China’s Haier buys GE’s appliance business in $5.4 billion deal
By Asia Unhedged/DW/AFP
15/01/2016
ไฮเออร์ บริษัทยักษ์จีนทางด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายบ้าน เดินหน้าไปก้าวใหญ่ในเส้นทางขึ้นสู่การเป็นชื่อที่ติดปากครัวเรือนทั่วโลก เมื่อประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อธุรกิจด้านนี้ของ เจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) แห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี ในราคา 5,400 ล้านดอลลาร์
กลุ่มไฮเออร์ ((Haier)) ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านรายใหญ่ที่สุดของโลกอยู่แล้ว สามารถเดินหน้าไปได้ก้าวใหญ่เมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) ในการเสริมความหนักแน่นแข็งแกร่งให้แก่ “ฟุตพรินต์” ของตนเองในตลาดทั่วโลก หลังประสบความสำเร็จในการเทคโอเวอร์ธุรกิจด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเจเนอรัล อิเล็กทริก (General Electric หรือ GE) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมสัญชาติสหรัฐฯ
ข้อตกลงคราวนี้ที่มีมูลค่า 5,400 ล้านดอลลาร์ (ราว 197,100 ล้านบาท) นับเป็นดีลที่บริษัทจีนซื้อกิจการบริษัทอเมริกัน ซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดดีลหนึ่งเท่าที่มีมาจนถึงขณะนี้ นอกจากนั้นเรื่องนี้ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าไฮเออร์เดินทางได้มาไกลลิบขนาดไหน จากวันเวลาอันต่ำต้อยของตนในขณะเป็นบริษัทเริ่มต้นใหม่ซึ่งเติบโตมาจากโรงงานตู้เย็นที่ใกล้จะล้มละลายเมื่อ 30 ปีก่อน ทุกวันนี้ บริษัทแห่งนี้เป็นผู้ควบคุมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั่วโลกเอาไว้มากกว่า 10% และทำรายได้ได้ถึง 32,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2014
แน่นอนทีเดียวที่ความเคลื่อนไหวคราวนี้จะต้องเป็นที่ชื่นชอบของรัฐบาลจีน ซึ่ง ไฮเออร์ มีความผูกพันเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยที่ทางการแดนมังกรกำลังพยายามปรับสมดุลเศรษฐกิจของตนให้เน้นหนักการบริโภคเพิ่มมากขึ้น และถอยห่างออกจากโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตที่เอาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาครัฐเป็นตัวผลักดัน
จีอีปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนัก
ในด้านของ จีอี การขายกิจการคราวนี้ถือเป็นจังหวะก้าวเดินก้าวล่าสุดของซีอีโอ เจฟฟ์ อิมเมลต์ (Jeff Immelt) ในเส้นทางหวนกลับคืนสู่รากเหง้าทางอุตสาหกรรมของบริษัทเก่าแก่อายุ 123 ปีแห่งนี้ อีกทั้งปรับโฟกัสใหม่ไปเน้นหนักที่พวกอุตสาหกรรมซึ่งใช้เทคโนโลยีอันก้าวหน้าตลอดจนการผลิตที่ล้ำสมัย ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อิมเมลต์ได้ปล่อยขายหน่วยกิจการจำนวนหนึ่งซึ่งบริษัทได้ซื้อหาสะสมรวบรวมมาตั้งแต่ในทศวรรษ 1990 กิจการเหล่านี้อยู่ในแวดวงหลายหลากตั้งแต่ การเงินเพื่อผู้บริโภค, สื่อ, และพลาสติก
จีอีแถลงว่า การขายกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านคราวนี้ ได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมการบริหารทั้งของจีอีและของไฮเออร์แล้ว แต่ยังต้องรอการอนุมัติของผู้ถือหุ้นไฮเออร์ ตลอดจนจากหน่วยงานกำกับตรวจสอบของทางการ
อันที่จริงแล้ว ไฮเออร์ไม่ได้เป็นทางเลือกอันดับแรกของจีอีแต่อย่างใด คู่แข่งสำคัญสัญชาติสวีเดนอย่าง อีเลคโทรลักซ์ ต่างหากที่เดินหน้าเซ็นข้อตกลงซื้อขายมูลค่า 3,300 ล้านดอลลาร์กับจีอีแล้วด้วยซ้ำ แต่แล้วกลับถูกหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐฯยับยั้งไว้ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการส่งมอบส่วนแบ่งราว 40% ของตลาดสหรัฐฯให้แก่ผู้ผลิตที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงสต็อกโฮล์มรายนี้
ด้วยความหวังที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการซ้ำรอยอีก หลังจากนั้นมา อิมเมลต์ จึงมุ่งจับจ้องมองไปยังเอเชีย ซึ่งมีโอกาสสูงกว่ามากที่จะค้นหาผู้ซื้อที่น่าจะได้รับการอนุมัติจากวอชิงตัน
ไฮเออร์กับความหวังที่จะเป็น “แบรนด์ของโลก”
สำหรับไฮเออร์แล้ว ข้อเสนอนี้เป็นการหนุนเสริมความทะเยอทะยานของตนที่จะก้าวขึ้นเป็น “แบรนด์ของโลก” นอกจากนั้นยังจะเป็นโอกาสให้ได้รับที่ยืนอันมั่นคงในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของสหรัฐฯ จากที่ปัจจุบันนี้ไฮเออร์ช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์มาได้เพียงแค่ราว 1% เท่านั้น
“ข้อตกลงคราวนี้จะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มีคุณภาพสูงขึ้นและหลากหลายมากขึ้น สำหรับให้ผู้บริโภคทั้งหลายของโลกได้เลือกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น” ไฮเออร์กล่าวในคำแถลงซึ่งออกมาภายหลังประกาศข่าวการเข้าซื้อเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.)
ไฮเออร์ และ จีอี ยังแถลงด้วยว่า พวกเขาตกลงที่จะก่อตั้งความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน เพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต, การดูแลรักษาสุขภาพ, และการผลิตระดับก้าวหน้าล้ำสมัย
ซีอีโอ อิมเมลต์ ของจีอี กล่าวยกย่องข้อตกลงครั้งนี้ว่า “เป็นดีลที่ดีซึ่งจะให้ประโยชน์ทั้งแก่นักลงทุนของเรา ลูกค้าของเรา และพนักงานของเรา”
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไฮเออร์เข้าเทคโอเวอร์กิจการของบริษัทต่างประเทศ เมื่อปี 2011 บริษัทก็ได้ซื้อกิจการด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภคของบริษัทซันโย แห่งญี่ปุ่นมาแล้ว
ทำความรู้จัก “ไฮเออร์”
กลุ่มไฮเออร์ในปัจจุบันมีฐานะเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน บริษัทเติบโตผงาดขึ้นมาจาก โรงงานตู้เย็นชิงเต่า (Qingdao Refrigerator Factory) ในเมืองชิงเต่า ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางภาคตะวันออกของจีน จาง รุ่ยหมิน (Zhang Ruimin) ซีอีโอของกลุ่มไฮเออร์ ได้รับแต่งตั้งให้ไปบริหารโรงงานแห่งนี้เมื่อตอนกลางทศวรรษ 1980
จางกลายเป็นคนดังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง จากการแสดงปฏิกิริยาของเขาต่อเสียงร้องเรียนของลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งทำให้เขาเข้าตรวจสอบโกดังของบริษัทและพบว่ามีตู้เย็น 76 ตู้จากกว่า 400 ตู้ที่อยู่ในสต็อก เป็นสินค้าที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน
เขาออกคำสั่งให้พนักงานของเขาทุบตู้เย็นแย่ๆ เหล่านั้นทิ้งเป็นเศษเหล็ก โดยที่ตัวเขาเองเป็นผู้นำถือค้อนทำการทุบทิ้ง
“ถ้าผมยอมให้เอาตู้เย็น 76 ตู้นี้ออกไปขาย ย่อมเป็นการส่อแสดงเป็นนัยๆ ว่า ผมจะยินยอมปล่อยให้โรงงานทำการผลิตตู้เย็นคุณภาพไม่ได้มาตรฐานแบบนี้ 760 ตู้หรือกระทั่ง 7,600 ตู้ในวันพรุ่งนี้นั่นเอง” เขากล่าวอธิบายเอาไว้เช่นนี้ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวา
ซินหวายังระบุว่า อุปกรณ์ที่ จาง ใช้ในการทุบทำลายตู้เย็นในครั้งนั้น เวลานี้ถูกนำมาตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ระดับชาติแห่งหนึ่ง
วิธีการบริหารจัดการต่างๆ ของไฮเออร์ ได้ถูกนำมาศึกษากันตามสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาฮาร์วาร์ดด้วย ถึงแม้เรื่องโครงสร้างความเป็นเจ้าของของบริษัทแห่งนี้มีลักษณะอย่างไรแน่ๆ ยังคงเป็นสิ่งที่คลุมเครือไร้ความชัดเจน
โดยทางการแล้ว กลุ่มนี้แบ่งออกเป็นหน่วยธุรกิจหลายๆ หน่วยซึ่งมีหลายๆ บุคคลเป็นเจ้าของร่วมกัน ในบรรดากิจการในเครือของไฮเออร์ มีอยู่ 2 บริษัทซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนมีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ ไฮเออร์ อิเล็กทรอนิกส์ (Haier Electronics) ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง และ ชิงเต่า ไฮเออร์ (Qingdao Haier) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ โดยบริษัทแห่งหลังนี้เองที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าซื้อกิจการด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของจีอี
ไฮเออร์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยที่ จาง รุ่ยหมิน เป็นกรรมการสำรองคนหนึ่ง ในคณะกรรมการกลางของพรรคชุดปัจจุบัน
By Asia Unhedged/DW/AFP
15/01/2016
ไฮเออร์ บริษัทยักษ์จีนทางด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายบ้าน เดินหน้าไปก้าวใหญ่ในเส้นทางขึ้นสู่การเป็นชื่อที่ติดปากครัวเรือนทั่วโลก เมื่อประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อธุรกิจด้านนี้ของ เจเนอรัล อิเล็กทริก (จีอี) แห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี ในราคา 5,400 ล้านดอลลาร์
กลุ่มไฮเออร์ ((Haier)) ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านรายใหญ่ที่สุดของโลกอยู่แล้ว สามารถเดินหน้าไปได้ก้าวใหญ่เมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.) ในการเสริมความหนักแน่นแข็งแกร่งให้แก่ “ฟุตพรินต์” ของตนเองในตลาดทั่วโลก หลังประสบความสำเร็จในการเทคโอเวอร์ธุรกิจด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเจเนอรัล อิเล็กทริก (General Electric หรือ GE) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมสัญชาติสหรัฐฯ
ข้อตกลงคราวนี้ที่มีมูลค่า 5,400 ล้านดอลลาร์ (ราว 197,100 ล้านบาท) นับเป็นดีลที่บริษัทจีนซื้อกิจการบริษัทอเมริกัน ซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดดีลหนึ่งเท่าที่มีมาจนถึงขณะนี้ นอกจากนั้นเรื่องนี้ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าไฮเออร์เดินทางได้มาไกลลิบขนาดไหน จากวันเวลาอันต่ำต้อยของตนในขณะเป็นบริษัทเริ่มต้นใหม่ซึ่งเติบโตมาจากโรงงานตู้เย็นที่ใกล้จะล้มละลายเมื่อ 30 ปีก่อน ทุกวันนี้ บริษัทแห่งนี้เป็นผู้ควบคุมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั่วโลกเอาไว้มากกว่า 10% และทำรายได้ได้ถึง 32,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2014
แน่นอนทีเดียวที่ความเคลื่อนไหวคราวนี้จะต้องเป็นที่ชื่นชอบของรัฐบาลจีน ซึ่ง ไฮเออร์ มีความผูกพันเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยที่ทางการแดนมังกรกำลังพยายามปรับสมดุลเศรษฐกิจของตนให้เน้นหนักการบริโภคเพิ่มมากขึ้น และถอยห่างออกจากโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตที่เอาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาครัฐเป็นตัวผลักดัน
จีอีปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนัก
ในด้านของ จีอี การขายกิจการคราวนี้ถือเป็นจังหวะก้าวเดินก้าวล่าสุดของซีอีโอ เจฟฟ์ อิมเมลต์ (Jeff Immelt) ในเส้นทางหวนกลับคืนสู่รากเหง้าทางอุตสาหกรรมของบริษัทเก่าแก่อายุ 123 ปีแห่งนี้ อีกทั้งปรับโฟกัสใหม่ไปเน้นหนักที่พวกอุตสาหกรรมซึ่งใช้เทคโนโลยีอันก้าวหน้าตลอดจนการผลิตที่ล้ำสมัย ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อิมเมลต์ได้ปล่อยขายหน่วยกิจการจำนวนหนึ่งซึ่งบริษัทได้ซื้อหาสะสมรวบรวมมาตั้งแต่ในทศวรรษ 1990 กิจการเหล่านี้อยู่ในแวดวงหลายหลากตั้งแต่ การเงินเพื่อผู้บริโภค, สื่อ, และพลาสติก
จีอีแถลงว่า การขายกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านคราวนี้ ได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมการบริหารทั้งของจีอีและของไฮเออร์แล้ว แต่ยังต้องรอการอนุมัติของผู้ถือหุ้นไฮเออร์ ตลอดจนจากหน่วยงานกำกับตรวจสอบของทางการ
อันที่จริงแล้ว ไฮเออร์ไม่ได้เป็นทางเลือกอันดับแรกของจีอีแต่อย่างใด คู่แข่งสำคัญสัญชาติสวีเดนอย่าง อีเลคโทรลักซ์ ต่างหากที่เดินหน้าเซ็นข้อตกลงซื้อขายมูลค่า 3,300 ล้านดอลลาร์กับจีอีแล้วด้วยซ้ำ แต่แล้วกลับถูกหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐฯยับยั้งไว้ เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการส่งมอบส่วนแบ่งราว 40% ของตลาดสหรัฐฯให้แก่ผู้ผลิตที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงสต็อกโฮล์มรายนี้
ด้วยความหวังที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการซ้ำรอยอีก หลังจากนั้นมา อิมเมลต์ จึงมุ่งจับจ้องมองไปยังเอเชีย ซึ่งมีโอกาสสูงกว่ามากที่จะค้นหาผู้ซื้อที่น่าจะได้รับการอนุมัติจากวอชิงตัน
ไฮเออร์กับความหวังที่จะเป็น “แบรนด์ของโลก”
สำหรับไฮเออร์แล้ว ข้อเสนอนี้เป็นการหนุนเสริมความทะเยอทะยานของตนที่จะก้าวขึ้นเป็น “แบรนด์ของโลก” นอกจากนั้นยังจะเป็นโอกาสให้ได้รับที่ยืนอันมั่นคงในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของสหรัฐฯ จากที่ปัจจุบันนี้ไฮเออร์ช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์มาได้เพียงแค่ราว 1% เท่านั้น
“ข้อตกลงคราวนี้จะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มีคุณภาพสูงขึ้นและหลากหลายมากขึ้น สำหรับให้ผู้บริโภคทั้งหลายของโลกได้เลือกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น” ไฮเออร์กล่าวในคำแถลงซึ่งออกมาภายหลังประกาศข่าวการเข้าซื้อเมื่อวันศุกร์ (15 ม.ค.)
ไฮเออร์ และ จีอี ยังแถลงด้วยว่า พวกเขาตกลงที่จะก่อตั้งความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน เพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ อย่างเช่น อินเทอร์เน็ต, การดูแลรักษาสุขภาพ, และการผลิตระดับก้าวหน้าล้ำสมัย
ซีอีโอ อิมเมลต์ ของจีอี กล่าวยกย่องข้อตกลงครั้งนี้ว่า “เป็นดีลที่ดีซึ่งจะให้ประโยชน์ทั้งแก่นักลงทุนของเรา ลูกค้าของเรา และพนักงานของเรา”
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไฮเออร์เข้าเทคโอเวอร์กิจการของบริษัทต่างประเทศ เมื่อปี 2011 บริษัทก็ได้ซื้อกิจการด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภคของบริษัทซันโย แห่งญี่ปุ่นมาแล้ว
ทำความรู้จัก “ไฮเออร์”
กลุ่มไฮเออร์ในปัจจุบันมีฐานะเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน บริษัทเติบโตผงาดขึ้นมาจาก โรงงานตู้เย็นชิงเต่า (Qingdao Refrigerator Factory) ในเมืองชิงเต่า ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางภาคตะวันออกของจีน จาง รุ่ยหมิน (Zhang Ruimin) ซีอีโอของกลุ่มไฮเออร์ ได้รับแต่งตั้งให้ไปบริหารโรงงานแห่งนี้เมื่อตอนกลางทศวรรษ 1980
จางกลายเป็นคนดังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง จากการแสดงปฏิกิริยาของเขาต่อเสียงร้องเรียนของลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งทำให้เขาเข้าตรวจสอบโกดังของบริษัทและพบว่ามีตู้เย็น 76 ตู้จากกว่า 400 ตู้ที่อยู่ในสต็อก เป็นสินค้าที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน
เขาออกคำสั่งให้พนักงานของเขาทุบตู้เย็นแย่ๆ เหล่านั้นทิ้งเป็นเศษเหล็ก โดยที่ตัวเขาเองเป็นผู้นำถือค้อนทำการทุบทิ้ง
“ถ้าผมยอมให้เอาตู้เย็น 76 ตู้นี้ออกไปขาย ย่อมเป็นการส่อแสดงเป็นนัยๆ ว่า ผมจะยินยอมปล่อยให้โรงงานทำการผลิตตู้เย็นคุณภาพไม่ได้มาตรฐานแบบนี้ 760 ตู้หรือกระทั่ง 7,600 ตู้ในวันพรุ่งนี้นั่นเอง” เขากล่าวอธิบายเอาไว้เช่นนี้ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวซินหวา
ซินหวายังระบุว่า อุปกรณ์ที่ จาง ใช้ในการทุบทำลายตู้เย็นในครั้งนั้น เวลานี้ถูกนำมาตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ระดับชาติแห่งหนึ่ง
วิธีการบริหารจัดการต่างๆ ของไฮเออร์ ได้ถูกนำมาศึกษากันตามสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาฮาร์วาร์ดด้วย ถึงแม้เรื่องโครงสร้างความเป็นเจ้าของของบริษัทแห่งนี้มีลักษณะอย่างไรแน่ๆ ยังคงเป็นสิ่งที่คลุมเครือไร้ความชัดเจน
โดยทางการแล้ว กลุ่มนี้แบ่งออกเป็นหน่วยธุรกิจหลายๆ หน่วยซึ่งมีหลายๆ บุคคลเป็นเจ้าของร่วมกัน ในบรรดากิจการในเครือของไฮเออร์ มีอยู่ 2 บริษัทซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนมีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ ไฮเออร์ อิเล็กทรอนิกส์ (Haier Electronics) ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง และ ชิงเต่า ไฮเออร์ (Qingdao Haier) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ โดยบริษัทแห่งหลังนี้เองที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าซื้อกิจการด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของจีอี
ไฮเออร์มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยที่ จาง รุ่ยหมิน เป็นกรรมการสำรองคนหนึ่ง ในคณะกรรมการกลางของพรรคชุดปัจจุบัน