xs
xsm
sm
md
lg

“อินเดีย-สหรัฐฯ” ผ่าทางตัน “อุดหนุนสินค้าเษตร-กักตุนอาหาร” ของแดนภารตะ กรุยทางสู่ข้อตกลงค้าเสรี WTO

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเอฟพี - อินเดียและสหรัฐฯสุดท้ายสามารถหาทางออกแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่เป็นตัวกลางขวางข้อตกลงความร่วมมือเปิดตลาดเสรี WTO ได้สำเร็จในวันนี้(13) โดยทั้งสองประเทศเข้าใจตรงกันว่า อินเดียจะยังสามารถคงนโยบายกักตุนอาหารและอุดหนุนสินค้าทางการเกษตรได้ต่อไปจนกว่าจะทั้งสหรัฐฯและอินเดียจะสามารถบรรลุข้อตกลงถาวรได้ต่อไป หลังจากก่อนหน้านี้อินเดียปฎิเสธลงนามให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงศุลกากรโลกในการประชุม WTO ที่จัดขึ้นบนเกาะบาหลีในเดือนธันวาคม 2013

ในขณะนั้นรัฐบาลนิวเดลีปฎิเสธที่จะลงนามในสัตยาบันรับข้อตกลงศุลกากรโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยกเว้นแต่ว่าทางองค์การค้าโลกจะอนุญาตให้แดนภารตะยังสามารถคงนโยบายกักตุนอาหารต่อไปได้โดยไม่ถูกมาตรการลงโทษ สร้างความขุ่นเคืองให้สหรัฐฯจนถึงขั้นออกโรงประนามอินเดียว่า เป็นต้นเหตุทำให้เกิดวิกฤตครั้งร้ายแรงภายในองค์การค้าโลก WTO

แต่ในวันนี้(13) ทั้งอินเดียและสหรัฐฯมีท่าทีเปลี่ยนไป โดยทั้งสองประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันเบื้องต้นในปัญหานโยบายกักตุนอาหารของอินเดีย ซึ่งจะไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขขององค์การค้าโลก จนกระทั่งทั้งสองประเทศสามารถหาข้อสรุปถาวรร่วมกันที่จะนำไปสู่การปฎิบัติในที่สุด” สหรัฐฯแถลง

และทำเนียบขาวยังแถลงเพิ่มเติมว่า ข้อตกลงล่าสุดนี้จะช่วยทำการปลดล็อก และนำไปสู่ข้อตกลงทางการค้าเสรีตามกรอบขององค์การค้าโลก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการค้าของทั้งประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาต่ำลง

ด้านนิวเดลีแถลงว่า ทางอินเดียรู้สึกยินดีที่ทั้งสหรัฐฯและอินเดียประสบความสำเร็จในการแก้ไขมุมมองที่ต่างกันเกี่ยวกับนโยบายมาตรการควมมั่นคงทางอาหารของอินเดีย

“นี่จะเป็นการหาทางออกในองค์การค้าโลก และยังเป็นการเปิดประตูเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรี TFAในที่สุด” เนอร์มาลา สิทารามัน รัฐมนตรีพาณิชย์อินเดียกล่าวผ่านแถลงการณ์

“เราเชื่อมั่นว่าประเทศสมาชิกจะพิจารณาถึงสิ่งนี้อย่างสร้างสรรค์ในองค์การค้าโลก” อินเดียแถลง

ด้านผู้อำนวยการใหญ่องค์การค้าโลก โรแบร์โต อาเซเวโด  ได้กล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “ทางตันที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เกิดการชะงักงันข้อตกลงร่วมกันใน WTO” และอาเซเวโดยังประนามสิ่งที่อินเดียได้ก่อให้เกิดทางตันครั้งนี้ว่า “เป็นวิกฤตขั้นร้ายแรงที่สุดเท่าที่องค์การค้าโลกเคยประสบมา”

ทั้งนี้นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอินเดียได้หารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ถึงปัญหานี้ในระหว่างการเยือนสหรัฐฯอย่างเป็นทางการในช่วงกันยายนล่าสุด สร้างความหวังว่าจะนำไปสู่การผ่าทางตันได้สำเร็จในท้ายที่สุด

การตัดสินใจของนิวเดลีในเดือนกรกฎาคมที่จะยังไม่ให้สัตยาบันในข้อตกลงศุลกากรโลกที่จะนำไปสู่การลดทอนกระบวนการทางภาษี ซึ่งถือเป็นกำแพงกีดกันทางการค้า โดยประเทศสมาชิกองค์การค้าโลกส่วนใหญ่เห็นควรร่วมให้สัตยาบันในเดือนธันวาคม 2013 ในการประชุมซึ่งจัดขึ้นที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย

ทั้งนี้อินเดียและกลุ่มประเทศสมาชิกกำลังพัฒนาบางส่วนได้โต้ว่า การกักตุนอาหารมีความจำเป็นเพื่อทำให้มั้นใจว่าชาวนาที่ยากจนของประเทศและผู้บริโภคจะสามารถอยู่ได้ในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด

แต่กระนั้นภายใต้เงื่อนไขของ WTO การกักตุนและการอุดหนุนสินค้าเพื่อประชากรยากไร้นั้นเข้าข่ายฉ้อฉลทางการค้าอย่างหนึ่ง

และโลกตะวันตกที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำได้ส่งสัญญาณแสดงถึงความไม่เห็นด้วยว่า มาตรการความมั่นคงด้านอาหารของอินเดียอาจทำให้เกิดมีสต็อกรั่วออกไปสู่ตลาดโลก และอาจจะนำไปสู่ความไม่ชอบธรรมในการค้าระหว่างประเทศได้

หลังจากการประกาศความสำเร็จในเบื้องต้นถึงการหาทางออกในวันพฤหัสบดี(13) ผู้แทนทางการค้าสหรัฐฯ ไมเคิล โฟรแมน (Micheal Froman) ได้แสดงความมั่นใจว่าท้ายที่สุดแล้ว การเจรจาที่บาหลีจะสัมฤทธิผลในท้ายที่สุด “จากการสามารถหาข้อตกลงในเบื้องต้นกับอินเดียสำเร็จ ทำให้สหรัฐฯมั่นใจว่าในการร่วมมือกับประเทศสมาชิกองค์การค้าโลกอื่นทั้งหมด รวมไปถึงกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การค้าโลก โรแบร์โต อาเซเวโด จะสามารถทำให้ข้อตกลงศุลกากรโลก รวมไปถึง TFAสามารถบรรลุได้ในท้ายที่สุด” โฟรแมนแถลง

โดยในขณะนั้น ประเทศสมาชิก WTO ได้ร่วมรับรองในบัญญัติปกป้องการใช้มาตรการการอุดหนุนสินค้าเกษตร (Peace Clause)อายุ 4 ปี เพื่อช่วยให้อินเดียไม่ให้ถูกลงโทษจากการกักตุนและอุดหนุนสินค้าการเกษตรของตนจนกว่า “จะสามารถบรรลุข้อตกลงถาวร” ในการหาทางออกแก้ปัญหานี้ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น