(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Oil war: Is Saudi Arabia walking into its own trap?
BY SALMAN RAFI
16/09/2015
ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียง่วนกับการปิดจ๊อบงานสร้างพันธมิตรลับๆ กับอิสราเอล “สงครามน้ำมัน”ที่ซาอุฯ เปิดหน้าชกกับผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้สร้างผลกระทบต่อราชอาณาจักรของตนและต่อโลกทั้งมวล สิ่งที่ทางการริยาดดำเนินการอยู่ที่แนวรบน้ำมันจะสร้างแรงสะท้อนต่างๆ กลับเข้าสู่ซาอุฯ ภายในโมงยามที่ “สงคราม” ลากยาวเข้าสู่ศักราชหน้า – ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ของแรงสะท้อนนานัปการเป็นความเสียหายเชิงเศรษฐกิจต่อซาอุฯ เอง
ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียง่วนกับการปิดจ๊อบงานสร้างพันธมิตรลับๆ กับอิสราเอล “สงครามน้ำมัน”ที่ซาอุฯ เปิดหน้าชกกับผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้สร้างผลกระทบต่อราชอาณาจักรของตนและต่อโลกทั้งมวล สิ่งที่ทางการริยาดดำเนินการอยู่ที่แนวรบน้ำมันจะสร้างแรงสะท้อนต่างๆ กลับเข้าสู่ซาอุฯ ภายในโมงยามที่ “สงคราม” ลากยาวเข้าสู่ศักราชหน้า – ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ของแรงสะท้อนนานัปการเป็นความเสียหายเชิงเศรษฐกิจต่อซาอุฯ เอง
เป็นที่แน่นอนว่าบรรดาบิ๊กซาอุดีไม่แฮปปี้กับสหรัฐฯ ในเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ปัจจัยประการนี้ยิ่งผลักดันให้พวกเขาต้องเร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ชัวร์ว่าบริษัทอเมริกันที่ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดาน ต้องเจ๊งล้มละลาย กระนั้นก็ตาม นโยบายของซาอุฯ ส่อแววว่าจะไม่บรรลุเป้าหมายระดับ “grand” objectives.
รูปการณ์ที่กำลังเดินเรื่องอยู่ขณะนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นประมาณว่า การผลิตน้ำมันชั้นหินดินดานในสหรัฐฯ อยู่ในทิศทางขาขึ้น และด้วยระดับการผลิตที่รักษาไว้อย่างนี้ คนอเมริกันจะอยู่ในฐานะที่สามารถเดินหน้าหั่นลดการพึ่งพิงน้ำมันนำเข้าจากซาอุฯ และจากประเทศกลุ่มโอเปคอื่นๆ ดังนั้น สหรัฐฯ ย่อมจะสามารถใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ตลอดจนเดินนโยบายต่างประเทศที่ผ่อนคลายมากขึ้นมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายต่างประเทศที่เกี่ยวพันกับตะวันออกกลาง
ในการนี้ ข้อเท็จจริงจากตัวเลขขององค์การสารสนเทศพลังงานแห่งกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ หรือยูเอสอีไอเอ ระบุว่าสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากโอเปคน้อยลงฮวบสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 28 ปี ทั้งนี้ สหรัฐฯ ผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้นและพึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันโอเปคน้อยลงกว่าช่วงปีใดๆ นับจากปี 1987
ข้อมูลตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าน้ำมันจากซาอุฯ โดยในปี 2005 สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากซาอุฯ 45.62 ล้านบาร์เรลทุกเดือน แต่ตัวเลขร่วงดิ่งเหลือเพียง 25.42 ล้านบาร์เรลในเดือนมกราคม 2015 ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2015 ตัวเลขขยับขึ้นเล็กน้อย สู่ระดับ 32.32 ล้านบาร์เรลต่อเดือน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มโดยรวมของการนำเข้าน้ำมันยังเป็นทิศทางขาลงแรงๆ เนื่องจากสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นและมีการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานเพิ่มขึ้นด้วย
การผลิตน้ำมันโดยรวมของสหรัฐฯ ทะยานขึ้นจำนวน 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนสามารถแตะระดับ 8.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2014 ปรากฏการณ์นี้ถูกขนานนามว่าเป็นการขยายตัวมหาศาลที่สุดในประวัติศาสตร์การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ นับจากที่การทำลายสถิติอุบัติขึ้นในปี 1900 แม้ราคาน้ำมันร่วงดิ่งมากกว่า 50% ในปีที่แล้ว การขยายตัวอันมากมายก็ยังดำเนินต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีประมาณการกันว่ายอดการผลิตรวมในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 8.1% และเพิ่มขึ้น 1.5% ในปีหน้า อีไอเอแถลงไว้อย่างนั้น
โดยที่โอเปคยังไม่พร้อมที่จะตัดปริมาณการผลิต และโดยที่สถานการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำยังไม่กระทบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากเท่ากับที่ซาอุฯ ประสบอยู่ การณ์จึงดูเหมือนว่าทำไปทำมาบรรดาบิ๊กซาอุดีเป็นฝ่ายที่เดินเข้าสู่กับดักที่พวกเขาวางหมากกลไว้เล่นงานบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค ซึ่งรวมถึงเหล่าบริษัทผู้ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดาน
ไม่มีหนทางเลยที่บิ๊กซาอุดีจะเอื้อมมือเข้าไปแทรกแซงการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ได้ตรงๆ หนทางเดียวที่พอจะสร้างผลกระทบได้คือ การเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อทุบระดับราคาให้ตกต่ำยิ่งๆ ลงไป กระนั้นก็ตาม ในเมื่อซาอุฯ เป็นฝ่ายที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากการขายน้ำมัน โดยที่ว่า 90% ของรายได้แผ่นดินนั้นมาจากภาคการผลิตน้ำมัน ดังนั้น ในท้ายที่สุดแล้ว ระดับราคาที่ถูกกดให้ต่ำ ย่อมจะสร้างความเสียหายแก่ซาอุฯ เสียเอง
แม้ต้นทุนการผลิตน้ำมันของซาอุฯ เป็นอะไรที่ต่ำที่สุด และแม้การขนส่งน้ำมันก็ถือว่าสะดวกเกินใครเพราะท่าเรือกับบ่อน้ำมันตั้งอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ราคาน้ำมันที่ต่ำนักหนาดังที่ผ่านมาเริ่มส่งผลเล่นงานฝ่ายซาอุฯ แล้ว
โดยที่ระดับราคาน้ำมันเฝ้าแต่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง งบประมาณแผ่นดินของซาอุฯ จะต้องได้รับผลกระทบเป็นความเดือดร้อนสืบเนื่องมาจากยอดรายได้ประจำปีลดฮวบลงมหาศาล
ตัวอย่างคือราชอาณาจักรแห่งนี้เคยมีรายได้เกือบ 1.05 ล้านล้านริยาล ในปี 2014 โดยระดับรายได้ดังกล่าวเกิดขึ้นในยามที่ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวในระดับประมาณ 103 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สำหรับงบประมาณปี 2015 นั้น จะเกิดขึ้นจากระดับราคาน้ำมันที่ประมาณ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น รายได้แผ่นดินในปี 2014-15 จึงจะอยู่ที่ระดับเพียง 715,000 ล้านริยาล ในเมื่อรายได้แผ่นดินดิ่งหนักเยี่ยงนี้ ภาวะขาดดุลงบประมาณของซาอุฯ อาจพุ่งสูงเป็น 20% ของจีดีพี หรือ 140,000 ล้านดอลลาร์ ภาวะรายได้น้ำมันที่ตกต่ำรุนแรงได้บีบให้ทางการซาอุดีต้องออกพันธบัตรถึงสองรอบต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
บิ๊กซาอุดีถูกบีบให้ต้องรัดเข็มขัดเพื่อชดเชยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่พร่องไปจำนวน 65,000 ล้านดอลลาร์ พันธบัตรสองรอบจะช่วยตู๊ให้ 27,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น ยังขาดอีกมากหากจะชดเชยให้ได้ครบ
เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มที่ปริมาณการผลิตน้ำมันโลกจะเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ราคาน้ำมันในปีหน้า คงจะร่วงต่ออีกสัก 21% จากระดับที่ซื้อขายกันในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์โดยธนาคารโลก ดังนั้น ในเมื่อซาอุฯ ยังเดินหน้าจะผลักดันให้ยุทธศาสตร์หลักของตนบรรลุสำเร็จ โดยไม่เต็มใจที่จะลดค่าใช้จ่าย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม) แนวโน้มจึงมีอยู่ว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของซาอุฯ จะเหือดหายหมดสิ้นในไม่ช้า ปัจจัยประการนี้จะทำให้ทางการริยาดตกเป็นเหยื่อของกับดักที่วางไว้เล่นงานคู่อริรายใหญ่อันได้แก่ อิหร่าน และบริษัทอเมริกันผู้ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดาน
รัฐมนตรีน้ำมันและแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุของคณะรัฐบาลซาอุดี คือ อาลี อัล-นาอิมิ ชี้ประเด็นไว้ว่าราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงมาในช่วงสั้นๆ เหล่านี้ จะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในระยะยาว เนื่องจากการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จะลดลง ทั้งนี้ ท่านรัฐมนตรีกล่าวถึงสหรัฐฯ นั่นเอง นอกจากนั้น ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซาอุฯ อีกหลายนายที่แสดงความมั่นใยว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ราชอาณาจักรครอบครองอยู่ จะช่วยให้ซาอุฯ ต้านทานผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำ การกดให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำภายในระยะเวลาหนึ่งนั้น ดูเหมือนจะเป็นแนวคิดที่ดีในบางแง่ โดยประมาณการว่าผู้ผลิตรายที่มีต้นทุนสูงจะถูกบีบให้ไขก๊อกออกไปจากตลาด หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะหดตัว แล้วราคาจะฟื้นกลับขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม แทนที่จะขับไล่ผู้ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนแพงๆ ออกไปจากตลาดแล้วรอเฉลิมฉลองการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน การณ์กลับจะไม่เป็นตามนั้น เพราะน้ำมันอิหร่านที่คาดกันว่าจะท่วมเข้าสู่ตลาดจะทุบให้ราคาน้ำมันตกต่ำยิ่งๆ ลงไป นี้จะสร้างสถานการณ์ที่เรียกว่า “ติดกับระหว่างปีศาจกับทะเลลึก” มาเล่นงานซาอุฯ ผลต่อมาคือสถานการณ์เศรษฐกิจของซาอุฯ จะยิ่งเสียหายหนักข้อมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อพิจารณาว่าซาอุฯ ได้ถลำเข้าไปพัวพันทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่กับสารพันสงครามทั่วทั้งตะวันออกกลางและภูมิภาคที่ถัดออกไป (อาทิ การให้ทุนอุดหนุนพรรคปีกขวาในปากีสถาน) จึงไม่น่าประหลาดใจที่ภาระด้านกลาโหมที่ซาอุฯ ต้องแบกรับไต่ระดับสูงขึ้นสร้างสถิติสูงสุดตลอดกาลแล้ว ขณะนี้ซาอุฯ เป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงรายใหญ่ที่สุด ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของซาอุฯ จะแตะระดับ 9,800 ล้านดอลลาร์ในปี 2015
ยิ่งกว่านั้น บิ๊กซาอุดียังยืนหยัดที่จะรักษาระดับค่าใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ไว้อย่างครบครัน ทั้งนี้ แม้จะสูญเสียรายได้จากน้ำมันไปมหาศาล ซาอุฯ ก็จะไม่หั่นค่าใช้จ่ายสำหรับหมวดที่เกี่ยวข้องกับภายในประเทศ อีกทั้งจะจ่ายเงินอุดหนุนในหมวดสาธารณสุขและการศึกษา หากแนวโน้มนี้เดินหน้า (ซึ่งตัวชี้บ่งทุกตัวชี้ไว้อย่างนั้น) ในไม่ช้า บิ๊กซาอุดีจะได้เห็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวน 672,000 ล้านดอลลาร์ถึงกาลระเหิดหายไปหมดสิ้น
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ เป็นเพราะซาอุฯ ประเมินพลาดว่าพวกผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปคจะแก้เกมอย่างไรในยามที่ราคาน้ำมันตกต่ำ ในเมื่อราคาตามสัญญาส่งมอบน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในปี 2020 ยังติดอยู่ที่ระดับเกือบ 62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเทศกลุ่มโอเปคจะต้องเผชิญกับช่วงเวลายากลำบากในวันข้างหน้า นี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมในภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางอย่างแน่นอน
รายงานของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าวอ้างไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า บัดนี้กลุ่มโอเปคได้ล่มสลายอย่างแท้จริงแล้ว พร้อมกันนั้น รายงานว่าด้วยความมั่นคงที่ออกโดยธนาคารกลางซาอุดีได้กล่าวถึง ความหวาดหวั่นถึงผลสะท้อนเชิงลบจาก “สงครามน้ำมัน” ไว้อย่างกระจ่างคือ “เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปคมิได้โต้ตอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำไปในทางที่คาดคิดไว้ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น” แล้วรายงานฉบับนี้เสริมอีกว่า “ผลกระทบสำคัญคือต้องหั่นลดการขุดเจาะที่บ่อน้ำมันใหม่ แทนที่จะไปชะลอการไหลของน้ำมันจากบ่อที่ดำเนินการอยู่ เรื่องนี้ต้องใช้ความอดทนให้มากขึ้น” ยังไม่แน่ชัดว่าบิ๊กซาอุดีจะสามารถทำอะไรที่จะทำให้ “ความอดทน” เป็นทางเลือกนโยบายที่คุ้มค่า
สิ่งหนึ่งแน่ๆ ที่บิ๊กซาอุฯ มิอาจใช้เป็นทางเลือกในขณะนี้คือ การลดปริมาณการผลิตน้ำมันของพวกตน เพราะหากเลือกที่จะหั่นลดการผลิตลง ผู้ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดานย่อมจะเสียบเข้าไปแทนที่แน่นอน พร้อมกับสร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่ซาอุฯ ความเสียหายใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจซาอุฯ จะสร้างแรงสะท้อนที่ร้ายกาจต่อนโยบายสุ่มเสี่ยงยิ่งยวดที่ซาอุฯ ดำเนินอยู่ในตะวันออกกลางและภูมิภาคถัดออกไป
ขณะที่เวลาร่อยหรอลง ทางเลือกที่บิ๊กซาอุดีจะหยิบขึ้นใช้ก็ร่อยหรอลงไปด้วย คำถามสำคัญคือซาอุฯ จะยื้อได้อีกนานเพียงใดในอันที่จะเล่น “เกมน้ำมัน” สืบเนื่องต่อไป
ซาลมาน ราฟิ ชีค เป็นนักข่าวฟรีลานซ์ และเป็นนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสถานการณ์ปากีสถาน งานของเขาเน้นประเด็นการเมืองเอเชียใต้และตะวันตก, นโยบายต่างประเทศของมหาอำนาจชั้นนำ และการเมืองของปากีสถาน
Oil war: Is Saudi Arabia walking into its own trap?
BY SALMAN RAFI
16/09/2015
ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียง่วนกับการปิดจ๊อบงานสร้างพันธมิตรลับๆ กับอิสราเอล “สงครามน้ำมัน”ที่ซาอุฯ เปิดหน้าชกกับผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้สร้างผลกระทบต่อราชอาณาจักรของตนและต่อโลกทั้งมวล สิ่งที่ทางการริยาดดำเนินการอยู่ที่แนวรบน้ำมันจะสร้างแรงสะท้อนต่างๆ กลับเข้าสู่ซาอุฯ ภายในโมงยามที่ “สงคราม” ลากยาวเข้าสู่ศักราชหน้า – ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ของแรงสะท้อนนานัปการเป็นความเสียหายเชิงเศรษฐกิจต่อซาอุฯ เอง
ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียง่วนกับการปิดจ๊อบงานสร้างพันธมิตรลับๆ กับอิสราเอล “สงครามน้ำมัน”ที่ซาอุฯ เปิดหน้าชกกับผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้สร้างผลกระทบต่อราชอาณาจักรของตนและต่อโลกทั้งมวล สิ่งที่ทางการริยาดดำเนินการอยู่ที่แนวรบน้ำมันจะสร้างแรงสะท้อนต่างๆ กลับเข้าสู่ซาอุฯ ภายในโมงยามที่ “สงคราม” ลากยาวเข้าสู่ศักราชหน้า – ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ของแรงสะท้อนนานัปการเป็นความเสียหายเชิงเศรษฐกิจต่อซาอุฯ เอง
เป็นที่แน่นอนว่าบรรดาบิ๊กซาอุดีไม่แฮปปี้กับสหรัฐฯ ในเรื่องข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ปัจจัยประการนี้ยิ่งผลักดันให้พวกเขาต้องเร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ชัวร์ว่าบริษัทอเมริกันที่ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดาน ต้องเจ๊งล้มละลาย กระนั้นก็ตาม นโยบายของซาอุฯ ส่อแววว่าจะไม่บรรลุเป้าหมายระดับ “grand” objectives.
รูปการณ์ที่กำลังเดินเรื่องอยู่ขณะนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นประมาณว่า การผลิตน้ำมันชั้นหินดินดานในสหรัฐฯ อยู่ในทิศทางขาขึ้น และด้วยระดับการผลิตที่รักษาไว้อย่างนี้ คนอเมริกันจะอยู่ในฐานะที่สามารถเดินหน้าหั่นลดการพึ่งพิงน้ำมันนำเข้าจากซาอุฯ และจากประเทศกลุ่มโอเปคอื่นๆ ดังนั้น สหรัฐฯ ย่อมจะสามารถใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ตลอดจนเดินนโยบายต่างประเทศที่ผ่อนคลายมากขึ้นมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายต่างประเทศที่เกี่ยวพันกับตะวันออกกลาง
ในการนี้ ข้อเท็จจริงจากตัวเลขขององค์การสารสนเทศพลังงานแห่งกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ หรือยูเอสอีไอเอ ระบุว่าสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากโอเปคน้อยลงฮวบสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 28 ปี ทั้งนี้ สหรัฐฯ ผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้นและพึ่งพิงการนำเข้าน้ำมันโอเปคน้อยลงกว่าช่วงปีใดๆ นับจากปี 1987
ข้อมูลตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าน้ำมันจากซาอุฯ โดยในปี 2005 สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันจากซาอุฯ 45.62 ล้านบาร์เรลทุกเดือน แต่ตัวเลขร่วงดิ่งเหลือเพียง 25.42 ล้านบาร์เรลในเดือนมกราคม 2015 ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2015 ตัวเลขขยับขึ้นเล็กน้อย สู่ระดับ 32.32 ล้านบาร์เรลต่อเดือน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มโดยรวมของการนำเข้าน้ำมันยังเป็นทิศทางขาลงแรงๆ เนื่องจากสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นและมีการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานเพิ่มขึ้นด้วย
การผลิตน้ำมันโดยรวมของสหรัฐฯ ทะยานขึ้นจำนวน 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนสามารถแตะระดับ 8.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2014 ปรากฏการณ์นี้ถูกขนานนามว่าเป็นการขยายตัวมหาศาลที่สุดในประวัติศาสตร์การผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ นับจากที่การทำลายสถิติอุบัติขึ้นในปี 1900 แม้ราคาน้ำมันร่วงดิ่งมากกว่า 50% ในปีที่แล้ว การขยายตัวอันมากมายก็ยังดำเนินต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีประมาณการกันว่ายอดการผลิตรวมในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 8.1% และเพิ่มขึ้น 1.5% ในปีหน้า อีไอเอแถลงไว้อย่างนั้น
โดยที่โอเปคยังไม่พร้อมที่จะตัดปริมาณการผลิต และโดยที่สถานการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำยังไม่กระทบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากเท่ากับที่ซาอุฯ ประสบอยู่ การณ์จึงดูเหมือนว่าทำไปทำมาบรรดาบิ๊กซาอุดีเป็นฝ่ายที่เดินเข้าสู่กับดักที่พวกเขาวางหมากกลไว้เล่นงานบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปค ซึ่งรวมถึงเหล่าบริษัทผู้ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดาน
ไม่มีหนทางเลยที่บิ๊กซาอุดีจะเอื้อมมือเข้าไปแทรกแซงการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ได้ตรงๆ หนทางเดียวที่พอจะสร้างผลกระทบได้คือ การเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อทุบระดับราคาให้ตกต่ำยิ่งๆ ลงไป กระนั้นก็ตาม ในเมื่อซาอุฯ เป็นฝ่ายที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากการขายน้ำมัน โดยที่ว่า 90% ของรายได้แผ่นดินนั้นมาจากภาคการผลิตน้ำมัน ดังนั้น ในท้ายที่สุดแล้ว ระดับราคาที่ถูกกดให้ต่ำ ย่อมจะสร้างความเสียหายแก่ซาอุฯ เสียเอง
แม้ต้นทุนการผลิตน้ำมันของซาอุฯ เป็นอะไรที่ต่ำที่สุด และแม้การขนส่งน้ำมันก็ถือว่าสะดวกเกินใครเพราะท่าเรือกับบ่อน้ำมันตั้งอยู่ใกล้ชิดกัน แต่ราคาน้ำมันที่ต่ำนักหนาดังที่ผ่านมาเริ่มส่งผลเล่นงานฝ่ายซาอุฯ แล้ว
โดยที่ระดับราคาน้ำมันเฝ้าแต่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง งบประมาณแผ่นดินของซาอุฯ จะต้องได้รับผลกระทบเป็นความเดือดร้อนสืบเนื่องมาจากยอดรายได้ประจำปีลดฮวบลงมหาศาล
ตัวอย่างคือราชอาณาจักรแห่งนี้เคยมีรายได้เกือบ 1.05 ล้านล้านริยาล ในปี 2014 โดยระดับรายได้ดังกล่าวเกิดขึ้นในยามที่ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวในระดับประมาณ 103 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สำหรับงบประมาณปี 2015 นั้น จะเกิดขึ้นจากระดับราคาน้ำมันที่ประมาณ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น รายได้แผ่นดินในปี 2014-15 จึงจะอยู่ที่ระดับเพียง 715,000 ล้านริยาล ในเมื่อรายได้แผ่นดินดิ่งหนักเยี่ยงนี้ ภาวะขาดดุลงบประมาณของซาอุฯ อาจพุ่งสูงเป็น 20% ของจีดีพี หรือ 140,000 ล้านดอลลาร์ ภาวะรายได้น้ำมันที่ตกต่ำรุนแรงได้บีบให้ทางการซาอุดีต้องออกพันธบัตรถึงสองรอบต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
บิ๊กซาอุดีถูกบีบให้ต้องรัดเข็มขัดเพื่อชดเชยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่พร่องไปจำนวน 65,000 ล้านดอลลาร์ พันธบัตรสองรอบจะช่วยตู๊ให้ 27,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น ยังขาดอีกมากหากจะชดเชยให้ได้ครบ
เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มที่ปริมาณการผลิตน้ำมันโลกจะเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ราคาน้ำมันในปีหน้า คงจะร่วงต่ออีกสัก 21% จากระดับที่ซื้อขายกันในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์โดยธนาคารโลก ดังนั้น ในเมื่อซาอุฯ ยังเดินหน้าจะผลักดันให้ยุทธศาสตร์หลักของตนบรรลุสำเร็จ โดยไม่เต็มใจที่จะลดค่าใช้จ่าย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหม) แนวโน้มจึงมีอยู่ว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของซาอุฯ จะเหือดหายหมดสิ้นในไม่ช้า ปัจจัยประการนี้จะทำให้ทางการริยาดตกเป็นเหยื่อของกับดักที่วางไว้เล่นงานคู่อริรายใหญ่อันได้แก่ อิหร่าน และบริษัทอเมริกันผู้ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดาน
รัฐมนตรีน้ำมันและแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุของคณะรัฐบาลซาอุดี คือ อาลี อัล-นาอิมิ ชี้ประเด็นไว้ว่าราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงมาในช่วงสั้นๆ เหล่านี้ จะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นในระยะยาว เนื่องจากการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จะลดลง ทั้งนี้ ท่านรัฐมนตรีกล่าวถึงสหรัฐฯ นั่นเอง นอกจากนั้น ยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซาอุฯ อีกหลายนายที่แสดงความมั่นใยว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่ราชอาณาจักรครอบครองอยู่ จะช่วยให้ซาอุฯ ต้านทานผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำ การกดให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำภายในระยะเวลาหนึ่งนั้น ดูเหมือนจะเป็นแนวคิดที่ดีในบางแง่ โดยประมาณการว่าผู้ผลิตรายที่มีต้นทุนสูงจะถูกบีบให้ไขก๊อกออกไปจากตลาด หลังจากนั้นปริมาณการผลิตจะหดตัว แล้วราคาจะฟื้นกลับขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม แทนที่จะขับไล่ผู้ผลิตน้ำมันด้วยต้นทุนแพงๆ ออกไปจากตลาดแล้วรอเฉลิมฉลองการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน การณ์กลับจะไม่เป็นตามนั้น เพราะน้ำมันอิหร่านที่คาดกันว่าจะท่วมเข้าสู่ตลาดจะทุบให้ราคาน้ำมันตกต่ำยิ่งๆ ลงไป นี้จะสร้างสถานการณ์ที่เรียกว่า “ติดกับระหว่างปีศาจกับทะเลลึก” มาเล่นงานซาอุฯ ผลต่อมาคือสถานการณ์เศรษฐกิจของซาอุฯ จะยิ่งเสียหายหนักข้อมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อพิจารณาว่าซาอุฯ ได้ถลำเข้าไปพัวพันทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่กับสารพันสงครามทั่วทั้งตะวันออกกลางและภูมิภาคที่ถัดออกไป (อาทิ การให้ทุนอุดหนุนพรรคปีกขวาในปากีสถาน) จึงไม่น่าประหลาดใจที่ภาระด้านกลาโหมที่ซาอุฯ ต้องแบกรับไต่ระดับสูงขึ้นสร้างสถิติสูงสุดตลอดกาลแล้ว ขณะนี้ซาอุฯ เป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงรายใหญ่ที่สุด ค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของซาอุฯ จะแตะระดับ 9,800 ล้านดอลลาร์ในปี 2015
ยิ่งกว่านั้น บิ๊กซาอุดียังยืนหยัดที่จะรักษาระดับค่าใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ ไว้อย่างครบครัน ทั้งนี้ แม้จะสูญเสียรายได้จากน้ำมันไปมหาศาล ซาอุฯ ก็จะไม่หั่นค่าใช้จ่ายสำหรับหมวดที่เกี่ยวข้องกับภายในประเทศ อีกทั้งจะจ่ายเงินอุดหนุนในหมวดสาธารณสุขและการศึกษา หากแนวโน้มนี้เดินหน้า (ซึ่งตัวชี้บ่งทุกตัวชี้ไว้อย่างนั้น) ในไม่ช้า บิ๊กซาอุดีจะได้เห็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวน 672,000 ล้านดอลลาร์ถึงกาลระเหิดหายไปหมดสิ้น
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ เป็นเพราะซาอุฯ ประเมินพลาดว่าพวกผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปคจะแก้เกมอย่างไรในยามที่ราคาน้ำมันตกต่ำ ในเมื่อราคาตามสัญญาส่งมอบน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในปี 2020 ยังติดอยู่ที่ระดับเกือบ 62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเทศกลุ่มโอเปคจะต้องเผชิญกับช่วงเวลายากลำบากในวันข้างหน้า นี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมในภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางอย่างแน่นอน
รายงานของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา กล่าวอ้างไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่า บัดนี้กลุ่มโอเปคได้ล่มสลายอย่างแท้จริงแล้ว พร้อมกันนั้น รายงานว่าด้วยความมั่นคงที่ออกโดยธนาคารกลางซาอุดีได้กล่าวถึง ความหวาดหวั่นถึงผลสะท้อนเชิงลบจาก “สงครามน้ำมัน” ไว้อย่างกระจ่างคือ “เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปคมิได้โต้ตอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันตกต่ำไปในทางที่คาดคิดไว้ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น” แล้วรายงานฉบับนี้เสริมอีกว่า “ผลกระทบสำคัญคือต้องหั่นลดการขุดเจาะที่บ่อน้ำมันใหม่ แทนที่จะไปชะลอการไหลของน้ำมันจากบ่อที่ดำเนินการอยู่ เรื่องนี้ต้องใช้ความอดทนให้มากขึ้น” ยังไม่แน่ชัดว่าบิ๊กซาอุดีจะสามารถทำอะไรที่จะทำให้ “ความอดทน” เป็นทางเลือกนโยบายที่คุ้มค่า
สิ่งหนึ่งแน่ๆ ที่บิ๊กซาอุฯ มิอาจใช้เป็นทางเลือกในขณะนี้คือ การลดปริมาณการผลิตน้ำมันของพวกตน เพราะหากเลือกที่จะหั่นลดการผลิตลง ผู้ผลิตน้ำมันชั้นหินดินดานย่อมจะเสียบเข้าไปแทนที่แน่นอน พร้อมกับสร้างความเสียหายใหญ่หลวงแก่ซาอุฯ ความเสียหายใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจซาอุฯ จะสร้างแรงสะท้อนที่ร้ายกาจต่อนโยบายสุ่มเสี่ยงยิ่งยวดที่ซาอุฯ ดำเนินอยู่ในตะวันออกกลางและภูมิภาคถัดออกไป
ขณะที่เวลาร่อยหรอลง ทางเลือกที่บิ๊กซาอุดีจะหยิบขึ้นใช้ก็ร่อยหรอลงไปด้วย คำถามสำคัญคือซาอุฯ จะยื้อได้อีกนานเพียงใดในอันที่จะเล่น “เกมน้ำมัน” สืบเนื่องต่อไป
ซาลมาน ราฟิ ชีค เป็นนักข่าวฟรีลานซ์ และเป็นนักวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสถานการณ์ปากีสถาน งานของเขาเน้นประเด็นการเมืองเอเชียใต้และตะวันตก, นโยบายต่างประเทศของมหาอำนาจชั้นนำ และการเมืองของปากีสถาน