(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Selling on good news: China shares skid despite GDP beat
By Asia Unhedged
15/07/2015
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานในวันพุธ (15 ก.ค.) เศรษฐกิจของแดนมังกรในรอบไตรมาส 2 ปีนี้เติบโตในอัตรา 7% ดีกว่าที่พวกนักวิเคราะห์คาดหมายกันไว้ ทว่าในวันนั้นเอง ดัชนีสำคัญของตลาดหลักทรัพย์บนแผ่นดินใหญ่กลับร่วงลงมาเป็นแถว
บางครั้งบางคราว ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม มันก็ออกมาแย่ไปเสียหมด
เศรษฐกิจจีนไปได้ดีกว่าที่คาดหมายกันไว้ โดยรายงานระบุว่าจีดีพีในรอบไตรมาส 2 ปีนี้สามารถเติบโตได้ในระดับ 7% ดีกว่าที่พวกนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันก่อนหน้านี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของแดนมังกรในช่วงดังกล่าวจะขยายตัวแค่ 6.9% อย่างไรก็ตาม ข่าวนี้ยังคงทำให้ตลาดหลักทรัพย์บนแผ่นดินใหญ่ไหลรูด
ตามการแถลงของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีนเมื่อวันพุธ (15 ก.ค.) ไม่เพียงแค่ตัวเลขจีดีพีเท่านั้น ข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำเดือนอีกหลายตัวต่างกระเตื้องขึ้นเช่นกัน โดยที่ผลผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นไต่ขึ้นได้สูงเป็นสถิติในรอบ 5 เดือนทีเดียว
“มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าสภาพเศรษฐกิจโดยรวมกำลังดีขึ้น”
สำนักงานสถิติแห่งชาติพูดถึงการเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาใหม่คราวนี้ว่า เป็นสิ่งที่ “ได้มาด้วยความยากลำบาก” พร้อมกับชี้ว่าการที่จีดีพีเติบโตได้เช่นนี้ ปัจจัยสำคัญที่สุดมาจากการบริโภคภายในประเทศซึ่งเพิ่มสูง โดยที่มีบทบาทเป็นตัวสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในรอบครึ่งปีแรกถึงราว 60% เปรียบเทียบกับการลงทุนซึ่งมีส่วนอยู่ 35.7% และ 4.3% จากยอดสุทธิในการส่งออก ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว การบริโภคเป็นตัวสร้างการเติบโตของจีดีพีในระดับ 51.2% เท่านั้น (ดูรายละเอียดรายงานนี้ได้ที่
http://www.reuters.com/article/2015/07/15/us-china-economy-gdp-idUSKCN0PP05P20150715)
ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่างๆ ของจีนเมื่อเร็วๆ นี้ โดยหน่วยงานอิสระ ที่เรียกกันว่าการสำรวจ “ไชน่า เบจ บุ๊ก” (China Beige Book) ซึ่งปรากฏว่า การเติบโตของพวกมณฑลที่อยู่ตอนใน กำลังเป็นตัวขับดันการฟื้นตัวอย่างกว้างขวางของไตรมาส 2 นี้
อย่างไรก็ดี ทั้งๆ ที่มีข่าวดีๆ เช่นนี้ แต่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้กลับปิดการซื้อขายในวันพุธ (15 ก.ค.) โดยไหลลงมา 3% อยู่ที่ 3,806 ส่วนดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดเซินเจิ้นดิ่ง 4.2% อยู่ที่ 2,059 ทางด้านดัชนี CSI300 ซึ่งวัดระดับราคาของหุ้นใหญ่ที่สุด 300 ตัวในตลาด ก็ลบ 3.5% อยู่ที่ 3,967 และดัชนี ChiNext Price ซึ่งวัดระดับราคาพวกหุ้นตัวเล็กๆ รูดลง 5% อยู่ที่ 2,590
“พวกนักลงทุนพากันเทขาย เนื่องจากข้อมูลจีดีพียังไม่อาจสร้างความประทับใจได้” สตีเวน เหลียง (Steven Leung) ผู้อำนวยการคนหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (UOB Kay Hian) ในฮ่องกง ให้ความเห็นกับรอยเตอร์
จากการที่อัตราเติบโตต่างกำลังชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการค้า, การลงทุน, และความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ เศรษฐกิจจีนจึงมีอัตราขยายตัวต่ำลงจากระดับ 7.4% ของปีที่แล้ว กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาถึงปัจจัยลบต่างๆ ตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์มีการปรับฐานในไตรมาส 2 , ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นขาลง, ภาวะความสามารถผลิตล้นเกินในภาคอุตสาหกรรม, หนี้สินอยู่ในระดับสูง, รวมทั้งมีแรงกดดันด้านเงินฝืด ข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจแดนมังกรยังคงมั่นคงมีเสถียรภาพ และเติบโตได้ภายในกรอบเป้าหมายที่คาดการณ์กันไว้ ย่อมเป็นเรื่องที่ควรแก่การชมเชยยกย่อง
มีเหตุผลอยู่สองสามประการที่อาจใช้อธิบายได้ว่า ทำไมตลาดหุ้นจึงตกลงมา ตามธรรมดาแล้วตลาดย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการคาดการณ์ในอนาคต อย่างที่วอลล์สตรีทมักชอบพูดกันอยู่เรื่อยๆ ว่า “ซื้อเมื่อมีข่าวลือ ขายเมื่อข่าวเป็นจริง” ดังนั้น ถ้าตัวเลขของรัฐบาลออกมาเป็นอย่างที่คาดหมายเอาไว้ ก็ต้องปล่อยขายทำกำไรเข้าพกเข้าห่อไว้ก่อน
เหตุผลอีกประการหนึ่งอาจจะอยู่ที่ว่า มีหุ้นจำนวนมากพอดูทีเดียวเริ่มกลับเข้าซื้อขายกันใหม่ในวันพุธ (15 ก.ค.) นี่จึงเป็นโอกาสแรกในรอบหลายๆ วันที่พวกนักลงทุนซึ่งติดหุ้นเหล่านี้อยู่ จะสามารถขายทิ้งเพื่อนำเงินสดมาชำระเงินกู้มาร์จินตามที่พวกโบรกเกอร์เรียกร้องมา ขอให้ลองติดตามดูต่อไปว่าเรื่องนี้จะค่อยสงบลงในวันในพรุ่งหรือไม่ นอกจากนั้นควรคาดหมายว่าจะมีการตกลงมาเช่นนี้อีก เมื่อหุ้นที่เหลืออีกราว 25% ของตลาดซึ่งยังถูกพักเอาไว้ ได้กลับเข้าไปซื้อขายใหม่อีกครั้ง
“เรายังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ยังคงมีความซับซ้อน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ดำเนินไปด้วยความคดเคี้ยวและเชื่องช้า” สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุ
กระนั้นก็ตาม เซิง ไหลหยุน (Sheng Laiyun) โฆษกของหน่วยงานแห่งนี้ทำนายว่า ในรอบครึ่งหลังของปีนี้จะเกิดการกระเตื้องขึ้นต่อไปอีก ในเมื่อมาตรการทางนโยบายที่ผ่านๆ มา เป็นต้นว่า การตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายต่อหลายครั้ง จะแสดงผลออกมาให้เห็น ทั้งนี้ตามรายงานข่าวของรอยเตอร์
ทางด้าน แอนดริว โคลกูฮุน (Andrew Colquhoun) แห่ง ฟิตช์ เรตติ้งส์ (Fitch Ratings) บอกกับรอยเตอร์ว่า ยอดขายปลีกในเดือนมิถุนายน แสดงให้เห็นถึงการดีดตัวกลับขึ้นมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณในทางบวกอีกอย่างหนึ่งที่ชี้ว่า ขณะที่ความเสี่ยงขาลงยังคงมีอยู่ไม่ใช่น้อยๆ แต่ก็กำลังลดลงไปเรื่อยๆ แล้ว ถึงแม้ตลาดหลักทรัพย์จะเกิดการขึ้นลงอย่างวูบวาบในช่วงหลังๆ นี้ก็ตาม เขากล่าวต่อไปว่า เขาก็คาดหมายว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ อะไรๆ ก็จะกระเตื้องดีขึ้น
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Selling on good news: China shares skid despite GDP beat
By Asia Unhedged
15/07/2015
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานในวันพุธ (15 ก.ค.) เศรษฐกิจของแดนมังกรในรอบไตรมาส 2 ปีนี้เติบโตในอัตรา 7% ดีกว่าที่พวกนักวิเคราะห์คาดหมายกันไว้ ทว่าในวันนั้นเอง ดัชนีสำคัญของตลาดหลักทรัพย์บนแผ่นดินใหญ่กลับร่วงลงมาเป็นแถว
บางครั้งบางคราว ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม มันก็ออกมาแย่ไปเสียหมด
เศรษฐกิจจีนไปได้ดีกว่าที่คาดหมายกันไว้ โดยรายงานระบุว่าจีดีพีในรอบไตรมาส 2 ปีนี้สามารถเติบโตได้ในระดับ 7% ดีกว่าที่พวกนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์กันก่อนหน้านี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของแดนมังกรในช่วงดังกล่าวจะขยายตัวแค่ 6.9% อย่างไรก็ตาม ข่าวนี้ยังคงทำให้ตลาดหลักทรัพย์บนแผ่นดินใหญ่ไหลรูด
ตามการแถลงของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีนเมื่อวันพุธ (15 ก.ค.) ไม่เพียงแค่ตัวเลขจีดีพีเท่านั้น ข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำเดือนอีกหลายตัวต่างกระเตื้องขึ้นเช่นกัน โดยที่ผลผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นไต่ขึ้นได้สูงเป็นสถิติในรอบ 5 เดือนทีเดียว
“มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าสภาพเศรษฐกิจโดยรวมกำลังดีขึ้น”
สำนักงานสถิติแห่งชาติพูดถึงการเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาใหม่คราวนี้ว่า เป็นสิ่งที่ “ได้มาด้วยความยากลำบาก” พร้อมกับชี้ว่าการที่จีดีพีเติบโตได้เช่นนี้ ปัจจัยสำคัญที่สุดมาจากการบริโภคภายในประเทศซึ่งเพิ่มสูง โดยที่มีบทบาทเป็นตัวสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในรอบครึ่งปีแรกถึงราว 60% เปรียบเทียบกับการลงทุนซึ่งมีส่วนอยู่ 35.7% และ 4.3% จากยอดสุทธิในการส่งออก ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว การบริโภคเป็นตัวสร้างการเติบโตของจีดีพีในระดับ 51.2% เท่านั้น (ดูรายละเอียดรายงานนี้ได้ที่
http://www.reuters.com/article/2015/07/15/us-china-economy-gdp-idUSKCN0PP05P20150715)
ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่างๆ ของจีนเมื่อเร็วๆ นี้ โดยหน่วยงานอิสระ ที่เรียกกันว่าการสำรวจ “ไชน่า เบจ บุ๊ก” (China Beige Book) ซึ่งปรากฏว่า การเติบโตของพวกมณฑลที่อยู่ตอนใน กำลังเป็นตัวขับดันการฟื้นตัวอย่างกว้างขวางของไตรมาส 2 นี้
อย่างไรก็ดี ทั้งๆ ที่มีข่าวดีๆ เช่นนี้ แต่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้กลับปิดการซื้อขายในวันพุธ (15 ก.ค.) โดยไหลลงมา 3% อยู่ที่ 3,806 ส่วนดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดเซินเจิ้นดิ่ง 4.2% อยู่ที่ 2,059 ทางด้านดัชนี CSI300 ซึ่งวัดระดับราคาของหุ้นใหญ่ที่สุด 300 ตัวในตลาด ก็ลบ 3.5% อยู่ที่ 3,967 และดัชนี ChiNext Price ซึ่งวัดระดับราคาพวกหุ้นตัวเล็กๆ รูดลง 5% อยู่ที่ 2,590
“พวกนักลงทุนพากันเทขาย เนื่องจากข้อมูลจีดีพียังไม่อาจสร้างความประทับใจได้” สตีเวน เหลียง (Steven Leung) ผู้อำนวยการคนหนึ่งของบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (UOB Kay Hian) ในฮ่องกง ให้ความเห็นกับรอยเตอร์
จากการที่อัตราเติบโตต่างกำลังชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการค้า, การลงทุน, และความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ เศรษฐกิจจีนจึงมีอัตราขยายตัวต่ำลงจากระดับ 7.4% ของปีที่แล้ว กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาถึงปัจจัยลบต่างๆ ตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์มีการปรับฐานในไตรมาส 2 , ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นขาลง, ภาวะความสามารถผลิตล้นเกินในภาคอุตสาหกรรม, หนี้สินอยู่ในระดับสูง, รวมทั้งมีแรงกดดันด้านเงินฝืด ข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจแดนมังกรยังคงมั่นคงมีเสถียรภาพ และเติบโตได้ภายในกรอบเป้าหมายที่คาดการณ์กันไว้ ย่อมเป็นเรื่องที่ควรแก่การชมเชยยกย่อง
มีเหตุผลอยู่สองสามประการที่อาจใช้อธิบายได้ว่า ทำไมตลาดหุ้นจึงตกลงมา ตามธรรมดาแล้วตลาดย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการคาดการณ์ในอนาคต อย่างที่วอลล์สตรีทมักชอบพูดกันอยู่เรื่อยๆ ว่า “ซื้อเมื่อมีข่าวลือ ขายเมื่อข่าวเป็นจริง” ดังนั้น ถ้าตัวเลขของรัฐบาลออกมาเป็นอย่างที่คาดหมายเอาไว้ ก็ต้องปล่อยขายทำกำไรเข้าพกเข้าห่อไว้ก่อน
เหตุผลอีกประการหนึ่งอาจจะอยู่ที่ว่า มีหุ้นจำนวนมากพอดูทีเดียวเริ่มกลับเข้าซื้อขายกันใหม่ในวันพุธ (15 ก.ค.) นี่จึงเป็นโอกาสแรกในรอบหลายๆ วันที่พวกนักลงทุนซึ่งติดหุ้นเหล่านี้อยู่ จะสามารถขายทิ้งเพื่อนำเงินสดมาชำระเงินกู้มาร์จินตามที่พวกโบรกเกอร์เรียกร้องมา ขอให้ลองติดตามดูต่อไปว่าเรื่องนี้จะค่อยสงบลงในวันในพรุ่งหรือไม่ นอกจากนั้นควรคาดหมายว่าจะมีการตกลงมาเช่นนี้อีก เมื่อหุ้นที่เหลืออีกราว 25% ของตลาดซึ่งยังถูกพักเอาไว้ ได้กลับเข้าไปซื้อขายใหม่อีกครั้ง
“เรายังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ยังคงมีความซับซ้อน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ดำเนินไปด้วยความคดเคี้ยวและเชื่องช้า” สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุ
กระนั้นก็ตาม เซิง ไหลหยุน (Sheng Laiyun) โฆษกของหน่วยงานแห่งนี้ทำนายว่า ในรอบครึ่งหลังของปีนี้จะเกิดการกระเตื้องขึ้นต่อไปอีก ในเมื่อมาตรการทางนโยบายที่ผ่านๆ มา เป็นต้นว่า การตัดลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายต่อหลายครั้ง จะแสดงผลออกมาให้เห็น ทั้งนี้ตามรายงานข่าวของรอยเตอร์
ทางด้าน แอนดริว โคลกูฮุน (Andrew Colquhoun) แห่ง ฟิตช์ เรตติ้งส์ (Fitch Ratings) บอกกับรอยเตอร์ว่า ยอดขายปลีกในเดือนมิถุนายน แสดงให้เห็นถึงการดีดตัวกลับขึ้นมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณในทางบวกอีกอย่างหนึ่งที่ชี้ว่า ขณะที่ความเสี่ยงขาลงยังคงมีอยู่ไม่ใช่น้อยๆ แต่ก็กำลังลดลงไปเรื่อยๆ แล้ว ถึงแม้ตลาดหลักทรัพย์จะเกิดการขึ้นลงอย่างวูบวาบในช่วงหลังๆ นี้ก็ตาม เขากล่าวต่อไปว่า เขาก็คาดหมายว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ อะไรๆ ก็จะกระเตื้องดีขึ้น
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)