ASTV ผู้จัดการรายวัน - มรสุมกรีซซัดหุ้นเอเชีย-ไทยร่วง ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ย้ำกระทบหุ้นไทยแค่ระยะสั้น ระบุการเข้มงวดของเจ้าหนี้ จะส่งผลดีต่อเสถียรภาพในระยะยาว ด้านนักวิเคราะห์มองเป็นโอกาส “ซื้อ” ส่วนสถานการณ์กรีซยังอึมครึม รอทำประชามติ ล่าสุดสั่งปิดแบงก์-ตลาดหุ้นสกัดคนแห่ถอนเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 58 ปิดที่ 1,511.19 จุด ลดลง 6.84 จุด เปลี่ยนแปลง -0.45% มูลค่าการซื้อขาย 39,263.73 ล้านบาท โดยดัชนีแตะจุดสูงสุดที่ 1,516.93 จุด และต่ำสุดที่ 1,495.86 จุด
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บอกว่า ความวิตกกังวลเรื่องกรีซ จะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยเพียงระยะสั้นเท่านั้น หลังจากสหภาพยุโรป หรือ อียู จะไม่ให้เงินช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติม แต่ปัญหากรีซเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2011 และมาตรการของเจ้าหนี้ก็เพื่อให้กรีซมีวินัยการทางเงินมากขึ้น เพราะเกรงว่าปัญหาจะลุกลามไปยังประเทศอื่น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อเสถียรภาพในระยะยาว
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า กรณีของกรีซในระยะสั้นคงทำให้ตลาดผันผวนจากความไม่แน่ใจและความไม่แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนในหุ้น แต่ถ้ามองในแง่ของเศรษฐกิจกรีซเองไม่ถึง 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มยุโรป
ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปคงน้อยมาก ในส่วนของธนาคารเยอรมันและฝรั่งเศสที่ปล่อยกู้ให้กับกรีซนั้นเชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมาได้มีการตั้งสำรองไปเป็นส่วนใหญ่แล้วผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรเองคงน้อยมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนที่มีอยู่อาจจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลงได้ในช่วงสั้นและที่มีความเป็นห่วงว่าประเทศเล็กที่มีปัญหาอื่นๆ อาจจะเลียนแบบกรีซเชื่อว่าจะไม่มีเพราะเขาได้เห็นบทเรียนจากกรีซแล้วเชื่อว่าน่าจะพยายามแก้ไขปัญหาไปมากกว่าโดยมีการจัดการที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น มีการแก้ไขปัญหาไปตามกรอบที่ได้วางเอาไว้แล้วไม่ใช่มาเจรจาต่อรองในลักษณะเดียวกับกรีซ
“ผลกระทบกับไทยคงไม่มากเพราะไทยมีการค้ากับกรีซไม่มากอาจจะมีในส่วนของการท่องเที่ยวบ้าง คนที่ทำการค้ากับกรีซอาจจะต้องมาดูว่าแบงก์ของกรีซจะมีเงินมาจ่ายการค้าได้หรือไม่ เป็นต้นในแง่ของผลกระทบกับไทยเองก็คงไม่มากเช่นกัน ในส่วนของกรีซถ้าออกจากกลุ่มยูโรโซนปัญหาคงมีมากขึ้นอาจมีประชากรออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เป็นต้น สำหรับนักลงทุนก็ไม่ควรตื่นตกใจกับข่าวกรีซมากเกินไปเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเพียงผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น”
ด้านนายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก บอกว่า ดัชนีหุ้นไทยภาคเช้าปรับตัวลงไปกว่า 20 จุด เป็นผลมาจากความวิตกกังวลกรีซจะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งตลาดหุ้นในภูมิภาคเช้านี้รับข่าวดังกล่าวกันทั่วหน้า กดดันดัชนีร่วงลงแรงทุกตลาด
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า กรีซอาจจะผิดนัดชำระหนี้โดยดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.8% แตะที่ 385.64 จุด เมื่อเวลา 08.09 น.ตามเวลาลอนดอน ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันเปิดที่ 11,404.71 จุด ลดลง 87.72 จุด หรือ 0.76% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดที่ 4,821.45 จุด ร่วงลง 237.72 จุด หรือ 4.70%
ในส่วนของตลาดหุ้นเอเซียดัชนีนิกเคอิ 225 ของญี่ปุ่นปิดการซื้อขายในวันจันทร์ที่ 29 มิ.ย.ที่ 20,109.95 จุดปรับตัวลดลง 596.20 จุด เปลี่ยนแปลง 2.88% ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพซิตเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยลดลงมากถึง 7.58% ในช่วงหนึ่งของการซื้อขาย ก่อนปิดตลาดที่ 4,053.03 จุด ลดลง 139.84 จุด เปลี่ยนแปลง 3.34%
นักวิเคราะห์ บล.ธนชาตคาดว่าดัชนีหุ้นไทยจะผันผวนสั้น และมองเป็นโอกาส “ซื้อ” สำหรับนักลงทุนระยะยาวเนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบในวงจำกัดเนื่องจาก 1.หนี้กรีซ 323 ,000 ล้านยูโร ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ รัฐบาล 76% หรือ 246,000 ล้านยูโร ทำให้ภาคเอกชนกระทบจำกัด 2.ธนาคารกลางยุโรป มีมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณ หรือมาตรการ QE เพื่อลดแรงกดดันด้านสภาพคล่อง 3.ประเทศไทยแม้ มีสัดส่วนส่งอออกไป ยุโรป ประมาณ 10% แตส่งออกไปกรีซเพียง 0.1% เท่านั้น ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED อาจไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยหลัง EU มีปัญหาเพิ่มขึ้น และ ล่าสุด ธ.กลางจีนประกาศลดดอกเบี้ย ลง แนะนำ ซื้อ AOT, CK, STEC, SEAFCO, INTUCH, SAMART, BLA
พร้อมคาดการณ์ว่าในวันนี้ (30 มิ.ย.) ตลาดฯคงจะแกว่งไซต์เวย์ ขึ้นกับกระแสข่าวของกรีซที่จะทะยอยประกาศ ขระที่เศรษฐกิจไทยก็ดูจะยังไม่ค่อยดีเท่าไร ล่าสุดตัวเลขส่งออกก็ต่ำกว่าคาด ช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะต้องให้รัฐฯเร่งจับจ่ายการลงทุนให้มากขึ้น พร้อมให้แนวรับ 1,510-1,500 จุด ส่วนแนวต้าน 1,520-1,530 จุด โดยมีจุดฟิวเตอร์ที่ 1,510 จุด
**กรีซสั่งปิดแบงก์-ตลาดหุ้น**
เอเอฟพี/เอพี – ในวันจันทร์ (29) รัฐบาลกรีซประกาศอย่างเป็นทางการสั่งปิดทำการธนาคารภายในประเทศเป็นเวลา 6 วันนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันระบบธนาคารของประเทศล้ม พร้อมกับออกมาตรการควบคุมระบบเงินทุนในประเทศ รวมไปถึง การอนุญาตให้สามารถถอนเงินสดได้เพียงวันละ 60 ยูโร เท่านั้น หลังจากประชาชนแห่ถอนเงินสดออกจากเครื่อง ATM ออกมากกว่า “2.2 หมื่นล้านยูโร” ในวันเสาร์ (27 ) จนตู้ ATM 1 ใน 3 ของประเทศถึงกับเงินเกลี้ยงตู้ และทำให้ในขณะนี้มีตู้ ATM เพียงแค่ 40% ของทั้งประเทศที่ยังคงมีเงินเหลืออยู่
ในวันนี้(29) รัฐบาลกรีซได้ออกมาสั่งปิดการให้บริการธนาคารภายในประเทศอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 6 วัน โดยเริ่มจากวันจันทร์(29)เป็นต้นไป โดยจะมีกำหนดปิดไปจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ พร้อมกับออกมาตรการควบคุมเงินทุน อนุญาตให้ประชาชนชาวกรีกสามารถถอนเงินได้วันละ 60 ยูโร เท่านั้น แต่ทว่ามาตรการนี้ไม่ครอบคลุมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเป็นแหล่งรายได้สูงสุดของประเทศในเวลานี้
และหลังการประกาศข่าวร้ายสั่งปิดแบงก์เผยแพร่ออกไป ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียในช่วงเช้าวันจันทร์(29)หวั่นไหวกับข่าวนี้อย่างหนัก ตลาดหุ้นในโตเกียว ซิดนีย์ เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกงตกอย่างฉับพลันมากกว่า 2% ในบ่ายวันจันทร์(29)
นอกจากนี้ในวันนี้(29) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กรีซปิดทำการ แต่คาดว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นในส่วนต่างๆของโลกจะปรับตัวตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย ซึ่งถือเป็นวันที่มีความผันผวนมากที่สุดวันหนึ่งในการซื้อขายทั่วโลก หลังจากนักค้าหลักทรัพย์ต่างตื่นเช้ามาในวันทำงานวันแรกเพื่อพบว่ากรีซเข้าใกล้การล้มละลายทุกขณะ
ด้านแหล่งข่าวการเงินกรีซให้สัมภาษณ์ว่า ในขณะนี้ ตู้ ATM ทั่วประเทศมีเงินบรรจุอยู่ภายในเพียงแค่ 40% ของจำนวนตู้ทั้งหมดที่ตั้งกระจายตามภูมิภาคต่างๆ
อนึ่ง เอเอฟพีรายงานว่า รัฐบาลกรีซออกมาตรการควบคุมระบบทุนออกมาหลังจากธนาคารกลางยุโรป ECB ประกาศจะไม่ขยายความช่วยเหลือเงินฉุกเฉิน ELA แก่กรีซ หลังรัฐบาลเอเธนส์ชุดปัจจุบันของ อเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซซึ่งเป็นพวกฝ่ายซ้าย ได้ประกาศจัดการลงประชามติในวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ว่ามหาชนชาวกรีกจะยอมรับหรือปฏิเสธผลลัพธ์การเจรจาข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินระหว่างเอเธนส์กับเจ้าหนี้นานาชาติกลุ่มทรอยกา ที่ประกอบด้วยสหภาพยุโรป (EU) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางยุโรป (EBC) ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเจรจาหนี้ล้มลงที่กรุงบรัสเซลส์ก่อนหน้านี้
และทำให้บรรดาเจ้าหนี้ต่างชาติกรีซต่างรวมตัวประกาศไม่เลื่อนเส้นตายกำหนดการชำระหนี้กรีซออกไปซึ่งจะมาถึงในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ และทำให้เกิดความแตกตื่นเกรงว่า กรีซอาจจะเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับ IMF ขึ้น และอาจจะทำให้ต้องออกจากยูโรโซนก็เป็นได้
**กรีซไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ไทย**
ด้าน นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่าสถานการณ์เรื่องปัญหาหนี้ของประเทศกรีซนั้น ปัจจุบันตลาดการลงทุนรับรู้สถานการณ์ไปแล้วหากกรีซต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนก็ไม่น่าจะส่งกระทบต่อการลงทุนมากนัก
โดยในส่วนของตลาดตราสารหนี้ไทย ไม่ได้มีเงินไหลออกจากเรื่องกรีซ แต่มาจากเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้พันธบัตรระยะยาวยิล์ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ยิลด์พันธบัตรระยะสั้นของไทยปรับขึ้นเล็กน้อยตามไปด้วย
"จากปัจจัยความเสี่ยงท้้งเรื่องปัญหากรีซและการขี้นเอกเบี้ยของสหรัฐฯนั้น เชื่อว่ากลไกตลาดจะทำให้ตลาดการลงทุนไม่กระทบรุนแรง ตลาดยังมีความต้องการรอการลงทุนอยู่"
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยที่ปรับลดลง 2 ครั้งแต่พันธบัตรระยะยาวของไทยยิลด์ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจของไทยปรับตัวถึงจุดต่ำสุดแล้ว และน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยดูจาดภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตและเม็ดเงินการลงทุนจากภาครัฐบาลที่จะกลับมา
"ดังนั้นการลงทุนในตราสารหนี้ช่วงระยะนี้ควรลงทุนในตราสารหนี้ที่อายุไม่ยาวเพื่อรอดอกเบี้ยปรับขึ้นลงทุนใหม่"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 29 มิ.ย. 58 ปิดที่ 1,511.19 จุด ลดลง 6.84 จุด เปลี่ยนแปลง -0.45% มูลค่าการซื้อขาย 39,263.73 ล้านบาท โดยดัชนีแตะจุดสูงสุดที่ 1,516.93 จุด และต่ำสุดที่ 1,495.86 จุด
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บอกว่า ความวิตกกังวลเรื่องกรีซ จะมีผลต่อตลาดหุ้นไทยเพียงระยะสั้นเท่านั้น หลังจากสหภาพยุโรป หรือ อียู จะไม่ให้เงินช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติม แต่ปัญหากรีซเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2011 และมาตรการของเจ้าหนี้ก็เพื่อให้กรีซมีวินัยการทางเงินมากขึ้น เพราะเกรงว่าปัญหาจะลุกลามไปยังประเทศอื่น ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อเสถียรภาพในระยะยาว
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า กรณีของกรีซในระยะสั้นคงทำให้ตลาดผันผวนจากความไม่แน่ใจและความไม่แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนในหุ้น แต่ถ้ามองในแง่ของเศรษฐกิจกรีซเองไม่ถึง 2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกลุ่มยุโรป
ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจยุโรปคงน้อยมาก ในส่วนของธนาคารเยอรมันและฝรั่งเศสที่ปล่อยกู้ให้กับกรีซนั้นเชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมาได้มีการตั้งสำรองไปเป็นส่วนใหญ่แล้วผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรเองคงน้อยมากเช่นกัน อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนที่มีอยู่อาจจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลงได้ในช่วงสั้นและที่มีความเป็นห่วงว่าประเทศเล็กที่มีปัญหาอื่นๆ อาจจะเลียนแบบกรีซเชื่อว่าจะไม่มีเพราะเขาได้เห็นบทเรียนจากกรีซแล้วเชื่อว่าน่าจะพยายามแก้ไขปัญหาไปมากกว่าโดยมีการจัดการที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น มีการแก้ไขปัญหาไปตามกรอบที่ได้วางเอาไว้แล้วไม่ใช่มาเจรจาต่อรองในลักษณะเดียวกับกรีซ
“ผลกระทบกับไทยคงไม่มากเพราะไทยมีการค้ากับกรีซไม่มากอาจจะมีในส่วนของการท่องเที่ยวบ้าง คนที่ทำการค้ากับกรีซอาจจะต้องมาดูว่าแบงก์ของกรีซจะมีเงินมาจ่ายการค้าได้หรือไม่ เป็นต้นในแง่ของผลกระทบกับไทยเองก็คงไม่มากเช่นกัน ในส่วนของกรีซถ้าออกจากกลุ่มยูโรโซนปัญหาคงมีมากขึ้นอาจมีประชากรออกไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เป็นต้น สำหรับนักลงทุนก็ไม่ควรตื่นตกใจกับข่าวกรีซมากเกินไปเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเพียงผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น”
ด้านนายชัยยศ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก บอกว่า ดัชนีหุ้นไทยภาคเช้าปรับตัวลงไปกว่า 20 จุด เป็นผลมาจากความวิตกกังวลกรีซจะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งตลาดหุ้นในภูมิภาคเช้านี้รับข่าวดังกล่าวกันทั่วหน้า กดดันดัชนีร่วงลงแรงทุกตลาด
ตลาดหุ้นยุโรปได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า กรีซอาจจะผิดนัดชำระหนี้โดยดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 2.8% แตะที่ 385.64 จุด เมื่อเวลา 08.09 น.ตามเวลาลอนดอน ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันเปิดที่ 11,404.71 จุด ลดลง 87.72 จุด หรือ 0.76% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสเปิดที่ 4,821.45 จุด ร่วงลง 237.72 จุด หรือ 4.70%
ในส่วนของตลาดหุ้นเอเซียดัชนีนิกเคอิ 225 ของญี่ปุ่นปิดการซื้อขายในวันจันทร์ที่ 29 มิ.ย.ที่ 20,109.95 จุดปรับตัวลดลง 596.20 จุด เปลี่ยนแปลง 2.88% ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพซิตเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยลดลงมากถึง 7.58% ในช่วงหนึ่งของการซื้อขาย ก่อนปิดตลาดที่ 4,053.03 จุด ลดลง 139.84 จุด เปลี่ยนแปลง 3.34%
นักวิเคราะห์ บล.ธนชาตคาดว่าดัชนีหุ้นไทยจะผันผวนสั้น และมองเป็นโอกาส “ซื้อ” สำหรับนักลงทุนระยะยาวเนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบในวงจำกัดเนื่องจาก 1.หนี้กรีซ 323 ,000 ล้านยูโร ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ รัฐบาล 76% หรือ 246,000 ล้านยูโร ทำให้ภาคเอกชนกระทบจำกัด 2.ธนาคารกลางยุโรป มีมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณ หรือมาตรการ QE เพื่อลดแรงกดดันด้านสภาพคล่อง 3.ประเทศไทยแม้ มีสัดส่วนส่งอออกไป ยุโรป ประมาณ 10% แตส่งออกไปกรีซเพียง 0.1% เท่านั้น ขณะที่ ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED อาจไม่รีบขึ้นดอกเบี้ยหลัง EU มีปัญหาเพิ่มขึ้น และ ล่าสุด ธ.กลางจีนประกาศลดดอกเบี้ย ลง แนะนำ ซื้อ AOT, CK, STEC, SEAFCO, INTUCH, SAMART, BLA
พร้อมคาดการณ์ว่าในวันนี้ (30 มิ.ย.) ตลาดฯคงจะแกว่งไซต์เวย์ ขึ้นกับกระแสข่าวของกรีซที่จะทะยอยประกาศ ขระที่เศรษฐกิจไทยก็ดูจะยังไม่ค่อยดีเท่าไร ล่าสุดตัวเลขส่งออกก็ต่ำกว่าคาด ช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะต้องให้รัฐฯเร่งจับจ่ายการลงทุนให้มากขึ้น พร้อมให้แนวรับ 1,510-1,500 จุด ส่วนแนวต้าน 1,520-1,530 จุด โดยมีจุดฟิวเตอร์ที่ 1,510 จุด
**กรีซสั่งปิดแบงก์-ตลาดหุ้น**
เอเอฟพี/เอพี – ในวันจันทร์ (29) รัฐบาลกรีซประกาศอย่างเป็นทางการสั่งปิดทำการธนาคารภายในประเทศเป็นเวลา 6 วันนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อป้องกันระบบธนาคารของประเทศล้ม พร้อมกับออกมาตรการควบคุมระบบเงินทุนในประเทศ รวมไปถึง การอนุญาตให้สามารถถอนเงินสดได้เพียงวันละ 60 ยูโร เท่านั้น หลังจากประชาชนแห่ถอนเงินสดออกจากเครื่อง ATM ออกมากกว่า “2.2 หมื่นล้านยูโร” ในวันเสาร์ (27 ) จนตู้ ATM 1 ใน 3 ของประเทศถึงกับเงินเกลี้ยงตู้ และทำให้ในขณะนี้มีตู้ ATM เพียงแค่ 40% ของทั้งประเทศที่ยังคงมีเงินเหลืออยู่
ในวันนี้(29) รัฐบาลกรีซได้ออกมาสั่งปิดการให้บริการธนาคารภายในประเทศอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 6 วัน โดยเริ่มจากวันจันทร์(29)เป็นต้นไป โดยจะมีกำหนดปิดไปจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ พร้อมกับออกมาตรการควบคุมเงินทุน อนุญาตให้ประชาชนชาวกรีกสามารถถอนเงินได้วันละ 60 ยูโร เท่านั้น แต่ทว่ามาตรการนี้ไม่ครอบคลุมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเป็นแหล่งรายได้สูงสุดของประเทศในเวลานี้
และหลังการประกาศข่าวร้ายสั่งปิดแบงก์เผยแพร่ออกไป ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียในช่วงเช้าวันจันทร์(29)หวั่นไหวกับข่าวนี้อย่างหนัก ตลาดหุ้นในโตเกียว ซิดนีย์ เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกงตกอย่างฉับพลันมากกว่า 2% ในบ่ายวันจันทร์(29)
นอกจากนี้ในวันนี้(29) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กรีซปิดทำการ แต่คาดว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นในส่วนต่างๆของโลกจะปรับตัวตามทิศทางตลาดหุ้นเอเชีย ซึ่งถือเป็นวันที่มีความผันผวนมากที่สุดวันหนึ่งในการซื้อขายทั่วโลก หลังจากนักค้าหลักทรัพย์ต่างตื่นเช้ามาในวันทำงานวันแรกเพื่อพบว่ากรีซเข้าใกล้การล้มละลายทุกขณะ
ด้านแหล่งข่าวการเงินกรีซให้สัมภาษณ์ว่า ในขณะนี้ ตู้ ATM ทั่วประเทศมีเงินบรรจุอยู่ภายในเพียงแค่ 40% ของจำนวนตู้ทั้งหมดที่ตั้งกระจายตามภูมิภาคต่างๆ
อนึ่ง เอเอฟพีรายงานว่า รัฐบาลกรีซออกมาตรการควบคุมระบบทุนออกมาหลังจากธนาคารกลางยุโรป ECB ประกาศจะไม่ขยายความช่วยเหลือเงินฉุกเฉิน ELA แก่กรีซ หลังรัฐบาลเอเธนส์ชุดปัจจุบันของ อเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซซึ่งเป็นพวกฝ่ายซ้าย ได้ประกาศจัดการลงประชามติในวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ว่ามหาชนชาวกรีกจะยอมรับหรือปฏิเสธผลลัพธ์การเจรจาข้อตกลงช่วยเหลือทางการเงินระหว่างเอเธนส์กับเจ้าหนี้นานาชาติกลุ่มทรอยกา ที่ประกอบด้วยสหภาพยุโรป (EU) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางยุโรป (EBC) ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเจรจาหนี้ล้มลงที่กรุงบรัสเซลส์ก่อนหน้านี้
และทำให้บรรดาเจ้าหนี้ต่างชาติกรีซต่างรวมตัวประกาศไม่เลื่อนเส้นตายกำหนดการชำระหนี้กรีซออกไปซึ่งจะมาถึงในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ และทำให้เกิดความแตกตื่นเกรงว่า กรีซอาจจะเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับ IMF ขึ้น และอาจจะทำให้ต้องออกจากยูโรโซนก็เป็นได้
**กรีซไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ไทย**
ด้าน นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่าสถานการณ์เรื่องปัญหาหนี้ของประเทศกรีซนั้น ปัจจุบันตลาดการลงทุนรับรู้สถานการณ์ไปแล้วหากกรีซต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนก็ไม่น่าจะส่งกระทบต่อการลงทุนมากนัก
โดยในส่วนของตลาดตราสารหนี้ไทย ไม่ได้มีเงินไหลออกจากเรื่องกรีซ แต่มาจากเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้พันธบัตรระยะยาวยิล์ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ยิลด์พันธบัตรระยะสั้นของไทยปรับขึ้นเล็กน้อยตามไปด้วย
"จากปัจจัยความเสี่ยงท้้งเรื่องปัญหากรีซและการขี้นเอกเบี้ยของสหรัฐฯนั้น เชื่อว่ากลไกตลาดจะทำให้ตลาดการลงทุนไม่กระทบรุนแรง ตลาดยังมีความต้องการรอการลงทุนอยู่"
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยที่ปรับลดลง 2 ครั้งแต่พันธบัตรระยะยาวของไทยยิลด์ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งมองว่าเศรษฐกิจของไทยปรับตัวถึงจุดต่ำสุดแล้ว และน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยดูจาดภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตและเม็ดเงินการลงทุนจากภาครัฐบาลที่จะกลับมา
"ดังนั้นการลงทุนในตราสารหนี้ช่วงระยะนี้ควรลงทุนในตราสารหนี้ที่อายุไม่ยาวเพื่อรอดอกเบี้ยปรับขึ้นลงทุนใหม่"