(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)
Japan tiptoes closer to joining China’s AIIB
Author: Asia Unhedged
09/04/2015
สื่อมวลชนแดนอาทิตย์อุทัยพากันรายงานเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงความเคลื่อนไหวหลายๆ ประการของญี่ปุ่น ที่ขยับใกล้เข้าไปอีก ในการเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) แบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ซึ่งมีจีนเป็นหัวเรือใหญ่
สื่อมวลชนแดนอาทิตย์อุทัยพากันรายงานเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นที่อาจจะเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกใน ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) แบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ซึ่งมีจีนเป็นหัวเรือใหญ่
สำนักข่าวเกียวโด (Kyodo) รายงานในวันศุกร์ (10 เม.ย.) ว่า เรื่องธนาคาร AIIB จะเป็นวาระหนึ่งในการประชุมหารือระดับผู้นำญี่ปุ่น-สหรัฐฯ วันที่ 28 เมษายนนี้ที่กรุงวอชิงตัน ระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับ นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
ขณะที่หนังสือพิมพ์อาซาฮี (Asahi) รายงานในวันพฤหัสบดี (9 เม.ย.) ว่า โตเกียวกับปักกิ่งจะเจรจากันในเรื่องความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIIB ระหว่างการพบปะหารือทวิภาคีระดับรัฐมนตรีว่าการคลังที่กำลังจะจัดขึ้นในไม่ช้าไม่นานนี้ โดยที่จะเป็นการเจรจาระดับนี้ครั้งแรกของประเทศทั้งสองในรอบระยะเวลา 3 ปี
การเจรจาหารือดังกล่าวนี้ ว่ากันว่ากำหนดเอาไว้จะให้มีขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ และน่าที่จะจัดขึ้นในกรุงปักกิ่ง อันที่จริงการประชุมพบปะเช่นนี้เคยวางกันไว้ว่าจะจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่ในที่สุดก็ถูกระงับไปหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นทำให้จีนเกิดความโกรธเกรี้ยว ด้วยการเข้าไปซื้อหมู่เกาะเล็กๆ ที่สองประเทศพิพาทกันอยู่ในทะเลจีนตะวันออก (หมู่เกาะนี้ ทางจีนเรียกชื่อว่า เตี้ยวอี๋ว์ ส่วนทางญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า เซนกากุ -ผู้แปล) จากเอกชนที่เป็นเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ครอบครอง แล้วต่อมาก็แปลงให้กลายเป็นทรัพย์สินของรัฐในเดือนกันยายน 2012
ข่าวของอาซาฮี ซึ่งอ้างแหล่งข่าวรัฐบาลญี่ปุ่นหลายราย บอกว่าจีนนั้นได้ถือเรื่องการดึงเอาญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน AIIB เป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ “มาตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว”
พวกเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นระบุว่า สัดส่วนของเงินทุนที่ประเทศสมาชิกแต่ละรายจะร่วมกันออกสมทบเข้าไปเป็นกองทุนของ AIIB นั้น คาดหมายว่าจะคำนวณโดยพิจารณาจากยอดจีดีพีของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ภายใต้สูตรดังกล่าวนี้ ญี่ปุ่นก็อาจจะออกเงินสมทบในระดับ 1,500 ล้านดอลลาร์ ไปจนถึง 3,000 ล้านดอลลาร์
สื่อญี่ปุ่นยังรายงานว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ (Yasuo Fukuda) ของญี่ปุ่น ได้ออกมาพูดเมื่อวันอังคาร (7 เม.ย.) ว่า ญี่ปุ่นจะตกอยู่ฐานะเป็น “อันธพาล” ถ้าหากเลือกที่จะมองเมินไม่แยแสความพยายามที่มีจีนเป็นตัวตั้งตัวตี ในการปล่อยเงินทุนสนับสนุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตลอดทั่วทั้งเอเชียนี้
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
หมายเหตุผู้แปล
“เอเชีย อันเฮดจ์” ยังโพสต์รายงานข่าวอีกชิ้นหนึ่งในวันที่ 10 เมษายน 2015 ที่พาดหัวข่าวว่า Mr. Aso: Will the AIIB be on the table in Washington next week? (คุณอาโสะ ตกลงจะหยิบยกเรื่อง AIIB ขึ้นมาหารือกันในวอชิงตันอาทิตย์หน้าไหม?) มีสาระสำคัญระบุว่า รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น ทาโร อาโสะ (Taro Aso) พูดจาไม่แน่ไม่นอนในเรื่องที่ว่า การประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 20 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (กลุ่ม จี-20) ในกรุงวอชิงตันสัปดาห์หน้า จะมีวาระเรื่องแบงก์ AIIB หรือไม่ ทั้งนี้ เนื้อความสำคัญของรายงานข่าวชิ้นนี้ มีดังนี้:
“อาโสะ ยืนยันกับสำนักข่าวจีจิเพรสส์ (Jiji Press) ของญี่ปุ่นเมื่อวันพฤหัสบดี (9 เม.ย.) ว่า จะไม่มีการหยิบยกเรื่อง AIIB ขึ้นมาหารือในการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มจี-20 คราวนี้ แต่แล้วเขาก็กลับเปลี่ยนจุดยืนของเขาไปเลยในวันเสาร์ (10 เม.ย.) โดยตอนนี้จะมากจะน้อยอย่างไร เขาก็กำลังยอมรับว่า AIIB เป็นประเด็นอันใหญ่โตมโหฬารเกินกว่าที่พวกบิ๊กเบิ้มทางการเงินการคลังระดับโลกเหล่านี้จะละเลยได้
“ผมไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นหัวข้อสำคัญที่จะมีการอภิปรายหารือกันในครั้งนี้ แต่ถ้าหากมีการหยิบยกขึ้นมาหารือแล้ว ญี่ปุ่นก็จะตั้งข้อเรียกร้องแบบเดียวกับที่ได้เคยเรียกร้องมา” สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างอิงคำพูดของ อาโสะ ที่บอกกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นในวันที่ 10 เม.ย. (ดูเพิ่มเติมได้ที่http://uk.reuters.com/article/2015/04/10/uk-japan-economy-aso-idUKKBN0N100N20150410)
ทั้งนี้ ถ้ามีการพูดคุยเรื่อง AIIB อาโสะกล่าวว่า ญี่ปุ่นจะย้ำข้อเรียกร้องในเรื่องต้องการให้โครงสร้างและกฎระเบียบด้านธรรมาภิบาลของ AIIB เป็นไปด้วยความโปร่งใส เขาระบุว่าโตเกียวต้องการเรียกร้องเป็นพิเศษ ให้จัดทำระบบสำหรับการพิจารณากลั่นกรองคำขอเงินกู้จากพวกรัฐสมาชิกของแบงก์ AIIB
อาโสะ อาจจะยังพยายามระมัดระวังรักษามารยาทในเวลาพูดถึงการหารือเรื่อง AIIB ในกรุงวอชิงตัน แต่เขาไม่มีอาการกระมิดกระเมี้ยนเลย เมื่อมีคำถามว่าเรื่อง AIIB จะถูกหยิบขึ้นมาเจรจาหารือหรือไม่ ในตอนที่ญี่ปุ่นกับจีนรื้อฟื้นการหารือสนทนาระดับรัฐมนตรีคลังขึ้นมาใหม่ในกรุงปักกิ่งเดือนมิถุนายนนี้
ตามคำกล่าวของอาโสะ เรื่อง AIIB จะต้องเป็นวาระหนึ่งของการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น-จีน อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนทัศนะกันเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของสกุลเงินหยวนของจีนในระยะหลังๆ นี้ ตลอดจนเรื่องระบบการธนาคารใต้ดิน (shadow banking system) ของจีนด้วย
(ดูรายละเอียดได้จาก http://atimes.com/2015/04/mr-aso-will-the-aiib-be-on-the-table-in-washington-next-week/)
Japan tiptoes closer to joining China’s AIIB
Author: Asia Unhedged
09/04/2015
สื่อมวลชนแดนอาทิตย์อุทัยพากันรายงานเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงความเคลื่อนไหวหลายๆ ประการของญี่ปุ่น ที่ขยับใกล้เข้าไปอีก ในการเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกของ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB) แบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ซึ่งมีจีนเป็นหัวเรือใหญ่
สื่อมวลชนแดนอาทิตย์อุทัยพากันรายงานเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่นที่อาจจะเข้าร่วมเป็นชาติสมาชิกใน ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank ใช้อักษรย่อว่า AIIB) แบงก์เพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ซึ่งมีจีนเป็นหัวเรือใหญ่
สำนักข่าวเกียวโด (Kyodo) รายงานในวันศุกร์ (10 เม.ย.) ว่า เรื่องธนาคาร AIIB จะเป็นวาระหนึ่งในการประชุมหารือระดับผู้นำญี่ปุ่น-สหรัฐฯ วันที่ 28 เมษายนนี้ที่กรุงวอชิงตัน ระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามา กับ นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
ขณะที่หนังสือพิมพ์อาซาฮี (Asahi) รายงานในวันพฤหัสบดี (9 เม.ย.) ว่า โตเกียวกับปักกิ่งจะเจรจากันในเรื่องความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIIB ระหว่างการพบปะหารือทวิภาคีระดับรัฐมนตรีว่าการคลังที่กำลังจะจัดขึ้นในไม่ช้าไม่นานนี้ โดยที่จะเป็นการเจรจาระดับนี้ครั้งแรกของประเทศทั้งสองในรอบระยะเวลา 3 ปี
การเจรจาหารือดังกล่าวนี้ ว่ากันว่ากำหนดเอาไว้จะให้มีขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ และน่าที่จะจัดขึ้นในกรุงปักกิ่ง อันที่จริงการประชุมพบปะเช่นนี้เคยวางกันไว้ว่าจะจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่ในที่สุดก็ถูกระงับไปหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นทำให้จีนเกิดความโกรธเกรี้ยว ด้วยการเข้าไปซื้อหมู่เกาะเล็กๆ ที่สองประเทศพิพาทกันอยู่ในทะเลจีนตะวันออก (หมู่เกาะนี้ ทางจีนเรียกชื่อว่า เตี้ยวอี๋ว์ ส่วนทางญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า เซนกากุ -ผู้แปล) จากเอกชนที่เป็นเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ครอบครอง แล้วต่อมาก็แปลงให้กลายเป็นทรัพย์สินของรัฐในเดือนกันยายน 2012
ข่าวของอาซาฮี ซึ่งอ้างแหล่งข่าวรัฐบาลญี่ปุ่นหลายราย บอกว่าจีนนั้นได้ถือเรื่องการดึงเอาญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน AIIB เป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ “มาตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว”
พวกเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นระบุว่า สัดส่วนของเงินทุนที่ประเทศสมาชิกแต่ละรายจะร่วมกันออกสมทบเข้าไปเป็นกองทุนของ AIIB นั้น คาดหมายว่าจะคำนวณโดยพิจารณาจากยอดจีดีพีของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ภายใต้สูตรดังกล่าวนี้ ญี่ปุ่นก็อาจจะออกเงินสมทบในระดับ 1,500 ล้านดอลลาร์ ไปจนถึง 3,000 ล้านดอลลาร์
สื่อญี่ปุ่นยังรายงานว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ (Yasuo Fukuda) ของญี่ปุ่น ได้ออกมาพูดเมื่อวันอังคาร (7 เม.ย.) ว่า ญี่ปุ่นจะตกอยู่ฐานะเป็น “อันธพาล” ถ้าหากเลือกที่จะมองเมินไม่แยแสความพยายามที่มีจีนเป็นตัวตั้งตัวตี ในการปล่อยเงินทุนสนับสนุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ตลอดทั่วทั้งเอเชียนี้
(จากคอลัมน์ Asia Unhedged ในเอเชียไทมส์)
หมายเหตุผู้แปล
“เอเชีย อันเฮดจ์” ยังโพสต์รายงานข่าวอีกชิ้นหนึ่งในวันที่ 10 เมษายน 2015 ที่พาดหัวข่าวว่า Mr. Aso: Will the AIIB be on the table in Washington next week? (คุณอาโสะ ตกลงจะหยิบยกเรื่อง AIIB ขึ้นมาหารือกันในวอชิงตันอาทิตย์หน้าไหม?) มีสาระสำคัญระบุว่า รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น ทาโร อาโสะ (Taro Aso) พูดจาไม่แน่ไม่นอนในเรื่องที่ว่า การประชุมรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่ม 20 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (กลุ่ม จี-20) ในกรุงวอชิงตันสัปดาห์หน้า จะมีวาระเรื่องแบงก์ AIIB หรือไม่ ทั้งนี้ เนื้อความสำคัญของรายงานข่าวชิ้นนี้ มีดังนี้:
“อาโสะ ยืนยันกับสำนักข่าวจีจิเพรสส์ (Jiji Press) ของญี่ปุ่นเมื่อวันพฤหัสบดี (9 เม.ย.) ว่า จะไม่มีการหยิบยกเรื่อง AIIB ขึ้นมาหารือในการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางกลุ่มจี-20 คราวนี้ แต่แล้วเขาก็กลับเปลี่ยนจุดยืนของเขาไปเลยในวันเสาร์ (10 เม.ย.) โดยตอนนี้จะมากจะน้อยอย่างไร เขาก็กำลังยอมรับว่า AIIB เป็นประเด็นอันใหญ่โตมโหฬารเกินกว่าที่พวกบิ๊กเบิ้มทางการเงินการคลังระดับโลกเหล่านี้จะละเลยได้
“ผมไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นหัวข้อสำคัญที่จะมีการอภิปรายหารือกันในครั้งนี้ แต่ถ้าหากมีการหยิบยกขึ้นมาหารือแล้ว ญี่ปุ่นก็จะตั้งข้อเรียกร้องแบบเดียวกับที่ได้เคยเรียกร้องมา” สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างอิงคำพูดของ อาโสะ ที่บอกกับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นในวันที่ 10 เม.ย. (ดูเพิ่มเติมได้ที่http://uk.reuters.com/article/2015/04/10/uk-japan-economy-aso-idUKKBN0N100N20150410)
ทั้งนี้ ถ้ามีการพูดคุยเรื่อง AIIB อาโสะกล่าวว่า ญี่ปุ่นจะย้ำข้อเรียกร้องในเรื่องต้องการให้โครงสร้างและกฎระเบียบด้านธรรมาภิบาลของ AIIB เป็นไปด้วยความโปร่งใส เขาระบุว่าโตเกียวต้องการเรียกร้องเป็นพิเศษ ให้จัดทำระบบสำหรับการพิจารณากลั่นกรองคำขอเงินกู้จากพวกรัฐสมาชิกของแบงก์ AIIB
อาโสะ อาจจะยังพยายามระมัดระวังรักษามารยาทในเวลาพูดถึงการหารือเรื่อง AIIB ในกรุงวอชิงตัน แต่เขาไม่มีอาการกระมิดกระเมี้ยนเลย เมื่อมีคำถามว่าเรื่อง AIIB จะถูกหยิบขึ้นมาเจรจาหารือหรือไม่ ในตอนที่ญี่ปุ่นกับจีนรื้อฟื้นการหารือสนทนาระดับรัฐมนตรีคลังขึ้นมาใหม่ในกรุงปักกิ่งเดือนมิถุนายนนี้
ตามคำกล่าวของอาโสะ เรื่อง AIIB จะต้องเป็นวาระหนึ่งของการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น-จีน อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนทัศนะกันเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของสกุลเงินหยวนของจีนในระยะหลังๆ นี้ ตลอดจนเรื่องระบบการธนาคารใต้ดิน (shadow banking system) ของจีนด้วย
(ดูรายละเอียดได้จาก http://atimes.com/2015/04/mr-aso-will-the-aiib-be-on-the-table-in-washington-next-week/)