xs
xsm
sm
md
lg

แรงงานฟาสต์ฟูดในนิวยอร์กเฮฮา หลังเคลื่อนไหวเรียกร้องจนได้ค่าแรง 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เดอะการ์เดียน - หลังจากดำเนินการเคลื่อนไหวมานานนับปี ในที่สุดแรงงานของธุรกิจฟาสต์ฟูดในนิวยอร์กก็พากันเฉลิมฉลองเพราะกำลังจะได้รับในสิ่งที่พวกเขาเรียกร้องมานาน นั่นคือค่าแรงขั้นต่ำ 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

คณะกรรมการค่าแรงธุรกิจฟาสต์ฟูด ที่แต่งตั้งโดย แอนดรูว์ คูโอโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ได้ทำการประกาศเมื่อวันพุธ (22 ก.ค.) ว่าพวกเขาให้การเสนอรับรองตัวเลขใหม่ของค่าแรงขั้นต่ำที่จำนวน 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง สำหรับแรงงานที่ถูกจ้างโดยธุรกิจฟาสต์ฟูด

ผู้ที่ทำงานอยู่ในนิวยอร์กซิตีจะได้เห็นค่าแรงตัวเองขยับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงภายในเดือนธันวาคม 2018 ส่วนพื้นที่อื่นๆ ของรัฐนิวยอร์กจะช้ากว่า โดยจะได้ 15 ดอลลาร์ ภายในเดือนกรกฎาคม 2021

คูโอโม กล่าวหลังการประกาศเสนอรับรองค่าแรงใหม่นี้ว่า นิวยอร์กจะเป็นผู้นำในการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ที่คนอเมริกันส่วนน้อยร่ำรวยมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คนอเมริกันส่วนใหญ่ที่ทำงานหนักกลับถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

“”มันไม่ยุติธรรมเลยเมื่อหลายครอบครัวในประเทศนี้ต้องล้าหลังตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเมื่อคำนวณอัตราเงินเฟ้อแล้ว มันน่าละอายที่เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นในประเทศนี้ที่ทุกอย่างล้วนก้าวหน้า มีเด็ก 1 ใน 5 ต้องใช้ชีวิตอย่างยากจน มันน่าละอายจริงๆ” คูโอโมกล่าว

คูโอโมยังได้ทำนายไว้ด้วยว่า เรื่องนี้จะกลายเป็นกระแสให้รัฐอื่นทำตาม “เมื่อไหร่ที่นิวยอร์กทำ รัฐอื่นที่เหลือจะทำตาม นั่นคือวิถีแห่งนิวยอร์ก” เขากล่าว

“นี่คือช่วงเวลาประวัติศาสตร์ เราทำได้” จอร์เอล แวร์ คนงานของร้านแมคโดนัลด์ กล่าวขณะเฉลิมฉลองการเสนอรับรองค่าแรงใหม่นี้ โดยที่เขาได้สวมเสื้อที่มีข้อความว่า “ฉันหายใจไม่ออก” กับ “สู้เพื่อ 15 ดอลลาร์” พร้อมทั้งบอกอีกว่า ผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากจนจะลดน้อยลงจากการขึ้นค่าแรงนี้

“มันวิเศษมากๆ ผมสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้อีกครั้ง ผมบอกคุณเลยว่านี่มันเป็นเรื่องที่สุดวิเศษ ตอนที่ผมเริ่มสู้ ผมแค่ต้องการอะไรบางอย่างที่มันดีขึ้นสำหรับตัวผม การสู้เพื่อ 15 ดอลลาร์ได้แสดงให้ผมเห็นว่ามีอะไรที่เป็นไปได้บ้างเมื่อผู้คนรวมตัวและทำงานร่วมกัน” เขากล่าว

จากข้อมูลของ ไบรอน บราวน์ นายกเทศมนตรีเมืองบัฟฟาโล และเป็นประธานคณะกรรมการค่าแรงฯ มีการระบุว่า ทางบอร์ดได้ฟังความเห็นทั้งจากบุคคลรวมถึงได้รับหนังสือที่เขียนถึงพวกเขามากกว่า 2,000 ฉบับ ก่อนจะมีการตัดสินใจครั้งนี้

“มันไม่ใช่แค่เป็นเรื่องดีสำหรับแรงงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่มันยังดีสำหรับเศรษฐกิจด้วย มันดีต่อรัฐ ดีต่ออเมริกา” ไมค์ ฟิชแมน กล่าว เขาเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินของสหภาพแรงงาน SEIU และเป็นสมาชิกของบอร์ดค่าแรง

แรงานฟาสต์ฟูดในนิวยอร์กซิตีจะได้รับการขึ้นค่าแรงรอบแรกในเดือนธันวาคมนี้ ให้อยู่ที่ตัวเลข 10.50 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง จากนั้นจะเพิ่มอีกทีละ 1.50 ดอลลาร์ในเดือนธันวาคม 2016, 2017 และ 2018

ส่วนในเขตพื้นที่อื่นของรัฐนิวยอร์ก ค่าแรงจะได้รับการเพิ่มเป็น 9.75 ดอลลาร์ในเดือนธันวาคมปีนี้ จากนั้นจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ดอลลาร์ไปจนถึง 2019 แล้วในเดือนธันวาคม 2020 ค่าแรงจะเพิ่ม 75 เซ็นต์ พอถึงเดือนกรกฎาคม 2021 จะเพิ่มอีก 50 เซ็นต์ จนถึง 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงในที่สุด

เหตุผลที่ค่าแรงในนิวยอร์กซิตี้ขึ้นเร็วกว่าที่อื่น เนื่องจากที่นั่นมีธุรกิจและนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามามากในแต่ละปี โดยจากข้อมูลของบอร์ดค่าแรง การขึ้นค่าจ้างนี้แสดงให้เห็นถึงการประนีประนอมกันระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

“ในด้านหนึ่งเราก็อยากให้ทุกคนทำเงินได้มากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งเราก็ต้องดูถึงความสำเร็จของธุรกิจด้วย หากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะไม่มีงานให้ทำ เราต้องรักษาสมดุลนั้นไว้” เควิน ไรอัน กล่าว เขาเป็นประธานและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ Gilt รวมถึงเป็นหนึ่งในบอร์ดค่าแรงด้วย

ขณะนี้อยู่ในช่วงเวลาการรวบรวมความเห็น 15 วัน ซึ่งทางคณะกรรมาธิการแรงงานของรัฐนิวยอร์กสามารถปรับปรุงแก้ไขการเสนอรับรองค่าแรงใหม่นี้ ก่อนที่จะเสนอให้ใช้เป็นกฎหมาย

“คณะกรรมาธิการแรงงานจะทบทวนการทำงานของบอร์ดค่าแรง แต่ผมคิดว่าคงไม่มีข้อกังขา เรากำลังมุ่งไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง” คูโอโมกล่าว


ซัมซุงเลิกจ้าง คนตกงาน-ค่าแรง 300 บาทคือจำเลย?
ซัมซุงเลิกจ้าง คนตกงาน-ค่าแรง 300 บาทคือจำเลย?
แบงก์สีแดงในมือของเขายื่นส่งไป ก่อนได้รับคืนกลับมาเป็นแบงก์สีเขียว 2 ใบ และเหรียญที่มีมูลค่าห้าบาทหนึ่งเหรียญ เดินออกจากร้านข้าว เขานึกถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งรายจ่ายประจำวัน-เดือน ค่ารถ ค่าบัตรเติมเงินที่นานๆ เติมที ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าจิปาถะต่างๆ ฯลฯ ช่างมากมายจนเขาไม่อยากจะนึกถึงมัน และเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำที่เขาได้รับนั้นก็แทบจะไม่อนุญาติให้เขาใช้ชีวิต “ปกติ” ได้ในเมืองนี้ และ 300 บาท คือค่าแรงขั้นต่ำในประเทศนี้! ในประเทศที่แต่ละปีมีอัตราเงินเฟ้อเติบโตเร็วกว่ารายได้ของผู้คนสามัญที่เดินตามท้องถนน ประกอบกับก่อนหน้าที่กระทรวงแรงงานได้มีมติยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ โดยจะเริ่มในปี 2559 และหันมากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่แทน ยิ่งทำให้เขากังวลไปกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่อาจเปลี่ยนไป ว่าจะมากขึ้นหรือน้อยลงกว่าเดิม! นี่อาจเป็นหนึ่งชีวิตของผู้คนปกติในสังคมที่ต้องประสบกับปัญหาเศรษฐกิจจในยุคนี้ เช่นเดียวกับที่ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย ล่าสุด บ.ซัมซุง ที่จังหวัดนครราชสีมาปิดตัวลง ปลดพนักงานกว่า 1,400 คน กลายเป็นพาดหัวและประเด็นเล่นงานรัฐบาลชุดปัจจุบัน ส่วนหนึ่งพูดกันว่าเพราะเจอพิษกับการแบกภาระของค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทไม่ไหว และรัฐบาลก็ให้ข้อมูลเช่นนั้น แต่เมื่อเราลองมองลงไปให้ลึกกว่า กว้างกว่า อัตราค่าแรงขั้นต่ำนี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่แท้จริง และเมื่อมองอย่างรอบด้านการเลิกจ้างครั้งนี้สะท้อนถึงปัญหาในหลายแง่มุม ทั้งยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม รวมถึงในพื้นที่โดยตรงเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น