(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Latest China stock crash spotlights urgent need for financial reform
BY Francesco Sisci
05/01/2016
ตลาดหุ้นจีนไหลรูดอย่างแรงในสัปดาห์แรกของปี 2016 นี้ ถึงขั้นต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราวโดยอัตโนมัติอยู่ 2 วันคือในวันจันทร์ (4 ม.ค.) และวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) ในทัศนะของผู้เขียน (ฟรานเชสโก ซิสซี) เรื่องนี้ยิ่งย้ำถึงความสำคัญเร่งด่วนที่จีนจะต้องดำเนินการปฏิรูปภาคการเงินของตน ทว่าในสภาพที่ สี จิ้นผิง ยังดูจะต้องวุ่นวายอยู่กับเรื่องสำคัญยิ่งกว่าอย่างเรื่องการปฏิรูปยกเครื่องกองทัพ การปฏิรูปเศรษฐกิจและภาคการเงินยังอาจต้องเนิ่นช้าออกไป
การตกฮวบของตลาดหุ้นจีนตั้งแต่วันแรกที่เปิดการซื้อขายในปีใหม่ 2016 นี้ คือการย้ำเตือนอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนถึงความจำเป็นอันเร่งด่วน ที่ประเทศจีนจะต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของตนโดยองค์รวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องดำเนินการปฏิรูประบบการเงิน
ปฏิกิริยาเบื้องต้นจากพวกนักวิจารณ์ของสื่อมวลชน เป็นการชี้ไปที่สภาวการณ์บางอย่างบางประการที่เกิดขึ้นสอดคล้องกันอย่างประจวบเหมาะ อันได้แก่ ตัวเลขข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่น่าผิดหวังของจีน ซึ่งได้มีการรายงานออกมาตั้งแต่ช่วงเช้าวันจันทร์ (4 ม.ค.) และการที่ระยะเวลาซึ่งห้ามพวกผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทำการขายหุ้นที่ออกมาในช่วงหุ้นตกเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว กำลังจะสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ดี ขนาดของการตกฮวบ ---มากกว่า 7% ในชั่วเวลาเพียงสองสามชั่วโมงของการซื้อขาย จนทำให้ต้องใช้มาตรการปิดการซื้อขายในวันนั้นโดยอัตโนมัติ แล้วยังส่งคลื่นแห่งความตื่นตระหนกออกไปสู่ตลาดต่างๆ ทั่วโลก--- บ่งบอกให้เห็นถึงสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปและสลับซับซ้อนมากกว่านั้น
ผมได้เสนอเอาไว้ในบทวิเคราะห์ชิ้นหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว (ดูรายละเอียดได้ที่ http://atimes.com/2015/08/those-who-resist-xis-reforms-block-progress/) เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่เบื้องหลังการตกฮวบของตลาดหุ้นจีนในช่วงฤดูร้อนปี 2015 ปัจจัยอย่างเดียวกันเหล่านี้ก็แสดงบทบาทอยู่ในการดำดิ่งระลอกล่าสุดเช่นกัน เหตุผลเหล่านี้มีด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ การที่กิจการรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของจีนยังไม่ได้ถูกปฏิรูป, วิสาหกิจภาคเอกชนกำลังสูญเสียความมั่นอกมั่นใจ, และการที่ตลาดหลักทรัพย์ยังคงถูกรบกวนสร้างปัญหาจากพฤติการณ์เรื้อรังของการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลวงใน
ยังมีเหตุผลเบื้องลึกลงไปอีกประการหนึ่งด้วย ได้แก่การที่โมเดลธุรกิจแบบเก่าของจีนซึ่งวางพื้นฐานอยู่ที่การทุจริตคอร์รัปชั่นและระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองนั้น ได้พังทลายลงเสียแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณการรณรงค์ต่อต้านปราบปรามคอร์รัปชั่นของ สี จิ้นผิง อย่างไรก็ตาม โมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่สมมุติกันว่าควรที่จะเข้าแทนที่โมเดลเก่านั้น เอาเข้าจริงก็ยังเจริญเติบโตขึ้นมาไม่เต็มที่ สืบเนื่องจากพวกพลังอนุรักษนิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนคอยคัดค้านขัดขวางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
การปฏิรูปซึ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการนั้น สามารถที่จะระบุออกมาได้ดังต่อไปนี้:
1)พวกรัฐวิสาหกิจจะต้องถูกแปรรูปให้กลายเป็นกิจการภาคเอกชน สิ่งนี้ไม่สามารถทำให้สำเร็จภายในชั่วเวลาข้ามคืน แต่จะต้องเดินหน้าไปอย่างเป็นกระบวนการ วิสาหกิจของภาครัฐซึ่งมีขนาดใหญ่โตมหึมาเหล่านี้ อยู่ในภาวะไร้ประสิทธิภาพจนเกินกว่าที่จะอยู่รอดได้ และพวกเขากำลังกลายเป็นอันตรายที่คอยลากดึงเอาเศรษฐกิจของจีนให้ถลำจมลึกลงไปกับพวกเขาด้วย
2) พวกวิสาหกิจภาคเอกชนจะต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้กลับมีความมั่นอกมั่นใจในระบบขึ้นมาอีกครั้ง ส่วนหนึ่งของการเกื้อหนุนให้กลับมีความเชื่อมั่นนี้ ได้แก่การประกาศนิรโทษกรรมให้แก่อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำขึ้นในอดีต เรื่องนี้จะช่วยให้ภาคเอกชนเชื่อมโยงกับรัฐบาลภายใต้ข้อตกลงทางการเมืองฉบับใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจะได้รับการอภัยโทษ แต่จากนี้ไปพวกเขาก็จะต้องเคารพกระทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ในทางธุรกิจ
3) รัฐจะต้องแสดงบทบาทอย่างกระตือรือร้นยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นกรรมการตัดสินคนสุดท้ายอย่างแท้จริง ซึ่งคอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลตลาด บรรดาหน่วยงานผู้คุมกฎทั้งหลายจะต้องทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าจะมีการเคารพกระทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะออกมา สภาพเช่นนี้จะแตกต่างไปจากสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งทั้งพวกผู้คุมกฎและทั้งพวกที่ถูกควบคุม ต่างพำนักอาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกัน, รับประทานอาหารบนโต๊ะเดียวกัน, และสามารถที่จะครอบงำบงการตลาด ลับหลังประดานักลงทุนสามัญธรรมดาผู้ไร้เดียงสาทั้งหลาย
ถ้าไม่มีการแก้ไขคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ด้วยวิถีทางอันรุนแรงและจริงจังแล้ว ลมพายุแห่งตลาดที่โหมกระพือพัดเข้ามาไม่ว่าจะลูกไหน ก็สามารถทำให้ตลาดหลักทรัพย์ของจีนตกฮวบ และพาเอาตลาดของที่อื่นๆ พลอยย่ำแย่ไปด้วย สืบเนื่องจากขนาดอันใหญ่โตมโหฬารของเศรษฐกิจแดนมังกร ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปเหล่านี้จึงไม่เพียงแค่จำเป็น หากยังต้องถือเป็นเรื่องเร่งด่วนทั้งสำหรับประเทศจีนและสำหรับประเทศอื่นๆ ของโลก
แต่ยังมีคำถามใหญ่ทางการเมืองอยู่คำถามหนึ่ง ที่แขวนอยู่เหนือคำถามเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงินของจีน นั่นคือ สี จิ้นผิง มีอำนาจบารมีทางการเมืองเพียงพอหรือไม่ที่จะดำเนินการปฏิรูปเหล่านี้ โดยที่การปฏิรูปด้านต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นภัยคุกคามที่จะเข้าบดขยี้ทำลายเครือข่ายเก่าของพวกที่มีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับระบบเดิมๆ และเครือข่ายเดิมเหล่านี้เองที่มีอำนาจครอบงำการเมืองและเศรษฐกิจจีนมาอย่างยาวนานหลายสิบปีแล้ว?
มีสัญญาณอยู่ 2 ประการซึ่งชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า สี ได้สั่งสมเพิ่มพูนทุนทางการเมืองของตนขึ้นมาได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้ภายหลังทำการเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวและกดดันบีบบังคับกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในที่สุด สี ก็ดูจะประสบความสำเร็จในการทำให้พวกศาลยุติธรรมระดับท้องถิ่น สามารถตัดสินคดีความอย่างเป็นอิสระจากพวกรัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้น เรื่องนี้จะช่วยในเรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ต่อสู้กับพวกเครือข่ายอำนาจเก่าๆ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.nytimes.com/2016/01/03/world/asia/china-grants-courts-greater-autonomy-on-limited-matters.html?_r=0)
สัญญาณอีกประการหนึ่ง ซึ่งบางทีอาจจะสำคัญมากกว่าด้วย ได้แก่การที่ สี ประกาศปรับปรุงยกเครื่องกองทัพปลดแอกประชาชนจีนอย่างขนานใหญ่ ทั้งนี้ กองทัพปลดแอกฯ ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดตัวคนที่จะเป็นบิ๊กบอสของวงการเมืองจีนมาแต่ไหนแต่ไร (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ข้อเขียนของผู้เขียน http://atimes.com/2015/12/xis-reforms-to-make-military-slimmer-and-stronger/%29 หรือดูฉบับเก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000138547)
อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางปัญหาท้าทายอันใหญ่โตหลายด้านดังกล่าวนี้ การมุ่งโฟกัสไปที่เรื่องการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและทางการเงิน อาจจะกลายเป็นภาระที่กินเวลาและดูเป็นเรื่องทางเทคนิคอย่างยิ่ง สี จะยังสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ ในขณะที่ตัวเขาถูกดูดซับให้เข้าไปอยู่ในเรื่องราวซึ่งดูจำเป็นเร่งด่วนยิ่งกว่า อย่างเรื่องการปฏิรูปยกเครื่องกองทัพปลดแอกฯอันสำคัญยิ่งยวด? บางที เขาอาจจะทำไม่ได้หรอก
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ จีนอาจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของตลาดมากขึ้นอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้บังเกิดขึ้นในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) ก็กำลังถูกสั่งคลอนอย่างแรงจากปัญหาหลายหลากในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ ส่วนภูมิภาคตะวันออกกลางกำลังถูกกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำอย่างเป็นอันตราย
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยไชน่าเหรินหมิน (China Renmin University) เป็นเจ้าของคอลัมน์ “ซิโนกราฟ” (Sinograph) ของเอเชียไทมส์ และเคยเป็นบรรณาธิการด้านเอเชียให้แก่หนังสือพิมพ์รายวันอิตาลี ลา สตัมปา (La Stampa) และผู้สื่อข่าวประจำกรุงปักกิ่งให้แก่ อิล โซเล ดิ 24 โอเร (Il Sole di 24 Ore) ตลอดจนเขียนเรื่องให้แก่สิ่งพิมพ์อิตาลีและสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศจำนวนหนึ่ง เขาเป็นชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้เข้าโปรแกรมบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) เขาเขียนหนังสือว่าด้วยจีนมาแล้ว 8 เล่ม และได้รับเชิญเป็นนักวิจารณ์จากทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (CCTV) อยู่บ่อยครั้ง
Latest China stock crash spotlights urgent need for financial reform
BY Francesco Sisci
05/01/2016
ตลาดหุ้นจีนไหลรูดอย่างแรงในสัปดาห์แรกของปี 2016 นี้ ถึงขั้นต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราวโดยอัตโนมัติอยู่ 2 วันคือในวันจันทร์ (4 ม.ค.) และวันพฤหัสบดี (7 ม.ค.) ในทัศนะของผู้เขียน (ฟรานเชสโก ซิสซี) เรื่องนี้ยิ่งย้ำถึงความสำคัญเร่งด่วนที่จีนจะต้องดำเนินการปฏิรูปภาคการเงินของตน ทว่าในสภาพที่ สี จิ้นผิง ยังดูจะต้องวุ่นวายอยู่กับเรื่องสำคัญยิ่งกว่าอย่างเรื่องการปฏิรูปยกเครื่องกองทัพ การปฏิรูปเศรษฐกิจและภาคการเงินยังอาจต้องเนิ่นช้าออกไป
การตกฮวบของตลาดหุ้นจีนตั้งแต่วันแรกที่เปิดการซื้อขายในปีใหม่ 2016 นี้ คือการย้ำเตือนอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนถึงความจำเป็นอันเร่งด่วน ที่ประเทศจีนจะต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของตนโดยองค์รวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องดำเนินการปฏิรูประบบการเงิน
ปฏิกิริยาเบื้องต้นจากพวกนักวิจารณ์ของสื่อมวลชน เป็นการชี้ไปที่สภาวการณ์บางอย่างบางประการที่เกิดขึ้นสอดคล้องกันอย่างประจวบเหมาะ อันได้แก่ ตัวเลขข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่น่าผิดหวังของจีน ซึ่งได้มีการรายงานออกมาตั้งแต่ช่วงเช้าวันจันทร์ (4 ม.ค.) และการที่ระยะเวลาซึ่งห้ามพวกผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทำการขายหุ้นที่ออกมาในช่วงหุ้นตกเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว กำลังจะสิ้นสุดลง
อย่างไรก็ดี ขนาดของการตกฮวบ ---มากกว่า 7% ในชั่วเวลาเพียงสองสามชั่วโมงของการซื้อขาย จนทำให้ต้องใช้มาตรการปิดการซื้อขายในวันนั้นโดยอัตโนมัติ แล้วยังส่งคลื่นแห่งความตื่นตระหนกออกไปสู่ตลาดต่างๆ ทั่วโลก--- บ่งบอกให้เห็นถึงสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปและสลับซับซ้อนมากกว่านั้น
ผมได้เสนอเอาไว้ในบทวิเคราะห์ชิ้นหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว (ดูรายละเอียดได้ที่ http://atimes.com/2015/08/those-who-resist-xis-reforms-block-progress/) เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่เบื้องหลังการตกฮวบของตลาดหุ้นจีนในช่วงฤดูร้อนปี 2015 ปัจจัยอย่างเดียวกันเหล่านี้ก็แสดงบทบาทอยู่ในการดำดิ่งระลอกล่าสุดเช่นกัน เหตุผลเหล่านี้มีด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ การที่กิจการรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของจีนยังไม่ได้ถูกปฏิรูป, วิสาหกิจภาคเอกชนกำลังสูญเสียความมั่นอกมั่นใจ, และการที่ตลาดหลักทรัพย์ยังคงถูกรบกวนสร้างปัญหาจากพฤติการณ์เรื้อรังของการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลวงใน
ยังมีเหตุผลเบื้องลึกลงไปอีกประการหนึ่งด้วย ได้แก่การที่โมเดลธุรกิจแบบเก่าของจีนซึ่งวางพื้นฐานอยู่ที่การทุจริตคอร์รัปชั่นและระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองนั้น ได้พังทลายลงเสียแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณการรณรงค์ต่อต้านปราบปรามคอร์รัปชั่นของ สี จิ้นผิง อย่างไรก็ตาม โมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่สมมุติกันว่าควรที่จะเข้าแทนที่โมเดลเก่านั้น เอาเข้าจริงก็ยังเจริญเติบโตขึ้นมาไม่เต็มที่ สืบเนื่องจากพวกพลังอนุรักษนิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนคอยคัดค้านขัดขวางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
การปฏิรูปซึ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการนั้น สามารถที่จะระบุออกมาได้ดังต่อไปนี้:
1)พวกรัฐวิสาหกิจจะต้องถูกแปรรูปให้กลายเป็นกิจการภาคเอกชน สิ่งนี้ไม่สามารถทำให้สำเร็จภายในชั่วเวลาข้ามคืน แต่จะต้องเดินหน้าไปอย่างเป็นกระบวนการ วิสาหกิจของภาครัฐซึ่งมีขนาดใหญ่โตมหึมาเหล่านี้ อยู่ในภาวะไร้ประสิทธิภาพจนเกินกว่าที่จะอยู่รอดได้ และพวกเขากำลังกลายเป็นอันตรายที่คอยลากดึงเอาเศรษฐกิจของจีนให้ถลำจมลึกลงไปกับพวกเขาด้วย
2) พวกวิสาหกิจภาคเอกชนจะต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้กลับมีความมั่นอกมั่นใจในระบบขึ้นมาอีกครั้ง ส่วนหนึ่งของการเกื้อหนุนให้กลับมีความเชื่อมั่นนี้ ได้แก่การประกาศนิรโทษกรรมให้แก่อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่กระทำขึ้นในอดีต เรื่องนี้จะช่วยให้ภาคเอกชนเชื่อมโยงกับรัฐบาลภายใต้ข้อตกลงทางการเมืองฉบับใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจะได้รับการอภัยโทษ แต่จากนี้ไปพวกเขาก็จะต้องเคารพกระทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ในทางธุรกิจ
3) รัฐจะต้องแสดงบทบาทอย่างกระตือรือร้นยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นกรรมการตัดสินคนสุดท้ายอย่างแท้จริง ซึ่งคอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลตลาด บรรดาหน่วยงานผู้คุมกฎทั้งหลายจะต้องทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าจะมีการเคารพกระทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะออกมา สภาพเช่นนี้จะแตกต่างไปจากสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งทั้งพวกผู้คุมกฎและทั้งพวกที่ถูกควบคุม ต่างพำนักอาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกัน, รับประทานอาหารบนโต๊ะเดียวกัน, และสามารถที่จะครอบงำบงการตลาด ลับหลังประดานักลงทุนสามัญธรรมดาผู้ไร้เดียงสาทั้งหลาย
ถ้าไม่มีการแก้ไขคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ด้วยวิถีทางอันรุนแรงและจริงจังแล้ว ลมพายุแห่งตลาดที่โหมกระพือพัดเข้ามาไม่ว่าจะลูกไหน ก็สามารถทำให้ตลาดหลักทรัพย์ของจีนตกฮวบ และพาเอาตลาดของที่อื่นๆ พลอยย่ำแย่ไปด้วย สืบเนื่องจากขนาดอันใหญ่โตมโหฬารของเศรษฐกิจแดนมังกร ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปเหล่านี้จึงไม่เพียงแค่จำเป็น หากยังต้องถือเป็นเรื่องเร่งด่วนทั้งสำหรับประเทศจีนและสำหรับประเทศอื่นๆ ของโลก
แต่ยังมีคำถามใหญ่ทางการเมืองอยู่คำถามหนึ่ง ที่แขวนอยู่เหนือคำถามเกี่ยวกับการปฏิรูประบบการเงินของจีน นั่นคือ สี จิ้นผิง มีอำนาจบารมีทางการเมืองเพียงพอหรือไม่ที่จะดำเนินการปฏิรูปเหล่านี้ โดยที่การปฏิรูปด้านต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นภัยคุกคามที่จะเข้าบดขยี้ทำลายเครือข่ายเก่าของพวกที่มีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับระบบเดิมๆ และเครือข่ายเดิมเหล่านี้เองที่มีอำนาจครอบงำการเมืองและเศรษฐกิจจีนมาอย่างยาวนานหลายสิบปีแล้ว?
มีสัญญาณอยู่ 2 ประการซึ่งชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า สี ได้สั่งสมเพิ่มพูนทุนทางการเมืองของตนขึ้นมาได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้ภายหลังทำการเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวและกดดันบีบบังคับกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในที่สุด สี ก็ดูจะประสบความสำเร็จในการทำให้พวกศาลยุติธรรมระดับท้องถิ่น สามารถตัดสินคดีความอย่างเป็นอิสระจากพวกรัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้น เรื่องนี้จะช่วยในเรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ต่อสู้กับพวกเครือข่ายอำนาจเก่าๆ (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ http://www.nytimes.com/2016/01/03/world/asia/china-grants-courts-greater-autonomy-on-limited-matters.html?_r=0)
สัญญาณอีกประการหนึ่ง ซึ่งบางทีอาจจะสำคัญมากกว่าด้วย ได้แก่การที่ สี ประกาศปรับปรุงยกเครื่องกองทัพปลดแอกประชาชนจีนอย่างขนานใหญ่ ทั้งนี้ กองทัพปลดแอกฯ ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดตัวคนที่จะเป็นบิ๊กบอสของวงการเมืองจีนมาแต่ไหนแต่ไร (ดูรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ข้อเขียนของผู้เขียน http://atimes.com/2015/12/xis-reforms-to-make-military-slimmer-and-stronger/%29 หรือดูฉบับเก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000138547)
อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางปัญหาท้าทายอันใหญ่โตหลายด้านดังกล่าวนี้ การมุ่งโฟกัสไปที่เรื่องการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและทางการเงิน อาจจะกลายเป็นภาระที่กินเวลาและดูเป็นเรื่องทางเทคนิคอย่างยิ่ง สี จะยังสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ ในขณะที่ตัวเขาถูกดูดซับให้เข้าไปอยู่ในเรื่องราวซึ่งดูจำเป็นเร่งด่วนยิ่งกว่า อย่างเรื่องการปฏิรูปยกเครื่องกองทัพปลดแอกฯอันสำคัญยิ่งยวด? บางที เขาอาจจะทำไม่ได้หรอก
ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ จีนอาจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของตลาดมากขึ้นอีกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้บังเกิดขึ้นในขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) ก็กำลังถูกสั่งคลอนอย่างแรงจากปัญหาหลายหลากในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ ส่วนภูมิภาคตะวันออกกลางกำลังถูกกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำอย่างเป็นอันตราย
(ความคิดเห็นที่ปรากฏในข้อเขียนนี้เป็นของผู้เขียนเอง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการสะท้อนทัศนะของเอเชียไทมส์)
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นนักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยไชน่าเหรินหมิน (China Renmin University) เป็นเจ้าของคอลัมน์ “ซิโนกราฟ” (Sinograph) ของเอเชียไทมส์ และเคยเป็นบรรณาธิการด้านเอเชียให้แก่หนังสือพิมพ์รายวันอิตาลี ลา สตัมปา (La Stampa) และผู้สื่อข่าวประจำกรุงปักกิ่งให้แก่ อิล โซเล ดิ 24 โอเร (Il Sole di 24 Ore) ตลอดจนเขียนเรื่องให้แก่สิ่งพิมพ์อิตาลีและสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศจำนวนหนึ่ง เขาเป็นชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้เข้าโปรแกรมบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) เขาเขียนหนังสือว่าด้วยจีนมาแล้ว 8 เล่ม และได้รับเชิญเป็นนักวิจารณ์จากทางสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (CCTV) อยู่บ่อยครั้ง