(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
China’s South China Sea dominance is the price US pays for Iraq and Afghanistan
Author: David P. Goldman
08/06/2015
จากการที่จีนใช้ท่าทียืนกรานแข็งกร้าวเรื่องพื้นที่ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ขณะที่อเมริกากำลังพยายามคัดค้านทัดทานนั้น ผมขอฟันธงไปเลยว่า จีนจะได้สิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการ โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดสงครามระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมาด้วย เหตุผลก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาที่ทำให้อเมริกาสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าในน่านน้ำทางเอเชียตะวันออกมานานหลายสิบปีแล้ว เวลานี้กลับมีจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีจากขีปนาวุธประเภทยิงจากพื้นผิวสู่เรือ ของจีน ตลอดจนจากเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า ของจีนเสียแล้ว
ในเรื่องเด่นที่สุดของเอเชียไทมส์วันนี้ เอ็ม เค ภัทรกุมาร วิเคราะห์เอกสารแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของทางการสหรัฐฯและทางการอินเดีย ภายหลังการเยือนกรุงนิวเดลีของรัฐมนตรีกลาโหม แอชตัน คาร์เตอร์ ของสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดบทความนี้ได้ที่ http://atimes.com/2015/06/testing-times-for-indias-china-policies/ หรือดูฉบับเก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069779) พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายอเมริกันนั้นโหมประโคมกันใหญ่โตถึง “การบรรจบกันทางยุทธศาสตร์ (ในการต่อต้านจีน” ขณะที่ โมดี กลับยังคงจงใจรักษาท่าทีอันคลุมเครือในเรื่องเกี่ยวกับลักษณะแห่งความสัมพันธ์ด้านกลาโหมที่อินเดียมีอยู่กับสหรัฐฯ สำหรับตัวผมเองนั้นขอเสนอคำพยากรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากการที่จีนใช้ท่าทียืนกรานแข็งกร้าวเรื่องพื้นที่ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ขณะที่อเมริกาพยายามคัดค้านทัดทาน โดยผมขอฟันธงกันไปเลยว่า จีนจะได้สิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการ
ผมขอฟันธงด้วยว่า มันจะไม่เกิดสงครามขึ้นมาหรอก เพราะไม่มีหนทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะทำสงคราม กระทั่งว่าสหรัฐฯอาจต้องการที่จะนำเรื่องนี้ไต่ระดับความตึงเครียดขึ้นไปจนถึงจุดของการประจันหน้ากันทางการทหารก็ตามที แน่นอนทีเดียว อาจจะมีนักบินสักคนซึ่งคุมสติอารมณ์ของตนเองไม่ได้ จนกระทั่งมีการปล่อยขีปนาวุธเข้าใส่ฝ่ายตรงข้าม ทว่ากระทั่งเกิดเหตุการณ์ยิงตอบโต้กันเช่นนั้นขึ้นมา ก็จะไม่จุดชนวนให้เกิดการขัดแย้งสู้รบอันใหญ่โตกว้างขวางขึ้นมา เหตุผลง่ายๆ เลย ที่ทำให้ผมมีความมั่นใจมั่นอกเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่จะออกมาถึงขนาดนี้ ก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาที่ทำให้อเมริกาสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าในน่านน้ำทางเอเชียตะวันออกมานานหลายสิบปีแล้ว เวลานี้กลับมีจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีจากขีปนาวุธประเภทยิงจากพื้นผิวสู่เรือ (surface-to-ship missiles) ของจีน ตลอดจนจากเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า (diesel-electric submarines) ของจีน ทั้งนี้มีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างคึกคักทีเดียว เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ “ขีปนาวุธสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” แบบ ดีเอฟ-21 ดี (DF-21D “carrier killer missile”) ของจีน ซึ่งจะถูกยิงขึ้นไปสู่อวกาศ แล้วหันหัวดิ่งกลับลงสู่เป้าหมายของตน (ดูรายละเอียดการอภิปรายถกเถียงนี้ได้ที่ http://nationalinterest.org/feature/should-america-fear-chinas-carrier-killer-missile-1132 ) แต่สิ่งซึ่งน่าจะเกิดขึ้นก็คือ การระดมโจมตีด้วยขีปนาวุธจีนจะสามารถเจาะการป้องกันของเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันเข้าไปจนได้ หรือถ้าหากขีปนาวุธทำไม่ได้ เรือดำน้ำแดนมังกรก็น่าจะเป็นฝ่ายที่ทำได้สำเร็จ ทั้งนี้เรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเมื่อแล่นอยู่บนผิวน้ำ และใช้แบตเตอรีขับมอเตอร์เมื่อแล่นอยู่ใต้น้ำนั้น สามารถเดินเครื่องได้เงียบกริบอย่างยิ่ง และได้ “จม” เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันมาหลายลำแล้วในการฝึกซ้อมรบของนาโต้หลายๆ ครั้งในอดีตที่ผ่านมา
แน่นอนทีเดียวว่า สหรัฐฯกำลังสาละวนอยู่กับวิธีการตอบโต้รับมือกับการถูกโจมตีลักษณะนี้ ทว่าจากการที่งบประมาณการวิจัยและพัฒนาทางกลาโหมอันล้ำหน้า ได้ถูกตัดทอนอยู่เรื่อยๆ จนไม่พอใช้อย่างเรื้อรังมายาวนานแล้ว จึงทำให้โครงการทางด้านนี้อยู่ในสภาพอ่อนด้อยพัฒนาและถูกนำเข้าประจำการน้อยเกินไป คณะบริหารของประธานาธิบดี (จอร์จ ดับเบิลยู) บุช ได้ใช้จ่ายงบประมาณไปราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ ในอิรักและอัฟกานิสถาน ส่วนใหญ่เลยเป็นการใช้จ่ายในด้านบุคลากร และได้ตัดลดงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาทางกลาโหม เพื่อให้มีเงินนำมาใช้จ่ายในโครงการช่วยประเทศในภูมิภาคนั้นทำการสร้างชาติ (nation-building) นี่เป็นการแลกเปลี่ยนยื่นหมูยื่นแมวที่ย่ำแย่เลวร้าย สหรัฐฯแทบไม่สามารถโอ่อวดสิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามของตนเลย ยกเว้นแต่ความวุ่นวายยุ่งเหยิงซึ่งเข้าครอบคลุมไปทั่วทั้งดินแดนเลแวนต์ (Levant) และ เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ภายหลังการล่มสลายลงของรัฐอิรัก ขณะที่จีนกลับได้เวลาสำหรับอุดช่วงห่างทางเทคโนโลยีที่ยังตามหลังสหรัฐฯอยู่ รวมทั้งถ้าหากจำเป็นก็สามารถลบล้างทำลายเครื่องมือสำคัญที่สุดของอเมริกาในการแสดงแสนยานุภาพในภูมิภาคแถบนี้
วอชิงตันไม่สบายใจต่อการที่จีนเดินหน้าอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้อย่างแข็งกร้าว จริงๆ แล้วมันก็ไม่ควรเป็นเรื่องน่าสบายใจหรอก การเข้ายึดหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) เอาไว้ในทางพฤตินัย คือการหยามหยันเหล่าชาติพันธมิตรของอเมริกัน อีกทั้งล่วงละเมิดบรรทัดฐานของความประพฤติอันดีในทางระหว่างประเทศ ผมเองก็ไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทว่าไม่มีทางเลยที่จะบังคับให้จีนหยุดยั้งยุติได้ และก็ไม่มีทางเลยที่จะโน้มน้าวชักจูงให้แดนมังกรหยุดยั้งยุติได้เช่นกัน
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นอย่างที่พวกนักวิเคราะห์บางคนแสดงทัศนะว่า เป็นการที่ปักกิ่งโหมประโคม “ลัทธิชาตินิยมแห่งความเป็นชาวจีน” (Chinese nationalism) เพื่อหันเหความคิดของประชากรจีนให้ออกมาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังเชื่องช้าลง แท้จริงแล้วคำว่า “ลัทธิชาตินิยมแห่งความเป็นชาวจีน” นั้นก็เป็นการนำเอาคำที่ขัดแย้งกันมารวมเป็นวลีเดียวกัน กล่าวคือ จีนนั้นไม่ใช่เป็นชาติๆ หนึ่ง หากแต่มีลักษณะเป็นจักรวรรดิหนึ่งซึ่งนำเอาชาติต่างๆ หลายๆ ชาติ มาขึ้นต่อระบบตัวหนังสือเขียนที่ใช้ร่วมกัน และมาขึ้นต่ออำนาจส่วนกลางในปักกิ่ง เมื่อคนจีนพูดว่า พรมแดน “ตามประวัติศาสตร์” ของพวกเขาเป็นสิ่งที่ใครจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ สิ่งที่พวกเขาต้องการหมายถึงก็คือ การผสมกลมกลืนคนชาติพันธุ์ต่างๆ และกลุ่มภาษาจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นเข้าด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็น “ประเทศจีน” (จงกว๋อ) ขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจถอยหลังกลับคืนได้อีกแล้ว ถ้าหากมันสามารถที่จะถอยหลังกลับคืนได้ บูรณาการของวัฒนธรรมจีนและรากฐานของอารยธรรมจีนก็จะตกอยู่ในอันตราย แน่นอนทีเดียวว่าเราสามารถที่จะโต้แย้งเกี่ยวกับ “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ของจีนที่มีเหนือเกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทว่าในวิธีคิดของชาวจีนแล้ว มันยังมีองค์ประกอบของ “สิ่งที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก” (a fortiori) กล่าวคือ ถ้าหากจีนใช้แนวทางที่แข็งกร้าวต่อกรณีพิพาทเหนือหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยเช่นนี้ได้ แดนมังกรก็จะต้องใช้ความแข็งกร้าวยิ่งกว่านี้นักหนาในการต้านทานบรรดาพลังหนีศูนย์กลางซึ่งอยู่ในทิเบตหรืออยู่ในซินเจียง
การพูดจากันเกี่ยวกับการบรรจบกันทางยุทธศาสตร์ระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯ หรือการจับมือเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและอินเดียเพื่อต่อต้านจีน เหล่านี้มันเป็นเพียงการพูดกันลอย ๆ อินเดียนั้นไม่ได้กำลังจะส่งเรือบรรทุกเครื่องบินไปประจันหน้ากับฝ่ายจีนในบริเวณรอบๆ หมู่เกาะสแปรตลีย์หรอก ส่วนญี่ปุ่นก็ไม่ได้จะส่งกองเรือติดขีปนาวุธไปยังมหาสมุทรอินเดีย ถ้าหากอินเดียเกิดระเบิดศึกน้ำลายกับจีนในเรื่องดินแดนแถบเทือกเขาหิมาลัย หรือถ้ามีการทำเช่นนั้นจริงๆ ก็ยังเป็นเรื่องน่าคิดว่ามันจะประสบผลอะไรขึ้นมา?
ในช่วงสงครามเย็น การที่อเมริกาเป็นฝ่ายชนะสงครามดังกล่าว ที่สำคัญมากทีเดียวก็เนื่องจากฝ่ายรัสเซียทราบดีว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านอิเล็กทรอนิกส์การบินและอวกาศของอเมริกา จะทำให้องค์การนาโตสามารถควบคุมน่านฟ้าเอาไว้ได้ไม่ว่าจะเกิดสงครามแบบไหนขึ้นมา พวกเขาทราบดีว่าขีปนาวุธแบบ เปอร์ชิ่ง (Pershing) ซึ่งติดตั้งอยู่ในเยอรมนีและอิตาลี จะทำให้นาโตเป็นฝ่ายได้เปรียบในกรณีที่มีการตอบโต้ยิงอาวุธนิวเคลียร์เข้าใส่กันขึ้นมา ยิ่งกว่านั้นแผนริเริ่มป้องกันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defense Initiative) ของรัฐบาลประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน คือเครื่องบอกเหตุล่วงหน้าถึงเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ที่รัสเซียไม่อาจเทียมทาน ในเวลานั้นจีนยืนดูอยู่ห่างๆ ออกไป และผูกตนเองเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ --อภิมหาอำนาจผู้มีเทคโนโลยีระดับเหนือชั้นล้ำเลิศ
ถ้าหากอเมริกาต้องการทำให้จีนบังเกิดความเคารพนับถือแล้ว อเมริกาก็จะต้องเพิ่มช่วงห่างทางเทคโนโลยี แทนที่จะเฝ้ามองมันหดแคบลงไป ถ้าหากจีนเชื่อว่าระบบอาวุธของตนไร้ประสิทธิภาพเมื่อเผชิญกับมาตรการตอบโต้ของฝ่ายอเมริกัน แดนมังกรก็จะแสดงให้เห็นความระมัดระวังตัวยิ่งกว่านี้นักหนา ทว่าเวลานี้สิ่งตรงกันข้ามต่างหากที่กำลังปรากฏขึ้นมา กล่าวคือช่วงห่างทางเทคโนโลยีกำลังหดหายไปเรื่อยๆ และจีนก็ทราบเป็นอันดี กระนั้นก็ไม่ปรากฏว่าในอเมริกามีผู้ลงคะแนนเลือกตั้งอันชัดเจนแสดงการสนับสนุนความพยายามดังกล่าวนี้ และก็ไม่มีผู้นำคนสำคัญใดๆ ให้คำมั่นสัญญาที่จะกระทำการดังกล่าวนี้ การหวนกลับไปสู่ความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะรักษาความเลิศล้ำกว่าทางเทคโนโลยีของอเมริกาเอาไว้ให้ได้ อย่างที่ปรากฏในยุคประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์-เคนเนดี้-เรแกน ยังจะส่งผลดีที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อผลิตภาพที่กำลังล้าหลังของอเมริกาอีกด้วย ทว่ามันเป็นเรื่องยากลำบากเหลือเกินในเวลานี้ ที่จะโน้มน้าวชักชวนชาวอเมริกันให้เห็นด้วยว่า การเป็นผู้ที่แข็งแกร่งจริงๆ นั้นดีกว่าการเป็นผู้ที่แค่ส่งเสียงดังๆ นักหนา
เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengle) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน
China’s South China Sea dominance is the price US pays for Iraq and Afghanistan
Author: David P. Goldman
08/06/2015
จากการที่จีนใช้ท่าทียืนกรานแข็งกร้าวเรื่องพื้นที่ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ขณะที่อเมริกากำลังพยายามคัดค้านทัดทานนั้น ผมขอฟันธงไปเลยว่า จีนจะได้สิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการ โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดสงครามระหว่างสหรัฐฯกับจีนขึ้นมาด้วย เหตุผลก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาที่ทำให้อเมริกาสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าในน่านน้ำทางเอเชียตะวันออกมานานหลายสิบปีแล้ว เวลานี้กลับมีจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีจากขีปนาวุธประเภทยิงจากพื้นผิวสู่เรือ ของจีน ตลอดจนจากเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า ของจีนเสียแล้ว
ในเรื่องเด่นที่สุดของเอเชียไทมส์วันนี้ เอ็ม เค ภัทรกุมาร วิเคราะห์เอกสารแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของทางการสหรัฐฯและทางการอินเดีย ภายหลังการเยือนกรุงนิวเดลีของรัฐมนตรีกลาโหม แอชตัน คาร์เตอร์ ของสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดบทความนี้ได้ที่ http://atimes.com/2015/06/testing-times-for-indias-china-policies/ หรือดูฉบับเก็บความเป็นภาษาไทยแล้วได้ที่ http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069779) พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายอเมริกันนั้นโหมประโคมกันใหญ่โตถึง “การบรรจบกันทางยุทธศาสตร์ (ในการต่อต้านจีน” ขณะที่ โมดี กลับยังคงจงใจรักษาท่าทีอันคลุมเครือในเรื่องเกี่ยวกับลักษณะแห่งความสัมพันธ์ด้านกลาโหมที่อินเดียมีอยู่กับสหรัฐฯ สำหรับตัวผมเองนั้นขอเสนอคำพยากรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น จากการที่จีนใช้ท่าทียืนกรานแข็งกร้าวเรื่องพื้นที่ดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ขณะที่อเมริกาพยายามคัดค้านทัดทาน โดยผมขอฟันธงกันไปเลยว่า จีนจะได้สิ่งต่างๆ ที่ตนเองต้องการ
ผมขอฟันธงด้วยว่า มันจะไม่เกิดสงครามขึ้นมาหรอก เพราะไม่มีหนทางเป็นไปได้ในทางปฏิบัติที่จะทำสงคราม กระทั่งว่าสหรัฐฯอาจต้องการที่จะนำเรื่องนี้ไต่ระดับความตึงเครียดขึ้นไปจนถึงจุดของการประจันหน้ากันทางการทหารก็ตามที แน่นอนทีเดียว อาจจะมีนักบินสักคนซึ่งคุมสติอารมณ์ของตนเองไม่ได้ จนกระทั่งมีการปล่อยขีปนาวุธเข้าใส่ฝ่ายตรงข้าม ทว่ากระทั่งเกิดเหตุการณ์ยิงตอบโต้กันเช่นนั้นขึ้นมา ก็จะไม่จุดชนวนให้เกิดการขัดแย้งสู้รบอันใหญ่โตกว้างขวางขึ้นมา เหตุผลง่ายๆ เลย ที่ทำให้ผมมีความมั่นใจมั่นอกเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่จะออกมาถึงขนาดนี้ ก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาที่ทำให้อเมริกาสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าในน่านน้ำทางเอเชียตะวันออกมานานหลายสิบปีแล้ว เวลานี้กลับมีจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีจากขีปนาวุธประเภทยิงจากพื้นผิวสู่เรือ (surface-to-ship missiles) ของจีน ตลอดจนจากเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า (diesel-electric submarines) ของจีน ทั้งนี้มีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างคึกคักทีเดียว เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ “ขีปนาวุธสังหารเรือบรรทุกเครื่องบิน” แบบ ดีเอฟ-21 ดี (DF-21D “carrier killer missile”) ของจีน ซึ่งจะถูกยิงขึ้นไปสู่อวกาศ แล้วหันหัวดิ่งกลับลงสู่เป้าหมายของตน (ดูรายละเอียดการอภิปรายถกเถียงนี้ได้ที่ http://nationalinterest.org/feature/should-america-fear-chinas-carrier-killer-missile-1132 ) แต่สิ่งซึ่งน่าจะเกิดขึ้นก็คือ การระดมโจมตีด้วยขีปนาวุธจีนจะสามารถเจาะการป้องกันของเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันเข้าไปจนได้ หรือถ้าหากขีปนาวุธทำไม่ได้ เรือดำน้ำแดนมังกรก็น่าจะเป็นฝ่ายที่ทำได้สำเร็จ ทั้งนี้เรือดำน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเมื่อแล่นอยู่บนผิวน้ำ และใช้แบตเตอรีขับมอเตอร์เมื่อแล่นอยู่ใต้น้ำนั้น สามารถเดินเครื่องได้เงียบกริบอย่างยิ่ง และได้ “จม” เรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันมาหลายลำแล้วในการฝึกซ้อมรบของนาโต้หลายๆ ครั้งในอดีตที่ผ่านมา
แน่นอนทีเดียวว่า สหรัฐฯกำลังสาละวนอยู่กับวิธีการตอบโต้รับมือกับการถูกโจมตีลักษณะนี้ ทว่าจากการที่งบประมาณการวิจัยและพัฒนาทางกลาโหมอันล้ำหน้า ได้ถูกตัดทอนอยู่เรื่อยๆ จนไม่พอใช้อย่างเรื้อรังมายาวนานแล้ว จึงทำให้โครงการทางด้านนี้อยู่ในสภาพอ่อนด้อยพัฒนาและถูกนำเข้าประจำการน้อยเกินไป คณะบริหารของประธานาธิบดี (จอร์จ ดับเบิลยู) บุช ได้ใช้จ่ายงบประมาณไปราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ ในอิรักและอัฟกานิสถาน ส่วนใหญ่เลยเป็นการใช้จ่ายในด้านบุคลากร และได้ตัดลดงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาทางกลาโหม เพื่อให้มีเงินนำมาใช้จ่ายในโครงการช่วยประเทศในภูมิภาคนั้นทำการสร้างชาติ (nation-building) นี่เป็นการแลกเปลี่ยนยื่นหมูยื่นแมวที่ย่ำแย่เลวร้าย สหรัฐฯแทบไม่สามารถโอ่อวดสิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามของตนเลย ยกเว้นแต่ความวุ่นวายยุ่งเหยิงซึ่งเข้าครอบคลุมไปทั่วทั้งดินแดนเลแวนต์ (Levant) และ เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ภายหลังการล่มสลายลงของรัฐอิรัก ขณะที่จีนกลับได้เวลาสำหรับอุดช่วงห่างทางเทคโนโลยีที่ยังตามหลังสหรัฐฯอยู่ รวมทั้งถ้าหากจำเป็นก็สามารถลบล้างทำลายเครื่องมือสำคัญที่สุดของอเมริกาในการแสดงแสนยานุภาพในภูมิภาคแถบนี้
วอชิงตันไม่สบายใจต่อการที่จีนเดินหน้าอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้อย่างแข็งกร้าว จริงๆ แล้วมันก็ไม่ควรเป็นเรื่องน่าสบายใจหรอก การเข้ายึดหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) เอาไว้ในทางพฤตินัย คือการหยามหยันเหล่าชาติพันธมิตรของอเมริกัน อีกทั้งล่วงละเมิดบรรทัดฐานของความประพฤติอันดีในทางระหว่างประเทศ ผมเองก็ไม่สบายใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทว่าไม่มีทางเลยที่จะบังคับให้จีนหยุดยั้งยุติได้ และก็ไม่มีทางเลยที่จะโน้มน้าวชักจูงให้แดนมังกรหยุดยั้งยุติได้เช่นกัน
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นอย่างที่พวกนักวิเคราะห์บางคนแสดงทัศนะว่า เป็นการที่ปักกิ่งโหมประโคม “ลัทธิชาตินิยมแห่งความเป็นชาวจีน” (Chinese nationalism) เพื่อหันเหความคิดของประชากรจีนให้ออกมาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังเชื่องช้าลง แท้จริงแล้วคำว่า “ลัทธิชาตินิยมแห่งความเป็นชาวจีน” นั้นก็เป็นการนำเอาคำที่ขัดแย้งกันมารวมเป็นวลีเดียวกัน กล่าวคือ จีนนั้นไม่ใช่เป็นชาติๆ หนึ่ง หากแต่มีลักษณะเป็นจักรวรรดิหนึ่งซึ่งนำเอาชาติต่างๆ หลายๆ ชาติ มาขึ้นต่อระบบตัวหนังสือเขียนที่ใช้ร่วมกัน และมาขึ้นต่ออำนาจส่วนกลางในปักกิ่ง เมื่อคนจีนพูดว่า พรมแดน “ตามประวัติศาสตร์” ของพวกเขาเป็นสิ่งที่ใครจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ สิ่งที่พวกเขาต้องการหมายถึงก็คือ การผสมกลมกลืนคนชาติพันธุ์ต่างๆ และกลุ่มภาษาจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นเข้าด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็น “ประเทศจีน” (จงกว๋อ) ขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจถอยหลังกลับคืนได้อีกแล้ว ถ้าหากมันสามารถที่จะถอยหลังกลับคืนได้ บูรณาการของวัฒนธรรมจีนและรากฐานของอารยธรรมจีนก็จะตกอยู่ในอันตราย แน่นอนทีเดียวว่าเราสามารถที่จะโต้แย้งเกี่ยวกับ “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ของจีนที่มีเหนือเกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทว่าในวิธีคิดของชาวจีนแล้ว มันยังมีองค์ประกอบของ “สิ่งที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก” (a fortiori) กล่าวคือ ถ้าหากจีนใช้แนวทางที่แข็งกร้าวต่อกรณีพิพาทเหนือหมู่เกาะเล็กเกาะน้อยซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยเช่นนี้ได้ แดนมังกรก็จะต้องใช้ความแข็งกร้าวยิ่งกว่านี้นักหนาในการต้านทานบรรดาพลังหนีศูนย์กลางซึ่งอยู่ในทิเบตหรืออยู่ในซินเจียง
การพูดจากันเกี่ยวกับการบรรจบกันทางยุทธศาสตร์ระหว่างอินเดียกับสหรัฐฯ หรือการจับมือเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและอินเดียเพื่อต่อต้านจีน เหล่านี้มันเป็นเพียงการพูดกันลอย ๆ อินเดียนั้นไม่ได้กำลังจะส่งเรือบรรทุกเครื่องบินไปประจันหน้ากับฝ่ายจีนในบริเวณรอบๆ หมู่เกาะสแปรตลีย์หรอก ส่วนญี่ปุ่นก็ไม่ได้จะส่งกองเรือติดขีปนาวุธไปยังมหาสมุทรอินเดีย ถ้าหากอินเดียเกิดระเบิดศึกน้ำลายกับจีนในเรื่องดินแดนแถบเทือกเขาหิมาลัย หรือถ้ามีการทำเช่นนั้นจริงๆ ก็ยังเป็นเรื่องน่าคิดว่ามันจะประสบผลอะไรขึ้นมา?
ในช่วงสงครามเย็น การที่อเมริกาเป็นฝ่ายชนะสงครามดังกล่าว ที่สำคัญมากทีเดียวก็เนื่องจากฝ่ายรัสเซียทราบดีว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านอิเล็กทรอนิกส์การบินและอวกาศของอเมริกา จะทำให้องค์การนาโตสามารถควบคุมน่านฟ้าเอาไว้ได้ไม่ว่าจะเกิดสงครามแบบไหนขึ้นมา พวกเขาทราบดีว่าขีปนาวุธแบบ เปอร์ชิ่ง (Pershing) ซึ่งติดตั้งอยู่ในเยอรมนีและอิตาลี จะทำให้นาโตเป็นฝ่ายได้เปรียบในกรณีที่มีการตอบโต้ยิงอาวุธนิวเคลียร์เข้าใส่กันขึ้นมา ยิ่งกว่านั้นแผนริเริ่มป้องกันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defense Initiative) ของรัฐบาลประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน คือเครื่องบอกเหตุล่วงหน้าถึงเทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆ ที่รัสเซียไม่อาจเทียมทาน ในเวลานั้นจีนยืนดูอยู่ห่างๆ ออกไป และผูกตนเองเข้าเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ --อภิมหาอำนาจผู้มีเทคโนโลยีระดับเหนือชั้นล้ำเลิศ
ถ้าหากอเมริกาต้องการทำให้จีนบังเกิดความเคารพนับถือแล้ว อเมริกาก็จะต้องเพิ่มช่วงห่างทางเทคโนโลยี แทนที่จะเฝ้ามองมันหดแคบลงไป ถ้าหากจีนเชื่อว่าระบบอาวุธของตนไร้ประสิทธิภาพเมื่อเผชิญกับมาตรการตอบโต้ของฝ่ายอเมริกัน แดนมังกรก็จะแสดงให้เห็นความระมัดระวังตัวยิ่งกว่านี้นักหนา ทว่าเวลานี้สิ่งตรงกันข้ามต่างหากที่กำลังปรากฏขึ้นมา กล่าวคือช่วงห่างทางเทคโนโลยีกำลังหดหายไปเรื่อยๆ และจีนก็ทราบเป็นอันดี กระนั้นก็ไม่ปรากฏว่าในอเมริกามีผู้ลงคะแนนเลือกตั้งอันชัดเจนแสดงการสนับสนุนความพยายามดังกล่าวนี้ และก็ไม่มีผู้นำคนสำคัญใดๆ ให้คำมั่นสัญญาที่จะกระทำการดังกล่าวนี้ การหวนกลับไปสู่ความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะรักษาความเลิศล้ำกว่าทางเทคโนโลยีของอเมริกาเอาไว้ให้ได้ อย่างที่ปรากฏในยุคประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์-เคนเนดี้-เรแกน ยังจะส่งผลดีที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อผลิตภาพที่กำลังล้าหลังของอเมริกาอีกด้วย ทว่ามันเป็นเรื่องยากลำบากเหลือเกินในเวลานี้ ที่จะโน้มน้าวชักชวนชาวอเมริกันให้เห็นด้วยว่า การเป็นผู้ที่แข็งแกร่งจริงๆ นั้นดีกว่าการเป็นผู้ที่แค่ส่งเสียงดังๆ นักหนา
เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengle) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน