เอพี - วันนี้ (12 ธ.ค.) ญี่ปุ่นและอินเดียได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือซึ่งจะเป็นการเปิดทางนำไปสู่การที่ญี่ปุ่นกลายเป็นชาติที่จัดหาเครื่องบินรบ รถไฟความเร็วสูง และในความร่วมมือด้านนิวเคลียร์กับอินเดีย
เอพีรายงานวันนี้ (12) ว่า ในข้อตกลงระดับทวิภาคีที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ และนายกรัฐมนตรีอินเดีน นเรนทรา โมดีได้ลงนามร่วมกัน รวมไปถึงความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์แก่อินเดีย
การลงนามเรื่องนี้นิวเคลียร์นี้จะเกิดขึ้นหลังจากการหารือในรายละเอียดทางเทคนิคขั้นสุดท้ายได้ผ่านไปแล้ว โดยอาเบะได้กล่าวถึงการลงนามข้อตกลงนี้ว่า “เป็นศักราชใหม่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองชาติ”
ในแถลงการณ์ร่วมที่เกิดขึ้นในกรุงนิวเดลี โมดีกล่าวว่า “ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอาเบะได้กล่าวถึงเม็ดเงินลงทุนจำนวน 35 พันล้านดอลลาร์ในการที่ญี่ปุ่นจะลงทุนในอินเดีย” โมดีกล่าว และแถลงเพิ่มเติมว่า “มันเป็นสิ่งที่ท้าท้าย แต่เมื่อทั้งสองชาติร่วมมือกัน เราสามารถทำให้ความท้าทายนี้เป็นจริงขึ้นมาได้”
อย่างไรก็ตาม อาเบะชี้แจงในการแถลงว่า การให้ความช่วยเหลือด้านนิงเคลียร์ของญี่ปุ่นจะจำกัดในการพัฒนาเพื่อสันติเท่านั้น และนอกจากนี้ ในการลงนามวันนี้ (22) ทั้งสองชาติยังลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการทหารเพื่อช่วยให้อินเดียสามารถปรับปรุงสมรรถนะยุทโธปกรณ์ของกองทัพให้ทันสมัย
เอพีชี้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่อาเบะจะขายเครื่องบินรบ US-2 ให้แก่อินเดีย และคาดว่าจะเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่นที่ทำการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ทางการทหารออกไปยังต่างชาตินับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ซึ่งกฎหมายห้ามการส่งออกยุทโธปกรณ์ทางทหารถูกยกเลิกในสมัยรัฐบาลอาเบะในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ในข้อตกลงนี้ญี่ปุ่นยังได้ประกาศความร่วมมือกับอินเดียในด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงกับอินเดีย ด้วยการช่วยเหลือด้านการเงินและด้านเทคนิค ซึ่งมีการเชื่อว่าในระบบรถไฟความเร็วสูงของอินเดียที่ญี่ปุ่นเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะใช้ระบบรถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็นของแดนอาทิตย์อุทัย โดยจะเป็นการเชื่อมระหว่างเมืองมุมไบ (Mumbai) และเมืองอาห์เมดาบัด (Ahmadabad) เมืองหลวงทางเศรฐกิจในรัฐคุชราต รัฐที่โมดีเคยดำรงตำแหน่งมุขมนตรี
เอพียังรายงานเพิ่มเติมต่อว่า หากมีการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงสำเร็จ คาดว่าจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง 505 กม. จากเวลา 8 ชม. เหลือแค่ 2 กม.เท่านั้น
นอกจากนี้ ในการแถลงเดียวกันนี้อินเดียยังประกาศความร่วมมือทางการทหารกับญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมการฝึกทางนาวิกโยธินร่วมกับอินเดียและสหรัฐฯ เพื่อเตรียมความพร้อมเหตุการณ์ตึงเครียดเหนือน่านน้ำในเขตอินโดแปซิฟิก โดยโมดีได้ย้ำในแถลงการณ์ร่วมว่าอินเดียและญี่ปุ่นจะร่วมมือกันเพื่อเพิ่มความั่นคงทางเขตแดนทางทะเลในภูมิภาคแห่งนี้