(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Philippines seeks patrols with US amid sea dispute with China
By AT Editor
13/01/2016
โฆษกกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์แถลงในวันพฤหัสบดี (14 ม.ค.) ว่า แดนตากาล็อกยื่นข้อเสนอต่อสหรัฐฯ ขอให้ประเทศทั้งสองดำเนินการตรวจการณ์ทางนาวีร่วมกันในทะเลจีนใต้ ซึ่งฟิลิปปินส์และอีกหลายชาติอาเซียน กำลังมีกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนอยู่กับจีน ก่อนหน้านั้นวันเดียว โฆษกกองทัพแดนตากาล็อกก็เพิ่งเปิดเผยว่า ได้ยื่นรายชื่อสถานที่ทางทหารในฟิลิปปินส์รวม 8 แห่ง เพื่อให้สหรัฐฯเลือกใช้เป็นคลังเก็บอุปกรณ์และสัมภาระต่างๆ ตามข้อตกลงกลาโหมฉบับใหม่ระหว่างสองประเทศ ซึ่งศาลสูงสุดฟิลิปปินส์ตัดสินแล้วว่าไม่ได้ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ และมีผลบังคับใช้
ฟิลิปปินส์ยื่นคำขอต่อสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศทั้ง 2 ดำเนินการตรวจการณ์ทางนาวีร่วมกัน โฆษกกระทรวงกลาโหมแดนตากาล็อกแถลงเรื่องนี้เมื่อวันพฤหัสบดี (14 ม.ค.) ท่ามกลางกระแสคุกรุ่นของการพิพาทช่วงชิงดินแดนกับจีนในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้
รัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯและของฟิลิปปินส์ ได้พบปะหารือกันไปแล้วที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นการประชุมระดับนี้ครั้งที่ 2 ในรอบระยะเวลากว่า 3 ปี เพื่ออภิปรายปรึกษากันในประเด็นทางเศรษฐกิจการค้าและความมั่นคง โดยจุดโฟกัสสำคัญที่สุดอยู่ที่เรื่องทะเลจีนใต้
“เรากำลังเสนอแนะว่า ประเทศของพวกเราทั้งสองสามารถที่จะออกตรวจการณ์อาณาบริเวณดังกล่าวนี้ร่วมกัน” โฆษกกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ ปีเตอร์ พอล กัลเวซ (Peter Paul Galvez) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่กรุงมะนิลา พร้อมกับย้ำว่าฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ “มีความจำเป็นที่จะต้องปรากฏตัวแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นในทะเลจีนใต้”
ฟิลิปปินส์เสนอที่ตั้งทางทหาร 8 แห่งให้สหรัฐฯใช้งาน
ก่อนหน้านี้ พันเอก เรสติตูโต ปาดิญา (Colonel Restituto Padilla) โฆษกผู้หนึ่งของกองทัพฟิลิปปินส์ แถลงในวันพุธ (13 ม.ค.) ว่า แดนตากาล็อกได้ยื่นเสนอที่ตั้งทหารรวม 8 แห่งให้สหรัฐฯพิจารณา เพื่อการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ สำหรับการเก็บอุปกรณ์และสัมภาระทั้งหลาย ภายใต้ข้อตกลงความมั่นคงระหว่าง 2 ประเทศฉบับใหม่ ที่ศาลสูงสุดฟิลิปปินส์เพิ่งตัดสินว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และมีผลบังคับใช้
จีนกับฟิลิปปินส์ (รวมทั้ง บรูไน, มาเลเซีย, เวียดนาม และไต้หวันด้วย) มีความขัดแย้งกันมานาน สืบเนื่องจากการประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันเหนือดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญมากของโลก รวมทั้งมีทรัพยากรการประมงอันอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนคาดหมายกันว่ามีทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ อันมีค่าอยู่ใต้ทะเล
แดนมังกรนั้นอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่แทบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ และระยะหลายปีหลังๆ มานี้ก็ดำเนินนโยบายยืนกรานแข็งกร้าวในเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาติที่พิพาทอยู่กับจีนรู้สึกขุ่นเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิลิปปินส์และเวียดนาม ทั้งนี้วิธีแก้ลำของแดนตากาล็อก ก็คือ การหาทางสานสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับสหรัฐฯให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในเดือนเมษายน 2012 ภายหลังเรือของจีนกับเรือของฟิลิปปินส์เกิดการเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียด ที่บริเวณเกาะปะการังกลางทะเลจีนใต้แห่งหนึ่ง ในที่สุดเรือของฝ่ายจีนก็ได้ใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะปะการังดังกล่าวเอาไว้ เกาะปะการังแห่งนี้อยู่ห่างเพียง 220 กิโลเมตรจากเกาะลูซอน (Luzon) ที่เป็นเกาะใหญ่เกาะสำคัญที่สุดของฟิลิปปินส์
ประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของแดนตากาล็อก จึงผลักดันให้เจรจาจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมฉบับใหม่กับสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยเหลือปรับปรุงสมรรถนะทางการทหารของฟิลิปปินส์ และดึงให้สหรัฐฯเข้ามาใกล้ชิดมากขึ้น
ไม่กี่วันก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เดินทางมาเยือนฟิลิปปินส์ในปี 2014 ประเทศทั้งสองก็ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “ข้อตกลงเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหม” (Enhanced Defence Cooperation Agreement (EDCA) EDCA มีอายุบังคับใช้ 10 ปี และมีสาระสำคัญอนุญาตให้สหรัฐฯเพิ่มการปรากฏตัวทางทหารในฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยเป็นอดีตอาณานิคมของตนในช่วงตั้งแต่ปี 1898 จนถึงปี 1946 โดยที่วอชิงตันจะจัดส่งเรือรบและเครื่องบินทหารหมุนเวียนเข้าไป ด้วยเหตุผลข้ออ้างว่าเพื่อการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและด้านความมั่นคงทางทะเล อีกทั้งจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อใช้ในการเก็บอุปกรณ์และสัมภาระ เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติการของกองทหารอเมริกัน
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง EDCA ยังไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในทันที เนื่องจากมีสมาชิกรัฐสภาและนักเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งยื่นฟ้องต่อศาลสูงสุด กล่าวหาว่าข้อตกลงฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการสมยอมยกอำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์ให้แก่มหาอำนาจต่างชาติ
กระทั่งในวันอังคาร (12 ม.ค.) ที่ผ่านมา คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของฟิลิปปินส์มีคำตัดสินด้วยคะแนนเสียง 10 ต่อ 4 ว่า ข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขณะที่มีนักเคลื่อนไหวผู้ต่อต้านอเมริกันจำนวนหลายสิบคน จัดการชุมนุมประท้วงที่บริเวณนอกด้านศาล เพื่อประณามข้อตกลงฉบับดังกล่าว ซึ่งพวกเขากล่าวหาว่าจะทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็น “ฐานเพื่อการเปิดปฏิบัติการเข้าแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯต่อภูมิภาคแถบนี้”
“EDCA ไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ” ธีโอดอร์ เต (Theodore Te) โฆษกของศาลสูงสุดประกาศคำตัดสิน “ข้อตกลงฉบับนี้ยังคงสอดคล้องกับกฎหมายและสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยที่ EDCA มีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและสนธิสัญญาเหล่านี้”
ฟิลิปปินส์เคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพทางทหารขนาดใหญ่ที่สุดในต่างแดนของสหรัฐฯรวม 2 แห่ง (ได้แก่ฐานทัพอากาศคลาร์ก และฐานทัพเรืออ่าวซูบิก) อยู่ยาวนานหลายสิบปี จวบจนกระทั่งถึงปี 1992 เมื่อวุฒิสภาแดนตากาล็อกลงมติให้ยุติสัญญาเช่าฉบับดังกล่าว สืบเนื่องจากกระแสต่อต้านอเมริกันอันแรงกล้าในฟิลิปปินส์เวลานั้น
สำหรับข้อตกลงฉบับใหม่นี้ ไม่ได้เป็นการมอบอำนาจให้สหรัฐฯกลับคืนไปใช้ฐานทัพเก่าเหล่านั้น
โฆษกกองทัพฟิลิปปินส์ พันเอก ปาดิโญ ซึ่งแถลงต่อผู้สื่อข่าวภายหลังการพิพากษาตัดสินของศาลสูงสุดในวันอังคาร (12 ม.ค.) บอกว่า “รายชื่อ (สถานที่ทางทหาร 8 แห่ง) นี้ จัดเตรียมกันมาตั้งแต่หลายเดือนก่อน เมื่อตอนที่พวกเรามีการปรึกษาหารือกันก่อนหน้านี้ (แล้วต้องชะงักไปเนื่องจากต้องรอคำตัดสินของศาลสูงสุด) ” เขาแจกแจงว่าสถานที่ซึ่งเสนอให้สหรัฐฯพิจารณานั้นประกอบด้วย สนามบินทางทหาร 5 แห่ง สถานีทางนาวี 2 แห่ง นอกจากนั้นแล้วยังมีค่ายฝึกในป่าอีกแห่งหนึ่งด้วย
“สถานที่เหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่ออนุมัติต่อไป ขณะที่ทางเราก็จะต้องจัดการประชุมหารือขั้นสุดท้ายในเรื่องพื้นที่เหล่านี้เช่นกัน” เขากล่าวโดยที่ไม่ให้ระบุกำหนดเวลาว่า จะมีการตัดสินใจเด็ดขาดในเรื่องนี้เมื่อใด
มีรายงานว่าสถานที่ทางทหารเหล่านี้มีอยู่ 3 แห่งตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมะนิลาด้วย โดยที่ 1 ใน 3 แห่งนี้ได้แก่สนามบินคลาร์ก (Clark airfield) ซึ่งเคยเป็นฐานทัพอากาศสำคัญของสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังมีสถานที่ทางทหารของกองทัพอากาศ 1 แห่งและกองทัพเรือ 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะปาลาวัน (Palawan) ที่เป็นเกาะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ และพื้นที่เปิดโล่งออกสู่ทะเลจีนใต้
ในกรุงวอชิงตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ แสดงปฏิกิริยาต่อคำพิพากษาของศาลสูงสุดฟิลิปปินส์คราวนี้ โดยเรียกว่าเป็น “คำตัดสินที่สำคัญมาก” ขณะที่เขากับรัฐมนตรีกลาโหม แอช คาร์เตอร์ ของสหรัฐฯ เริ่มต้นการพูดจาหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของฝ่ายฟิลิปปินส์ ในประเด็นต่างๆ ทางด้านความมั่นคงและทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ และข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี)
ส่วนทางด้านสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน กล่าวในบทวิจารณ์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษชิ้นหนึ่งว่า ข้อตกลง EDCA มีแต่ทำให้ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ยกระดับเพิ่มความรุนแรง และ “สามารถผลักดันสถานการณ์ให้ย่ำแย่เลวร้าย เข้าสู่ขอบเหวแห่งสงคราม”
“ข้อตกลงนี้จัดทำขึ้นมาอย่างไร้เหตุผลความชอบธรรมรองรับ เนื่องจากจีน ซึ่งยึดมั่นอยู่กับนโยบายกลาโหมที่มุ่งในเรื่องการป้องกัน ไม่เคยเลยที่จะใช้อำนาจบังคับประเทศใดๆ ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับทะเลจีนใต้” บทวิจารณ์ชิ้นนี้บอก
(เรียบเรียงจากรายงานของเอเชียไทมส์ และเพิ่มเติมด้วยรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์และสำนักข่าวเอเอฟพี)
Philippines seeks patrols with US amid sea dispute with China
By AT Editor
13/01/2016
โฆษกกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์แถลงในวันพฤหัสบดี (14 ม.ค.) ว่า แดนตากาล็อกยื่นข้อเสนอต่อสหรัฐฯ ขอให้ประเทศทั้งสองดำเนินการตรวจการณ์ทางนาวีร่วมกันในทะเลจีนใต้ ซึ่งฟิลิปปินส์และอีกหลายชาติอาเซียน กำลังมีกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนอยู่กับจีน ก่อนหน้านั้นวันเดียว โฆษกกองทัพแดนตากาล็อกก็เพิ่งเปิดเผยว่า ได้ยื่นรายชื่อสถานที่ทางทหารในฟิลิปปินส์รวม 8 แห่ง เพื่อให้สหรัฐฯเลือกใช้เป็นคลังเก็บอุปกรณ์และสัมภาระต่างๆ ตามข้อตกลงกลาโหมฉบับใหม่ระหว่างสองประเทศ ซึ่งศาลสูงสุดฟิลิปปินส์ตัดสินแล้วว่าไม่ได้ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ และมีผลบังคับใช้
ฟิลิปปินส์ยื่นคำขอต่อสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศทั้ง 2 ดำเนินการตรวจการณ์ทางนาวีร่วมกัน โฆษกกระทรวงกลาโหมแดนตากาล็อกแถลงเรื่องนี้เมื่อวันพฤหัสบดี (14 ม.ค.) ท่ามกลางกระแสคุกรุ่นของการพิพาทช่วงชิงดินแดนกับจีนในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้
รัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯและของฟิลิปปินส์ ได้พบปะหารือกันไปแล้วที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นการประชุมระดับนี้ครั้งที่ 2 ในรอบระยะเวลากว่า 3 ปี เพื่ออภิปรายปรึกษากันในประเด็นทางเศรษฐกิจการค้าและความมั่นคง โดยจุดโฟกัสสำคัญที่สุดอยู่ที่เรื่องทะเลจีนใต้
“เรากำลังเสนอแนะว่า ประเทศของพวกเราทั้งสองสามารถที่จะออกตรวจการณ์อาณาบริเวณดังกล่าวนี้ร่วมกัน” โฆษกกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ ปีเตอร์ พอล กัลเวซ (Peter Paul Galvez) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่กรุงมะนิลา พร้อมกับย้ำว่าฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ “มีความจำเป็นที่จะต้องปรากฏตัวแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นในทะเลจีนใต้”
ฟิลิปปินส์เสนอที่ตั้งทางทหาร 8 แห่งให้สหรัฐฯใช้งาน
ก่อนหน้านี้ พันเอก เรสติตูโต ปาดิญา (Colonel Restituto Padilla) โฆษกผู้หนึ่งของกองทัพฟิลิปปินส์ แถลงในวันพุธ (13 ม.ค.) ว่า แดนตากาล็อกได้ยื่นเสนอที่ตั้งทหารรวม 8 แห่งให้สหรัฐฯพิจารณา เพื่อการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ สำหรับการเก็บอุปกรณ์และสัมภาระทั้งหลาย ภายใต้ข้อตกลงความมั่นคงระหว่าง 2 ประเทศฉบับใหม่ ที่ศาลสูงสุดฟิลิปปินส์เพิ่งตัดสินว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และมีผลบังคับใช้
จีนกับฟิลิปปินส์ (รวมทั้ง บรูไน, มาเลเซีย, เวียดนาม และไต้หวันด้วย) มีความขัดแย้งกันมานาน สืบเนื่องจากการประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกันเหนือดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญมากของโลก รวมทั้งมีทรัพยากรการประมงอันอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนคาดหมายกันว่ามีทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ อันมีค่าอยู่ใต้ทะเล
แดนมังกรนั้นอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่แทบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ และระยะหลายปีหลังๆ มานี้ก็ดำเนินนโยบายยืนกรานแข็งกร้าวในเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาติที่พิพาทอยู่กับจีนรู้สึกขุ่นเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิลิปปินส์และเวียดนาม ทั้งนี้วิธีแก้ลำของแดนตากาล็อก ก็คือ การหาทางสานสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับสหรัฐฯให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
ในเดือนเมษายน 2012 ภายหลังเรือของจีนกับเรือของฟิลิปปินส์เกิดการเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียด ที่บริเวณเกาะปะการังกลางทะเลจีนใต้แห่งหนึ่ง ในที่สุดเรือของฝ่ายจีนก็ได้ใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะปะการังดังกล่าวเอาไว้ เกาะปะการังแห่งนี้อยู่ห่างเพียง 220 กิโลเมตรจากเกาะลูซอน (Luzon) ที่เป็นเกาะใหญ่เกาะสำคัญที่สุดของฟิลิปปินส์
ประธานาธิบดีเบนิโญ อากีโน ของแดนตากาล็อก จึงผลักดันให้เจรจาจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมฉบับใหม่กับสหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยเหลือปรับปรุงสมรรถนะทางการทหารของฟิลิปปินส์ และดึงให้สหรัฐฯเข้ามาใกล้ชิดมากขึ้น
ไม่กี่วันก่อนหน้าที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เดินทางมาเยือนฟิลิปปินส์ในปี 2014 ประเทศทั้งสองก็ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “ข้อตกลงเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหม” (Enhanced Defence Cooperation Agreement (EDCA) EDCA มีอายุบังคับใช้ 10 ปี และมีสาระสำคัญอนุญาตให้สหรัฐฯเพิ่มการปรากฏตัวทางทหารในฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยเป็นอดีตอาณานิคมของตนในช่วงตั้งแต่ปี 1898 จนถึงปี 1946 โดยที่วอชิงตันจะจัดส่งเรือรบและเครื่องบินทหารหมุนเวียนเข้าไป ด้วยเหตุผลข้ออ้างว่าเพื่อการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและด้านความมั่นคงทางทะเล อีกทั้งจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อใช้ในการเก็บอุปกรณ์และสัมภาระ เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติการของกองทหารอเมริกัน
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง EDCA ยังไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในทันที เนื่องจากมีสมาชิกรัฐสภาและนักเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งยื่นฟ้องต่อศาลสูงสุด กล่าวหาว่าข้อตกลงฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการสมยอมยกอำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์ให้แก่มหาอำนาจต่างชาติ
กระทั่งในวันอังคาร (12 ม.ค.) ที่ผ่านมา คณะผู้พิพากษาศาลสูงสุดของฟิลิปปินส์มีคำตัดสินด้วยคะแนนเสียง 10 ต่อ 4 ว่า ข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขณะที่มีนักเคลื่อนไหวผู้ต่อต้านอเมริกันจำนวนหลายสิบคน จัดการชุมนุมประท้วงที่บริเวณนอกด้านศาล เพื่อประณามข้อตกลงฉบับดังกล่าว ซึ่งพวกเขากล่าวหาว่าจะทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็น “ฐานเพื่อการเปิดปฏิบัติการเข้าแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯต่อภูมิภาคแถบนี้”
“EDCA ไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ” ธีโอดอร์ เต (Theodore Te) โฆษกของศาลสูงสุดประกาศคำตัดสิน “ข้อตกลงฉบับนี้ยังคงสอดคล้องกับกฎหมายและสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยที่ EDCA มีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและสนธิสัญญาเหล่านี้”
ฟิลิปปินส์เคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพทางทหารขนาดใหญ่ที่สุดในต่างแดนของสหรัฐฯรวม 2 แห่ง (ได้แก่ฐานทัพอากาศคลาร์ก และฐานทัพเรืออ่าวซูบิก) อยู่ยาวนานหลายสิบปี จวบจนกระทั่งถึงปี 1992 เมื่อวุฒิสภาแดนตากาล็อกลงมติให้ยุติสัญญาเช่าฉบับดังกล่าว สืบเนื่องจากกระแสต่อต้านอเมริกันอันแรงกล้าในฟิลิปปินส์เวลานั้น
สำหรับข้อตกลงฉบับใหม่นี้ ไม่ได้เป็นการมอบอำนาจให้สหรัฐฯกลับคืนไปใช้ฐานทัพเก่าเหล่านั้น
โฆษกกองทัพฟิลิปปินส์ พันเอก ปาดิโญ ซึ่งแถลงต่อผู้สื่อข่าวภายหลังการพิพากษาตัดสินของศาลสูงสุดในวันอังคาร (12 ม.ค.) บอกว่า “รายชื่อ (สถานที่ทางทหาร 8 แห่ง) นี้ จัดเตรียมกันมาตั้งแต่หลายเดือนก่อน เมื่อตอนที่พวกเรามีการปรึกษาหารือกันก่อนหน้านี้ (แล้วต้องชะงักไปเนื่องจากต้องรอคำตัดสินของศาลสูงสุด) ” เขาแจกแจงว่าสถานที่ซึ่งเสนอให้สหรัฐฯพิจารณานั้นประกอบด้วย สนามบินทางทหาร 5 แห่ง สถานีทางนาวี 2 แห่ง นอกจากนั้นแล้วยังมีค่ายฝึกในป่าอีกแห่งหนึ่งด้วย
“สถานที่เหล่านี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่ออนุมัติต่อไป ขณะที่ทางเราก็จะต้องจัดการประชุมหารือขั้นสุดท้ายในเรื่องพื้นที่เหล่านี้เช่นกัน” เขากล่าวโดยที่ไม่ให้ระบุกำหนดเวลาว่า จะมีการตัดสินใจเด็ดขาดในเรื่องนี้เมื่อใด
มีรายงานว่าสถานที่ทางทหารเหล่านี้มีอยู่ 3 แห่งตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมะนิลาด้วย โดยที่ 1 ใน 3 แห่งนี้ได้แก่สนามบินคลาร์ก (Clark airfield) ซึ่งเคยเป็นฐานทัพอากาศสำคัญของสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังมีสถานที่ทางทหารของกองทัพอากาศ 1 แห่งและกองทัพเรือ 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะปาลาวัน (Palawan) ที่เป็นเกาะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ และพื้นที่เปิดโล่งออกสู่ทะเลจีนใต้
ในกรุงวอชิงตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ แสดงปฏิกิริยาต่อคำพิพากษาของศาลสูงสุดฟิลิปปินส์คราวนี้ โดยเรียกว่าเป็น “คำตัดสินที่สำคัญมาก” ขณะที่เขากับรัฐมนตรีกลาโหม แอช คาร์เตอร์ ของสหรัฐฯ เริ่มต้นการพูดจาหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของฝ่ายฟิลิปปินส์ ในประเด็นต่างๆ ทางด้านความมั่นคงและทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งปัญหาความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ และข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี)
ส่วนทางด้านสำนักข่าวซินหวาของทางการจีน กล่าวในบทวิจารณ์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษชิ้นหนึ่งว่า ข้อตกลง EDCA มีแต่ทำให้ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ยกระดับเพิ่มความรุนแรง และ “สามารถผลักดันสถานการณ์ให้ย่ำแย่เลวร้าย เข้าสู่ขอบเหวแห่งสงคราม”
“ข้อตกลงนี้จัดทำขึ้นมาอย่างไร้เหตุผลความชอบธรรมรองรับ เนื่องจากจีน ซึ่งยึดมั่นอยู่กับนโยบายกลาโหมที่มุ่งในเรื่องการป้องกัน ไม่เคยเลยที่จะใช้อำนาจบังคับประเทศใดๆ ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับทะเลจีนใต้” บทวิจารณ์ชิ้นนี้บอก
(เรียบเรียงจากรายงานของเอเชียไทมส์ และเพิ่มเติมด้วยรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์และสำนักข่าวเอเอฟพี)