(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Myanmar government bombs 'fall in China'
By Xin Lin and Wen Yuqing
13/03/2015
ลูกระเบิดซึ่งกองทหารรัฐบาลพม่าทิ้งใส่ ขณะทำการสู้รบกับกองกำลังกบฏชาติพันธุ์โกกัง ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีอยู่อย่างน้อยที่สุด 3 ครั้งไปตกในอาณาเขตของจีน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวท้องถิ่นหลายราย โดยที่มีรายหนึ่งยืนยันว่ามีบางลูกตกในพื้นที่ของจีนซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนถึงราว 40 กิโลเมตร
ลูกระเบิดหลายลูกซึ่งกองทหารรัฐบาลพม่าทิ้งใส่ ขณะทำการสู้รบกับกองกำลังอาวุธของกลุ่มกบฎชาติพันธุ์โกกัง (Kokang) ได้ไปตกในอาณาเขตของจีนตรงบริเวณพรมแดนที่ติดต่อกับภาคเหนือของพม่า จนทำให้เกิดไฟไหม้ป่าหลายจุดและมีผู้เสียชีวิตด้วย แหล่งข่าวท้องถิ่นหลายรายระบุเมื่อวันพุธ (11 มี.ค.)
ชาวบ้านแซ่ถู (Tu) ผู้หนึ่งของเมืองหนานซาน (Nansan) มณฑลยูนนาน ของจีน เล่าว่า ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่างน้อยที่สุดมีอยู่ 3ครั้งซึ่งลูกระเบิดที่กองทัพพม่าทิ้งลงมา ได้ตกลงในเขตแดนจีนบริเวณที่เป็นป่าเขาทุรกันดาร
“พวกเราอยู่ที่หนานซาน ปรากฏว่ามีลูกระเบิดหลายลูกตกลงมาในเมิ่งตุ้ย (Mengdui) ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนถัดเข้ามาในแดนจีนประมาณ 40 กิโลเมตรทีเดียว” ถู กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธ (11 ม.ค.) “วันนี้ยังคงมีการสู้รบกันอยู่ คงต้องมีคนตายเยอะเลย” เขาคาดหมาย “เราคงจะต้องจัดการกับศพพวกนี้บางศพในเร็วๆ นี้”
เขาบอกว่า พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในจีนคอยห้ามปรามไม่ให้สื่อมวลชนของประเทศรายงานข่าวเหตุการณ์เหล่านี้ “มีการปิดข่าวที่มาจากหนานซาน ดังนั้นคุณจะไม่ได้เห็นข่าวอย่างนี้ปรากฏที่ไหนเลย” ถู ระบุ
ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งได้แถลงเตือนแล้วว่า ไม่ต้องการเห็นการต่อสู้ระหว่างทหารรัฐบาลพม่า กับกองกำลังกบฎโกกังที่ใช้ชื่อว่า “กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า” (Myanmar National Democratic Alliance Army ใช้อักษรย่อว่า MNDAA) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่เมืองล็อกไก (Laukkai) เกิดการขยายตัวบานปลาย
MNDAA ที่อยู่ในการบังคับบัญชาของ เผิง เจียเซิง (Peng Jiasheng) ซึ่งเป็นคนเชื้อจีน กำลังพยายามที่จะยึดเอาพื้นที่บริหารปกครองตนเองของชาวโกกังกลับคืน โดยที่พื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ใต้การควบคุมของพวกเขามาจวบจนกระทั่งถึงปี 2009 การสู้รบระหว่าง MNDAA กับทหารรัฐบาลพม่าที่ปะทุขึ้นในระยะเวลาเดือนเศษที่ผ่านมา ได้บังคับให้มีผู้อพยพลี้ภัยออกจากบริเวณทำศึกประมาณ 100,000 คน โดยจำนวนมากข้ามพรมแดนเข้าไปอยู่ในเขตประเทศจีน
กระทรวงการต่างประเทศของจีนแถลงว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีลูกกระสุนที่ยิงกันในเขตโกกัง ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลในรัฐชาน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ข้ามพรมแดนเข้ามาตกใส่บ้านของพลเรือนหลังหนึ่งในยูนนาน
ขณะที่อาสาสมัครผู้ทำงานช่วยเหลือคนหนึ่งซึ่งมีแซ่ว่า “โจว” (Zhao) ก็เล่าว่า มีการทิ้งระเบิดเมื่อตอนดึกวันพุธ (11 มี.ค.) ที่ผ่านมา จนทำให้เกิดไฟไหม้ป่าหลายจุด ซึ่งมองเห็นได้จากหนานซาน
“พวกเขากำลังทิ้งระเบิดใส่บนยอดเขา และทำให้บนเขาเกิดไฟไหม้ขึ้นมา” โจวเล่า “มันเข้ามาถึงดินแดนจีนด้วย”
การสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือด
ชาวบ้านท้องถิ่นหลายรายบอกว่า การสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังกบฎดำเนินไปอย่างดุเดือดเข้มข้น ในบริเวณประชิดกับชายแดนพม่า-จีน ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
“มีการยิงปืนดังสนั่นหวั่นไหวเลยเมื่อคืนนี้ แล้วก็มีการทิ้งระเบิดหลายลูกซึ่งทำให้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นหลายๆ จุด” ชาวบ้านแซ่ กู่ (Gu) ซึ่งเป็นชาวชาติพันธุ์โกกังที่พำนักอาศัยอยู่ทางฝั่งพม่า บอกกับวิทยุเอเชียเสรี (RFA) เมื่อวันพฤหัสบดี (12 มี.ค.)
คำบอกเล่าของ กู่ ดูจะเป็นการยืนยันรายงานทางออนไลน์ในเว็บไซต์ซึ่งหนุนหลังพวกกบฏ ที่ระบุว่าเครื่องบินพม่าได้ทิ้งระเบิด 2 ลูกตกลงมาที่เมิ่งตุ้ย ในเวลาประมาณ 19.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่กองทัพรัฐบาลทำการสู้รบกับ MNDAA บริเวณที่มั่นของฝ่ายกบฏซึ่งอยู่ใกล้ๆ เมืองชิเกาลิน (Shiguolin) ทางฝั่งพม่า
“กำลังนักรบของกลุ่มกบฏใช้วิธีแอบเล็ดลอดเข้าโจมตีจากทางด้านหลัง มีเสียงปืนยิงกันอย่างต่อเนื่องอยู่หลายชั่วโมงทีเดียว” กู่ เล่า
เขาบอกว่า กองกำลังกบฏสามารถกดดันให้แนวรบถอยร่นกลับมาจนถึงเขตชานเมืองล็อกไก ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตพื้นที่บริหารปกครองตนเองของชาวโกกัง
“ยังมีคนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุน เผิง เจียเซิง และกองกำลังกบฎกำลังทำหน้าที่คุ้มกันพาพวกพลเรือนเดินทางไปยังที่ปลอดภัยในอีกฟากหนึ่งของชายแดน” กู่ เล่า “แต่กองทัพพม่านั้นเลือกปฏิบัติแบ่งแยกกีดกันชาวโกกัง และมีพลเรือนบางคนถูกประหารชีวิตกันบนถนนด้วย” เขากล่าว โดยดูเหมือนจะเป็นการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ประหารชีวิตซึ่ง วิทยุเอเชียเสรี เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้
กู่ เล่าว่า พลเรือนที่สามารถหลบหนีการสู้รบ เข้าไปพักอาศัยกันตามค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว ยังคงต้องเผชิญชีวิตที่ยากลำบากอย่างยิ่งอยู่ดี “สถานที่ต่างๆ ซึ่งพวกเขาเข้าพักอยู่เวลานี้ อยู่ในสภาพที่แทบไม่มีอะไรเอาเลย และลำบากกันจริงๆ” เขากล่าว “คนจำนวนมากล้มป่วย โดยที่หยูกยาก็ขาดแคลน แม้แต่พวกข้าวของจำเป็นประจำวันก็ขาดแคลนเหมือนกัน”
ผู้อพยพลี้ภัยในจีน
ชาวบ้านหนานซานแซ่ถู เล่าถึงสภาพของผู้อพยพลี้ภัยซึ่งข้ามเข้าไปอยู่ทางฝั่งจีนว่ากำลังประสบปัญหาข้าวของขาดแคลนไม่พอกินพอใช้เช่นกัน “มีข้าวไม่พอเลี้ยงพวกผู้อพยพลี้ภัยที่ข้ามพรมแดนมาที่ฝั่งเรา” ถู บอก “คนจำนวนมากเลยอยู่ในสภาพหิวโหย”
เขากล่าวว่ารัฐบาลจีนได้จัดหาจัดส่งข้าวของบรรเทาทุกข์มาให้จำนวนหนึ่ง “แต่ข้าวและสิ่งของต่างๆ ที่พวกเขาแจกจ่ายให้นั้นไม่พอหรอก ดังนั้นคนจำนวนมากจึงต้องเอาต้นอ้อยหรือต้นไม้อื่นๆ มาทำเป็นเพิงพักแบบขอไปที แล้วก็ไปหาเก็บฟืนจากป่าใกล้ๆ มาใช้หุงข้าวทำกับข้าว”
“เส้นทางขนส่งหลายเส้นเลยถูกปิด และรัฐบาลจีนยังไม่อนุญาตให้เรี่ยไรหรือรับบริจาคความช่วยเหลือจากเอกชนด้วย”
คำบอกเล่าของ ถู ได้รับการยืนยันจากอาสาสมัครผู้ทำงานช่วยเหลือคนหนึ่งซึ่งเป็นคนอยู่ทางฝั่งจีนและขอให้ปกปิดชื่อของเขา “กาชาดจีนเวลานี้ไม่ยอมรับเงินบริจาคจากเอกชนแล้ว” อาสาสมัครผู้นี้กล่าว
เขาเล่าด้วยว่า จำนวนผู้พักอาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพลี้ภัย “ฉินไช่โกว” (Qincaigou) ได้เพิ่มไปอีกเท่าตัว นับแต่ที่ทางการผู้รับผิดชอบของฝ่ายจีนอนุญาตให้ค่ายแห่งนั้นรับผู้อพยพลี้ภัยเพิ่มขึ้นอีก 1,000 คน ภายหลังได้จัดส่งผู้อพยพลี้ภัยหลายพันคนข้ามพรมแดนกลับไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ภาพถ่ายต่างๆ ของค่ายฉินไช่โกว ซึ่งวิทยุเอเชียเสรีได้รับมา แสดงให้เห็น เต็นท์ที่พักชั่วคราวตั้งเกาะกลุ่มกันหลายๆ เต็นท์ โดยมีหลังคาทำจากผ้าพลาสติกและใบไม้ ส่วนเตียงนั้นใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นฟาก โดยที่มีผู้หญิงและเด็กๆ จำนวนมากกำลังนั่งยองๆ กันอยู่ตามพื้น
วางตัวไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง
ปักกิ่งกำลังใช้ความพยายามอย่างยากลำบากในการวางตัวเองไม่เกี่ยวข้องพัวพันกับการสงครามความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นในเขตโกกัง ภายหลังจากได้เกิดความตึงเครียดหลายครั้งกับคณะทหารผู้ปกครองพม่า สืบเนื่องจากมีพลเมืองจีนให้การสนับสนุนฝ่ายชาวโกกัง ซึ่งเป็นคนเชื้อจีน
ตามปากคำของอดีตทหารแซ่เติ้ง ผู้หนึ่ง ที่ปลดเกษียณจากกองทัพปลดแอกประชาชนจีนแล้ว เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนจะกักตัวใครก็ตามซึ่งเดินทางจากที่อื่นๆ ในแดนมังกร มายังบริเวณพื้นที่ชายแดนแถบนี้ ทหารเก่าแซ่เติ้งผู้นี้เล่าว่า เขารู้จักอาสาสมัครหลายคนซึ่งพยายามข้ามจากยูนนานเข้าไปยังเขตโกกังเพื่อช่วยเหลือพวกกบฎ
“ที่ผมรู้จักก็มีอยู่สองสามคนในเมืองคุนหมิง (Kunming) คนหนึ่งในเมืองจิ่งหง (Jinghong) และอีกสองสามคนในเมืองหนานซาน ผมไม่ได้ยินข่าวคราวจากพวกเขาอีกเลยตั้งแต่ที่พวกเขาข้ามเข้าไปในเขตโกกังแล้ว” เติ้ง กล่าว “พวกเขามาจากทุกๆ ส่วนทั่วประเทศจีน แต่หลังจากนั้นก็ไม่สามารถติดต่อกับพวกเขาได้อีก ผมจึงไม่รู้ว่าตอนนี้พวกเขากำลังทำอะไรกันบ้าง”
“คนจำนวนจำนวนมากเลย ไม่ต้องการเห็นคนอื่นๆ ต้องลำบาก โดยเห็นว่าการช่วยเหลือคนที่ลำบากก็เหมือนกับการช่วยเหลือพวกเราเอง” เติ้ง บอก “คุณไม่สามารถที่จะพึ่งพารัฐบาลได้หรอก รัฐบาลก็มีแต่รับใช้อำนาจทางการเมืองของพวกเขาเองเท่านั้น” เขากล่าว “แต่สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกไม่สบายใจก็คือ ทันทีที่พวกเราเข้าไปถึงที่นั่นแล้ว มันจะทำให้อะไรๆ ยิ่งยุ่งเหยิงเข้าไปใหญ่”
ข่าวนี้รายงานโดย ซิน หลิน (Xin Lin) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (RFA’s Mandarin Service) และ โดย เหวิน อี้ว์ชิง (Wen Yuqing) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษากวางตุ้ง (RFA’s Cantonese Service) แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย ลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต
Myanmar government bombs 'fall in China'
By Xin Lin and Wen Yuqing
13/03/2015
ลูกระเบิดซึ่งกองทหารรัฐบาลพม่าทิ้งใส่ ขณะทำการสู้รบกับกองกำลังกบฏชาติพันธุ์โกกัง ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีอยู่อย่างน้อยที่สุด 3 ครั้งไปตกในอาณาเขตของจีน ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวท้องถิ่นหลายราย โดยที่มีรายหนึ่งยืนยันว่ามีบางลูกตกในพื้นที่ของจีนซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนถึงราว 40 กิโลเมตร
ลูกระเบิดหลายลูกซึ่งกองทหารรัฐบาลพม่าทิ้งใส่ ขณะทำการสู้รบกับกองกำลังอาวุธของกลุ่มกบฎชาติพันธุ์โกกัง (Kokang) ได้ไปตกในอาณาเขตของจีนตรงบริเวณพรมแดนที่ติดต่อกับภาคเหนือของพม่า จนทำให้เกิดไฟไหม้ป่าหลายจุดและมีผู้เสียชีวิตด้วย แหล่งข่าวท้องถิ่นหลายรายระบุเมื่อวันพุธ (11 มี.ค.)
ชาวบ้านแซ่ถู (Tu) ผู้หนึ่งของเมืองหนานซาน (Nansan) มณฑลยูนนาน ของจีน เล่าว่า ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่างน้อยที่สุดมีอยู่ 3ครั้งซึ่งลูกระเบิดที่กองทัพพม่าทิ้งลงมา ได้ตกลงในเขตแดนจีนบริเวณที่เป็นป่าเขาทุรกันดาร
“พวกเราอยู่ที่หนานซาน ปรากฏว่ามีลูกระเบิดหลายลูกตกลงมาในเมิ่งตุ้ย (Mengdui) ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนถัดเข้ามาในแดนจีนประมาณ 40 กิโลเมตรทีเดียว” ถู กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันพุธ (11 ม.ค.) “วันนี้ยังคงมีการสู้รบกันอยู่ คงต้องมีคนตายเยอะเลย” เขาคาดหมาย “เราคงจะต้องจัดการกับศพพวกนี้บางศพในเร็วๆ นี้”
เขาบอกว่า พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในจีนคอยห้ามปรามไม่ให้สื่อมวลชนของประเทศรายงานข่าวเหตุการณ์เหล่านี้ “มีการปิดข่าวที่มาจากหนานซาน ดังนั้นคุณจะไม่ได้เห็นข่าวอย่างนี้ปรากฏที่ไหนเลย” ถู ระบุ
ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งได้แถลงเตือนแล้วว่า ไม่ต้องการเห็นการต่อสู้ระหว่างทหารรัฐบาลพม่า กับกองกำลังกบฎโกกังที่ใช้ชื่อว่า “กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า” (Myanmar National Democratic Alliance Army ใช้อักษรย่อว่า MNDAA) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่เมืองล็อกไก (Laukkai) เกิดการขยายตัวบานปลาย
MNDAA ที่อยู่ในการบังคับบัญชาของ เผิง เจียเซิง (Peng Jiasheng) ซึ่งเป็นคนเชื้อจีน กำลังพยายามที่จะยึดเอาพื้นที่บริหารปกครองตนเองของชาวโกกังกลับคืน โดยที่พื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ใต้การควบคุมของพวกเขามาจวบจนกระทั่งถึงปี 2009 การสู้รบระหว่าง MNDAA กับทหารรัฐบาลพม่าที่ปะทุขึ้นในระยะเวลาเดือนเศษที่ผ่านมา ได้บังคับให้มีผู้อพยพลี้ภัยออกจากบริเวณทำศึกประมาณ 100,000 คน โดยจำนวนมากข้ามพรมแดนเข้าไปอยู่ในเขตประเทศจีน
กระทรวงการต่างประเทศของจีนแถลงว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีลูกกระสุนที่ยิงกันในเขตโกกัง ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกลในรัฐชาน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ข้ามพรมแดนเข้ามาตกใส่บ้านของพลเรือนหลังหนึ่งในยูนนาน
ขณะที่อาสาสมัครผู้ทำงานช่วยเหลือคนหนึ่งซึ่งมีแซ่ว่า “โจว” (Zhao) ก็เล่าว่า มีการทิ้งระเบิดเมื่อตอนดึกวันพุธ (11 มี.ค.) ที่ผ่านมา จนทำให้เกิดไฟไหม้ป่าหลายจุด ซึ่งมองเห็นได้จากหนานซาน
“พวกเขากำลังทิ้งระเบิดใส่บนยอดเขา และทำให้บนเขาเกิดไฟไหม้ขึ้นมา” โจวเล่า “มันเข้ามาถึงดินแดนจีนด้วย”
การสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือด
ชาวบ้านท้องถิ่นหลายรายบอกว่า การสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับกองกำลังกบฎดำเนินไปอย่างดุเดือดเข้มข้น ในบริเวณประชิดกับชายแดนพม่า-จีน ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
“มีการยิงปืนดังสนั่นหวั่นไหวเลยเมื่อคืนนี้ แล้วก็มีการทิ้งระเบิดหลายลูกซึ่งทำให้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นหลายๆ จุด” ชาวบ้านแซ่ กู่ (Gu) ซึ่งเป็นชาวชาติพันธุ์โกกังที่พำนักอาศัยอยู่ทางฝั่งพม่า บอกกับวิทยุเอเชียเสรี (RFA) เมื่อวันพฤหัสบดี (12 มี.ค.)
คำบอกเล่าของ กู่ ดูจะเป็นการยืนยันรายงานทางออนไลน์ในเว็บไซต์ซึ่งหนุนหลังพวกกบฏ ที่ระบุว่าเครื่องบินพม่าได้ทิ้งระเบิด 2 ลูกตกลงมาที่เมิ่งตุ้ย ในเวลาประมาณ 19.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่กองทัพรัฐบาลทำการสู้รบกับ MNDAA บริเวณที่มั่นของฝ่ายกบฏซึ่งอยู่ใกล้ๆ เมืองชิเกาลิน (Shiguolin) ทางฝั่งพม่า
“กำลังนักรบของกลุ่มกบฏใช้วิธีแอบเล็ดลอดเข้าโจมตีจากทางด้านหลัง มีเสียงปืนยิงกันอย่างต่อเนื่องอยู่หลายชั่วโมงทีเดียว” กู่ เล่า
เขาบอกว่า กองกำลังกบฏสามารถกดดันให้แนวรบถอยร่นกลับมาจนถึงเขตชานเมืองล็อกไก ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตพื้นที่บริหารปกครองตนเองของชาวโกกัง
“ยังมีคนจำนวนมากที่ให้การสนับสนุน เผิง เจียเซิง และกองกำลังกบฎกำลังทำหน้าที่คุ้มกันพาพวกพลเรือนเดินทางไปยังที่ปลอดภัยในอีกฟากหนึ่งของชายแดน” กู่ เล่า “แต่กองทัพพม่านั้นเลือกปฏิบัติแบ่งแยกกีดกันชาวโกกัง และมีพลเรือนบางคนถูกประหารชีวิตกันบนถนนด้วย” เขากล่าว โดยดูเหมือนจะเป็นการอ้างอิงถึงเหตุการณ์ประหารชีวิตซึ่ง วิทยุเอเชียเสรี เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้
กู่ เล่าว่า พลเรือนที่สามารถหลบหนีการสู้รบ เข้าไปพักอาศัยกันตามค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว ยังคงต้องเผชิญชีวิตที่ยากลำบากอย่างยิ่งอยู่ดี “สถานที่ต่างๆ ซึ่งพวกเขาเข้าพักอยู่เวลานี้ อยู่ในสภาพที่แทบไม่มีอะไรเอาเลย และลำบากกันจริงๆ” เขากล่าว “คนจำนวนมากล้มป่วย โดยที่หยูกยาก็ขาดแคลน แม้แต่พวกข้าวของจำเป็นประจำวันก็ขาดแคลนเหมือนกัน”
ผู้อพยพลี้ภัยในจีน
ชาวบ้านหนานซานแซ่ถู เล่าถึงสภาพของผู้อพยพลี้ภัยซึ่งข้ามเข้าไปอยู่ทางฝั่งจีนว่ากำลังประสบปัญหาข้าวของขาดแคลนไม่พอกินพอใช้เช่นกัน “มีข้าวไม่พอเลี้ยงพวกผู้อพยพลี้ภัยที่ข้ามพรมแดนมาที่ฝั่งเรา” ถู บอก “คนจำนวนมากเลยอยู่ในสภาพหิวโหย”
เขากล่าวว่ารัฐบาลจีนได้จัดหาจัดส่งข้าวของบรรเทาทุกข์มาให้จำนวนหนึ่ง “แต่ข้าวและสิ่งของต่างๆ ที่พวกเขาแจกจ่ายให้นั้นไม่พอหรอก ดังนั้นคนจำนวนมากจึงต้องเอาต้นอ้อยหรือต้นไม้อื่นๆ มาทำเป็นเพิงพักแบบขอไปที แล้วก็ไปหาเก็บฟืนจากป่าใกล้ๆ มาใช้หุงข้าวทำกับข้าว”
“เส้นทางขนส่งหลายเส้นเลยถูกปิด และรัฐบาลจีนยังไม่อนุญาตให้เรี่ยไรหรือรับบริจาคความช่วยเหลือจากเอกชนด้วย”
คำบอกเล่าของ ถู ได้รับการยืนยันจากอาสาสมัครผู้ทำงานช่วยเหลือคนหนึ่งซึ่งเป็นคนอยู่ทางฝั่งจีนและขอให้ปกปิดชื่อของเขา “กาชาดจีนเวลานี้ไม่ยอมรับเงินบริจาคจากเอกชนแล้ว” อาสาสมัครผู้นี้กล่าว
เขาเล่าด้วยว่า จำนวนผู้พักอาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพลี้ภัย “ฉินไช่โกว” (Qincaigou) ได้เพิ่มไปอีกเท่าตัว นับแต่ที่ทางการผู้รับผิดชอบของฝ่ายจีนอนุญาตให้ค่ายแห่งนั้นรับผู้อพยพลี้ภัยเพิ่มขึ้นอีก 1,000 คน ภายหลังได้จัดส่งผู้อพยพลี้ภัยหลายพันคนข้ามพรมแดนกลับไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ภาพถ่ายต่างๆ ของค่ายฉินไช่โกว ซึ่งวิทยุเอเชียเสรีได้รับมา แสดงให้เห็น เต็นท์ที่พักชั่วคราวตั้งเกาะกลุ่มกันหลายๆ เต็นท์ โดยมีหลังคาทำจากผ้าพลาสติกและใบไม้ ส่วนเตียงนั้นใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นฟาก โดยที่มีผู้หญิงและเด็กๆ จำนวนมากกำลังนั่งยองๆ กันอยู่ตามพื้น
วางตัวไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง
ปักกิ่งกำลังใช้ความพยายามอย่างยากลำบากในการวางตัวเองไม่เกี่ยวข้องพัวพันกับการสงครามความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นในเขตโกกัง ภายหลังจากได้เกิดความตึงเครียดหลายครั้งกับคณะทหารผู้ปกครองพม่า สืบเนื่องจากมีพลเมืองจีนให้การสนับสนุนฝ่ายชาวโกกัง ซึ่งเป็นคนเชื้อจีน
ตามปากคำของอดีตทหารแซ่เติ้ง ผู้หนึ่ง ที่ปลดเกษียณจากกองทัพปลดแอกประชาชนจีนแล้ว เวลานี้พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนจะกักตัวใครก็ตามซึ่งเดินทางจากที่อื่นๆ ในแดนมังกร มายังบริเวณพื้นที่ชายแดนแถบนี้ ทหารเก่าแซ่เติ้งผู้นี้เล่าว่า เขารู้จักอาสาสมัครหลายคนซึ่งพยายามข้ามจากยูนนานเข้าไปยังเขตโกกังเพื่อช่วยเหลือพวกกบฎ
“ที่ผมรู้จักก็มีอยู่สองสามคนในเมืองคุนหมิง (Kunming) คนหนึ่งในเมืองจิ่งหง (Jinghong) และอีกสองสามคนในเมืองหนานซาน ผมไม่ได้ยินข่าวคราวจากพวกเขาอีกเลยตั้งแต่ที่พวกเขาข้ามเข้าไปในเขตโกกังแล้ว” เติ้ง กล่าว “พวกเขามาจากทุกๆ ส่วนทั่วประเทศจีน แต่หลังจากนั้นก็ไม่สามารถติดต่อกับพวกเขาได้อีก ผมจึงไม่รู้ว่าตอนนี้พวกเขากำลังทำอะไรกันบ้าง”
“คนจำนวนจำนวนมากเลย ไม่ต้องการเห็นคนอื่นๆ ต้องลำบาก โดยเห็นว่าการช่วยเหลือคนที่ลำบากก็เหมือนกับการช่วยเหลือพวกเราเอง” เติ้ง บอก “คุณไม่สามารถที่จะพึ่งพารัฐบาลได้หรอก รัฐบาลก็มีแต่รับใช้อำนาจทางการเมืองของพวกเขาเองเท่านั้น” เขากล่าว “แต่สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกไม่สบายใจก็คือ ทันทีที่พวกเราเข้าไปถึงที่นั่นแล้ว มันจะทำให้อะไรๆ ยิ่งยุ่งเหยิงเข้าไปใหญ่”
ข่าวนี้รายงานโดย ซิน หลิน (Xin Lin) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาจีนกลาง (RFA’s Mandarin Service) และ โดย เหวิน อี้ว์ชิง (Wen Yuqing) ทางวิทยุเอเชียเสรีภาคภาษากวางตุ้ง (RFA’s Cantonese Service) แปลและเขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย ลุยเซตตา มูดี (Luisetta Mudie)
วิทยุเอเชียเสรี (Radio Free Asia ใช้อักษรย่อว่า RFA) ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ และได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากเงินให้เปล่าของรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจุบัน RFA เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุและบริการข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต