต.ค. ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 9 นาย และได้รับบาดเจ็บ 5 นาย

และในการตอบโต้ต่อเหตุการณที่เกิดขึ้น กองทัพได้ส่งกองกำลังทหารเข้าไปในรัฐยะไข่เพื่อค้นหาผู้ก่อเหตุโจมตี ที่ยังได้ยึดอาวุธ และกระสุนมากกว่า 10,000 นัดไปด้วย

อองซานซูจี กล่าวว่า กองกำลังรักษาความปลอดภัยใช้ความระมัดระวัง และปฏิบัติตามกฎหมายในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ แต่ฝ่ายบริหารไม่ได้กำกับดูแลกองทัพ ที่กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็น “เขตปฏิบัติการ”

ประชาชนอย่างน้อย 26 คน ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสังหาร ในสิ่งที่สื่อของทางการระบุว่า เป็นการปะทะกันเล็กน้อยกับผู้โจมตี และมีทหารเสียชีิวิต 4 นาย

ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า พวกเขามีหลักฐานว่าการวิสามัญฆาตกรรมอาจเกิดขึ้น ขณะที่นักวิจัยและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ในรัฐยะไข่ได้รายงานว่า ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะหันไปพึ่งความรุนแรง

“เราไม่ชื่นชมการก่อการร้าย มันไม่ใช่ทางแก้ปัญหา” กอ หล่า อ่อง ผู้นำชุมชนชาวโรฮิงญาในเมืองสิตตเว กล่าว

คำแถลงจากสำนักงานประธานาธิบดีพม่า ระบุว่า การสอบสวนผู้ต้องหาที่จับตัวได้หลังการโจมตีได้เผยความเชื่อมโยงกับกลุ่มต่อสู้ในปากีสถาน

ผู้นำกลุ่ม อายุ 45 ปี อาศัยอยู่ในบังกลาเทศ และใช้เวลา 6 เดือน ฝึกฝนกับกลุ่มตอลิบานปากีสถาน คำแถลงระบุ

คำแถลงเสริมว่า กลุ่ม Aqa Mul Mujahidin ที่ชื่อนี้ไม่สามารถพบได้ในรายงานข่าวออนไลน์ใดๆ ก่อนหน้านี้ มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มองค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮิงญา (RSO)

หนังสือพิมพ์เมียวดีของกองทัพพม่ารายงานว่า ทหารได้ค้นพบธง RSO และป้าย RSO ในเมืองหม่องดอ

และในคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่โพสต์บนอินเทอร์เน็ต ปรากฏชายแต่งกายด้วยชุดดำเรียกร้องให้ชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ออกมาร่วมทำญิฮาด และในคลิปวิดีโอชิ้นที่ 2 เป็นชายคนเดียวกันได้กล่าวถึงเฮลิคอปเตอร์ทหารของพม่าที่กำลังออกล่าผู้ก่อเหตุ และสนับสนุนให้กลุ่มชายติดอาวุธรอบตัวยินดีต่อการตายเพื่อปกป้องศาสนา

ส่วนวิดีโอชิ้นที่ 3 เผยให้เห็นกลุ่มชายพร้อมดาบ และปืนไรเฟิลเดินเรียงแถวยาว ซึ่งอาวุธที่ปรากฏในคลิปวิดีโอนี้ ตรงกับผู้โจมตีที่ยึดไปจากตำรวจชายแดน เจ้าหน้าที่พม่า ระบุ.
.
<br><FONT color=#000033>ตำรวจชายแดนพม่าเดินลาดตระเวนตามแนวแม่น้ำที่กั้นกลางระหว่างพม่าและบังกลาเทศ ในเมืองหม่องดอ รัฐยะไข่. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจออกปฏิบัติการค้นหาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองหม่องดอ. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>กองกำลังทหารและตำรวจเดินทางด้วยรถบรรทุกเข้าไปในเมืองหม่องดอ หลังรัฐบาลประกาศว่ากลุ่มก่อการร้ายอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีหลายระลอก. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศพม่าบินอยู่เหนือหมู่บ้านจีกานเปง ในเมืองหม่องดอ รัฐยะไข่. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
<br><FONT color=#000033>ซากบ้านที่ถูกเผาทำลายของหมู่บ้านชาวมุสลิมในเมืองหม่องดอ. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น