(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Japan and China to discuss AIIB in Beijing
Author: Asia Unhedged
02/06/2015
ในวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายนนี้ที่กรุงปักกิ่ง รัฐมนตรีคลัง ทาโร อาโสะ ของญี่ปุ่น และรัฐมนตรีคลัง โหลว จี้เหว่ย ของจีน จะนำทีมเจ้าหน้าที่ของ 2 ประเทศ หารือเรื่องนโยบายทางการเงินการคลังระดับทวิภาคี นับเป็นการเจรจาในระดับนี้ครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยที่เรื่องธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย (AIIB) ซึ่งแดนมังกรกำลังเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมา จะอยู่ในวาระของการพูดจากันคราวนี้ด้วย ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็เพิ่งแถลงว่า ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป ตนจะปล่อยเงินกู้เป็นจำนวน 110,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานตลอดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ทำให้ถูกมองว่าเหมือนเป็นการเกทับ AIIB ของจีน ที่ตั้งเป้าหมายจะระดมเงินทุนดำเนินงานเอาไว้ 100,000 ล้านดอลลาร์
ใครว่าญี่ปุ่นกับจีนไม่ได้มีการพูดจาหารือกันเกี่ยวกับธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) แห่งใหม่กันเลย?
สำนักข่าวจิจีเพรสส์ (Jiji Press) ของญี่ปุ่น รายงานว่า (ดูรายละเอียดได้ที่ http://jen.jiji.com/jc/eng?g=eco&k=2015060200935) บิ๊กบอสคุมนโยบายการเงินการคลังของ 2 ชาติจะจัดการเจรจาหารือกันในกรุงปักกิ่งวันเสาร์ (6 มิ.ย.) นี้ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และแหล่งข่าวหลายๆ รายระบุว่า เรื่องแบงก์ AIIB จะเป็นเรื่องหนึ่งซึ่งอยู่ในวาระการพูดจาครั้งนี้
รัฐมนตรีคลัง ทาโร อาโสะ (Taro Aso) ของญี่ปุ่น กล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่กรุงโตเกียวเมื่อวันอังคาร (2 มิ.ย.) ที่ผ่านมาว่า เขาจะพบปะเจรจากับรัฐมนตรีคลัง โหลว จี้เหว่ย (Lou Jiwei) ของจีนในสุดสัปดาห์นี้ และจะหารือกันเกี่ยวกับดีมานด์ความต้องการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นแถลงเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า กำลังปล่อยเงินทุนที่อาจจะสูงถึง 110,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้านี้ เพื่อสนับสนุนเพิ่มพูนการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานตลอดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ส่วนจีนก็ตั้งเป้าหมายที่จะระดมเงินทุนให้ได้รวม 100,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการดำเนินงานของ AIIB ซึ่งจะเป็นโครงการคู่แข่งของญี่ปุ่น[1]
การพบปะหารือในวันเสาร์ (2 มิ.ย) จะเป็นการสนทนาทางด้านนโยบายการเงินการคลังระดับทวิภาคีครั้งแรก ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2012 เป็นต้นมา
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
หมายเหตุผู้แปล
[1] คอลัมน์เอเชียอันเฮดจ์ ซึ่งเผยแพร่ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2015 มีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงขอเก็บความนำมาเผยแพร่ไว้ตรงนี้
ญี่ปุ่นกับจีน ‘ชิงเหลี่ยม’ มุ่งยึดฐานะเหนือกว่าในเรื่องแบงก์ AIIB
โดย เอเชียอันเฮดจ์
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Japan and China play one-upmanship over the AIIB
Author: Asia Unhedged
22/05/2015
ในกระดานเกมโครงสร้างพื้นฐานเอเชียเวลานี้ โตเกียวกำลังใช้วิธีต่อสู้แบบ “ยืนแลกหมัด” ขณะที่จีนก็ตอบโต้ชนิด “มาไม้ไหน ไปไม้นั้น”
ญี่ปุ่นแถลงในวันพฤหัสบดี (21 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า จะอัดฉีดเงินทุนจำนวน 110,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับเป็นเงินช่วยเหลือก้อนใหม่ๆ ให้แก่โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งหลายของเอเชีย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่านี่เป็นการปล่อยหมัดเด็ดเรียกคะแนนนิยมแข่งขันกับ “ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) แห่งใหม่ที่มีจีนเป็นตัวตั้งตัวตี ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ปักกิ่งก็ดูเหมือนกำลังพยายามคลอเคลียนิวเดลี ด้วยการให้อินเดียได้เป็นผู้ลงหุ้นรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในแบงก์ AIIB ฐานะดังกล่าวนี้หากว่ากันตามหลักการที่จัดสรรสัดส่วนการลงทุนไปตามขนาดจีดีพีของแต่ละประเทศแล้ว ญี่ปุ่นจะต้องเป็นผู้ได้ครอบครอง ถ้าได้ประกาศเข้าร่วมในสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่นี้
เงินทุน 110,000 ล้านดอลลาร์ของญี่ปุ่นซึ่งจะจัดสรรลงทุนไปในโครงการต่างๆ ในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า มีขนาดใหญ่กว่าด้วยซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนดำเนินงานจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งคาดหมายว่าจะรวบรวมขึ้นมาได้โดย AIIB ตัวเลขนี้ยังเท่ากับพุ่งพรวดขึ้นมา 30% ทีเดียวจากยอดเงินทุนที่โตเกียวให้ความช่วยเหลือแก่โครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคแถบนี้ในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับที่มาของเงินทุนก้อนใหม่นี้ ราวๆ ครึ่งหนึ่งจะมาจากพวกหน่วยงานของญี่ปุ่นซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือจะระดมขึ้นมาโดยผ่านทางธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) นอกจากนั้นยังจะใช้ประโยชน์จากแหล่งที่มาซึ่งเป็นภาคบริษัทธุรกิจด้วย
เมื่อนำการประกาศคราวนี้ มาเคียงคู่เข้ากับความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นในช่วงหลังๆ ซึ่งมุ่งเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหมกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้ที่เกิดการพิพาทกันระหว่างแดนมังกรกับหลายๆ ประเทศ เราย่อมมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คณะรัฐบาลญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังส่งสัญญาณความเข้มสูงออกมาว่า จะไม่ยืนเป็นง่อยปล่อยให้จีนท้าทายความเป็นผู้นำของตนในการพัฒนาเอเชีย ตลอดจนในการเล่นเกมรุกคืบทางทหารด้วยการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะเล็กเกาะน้อยที่กำลังพิพาทช่วงชิงอยู่กับชาติเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยังแสดงจุดยืนเฉกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ โดยกำลังส่งสัญญาณว่าตนเองไม่มีความรีบร้อนอะไร ในการเข้าร่วมกับ AIIB –ซึ่งถูกมองกันว่าเป็นคู่แข่งของทั้งธนาคารโลก และ ADB
“เราเคยคิดกันว่าเป็นการดีกว่าที่จะไม่พูดอะไรออกไปให้มากมาย แต่นั่นปรากฏว่ายังไม่เพียงพอ ยังไม่ค่อยเป็นที่ทราบกัน ดังนั้นจึงดูเหมือนเราจำเป็นต้องสาธิตอะไรให้เห็นกันบ้าง” โคอิชิ ฮากิอุดะ (Koichi Hagiuda) ที่ปรึกษาพิเศษของอาเบะในพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) ของเขา กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ ในขณะที่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับความช่วยเหลือมูลค่ามหาศาลคราวนี้
อาเบะเปิดเผยแผนการใหญ่ของญี่ปุ่นในการอัดฉีดเงินเพื่อการพัฒนาในเอเชียคราวนี้ ก่อนหน้าการประชุมครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของบรรดาชาติสมาชิกที่กำลังเร่งก่อตั้งแบงก์ AIIB ขึ้นมา ณ ประเทศสิงคโปร์ในตอนปลายสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้แสดงการตอบโต้อย่างรวดเร็ว โดยผู้แทนหลายๆ คนซึ่งเข้าร่วมการประชุมเตรียมการที่แดนลอดช่องเปิดเผยในวันศุกร์ (22 พ.ค.) ว่า อินเดียน่าที่จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของ AIIB รองลงมาเพียงแค่จีน ซึ่งถูกมองว่าจะถือหุ้นราว 25-30% ทั้งนี้อินเดียก้าวผงาดขึ้นมาเป็นผู้เล่นรายสำคัญรายหนึ่งของแบงก์ AIIB หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของแดนภารตะไปเยือนจีนครั้งสำคัญในสัปดาห์ที่แล้ว
เป็นที่คาดหมายว่า AIIB จะเริ่มดำเนินงานได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยที่มีรายงานว่าการประชุมเตรียมการที่สิงคโปร์ สามารถตกลงกันในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับข้อบัญญัติต่างๆ ของธนาคารแห่งนี้ และบรรดาชาติผู้ร่วมก่อตั้งก็กำหนดจะลงนามกันในเดือนมิถุนายน
ทว่าขณะที่ญี่ปุ่นกำลังแสดงจุดยืนแบบพร้อมแก่งแย่งแข่งดีอย่างโจ่งแจ้งกับ AIIB แต่ลงท้ายแล้วแดนอาทิตย์อุทัยก็ยังคงสามารถตัดสินใจ “ถ่างขานั่งคร่อม” ประเด็นปัญหานี้อยู่ดี กล่าวคือในที่สุดแล้วแดนอาทิตย์อุทัยอาจตกลงเข้าร่วมกับ AIIB แต่เวลาเดียวกันก็ยังคงพยายามแสดงความเป็นผู้นำ ADB ของตนอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ผลสรุปจะเป็นอย่างไรจะขึ้นอยู่กับการปรึกษาหารือกับวอชิงตัน
สหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังคงเปิดประตูเอาไว้เผื่อสำหรับการร่วมมือกับ AIIB ซึ่งในเวลานี้มี 57 ชาติ ซึ่งรวมทั้งประเทศสมาชิกของกลุ่ม จี-7 หลายรายด้วย ประกาศเข้าร่วมแล้ว
เมื่อเดือนที่แล้ว สหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังได้เผยแพร่แนวความคิดที่ว่า ธนาคารโลกกับ ADB ควรที่จะจับมือกับ AIIB ในการปล่อยเงินกู้ร่วมกัน (syndicated loans) เพื่อช่วยเหลือให้สถาบันแห่งใหม่นี้กำหนดจัดวางมาตรการการให้กู้ยืมอันแข็งแกร่งน่าเชื่อถือขึ้นมา
นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังกำลังขบคิดหาวิธีการดีที่สุดซึ่งตนเองจะสามารถใช้แข่งขันช่วงชิงกับ AIIB ได้ แนวความคิดประการหนึ่งซึ่งกำลังโน้มน้าวพิจารณากันอยู่ ได้แก่การชูความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคระดับสูงของตน มาโปรโมตส่งเสริมพวกโครงการให้ความช่วยเหลือ “สีเขียว” ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าพวกโครงการของ AIIB ทั้งนี้ กระทั่งตอนนี้ AIIB ที่ยังไม่ได้มีการประกาศสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ก็กำลังเจอเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้ว จากการปิดปากไม่เอ่ยถึงมาตรการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
ไม่เพียงเท่านั้น ฝ่ายญี่ปุ่นยังมีความสามารถที่จะรวบรวมเรียกระดมอำนาจบารมีทางการเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ เมื่อถึงคราวที่จะต้องเล่นเกมเช่นนี้กับฝ่ายจีน โดยเราต้องไม่ลืมว่าญี่ปุ่นยังคงมีฐานะเป็นชาติเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่พวกบริษัทญี่ปุ่นทั้งหลายก็ค่อนข้างมีเงินสดอู้ฟู่อยู่ในมือ ถึงแม้ถ้ามองกันในด้านปัจจัยลบ แดนอาทิตย์อุทัยก็กำลังเผชิญภาระหนักอึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในการแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมขณะที่กำลังกลายเป็นสังคมของคนสูงอายุ นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายทางด้านกลาโหมก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างบานเบิกทีเดียว
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
Japan and China to discuss AIIB in Beijing
Author: Asia Unhedged
02/06/2015
ในวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายนนี้ที่กรุงปักกิ่ง รัฐมนตรีคลัง ทาโร อาโสะ ของญี่ปุ่น และรัฐมนตรีคลัง โหลว จี้เหว่ย ของจีน จะนำทีมเจ้าหน้าที่ของ 2 ประเทศ หารือเรื่องนโยบายทางการเงินการคลังระดับทวิภาคี นับเป็นการเจรจาในระดับนี้ครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยที่เรื่องธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย (AIIB) ซึ่งแดนมังกรกำลังเป็นตัวตั้งตัวตีจัดตั้งขึ้นมา จะอยู่ในวาระของการพูดจากันคราวนี้ด้วย ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็เพิ่งแถลงว่า ในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป ตนจะปล่อยเงินกู้เป็นจำนวน 110,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานตลอดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ทำให้ถูกมองว่าเหมือนเป็นการเกทับ AIIB ของจีน ที่ตั้งเป้าหมายจะระดมเงินทุนดำเนินงานเอาไว้ 100,000 ล้านดอลลาร์
ใครว่าญี่ปุ่นกับจีนไม่ได้มีการพูดจาหารือกันเกี่ยวกับธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) แห่งใหม่กันเลย?
สำนักข่าวจิจีเพรสส์ (Jiji Press) ของญี่ปุ่น รายงานว่า (ดูรายละเอียดได้ที่ http://jen.jiji.com/jc/eng?g=eco&k=2015060200935) บิ๊กบอสคุมนโยบายการเงินการคลังของ 2 ชาติจะจัดการเจรจาหารือกันในกรุงปักกิ่งวันเสาร์ (6 มิ.ย.) นี้ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และแหล่งข่าวหลายๆ รายระบุว่า เรื่องแบงก์ AIIB จะเป็นเรื่องหนึ่งซึ่งอยู่ในวาระการพูดจาครั้งนี้
รัฐมนตรีคลัง ทาโร อาโสะ (Taro Aso) ของญี่ปุ่น กล่าวในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนที่กรุงโตเกียวเมื่อวันอังคาร (2 มิ.ย.) ที่ผ่านมาว่า เขาจะพบปะเจรจากับรัฐมนตรีคลัง โหลว จี้เหว่ย (Lou Jiwei) ของจีนในสุดสัปดาห์นี้ และจะหารือกันเกี่ยวกับดีมานด์ความต้องการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นแถลงเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า กำลังปล่อยเงินทุนที่อาจจะสูงถึง 110,000 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้านี้ เพื่อสนับสนุนเพิ่มพูนการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานตลอดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ส่วนจีนก็ตั้งเป้าหมายที่จะระดมเงินทุนให้ได้รวม 100,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการดำเนินงานของ AIIB ซึ่งจะเป็นโครงการคู่แข่งของญี่ปุ่น[1]
การพบปะหารือในวันเสาร์ (2 มิ.ย) จะเป็นการสนทนาทางด้านนโยบายการเงินการคลังระดับทวิภาคีครั้งแรก ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2012 เป็นต้นมา
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
หมายเหตุผู้แปล
[1] คอลัมน์เอเชียอันเฮดจ์ ซึ่งเผยแพร่ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2015 มีรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงขอเก็บความนำมาเผยแพร่ไว้ตรงนี้
ญี่ปุ่นกับจีน ‘ชิงเหลี่ยม’ มุ่งยึดฐานะเหนือกว่าในเรื่องแบงก์ AIIB
โดย เอเชียอันเฮดจ์
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Japan and China play one-upmanship over the AIIB
Author: Asia Unhedged
22/05/2015
ในกระดานเกมโครงสร้างพื้นฐานเอเชียเวลานี้ โตเกียวกำลังใช้วิธีต่อสู้แบบ “ยืนแลกหมัด” ขณะที่จีนก็ตอบโต้ชนิด “มาไม้ไหน ไปไม้นั้น”
ญี่ปุ่นแถลงในวันพฤหัสบดี (21 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า จะอัดฉีดเงินทุนจำนวน 110,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับเป็นเงินช่วยเหลือก้อนใหม่ๆ ให้แก่โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งหลายของเอเชีย ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่านี่เป็นการปล่อยหมัดเด็ดเรียกคะแนนนิยมแข่งขันกับ “ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” (Asian Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) แห่งใหม่ที่มีจีนเป็นตัวตั้งตัวตี ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ปักกิ่งก็ดูเหมือนกำลังพยายามคลอเคลียนิวเดลี ด้วยการให้อินเดียได้เป็นผู้ลงหุ้นรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในแบงก์ AIIB ฐานะดังกล่าวนี้หากว่ากันตามหลักการที่จัดสรรสัดส่วนการลงทุนไปตามขนาดจีดีพีของแต่ละประเทศแล้ว ญี่ปุ่นจะต้องเป็นผู้ได้ครอบครอง ถ้าได้ประกาศเข้าร่วมในสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่นี้
เงินทุน 110,000 ล้านดอลลาร์ของญี่ปุ่นซึ่งจะจัดสรรลงทุนไปในโครงการต่างๆ ในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า มีขนาดใหญ่กว่าด้วยซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนดำเนินงานจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งคาดหมายว่าจะรวบรวมขึ้นมาได้โดย AIIB ตัวเลขนี้ยังเท่ากับพุ่งพรวดขึ้นมา 30% ทีเดียวจากยอดเงินทุนที่โตเกียวให้ความช่วยเหลือแก่โครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคแถบนี้ในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับที่มาของเงินทุนก้อนใหม่นี้ ราวๆ ครึ่งหนึ่งจะมาจากพวกหน่วยงานของญี่ปุ่นซึ่งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือจะระดมขึ้นมาโดยผ่านทางธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank หรือ ADB) นอกจากนั้นยังจะใช้ประโยชน์จากแหล่งที่มาซึ่งเป็นภาคบริษัทธุรกิจด้วย
เมื่อนำการประกาศคราวนี้ มาเคียงคู่เข้ากับความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นในช่วงหลังๆ ซึ่งมุ่งเพิ่มพูนความร่วมมือด้านกลาโหมกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาณาบริเวณทะเลจีนใต้ที่เกิดการพิพาทกันระหว่างแดนมังกรกับหลายๆ ประเทศ เราย่อมมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า คณะรัฐบาลญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังส่งสัญญาณความเข้มสูงออกมาว่า จะไม่ยืนเป็นง่อยปล่อยให้จีนท้าทายความเป็นผู้นำของตนในการพัฒนาเอเชีย ตลอดจนในการเล่นเกมรุกคืบทางทหารด้วยการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะเล็กเกาะน้อยที่กำลังพิพาทช่วงชิงอยู่กับชาติเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยังแสดงจุดยืนเฉกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ โดยกำลังส่งสัญญาณว่าตนเองไม่มีความรีบร้อนอะไร ในการเข้าร่วมกับ AIIB –ซึ่งถูกมองกันว่าเป็นคู่แข่งของทั้งธนาคารโลก และ ADB
“เราเคยคิดกันว่าเป็นการดีกว่าที่จะไม่พูดอะไรออกไปให้มากมาย แต่นั่นปรากฏว่ายังไม่เพียงพอ ยังไม่ค่อยเป็นที่ทราบกัน ดังนั้นจึงดูเหมือนเราจำเป็นต้องสาธิตอะไรให้เห็นกันบ้าง” โคอิชิ ฮากิอุดะ (Koichi Hagiuda) ที่ปรึกษาพิเศษของอาเบะในพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party) ของเขา กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ ในขณะที่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับความช่วยเหลือมูลค่ามหาศาลคราวนี้
อาเบะเปิดเผยแผนการใหญ่ของญี่ปุ่นในการอัดฉีดเงินเพื่อการพัฒนาในเอเชียคราวนี้ ก่อนหน้าการประชุมครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของบรรดาชาติสมาชิกที่กำลังเร่งก่อตั้งแบงก์ AIIB ขึ้นมา ณ ประเทศสิงคโปร์ในตอนปลายสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้แสดงการตอบโต้อย่างรวดเร็ว โดยผู้แทนหลายๆ คนซึ่งเข้าร่วมการประชุมเตรียมการที่แดนลอดช่องเปิดเผยในวันศุกร์ (22 พ.ค.) ว่า อินเดียน่าที่จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของ AIIB รองลงมาเพียงแค่จีน ซึ่งถูกมองว่าจะถือหุ้นราว 25-30% ทั้งนี้อินเดียก้าวผงาดขึ้นมาเป็นผู้เล่นรายสำคัญรายหนึ่งของแบงก์ AIIB หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของแดนภารตะไปเยือนจีนครั้งสำคัญในสัปดาห์ที่แล้ว
เป็นที่คาดหมายว่า AIIB จะเริ่มดำเนินงานได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยที่มีรายงานว่าการประชุมเตรียมการที่สิงคโปร์ สามารถตกลงกันในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับข้อบัญญัติต่างๆ ของธนาคารแห่งนี้ และบรรดาชาติผู้ร่วมก่อตั้งก็กำหนดจะลงนามกันในเดือนมิถุนายน
ทว่าขณะที่ญี่ปุ่นกำลังแสดงจุดยืนแบบพร้อมแก่งแย่งแข่งดีอย่างโจ่งแจ้งกับ AIIB แต่ลงท้ายแล้วแดนอาทิตย์อุทัยก็ยังคงสามารถตัดสินใจ “ถ่างขานั่งคร่อม” ประเด็นปัญหานี้อยู่ดี กล่าวคือในที่สุดแล้วแดนอาทิตย์อุทัยอาจตกลงเข้าร่วมกับ AIIB แต่เวลาเดียวกันก็ยังคงพยายามแสดงความเป็นผู้นำ ADB ของตนอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ผลสรุปจะเป็นอย่างไรจะขึ้นอยู่กับการปรึกษาหารือกับวอชิงตัน
สหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังคงเปิดประตูเอาไว้เผื่อสำหรับการร่วมมือกับ AIIB ซึ่งในเวลานี้มี 57 ชาติ ซึ่งรวมทั้งประเทศสมาชิกของกลุ่ม จี-7 หลายรายด้วย ประกาศเข้าร่วมแล้ว
เมื่อเดือนที่แล้ว สหรัฐฯกับญี่ปุ่นยังได้เผยแพร่แนวความคิดที่ว่า ธนาคารโลกกับ ADB ควรที่จะจับมือกับ AIIB ในการปล่อยเงินกู้ร่วมกัน (syndicated loans) เพื่อช่วยเหลือให้สถาบันแห่งใหม่นี้กำหนดจัดวางมาตรการการให้กู้ยืมอันแข็งแกร่งน่าเชื่อถือขึ้นมา
นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังกำลังขบคิดหาวิธีการดีที่สุดซึ่งตนเองจะสามารถใช้แข่งขันช่วงชิงกับ AIIB ได้ แนวความคิดประการหนึ่งซึ่งกำลังโน้มน้าวพิจารณากันอยู่ ได้แก่การชูความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคระดับสูงของตน มาโปรโมตส่งเสริมพวกโครงการให้ความช่วยเหลือ “สีเขียว” ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าพวกโครงการของ AIIB ทั้งนี้ กระทั่งตอนนี้ AIIB ที่ยังไม่ได้มีการประกาศสถาปนาขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ก็กำลังเจอเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้ว จากการปิดปากไม่เอ่ยถึงมาตรการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
ไม่เพียงเท่านั้น ฝ่ายญี่ปุ่นยังมีความสามารถที่จะรวบรวมเรียกระดมอำนาจบารมีทางการเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ เมื่อถึงคราวที่จะต้องเล่นเกมเช่นนี้กับฝ่ายจีน โดยเราต้องไม่ลืมว่าญี่ปุ่นยังคงมีฐานะเป็นชาติเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่พวกบริษัทญี่ปุ่นทั้งหลายก็ค่อนข้างมีเงินสดอู้ฟู่อยู่ในมือ ถึงแม้ถ้ามองกันในด้านปัจจัยลบ แดนอาทิตย์อุทัยก็กำลังเผชิญภาระหนักอึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในการแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมขณะที่กำลังกลายเป็นสังคมของคนสูงอายุ นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายทางด้านกลาโหมก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างบานเบิกทีเดียว
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)