(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Greece: It’s not politics vs. economics; Politics IS economics and vice versa
BY CHAN AKYA
02/07/2015
นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนักทฤษฎีเกม (Game Theorist) อย่างรัฐมนตรีคลัง ยานิส วารูฟากิส ของกรีซ พยายามโฟกัสไปที่จุดอ่อนของพวกคู่เจรจา เพื่อให้พวกเขายอมรับใน “ผลลัพธ์ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แต่ละฝ่ายพึงพอใจที่สุด” ทว่าความผิดพลาดของเขาอยู่ตรงที่ว่า เขามองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองของยุโรปนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ทำให้เขาหลงผิดคิดว่า “ผลลัพธ์ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แต่ละฝ่ายพึงพอใจที่สุด” ของฝ่ายกรีซ และของฝ่ายเจ้าหนี้ทรอยกา (อียู, ไอเอ็มเอฟ, อีซีบี) นั้น ยังคงเป็นสิ่งเดียวกันอยู่
นับตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้วเมื่อวิกฤตหนี้สินกรีซเกิดการระเบิดเปรี้ยงป้างเปิดแง่มุมใหม่ๆ ขึ้นมา เราก็ได้ยินได้ฟังการแสดงความคิดเห็นกันทางทีวีซึ่งต้องบอกว่าออกจะไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยเท่าใดนัก ทัศนะซึ่งเราได้ยินได้ฟังกันมักซ้ำไปซ้ำมา ดูจะไม่ห่างไปจากแนวทางดังต่อไปนี้:
**วิกฤตกรีซเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ
**ยูโรโซนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากแนวความคิดทางการเมือง ไม่ใช่จากแนวความคิดทางเศรษฐกิจ
**ด้วยเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจเลย เยอรมนีจะเข้าช่วยเหลือกรีซให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
และอะไรทำนองนี้
บางทีพวกนักแสดงความคิดเห็นทางทีวีเหล่านี้ ยังไม่ได้มีความเข้าอกเข้าใจเอาจริงๆ ว่า การเมืองนั่นแหละ คือ เศรษฐกิจ และในทางกลับกัน เศรษฐกิจก็คือการเมือง เมื่อพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งเก็บกวาดชัยชนะมาได้อย่างงดงามจนได้ขึ้นครองอำนาจ เหมือนอย่างที่พรรคไซรีซา (Syriza) กระทำสำเร็จในกรีซเมื่อตอนต้นปีนี้ การเลือกตัวเลือกทางการเมืองเช่นนี้ ที่สำคัญแล้วมันเป็นการทำหน้าที่ของเศรษฐกิจ
ในกรณีนี้อธิบายได้ว่า เพราะประชาชนชาวกรีกต้องการให้พรรคการเมืองซึ่งสัญญาที่จะดำเนินหนทางแก้ไขเศรษฐกิจที่ดีกว่าเดิม ได้เป็นผู้ครองอำนาจ หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง ไซรีซานั้นให้สัญญาอย่างเฉพาะเจาะจงว่า พวกเขาสามารถดำเนินการให้กรีซยังคงได้รับการช่วยเหลือจากยุโรปไม่ให้ต้องล้มละลายต่อไป แต่จะเป็นการช่วยเหลือซึ่งไม่มีเงื่อนไขอันเข้มงวดสร้างความยากลำบากพ่วงติดมาด้วย
ในการเลือกตั้งอีกแห่งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นปีนี้เหมือนกัน สาธารณชนชาวสหราชอาณาจักร ต่างพากันตัดสินใจทอดทิ้งไม่ใยดีกับดรามาทางการเมืองอันชวนหดหู่ที่ดำเนินมาเป็นแรมเดือน แล้วหันมาให้ความสนับสนุนพรรคคอนเซอร์เวทีฟ (Conservative) โดยเป็นที่ชัดเจนว่าไม่ใช่เพราะเลื่อมใสทัศนะทางการเมืองของพรรคนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ออกเสียงจำนวนมากกลับไม่พอใจด้วยซ้ำไป หากแต่พวกเขายังต้องเลือกพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ก็เพราะผลงานการดำเนินการทางเศรษฐกิจของพรรค (หรือเราอาจจะพูดให้ถูกต้องยิ่งขึ้นได้ว่า เพราะพวกเขายังคงมีความหวาดกลัวผลงานทางเศรษฐกิจในอดีตของพวกฝ่ายค้าน) อย่างที่ผมได้เสนอเอาไว้ในข้อเขียนเรื่อง Does Britain face ‘challenging’ election result? (ดูรายละเอียดได้ที่ http://atimes.com/2015/05/does-britain-face-challenging-election-result/)
ในทั้งสองกรณีนี้ เศรษฐกิจมีอิทธิพลเหนือการเมือง นอกจากนั้น สิ่งที่เรามองเห็นต่อมาก็คือ พลัง 2 พลังที่ดูเหมือนแตกต่างกันนี้ ส่วนใหญ่แล้วกลับกำลังเคลื่อนที่แบบโยงใยเกี่ยวร้อยไปด้วยกัน
ความพยายามของนายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส (Alexis Tsirpas) ที่จะทำตามคำมั่นสัญญาของพรรคไซรีซา ได้รับการหนุนส่งจาก ยานิส วารูฟากิส (Yanis Varoufakis) นักเศรษฐศาสตร์ผู้สันทัดในทฤษฎีเกม (game theory) ซึ่งซีปราสแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้เป้าหมายอย่างเจาะจงของนักทฤษฎีเกมผู้นี้อยู่ที่การมุ่งโฟกัสไปยังพื้นที่ซึ่งเป็นจุดอ่อนของคู่เจรจาต่อรอง อันได้แก่:
1.ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งทางธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) จะต้องเข้าไปแบกรับในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน ในกรณีที่กรีซตัดสินใจประกาศขอล้มละลาย
2.ความเสียหายโดยตรงซึ่งพวกผู้เสียภาษีชาวยุโรปจะต้องแบกรับ สืบเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันกรีซ (ตัวแทนของผู้เสียภาษีเหล่านี้ในที่นี้ก็คือ อียู)
3.ความเสียหายที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะต้องเป็นผู้แบกรับ จากการเข้าร่วมปล่อยกู้ให้แก่กรีซ
ผลก็คือ แนวความคิดหลักเบื้องหลังโมเดล “ความลำบากใจของนักโทษ” (prisoner’s dilemma) ตามทฤษฎีเกม ในเวอร์ชั่นของวารูฟากิส นั้น ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ต้องพยายามเสนอแนะให้ทั้งสองฝ่ายยอมเลือกผลลัพธ์สภาวะเลวกว่าอุตมภาพ (sub-optimal outcome) ในความคิดของผมนั้น ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เขาเข้าใจผิดคิดไปว่า ผลลัพธ์สภาวะเลวกว่าอุตมภาพของกรีซ คืออย่างเดียวกันกับผลลัพธ์สภาวะเลวกว่าอุตมภาพของคณะเจ้าหนี้ทั้ง 3 (Troika อันได้แก่ อียู, ไอเอ็มเอฟ, และอีซีบี) โดยที่ตารางโมเดล “ความลำบากใจของนักโทษ” ตามทฤษฎีเกม ต่อไปนี้ น่าจะสามารถอธิบายให้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
วารูฟากิสจินตนาการว่าตัวเขาเองกำลังผลักดันให้คณะเจ้าหนี้เดินไปสู่ผลลัพธ์ในช่องบนด้านซ้ายของตาราง แต่ปรากฏว่ามันกลับจบลงที่ผลลัพธ์ในช่องล่างด้านขวาของตาราง เหตุผลก็ไม่มีอะไรเลย เป็นเรื่องธรรมดาๆ อย่างเรื่องจังหวะเวลานี่เอง --บางทีอาจจะเนื่องจากความเป็นนักวิชาการ จึงทำให้เขาหลงลืมไม่ได้คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับเงื่อนไขต่างๆ ที่มีความเคลื่อนไหวตัวกันอย่างคึกคัก รวมถึงไม่ได้พิจารณาว่าความเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขดังกล่าวเหล่านั้นจะมีความหมายอย่างไรสำหรับทฤษฎีเกม พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ วารูฟากิสผู้ซึ่งอยู่ในช่วงกลางปี 2015 กลับกำลังใช้ยุทธศาสตร์ซึ่งน่าจะใช้ได้ผลดีในช่วงกลางปี 2009 หรือกระทั่งถ้ายอมอะลุ้มอล่วยให้หน่อย ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่ยังอาจจะได้ใช้ผลในช่วงกลางปี 2012 ด้วย
สาเหตุที่ทำให้เขาผิดพลาด ได้แก่การที่เขาไม่ได้ขบคิดให้ชัดเจนแจ่มแจ้งเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองของยุโรปนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา อันได้แก่:
1.พวกพรรคการเมืองที่นิยมมาตรการเข้มงวด ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งจนสามารถขึ้นครองอำนาจ และก็สามารถแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในหลายๆ ประเทศ อย่างเช่น ไอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร แต่เวลาเดียวกันนั้น พวกพรรคการเมืองที่ต่อต้านมาตรการเข้มงวดในหลายๆ ประเทศเฉกเช่นฝรั่งเศส กลับประสบความล้มเหลวอย่างเห็นชัดจากการที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการเติบโตขยายตัวอย่างแท้จริงใดๆ ไม่สามารถทำให้เงื่อนไขต่างๆ ทางเศรษฐกิจกระเตื้องดีขึ้นมาได้
2.จากการที่เวลาผ่านไปเรื่อยๆ (และกระบวนการโอนธนาคารต่างๆ หลายหลากให้กลายเป็นกิจการของรัฐ) ทำให้มาถึงขณะนี้ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับระบบการเงินถ้าหากกรีซจะต้องออกไปจากยูโรโซน (Greek exit หรือ Grexit) ได้ลดน้อยลงไปมากแล้ว
3.สิ่งที่เรียกกันว่า “ความเสี่ยงจากการแพร่กระจายโรค” (contagion risk) ซึ่งเคยเป็นหัวข้อฮิตฮอตในปี 2009 พอมาถึงเวลานี้กลับไม่ได้ถูกมองเป็นเรื่องน่าห่วงใยอะไรอีกต่อไปแล้ว เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ของพวกประเทศยูโรโซน แม้กระทั่งในชาติยูโรโซนรายที่อ่อนแอที่สุด
วารูฟากิสยังเข้าใจผิดพลาดในอะไรบางอย่างอีก ซึ่งนี่ดูจะมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมานิดนึง ทว่าต้องถือเป็นลางร้ายอันมหันต์สำหรับกรีซ นั่นคือ เมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองทางการเมืองแท้ๆ ของชาวเยอรมันแล้ว ปัจจุบันกรีซได้กลายเป็นสมาชิกยูโรโซนประเภทเป็นใบประดับ ซึ่งสามารถขาดหายไปก็ได้เสียแล้ว ทั้งนี้ถ้าหากดูกันในแง่มุมทางเศรษฐกิจ ดังนี้:
**ชาวเยอรมันทั้งหลายต่างสงสัยข้องใจกันมาก ถ้าไม่ถึงกับรับทราบกันอย่างชัดเจนไปแล้ว ว่าในยอดหนี้สินทั้งหมด 350,000 ล้านดอลลาร์ของกรีซนั้น ราวครึ่งหนึ่งทีเดียวได้ถูกแทงเป็นหนี้สูญ ซึ่งจำนวนมากของหนี้สูญเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเขาจะต้องแบกรับ
**การผลักดันให้กรีซออกไปจากยูโรโซน จะเป็นการตอกย้ำให้เห็นต้นทุนและผลต่อเนื่องที่แท้จริง ของการที่ประเทศเล็กๆ แห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องออกไปจากการใช้สกุลเงินยูโร
**ในทางกลับกัน การออกไปของกรีซจะช่วยรั้งบังเหียนกำราบ “ม้าพยศ” ใดๆ ก็ตามในอิตาลีและสเปน จึงเท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดลัทธิเอาอย่างเดินตามกรีซขึ้นมา
**ความสูญเสียอันเกิดขึ้นจากหนี้สินของกรีซ จะต้องเป็นความอับอายขายหน้าทางการเมืองอย่างไม่ต้องสงสัย ทว่ายูโรโซนจะยังคงสามารถเดินหน้าต่อไปได้เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงที่เศรษฐกิจของกรีซนั้นมีขนาดเล็กๆ เท่านั้น ขณะเดียวกันการออกไปของกรีซยังจะช่วยลดเสียงหงุดหงิดรำคาญทั้งหลายให้เบาลงไปด้วย
สรุปรวมจากการคาดคำนวณทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ว่าคุณจะพิจารณาจากทัศนะมุมมองของชาวกรีกหรือของชาวเยอรมัน ตลอดจนของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จุดโฟกัสไม่เคยเลยที่จะเป็นเพียงเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว หรือเป็นเพียงเรื่องการเมืองอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งสองอย่างนี้มีการพัวพันรัดร้อยกันอยู่อย่างแยกไม่ออก
นอกเหนือจากพวกผู้เล่นรายหลักที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น คราวนี้ขอให้เราลองมาพิจารณากันว่าฝ่ายอื่นๆ ในโลกมีการตอบรับอย่างไรต่อการที่กรีซมีแนวโน้มที่จะต้องออกไปจากยูโรโซน:
1.รัฐมนตรีคลังของสหราชอาณาจักร ออกมาเตือนว่า จะต้องเกิด “ผลต่อเนื่องด้านลบอันร้ายแรง” ถ้าหากกรีซออกไปจากยูโรโซน ในที่นี้เราย่อมมองเห็นการผสมผสานกันทั้งเรื่องการเมือง (สหราชอาณาจักรมีกำหนดจะจัดการลงประชามติของตนเองเช่นกันว่าจะยังคงเป็นสมาชิกของอียูต่อไปหรือไม่) และเรื่องเศรษฐกิจ (กระแสการตื่นหนีเงินยูโร และหันมาถือเงินปอนด์สหราชอาณาจักรที่มีความปลอดภัยมากกว่า ย่อมจะกลายเป็นการบั่นทอนความได้เปรียบของสินค้าส่งออกของสหราชอาณาจักร รวมทั้งยังจะมีผลกระทบกระเทือนการลงประชามติในสหราชอาณาจักรดังที่กล่าวไว้ข้างต้นอีกด้วย)
2.สำหรับสหรัฐฯ ได้แสดงความปรารถนาให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการสนทนาหารือกันต่อไป ท่าทีเช่นนี้ดูจะเป็นสิ่งที่เพื่อนดีๆ คนหนึ่งจะต้องกระทำกันอยู่แล้ว แต่มันจะมีแง่มุมเพิ่มมากขึ้นทันทีเมื่อเราหันไปโฟกัสที่ข้อมูลข่าวสารชิ้นถัดไป นั่นคือความหวั่นหวาดซึ่งออกมาจากการที่รัสเซียแสดงการเกี้ยวพากรีซ ตลอดจนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตภายหลังเกิดการผิดนัดชำระหนี้แล้ว อันได้แก่การที่กรีซอาจผละออกจากเส้นทางวงโคจรของยุโรปตะวันตก และหันมาสู่วงโคจรของรัสเซียซึ่งมีความเป็นปรปักษ์กับฝ่ายตะวันตกเพิ่มมากขึ้น สภาพเช่นนี้หากมองกันที่เปลือกนอกก็อาจจะบอกว่ามันคือเหตุผลทางการเมือง ทว่าจริงๆ แล้วผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนกว่าด้วยซ้ำ เพราะโดยสภาวการณ์เช่นนี้ย่อมจะทำให้เงินยูโรอ่อนแอลงอย่างรุนแรง และกลายเป็นปัญหาท้าทายใหญ่โตสำหรับพวกบริษัทอเมริกัน
3.ในส่วนจีน ได้แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าปรารถนาให้กรีซยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป เหตุผลทางเศรษฐกิจของจุดยืนเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากเรื่องดีมานด์ ทว่าปัจจัยทางการเมืองก็มีส่วนโยงใยเกี่ยวข้องด้วย นั่นคือ ถ้าหากกรีซ “สามารถ” ออกจากสกุลเงินยูโรได้ แล้วมีความจำเป็นอะไรที่ ซินเจียง หรือ ทิเบต จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของสกุลเงินเหรินหมินปี้ด้วย?
ในทุกๆ กรณี ย่อมเห็นได้อย่างกระจ่างว่าเหตุผลข้อพิจารณาทางการเมืองและทางเศรษฐกิจนั้นถูกเชื่อมโยงร้อยรัดเข้าด้วยกันโดยตลอด ดังนั้นบันทึกช่วยจำซึ่งควรส่งไปให้แก่พวกนักแสดงความเห็นทางทีวีทั้งหลายก็คือ: เลิกพูดถึงเรื่องทั้งสองนี้อย่างกับว่ามันเป็นสองอย่างที่แตกต่างกันเสียทีเถอะ
Greece: It’s not politics vs. economics; Politics IS economics and vice versa
BY CHAN AKYA
02/07/2015
นักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนักทฤษฎีเกม (Game Theorist) อย่างรัฐมนตรีคลัง ยานิส วารูฟากิส ของกรีซ พยายามโฟกัสไปที่จุดอ่อนของพวกคู่เจรจา เพื่อให้พวกเขายอมรับใน “ผลลัพธ์ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แต่ละฝ่ายพึงพอใจที่สุด” ทว่าความผิดพลาดของเขาอยู่ตรงที่ว่า เขามองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองของยุโรปนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ทำให้เขาหลงผิดคิดว่า “ผลลัพธ์ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แต่ละฝ่ายพึงพอใจที่สุด” ของฝ่ายกรีซ และของฝ่ายเจ้าหนี้ทรอยกา (อียู, ไอเอ็มเอฟ, อีซีบี) นั้น ยังคงเป็นสิ่งเดียวกันอยู่
นับตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้วเมื่อวิกฤตหนี้สินกรีซเกิดการระเบิดเปรี้ยงป้างเปิดแง่มุมใหม่ๆ ขึ้นมา เราก็ได้ยินได้ฟังการแสดงความคิดเห็นกันทางทีวีซึ่งต้องบอกว่าออกจะไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยเท่าใดนัก ทัศนะซึ่งเราได้ยินได้ฟังกันมักซ้ำไปซ้ำมา ดูจะไม่ห่างไปจากแนวทางดังต่อไปนี้:
**วิกฤตกรีซเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจ
**ยูโรโซนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากแนวความคิดทางการเมือง ไม่ใช่จากแนวความคิดทางเศรษฐกิจ
**ด้วยเหตุผลทางการเมือง ไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจเลย เยอรมนีจะเข้าช่วยเหลือกรีซให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
และอะไรทำนองนี้
บางทีพวกนักแสดงความคิดเห็นทางทีวีเหล่านี้ ยังไม่ได้มีความเข้าอกเข้าใจเอาจริงๆ ว่า การเมืองนั่นแหละ คือ เศรษฐกิจ และในทางกลับกัน เศรษฐกิจก็คือการเมือง เมื่อพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งเก็บกวาดชัยชนะมาได้อย่างงดงามจนได้ขึ้นครองอำนาจ เหมือนอย่างที่พรรคไซรีซา (Syriza) กระทำสำเร็จในกรีซเมื่อตอนต้นปีนี้ การเลือกตัวเลือกทางการเมืองเช่นนี้ ที่สำคัญแล้วมันเป็นการทำหน้าที่ของเศรษฐกิจ
ในกรณีนี้อธิบายได้ว่า เพราะประชาชนชาวกรีกต้องการให้พรรคการเมืองซึ่งสัญญาที่จะดำเนินหนทางแก้ไขเศรษฐกิจที่ดีกว่าเดิม ได้เป็นผู้ครองอำนาจ หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง ไซรีซานั้นให้สัญญาอย่างเฉพาะเจาะจงว่า พวกเขาสามารถดำเนินการให้กรีซยังคงได้รับการช่วยเหลือจากยุโรปไม่ให้ต้องล้มละลายต่อไป แต่จะเป็นการช่วยเหลือซึ่งไม่มีเงื่อนไขอันเข้มงวดสร้างความยากลำบากพ่วงติดมาด้วย
ในการเลือกตั้งอีกแห่งหนึ่งซึ่งจัดขึ้นปีนี้เหมือนกัน สาธารณชนชาวสหราชอาณาจักร ต่างพากันตัดสินใจทอดทิ้งไม่ใยดีกับดรามาทางการเมืองอันชวนหดหู่ที่ดำเนินมาเป็นแรมเดือน แล้วหันมาให้ความสนับสนุนพรรคคอนเซอร์เวทีฟ (Conservative) โดยเป็นที่ชัดเจนว่าไม่ใช่เพราะเลื่อมใสทัศนะทางการเมืองของพรรคนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ออกเสียงจำนวนมากกลับไม่พอใจด้วยซ้ำไป หากแต่พวกเขายังต้องเลือกพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ก็เพราะผลงานการดำเนินการทางเศรษฐกิจของพรรค (หรือเราอาจจะพูดให้ถูกต้องยิ่งขึ้นได้ว่า เพราะพวกเขายังคงมีความหวาดกลัวผลงานทางเศรษฐกิจในอดีตของพวกฝ่ายค้าน) อย่างที่ผมได้เสนอเอาไว้ในข้อเขียนเรื่อง Does Britain face ‘challenging’ election result? (ดูรายละเอียดได้ที่ http://atimes.com/2015/05/does-britain-face-challenging-election-result/)
ในทั้งสองกรณีนี้ เศรษฐกิจมีอิทธิพลเหนือการเมือง นอกจากนั้น สิ่งที่เรามองเห็นต่อมาก็คือ พลัง 2 พลังที่ดูเหมือนแตกต่างกันนี้ ส่วนใหญ่แล้วกลับกำลังเคลื่อนที่แบบโยงใยเกี่ยวร้อยไปด้วยกัน
ความพยายามของนายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส (Alexis Tsirpas) ที่จะทำตามคำมั่นสัญญาของพรรคไซรีซา ได้รับการหนุนส่งจาก ยานิส วารูฟากิส (Yanis Varoufakis) นักเศรษฐศาสตร์ผู้สันทัดในทฤษฎีเกม (game theory) ซึ่งซีปราสแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้เป้าหมายอย่างเจาะจงของนักทฤษฎีเกมผู้นี้อยู่ที่การมุ่งโฟกัสไปยังพื้นที่ซึ่งเป็นจุดอ่อนของคู่เจรจาต่อรอง อันได้แก่:
1.ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งทางธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) จะต้องเข้าไปแบกรับในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน ในกรณีที่กรีซตัดสินใจประกาศขอล้มละลาย
2.ความเสียหายโดยตรงซึ่งพวกผู้เสียภาษีชาวยุโรปจะต้องแบกรับ สืบเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันกรีซ (ตัวแทนของผู้เสียภาษีเหล่านี้ในที่นี้ก็คือ อียู)
3.ความเสียหายที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะต้องเป็นผู้แบกรับ จากการเข้าร่วมปล่อยกู้ให้แก่กรีซ
ผลก็คือ แนวความคิดหลักเบื้องหลังโมเดล “ความลำบากใจของนักโทษ” (prisoner’s dilemma) ตามทฤษฎีเกม ในเวอร์ชั่นของวารูฟากิส นั้น ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ต้องพยายามเสนอแนะให้ทั้งสองฝ่ายยอมเลือกผลลัพธ์สภาวะเลวกว่าอุตมภาพ (sub-optimal outcome) ในความคิดของผมนั้น ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า เขาเข้าใจผิดคิดไปว่า ผลลัพธ์สภาวะเลวกว่าอุตมภาพของกรีซ คืออย่างเดียวกันกับผลลัพธ์สภาวะเลวกว่าอุตมภาพของคณะเจ้าหนี้ทั้ง 3 (Troika อันได้แก่ อียู, ไอเอ็มเอฟ, และอีซีบี) โดยที่ตารางโมเดล “ความลำบากใจของนักโทษ” ตามทฤษฎีเกม ต่อไปนี้ น่าจะสามารถอธิบายให้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
ความลำบากใจ | คณะเจ้าหนี้ผ่อนมาตรการเข้มงวด | คณะเจ้าหนี้คงมาตรการเข้มงวด |
กรีซยอมรับเงื่อนไขเข้มงวด | เป็นผลดีสำหรับกรีซ, คณะเจ้าหนี้ยืดเวลารับความเสียหายออกไป | ฝันร้ายทางการเมืองสำหรับพรรคไซรีซา |
กรีซปฏิเสธเงื่อนไขเข้มงวด | ฝันร้ายทางการเมืองสำหรับคณะเจ้าหนี้ | กรีซออกไปจากยูโร, คณะเจ้าหนี้ต้องแบกรับความเสียหายในทันที |
วารูฟากิสจินตนาการว่าตัวเขาเองกำลังผลักดันให้คณะเจ้าหนี้เดินไปสู่ผลลัพธ์ในช่องบนด้านซ้ายของตาราง แต่ปรากฏว่ามันกลับจบลงที่ผลลัพธ์ในช่องล่างด้านขวาของตาราง เหตุผลก็ไม่มีอะไรเลย เป็นเรื่องธรรมดาๆ อย่างเรื่องจังหวะเวลานี่เอง --บางทีอาจจะเนื่องจากความเป็นนักวิชาการ จึงทำให้เขาหลงลืมไม่ได้คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับเงื่อนไขต่างๆ ที่มีความเคลื่อนไหวตัวกันอย่างคึกคัก รวมถึงไม่ได้พิจารณาว่าความเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขดังกล่าวเหล่านั้นจะมีความหมายอย่างไรสำหรับทฤษฎีเกม พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ วารูฟากิสผู้ซึ่งอยู่ในช่วงกลางปี 2015 กลับกำลังใช้ยุทธศาสตร์ซึ่งน่าจะใช้ได้ผลดีในช่วงกลางปี 2009 หรือกระทั่งถ้ายอมอะลุ้มอล่วยให้หน่อย ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่ยังอาจจะได้ใช้ผลในช่วงกลางปี 2012 ด้วย
สาเหตุที่ทำให้เขาผิดพลาด ได้แก่การที่เขาไม่ได้ขบคิดให้ชัดเจนแจ่มแจ้งเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสภาพความเป็นจริงทางการเมืองของยุโรปนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา อันได้แก่:
1.พวกพรรคการเมืองที่นิยมมาตรการเข้มงวด ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งจนสามารถขึ้นครองอำนาจ และก็สามารถแสดงให้เห็นความก้าวหน้าในหลายๆ ประเทศ อย่างเช่น ไอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร แต่เวลาเดียวกันนั้น พวกพรรคการเมืองที่ต่อต้านมาตรการเข้มงวดในหลายๆ ประเทศเฉกเช่นฝรั่งเศส กลับประสบความล้มเหลวอย่างเห็นชัดจากการที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการเติบโตขยายตัวอย่างแท้จริงใดๆ ไม่สามารถทำให้เงื่อนไขต่างๆ ทางเศรษฐกิจกระเตื้องดีขึ้นมาได้
2.จากการที่เวลาผ่านไปเรื่อยๆ (และกระบวนการโอนธนาคารต่างๆ หลายหลากให้กลายเป็นกิจการของรัฐ) ทำให้มาถึงขณะนี้ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับระบบการเงินถ้าหากกรีซจะต้องออกไปจากยูโรโซน (Greek exit หรือ Grexit) ได้ลดน้อยลงไปมากแล้ว
3.สิ่งที่เรียกกันว่า “ความเสี่ยงจากการแพร่กระจายโรค” (contagion risk) ซึ่งเคยเป็นหัวข้อฮิตฮอตในปี 2009 พอมาถึงเวลานี้กลับไม่ได้ถูกมองเป็นเรื่องน่าห่วงใยอะไรอีกต่อไปแล้ว เมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ของพวกประเทศยูโรโซน แม้กระทั่งในชาติยูโรโซนรายที่อ่อนแอที่สุด
วารูฟากิสยังเข้าใจผิดพลาดในอะไรบางอย่างอีก ซึ่งนี่ดูจะมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมานิดนึง ทว่าต้องถือเป็นลางร้ายอันมหันต์สำหรับกรีซ นั่นคือ เมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองทางการเมืองแท้ๆ ของชาวเยอรมันแล้ว ปัจจุบันกรีซได้กลายเป็นสมาชิกยูโรโซนประเภทเป็นใบประดับ ซึ่งสามารถขาดหายไปก็ได้เสียแล้ว ทั้งนี้ถ้าหากดูกันในแง่มุมทางเศรษฐกิจ ดังนี้:
**ชาวเยอรมันทั้งหลายต่างสงสัยข้องใจกันมาก ถ้าไม่ถึงกับรับทราบกันอย่างชัดเจนไปแล้ว ว่าในยอดหนี้สินทั้งหมด 350,000 ล้านดอลลาร์ของกรีซนั้น ราวครึ่งหนึ่งทีเดียวได้ถูกแทงเป็นหนี้สูญ ซึ่งจำนวนมากของหนี้สูญเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเขาจะต้องแบกรับ
**การผลักดันให้กรีซออกไปจากยูโรโซน จะเป็นการตอกย้ำให้เห็นต้นทุนและผลต่อเนื่องที่แท้จริง ของการที่ประเทศเล็กๆ แห่งใดแห่งหนึ่ง ต้องออกไปจากการใช้สกุลเงินยูโร
**ในทางกลับกัน การออกไปของกรีซจะช่วยรั้งบังเหียนกำราบ “ม้าพยศ” ใดๆ ก็ตามในอิตาลีและสเปน จึงเท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดลัทธิเอาอย่างเดินตามกรีซขึ้นมา
**ความสูญเสียอันเกิดขึ้นจากหนี้สินของกรีซ จะต้องเป็นความอับอายขายหน้าทางการเมืองอย่างไม่ต้องสงสัย ทว่ายูโรโซนจะยังคงสามารถเดินหน้าต่อไปได้เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงที่เศรษฐกิจของกรีซนั้นมีขนาดเล็กๆ เท่านั้น ขณะเดียวกันการออกไปของกรีซยังจะช่วยลดเสียงหงุดหงิดรำคาญทั้งหลายให้เบาลงไปด้วย
สรุปรวมจากการคาดคำนวณทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ไม่ว่าคุณจะพิจารณาจากทัศนะมุมมองของชาวกรีกหรือของชาวเยอรมัน ตลอดจนของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จุดโฟกัสไม่เคยเลยที่จะเป็นเพียงเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว หรือเป็นเพียงเรื่องการเมืองอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งสองอย่างนี้มีการพัวพันรัดร้อยกันอยู่อย่างแยกไม่ออก
นอกเหนือจากพวกผู้เล่นรายหลักที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น คราวนี้ขอให้เราลองมาพิจารณากันว่าฝ่ายอื่นๆ ในโลกมีการตอบรับอย่างไรต่อการที่กรีซมีแนวโน้มที่จะต้องออกไปจากยูโรโซน:
1.รัฐมนตรีคลังของสหราชอาณาจักร ออกมาเตือนว่า จะต้องเกิด “ผลต่อเนื่องด้านลบอันร้ายแรง” ถ้าหากกรีซออกไปจากยูโรโซน ในที่นี้เราย่อมมองเห็นการผสมผสานกันทั้งเรื่องการเมือง (สหราชอาณาจักรมีกำหนดจะจัดการลงประชามติของตนเองเช่นกันว่าจะยังคงเป็นสมาชิกของอียูต่อไปหรือไม่) และเรื่องเศรษฐกิจ (กระแสการตื่นหนีเงินยูโร และหันมาถือเงินปอนด์สหราชอาณาจักรที่มีความปลอดภัยมากกว่า ย่อมจะกลายเป็นการบั่นทอนความได้เปรียบของสินค้าส่งออกของสหราชอาณาจักร รวมทั้งยังจะมีผลกระทบกระเทือนการลงประชามติในสหราชอาณาจักรดังที่กล่าวไว้ข้างต้นอีกด้วย)
2.สำหรับสหรัฐฯ ได้แสดงความปรารถนาให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการสนทนาหารือกันต่อไป ท่าทีเช่นนี้ดูจะเป็นสิ่งที่เพื่อนดีๆ คนหนึ่งจะต้องกระทำกันอยู่แล้ว แต่มันจะมีแง่มุมเพิ่มมากขึ้นทันทีเมื่อเราหันไปโฟกัสที่ข้อมูลข่าวสารชิ้นถัดไป นั่นคือความหวั่นหวาดซึ่งออกมาจากการที่รัสเซียแสดงการเกี้ยวพากรีซ ตลอดจนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตภายหลังเกิดการผิดนัดชำระหนี้แล้ว อันได้แก่การที่กรีซอาจผละออกจากเส้นทางวงโคจรของยุโรปตะวันตก และหันมาสู่วงโคจรของรัสเซียซึ่งมีความเป็นปรปักษ์กับฝ่ายตะวันตกเพิ่มมากขึ้น สภาพเช่นนี้หากมองกันที่เปลือกนอกก็อาจจะบอกว่ามันคือเหตุผลทางการเมือง ทว่าจริงๆ แล้วผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งซึ่งมองเห็นได้ชัดเจนกว่าด้วยซ้ำ เพราะโดยสภาวการณ์เช่นนี้ย่อมจะทำให้เงินยูโรอ่อนแอลงอย่างรุนแรง และกลายเป็นปัญหาท้าทายใหญ่โตสำหรับพวกบริษัทอเมริกัน
3.ในส่วนจีน ได้แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าปรารถนาให้กรีซยังคงอยู่ในยูโรโซนต่อไป เหตุผลทางเศรษฐกิจของจุดยืนเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากเรื่องดีมานด์ ทว่าปัจจัยทางการเมืองก็มีส่วนโยงใยเกี่ยวข้องด้วย นั่นคือ ถ้าหากกรีซ “สามารถ” ออกจากสกุลเงินยูโรได้ แล้วมีความจำเป็นอะไรที่ ซินเจียง หรือ ทิเบต จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของสกุลเงินเหรินหมินปี้ด้วย?
ในทุกๆ กรณี ย่อมเห็นได้อย่างกระจ่างว่าเหตุผลข้อพิจารณาทางการเมืองและทางเศรษฐกิจนั้นถูกเชื่อมโยงร้อยรัดเข้าด้วยกันโดยตลอด ดังนั้นบันทึกช่วยจำซึ่งควรส่งไปให้แก่พวกนักแสดงความเห็นทางทีวีทั้งหลายก็คือ: เลิกพูดถึงเรื่องทั้งสองนี้อย่างกับว่ามันเป็นสองอย่างที่แตกต่างกันเสียทีเถอะ