(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Iran and Israel vie in Kurdistan
By Brian M Downing
30/09/2014
เคอร์ดิสถานมีทั้งทรัพยากรน้ำมัน, กองกำลังอาวุธท้องถิ่น, และสิทธิปกครองตนเองที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากแบกแดด จึงทำให้ดินแดนปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในอิรักแห่งนี้ กลายเป็นตัวแสดงสำคัญตัวหนึ่งในการเมืองระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออิหร่านและอิสราเอล อย่างไรก็ตาม ทั้งพวกผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจในอิหร่าน และพรรคลิคุดที่เป็นแกนนำรัฐบาลในอิสราเอลเวลานี้ ต่างก็อาจจะถูกชี้นำด้วยความเป็นปรปักษ์กันและนโยบายการต่างประเทศแบบเคร่งคัมภีร์ในช่วงหลังๆ มานี้ จนกระทั่งไม่ได้ตระหนักมองเห็นถึงบทบาทที่เคอร์ดิสถานสามารถกระทำได้ ในการยังความปราชัยให้แก่กลุ่มนักรบญิฮัด “รัฐอิสลาม” (ไอเอส)
ทั้งโลกตะวันตกและพวกรัฐสำคัญๆ ริมอ่าวเปอร์เซีย ต่างกำลังพยายามมองหาวิธีดำเนินการทางการเมือง ซึ่งจะทำให้สามารถนำเอากองทหารภาคพื้นดินเข้ามาจัดการกับกลุ่มนักรบญิฮัด “รัฐอิสลาม” (Islamic State หรือ IS) ได้ เห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียวว่า กองทหารชาวเคิร์ด คือหนึ่งในบรรดาทางเลือกที่ดูมีความหวังมากที่สุด ในการปฏิบัติภารกิจเป็นกองกำลังภาคพื้นดินดังกล่าว
ถึงแม้ไม่ได้มีทางออกทางทะเล แต่ดินแดนปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในอิรัก หรือ “เคอร์ดิสถาน” (Kurdistan) ก็มีทั้งทรัพยากรน้ำมัน, กองกำลังอาวุธท้องถิ่น, และสิทธิปกครองตนเองที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากแบกแดด จึงทำให้ดินแดนปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในอิรักแห่งนี้ กลายเป็นตัวแสดงสำคัญตัวหนึ่งในการเมืองระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออิหร่านและอิสราเอล
เป็นเวลาหลายปีทีเดียว อิหร่านกับอิสราเอลคือพันธมิตรกัน แต่ละฝ่ายต่างก็มีความวิตกกังวลร่วมกันเกี่ยวกับพวกรัฐอาหรับของชาวสุหนี่ซึ่งแสดงท่าทีเป็นศัตรู แต่แล้วความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวก็ต้องถอยกรูดให้แก่ความเป็นปรปักษ์กันอย่างขมขื่น ในเมื่ออิหร่านกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในเลบานอน ขณะที่อิสราเอลก็แสวงหาสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับพวกรัฐอาหรับ เวลานี้อิสราเอลยังกำลังพยายามที่จะสกัดกั้นยับยั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนความไม่สงบระหว่างภาคต่างๆ และระหว่างเชื้อชาติต่างๆ ภายในอิหร่าน ส่วนทางอิหร่านเองก็กำลังหนุนหลังศัตรูตัวร้ายกาจของอิสราเอลอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฮามาส (Hamas) ในดินแดนฉนวนกาซา, กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah) ในเลบานอน, และรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar al-Assad) ในซีเรีย
อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงเคอร์ดิสถานแล้ว อิสราเอลกับอิหร่านอาจจะมีอะไรที่ร่วมกันอย่างมากมายเกินกว่าที่พวกผู้นำของทั้งสองประเทศจะตระหนักรับรู้ ประวัติศาสตร์นั้นแสดงให้เห็นผลประโยชน์ร่วมกันในอดีต ส่วนภูมิรัฐศาสตร์แสดงให้เห็นผลประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบัน ถึงแม้ทั้งพวกผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจในอิหร่าน และพรรคลิคุด (Likud) ที่เป็นแกนนำรัฐบาลในอิสราเอลเวลานี้ ต่างก็อาจจะถูกชี้นำด้วยความเป็นปรปักษ์กันและนโยบายการต่างประเทศแบบเคร่งคัมภีร์ในช่วงหลังๆ มานี้ จนกระทั่งไม่ได้ตระหนักรับรู้
อิหร่าน
อิหร่านก็เหมือนๆ กับตุรกี ยอมรับเรื่องที่เคอร์ดิสถานกลายเป็นรัฐเอกราชหรือเป็นเขตมีอำนาจปกครองตนเองค่อนข้างสูง ว่าเป็นสิ่งที่ยุติเสร็จสิ้นไปแล้ว และมุ่งหาทางร่วมมือกับดินแดนนี้มากกว่าที่จะปล่อยให้ดินแดนนี้หันไปจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกศัตรูของตน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เตหะรานได้ส่งคณะผู้แทนชุดหนึ่งไปยังเมืองหลวงเออร์บิล (Erbil) ของเคอร์ดิสถาน เพื่อหาทางร่วมมือกันในด้านความมั่นคง รวมทั้งเข้าใจกันว่าอิหร่านมีที่ปรึกษาอยู่ในหน่วยทหาร “เปชเมอร์กา” (peshmerga) ของเคอร์ดิสถานหลายหน่วยด้วยกัน
ถึงแม้มองกันโดยทั่วไปแล้ว ฝ่ายอิหร่านกับฝ่ายเคิร์ดถือเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์กัน ทว่าพวกเขากลับสามารถทำงานร่วมกันได้ในระยะหลายปีหลังๆ มานี้ ระหว่างที่เกิดสงครามอิหร่าน-อิรัก ในปี 1980-88 กองทหารชาวเคิร์ดนี่แหละเป็นผู้ที่คอยตรึงกำลังทหารอิรักของซัดดัม ฮุสเซน เอาไว้หลายกองพลทีเดียว จนทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกไปทำศึกกับอิหร่านได้ โดยที่ชาวเคิร์ดต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างสูงลิ่ว ด้วยการถูกแบกแดดแก้แค้นเอาอย่างหฤโหด เป็นต้นว่า การโจมตีด้วยอาวุธแก๊สพิษ
เตหะรานเวลานี้มีข้อกังวลใจสำคัญอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ประการแรก การที่กลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) สามารถเปิดการบุกตะลุยยึดภาคเหนือของอิรักได้อย่างรวดเร็วน่าตื่นตะลึง กำลังกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและเหนือความคาดคิด กลุ่มไอเอสเคยเฉียดใกล้ที่จะทำลายกองทัพอิรักซึ่งกำลังพลส่วนใหญ่เป็นชาวชิอะห์ให้แหลกลาญย่อยยับ และผลักไสรัฐบาลให้ต้องถอยหนีออกจากกรุงแบกแดดไปหลบภัยในเมืองบาสรา (Basra) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ จากนั้นไอเอสยังอาจจะเข้ายึดและทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของชาวชิอะห์ ทั้งในเมืองซามาร์รา (Samarra), คาร์บาลา (Karbala), และ นาจัฟ (Najaf) ซึ่งจะเป็นการบีบบังคับโดยตรงให้อิหร่านต้องเข้าแทรกแซง และก่อให้เกิดสงครามระหว่างนิกายศาสนากับพวกรัฐของชาวสุหนี่
ไอเอสยังอาจใช้ที่มั่นต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในอิรัก เพื่อทำการรุกโจมตีเข้าไปในดินแดนอิหร่านเองด้วย โดยอาจจะเปิดการถล่มด้วยระเบิดตามแนวทางซึ่งรัฐบาลอิรักในกรุงแบกแดดได้เคยกระทำมาในระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ พวกเมืองใหญ่ๆ ทางภาคตะวันตกของอิหร่าน เป็นต้นว่า เคอร์มันชาห์ (Kermanshah) อาจจะกลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด ถึงแม้กรุงเตหะรานเองก็ใช่ว่าจะอยู่ไกลโพ้น โดยที่อยู่ห่างจากที่มั่นของพวกไอเอสใกล้ๆ เมืองติกริต (Tikrit) ในอิรัก เพียงแค่ 560 กิโลเมตร
ความวิตกกังวลสำคัญที่สุดในประการที่สอง ก็คือ อิหร่านมีความปรารถนาที่จะจำกัดความร่วมไม้ร่วมมือที่เคอร์ดิสถานมีอยู่กับสหรัฐฯและอิสราเอล โดยที่ทั้งสองรายนี้ต่างก็มีเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองและเจ้าหน้าที่หน่วยรบพิเศษอยู่ในเคอร์ดิสถานมานมนานหลายสิบปีแล้ว อิสราเอล ซึ่งสมรู้ร่วมคิดกับกลุ่มชาวอิหร่านลี้ภัยที่ใช้ชื่อว่า “มุจาฮิดีน-อี-คาลก์ (Mujahideen-e-Khalq) ยังกำลังก่อการลอบสังหารพวกนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านมาหลายปีเต็มที รวมทั้งอิสราเอลยังอาจจะมีแผนการในการหาประโยชน์จากกระแสชาตินิยมชาวเคิร์ดที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้ และยุยงชาวเคิร์ดในอิหร่านให้คิดแยกตัวเป็นอิสระจากเตหะราน
ในประการที่สาม อิหร่านมีความปรารถนาที่จะป้องกันไม่ให้ซาอุดีอาระเบียมีอิทธิพลเพิ่มพูนขึ้นในเคอร์ดิสถาน ระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ ริยาดประสบความสำเร็จในการนำเอาเยเมนเข้ามาอยู่ในอิทธิพลของตน โดยสามารถเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีที่เป็นชาวชิอะห์และให้ชาวสุหนี่ขึ้นแทนที่ ถึงแม้ว่าพวกฮูตี (Houthi) ซึ่งเตหะรานหนุนหลังอยู่กำลังมีอำนาจบารมีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างชัดเจน นอกจากนั้นซาอุดีอาระเบียยังช่วยขับไสกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ให้ตกลงจากอำนาจในอียิปต์ และนำเอาระบอบคณาธิปไตยที่มีกองทัพเป็นศูนย์กลางขึ้นครองอำนาจ ซึ่งระบอบปกครองใหม่นี้ก็จัดการยุติสายสัมพันธ์กับอิหร่านที่กำลังทำท่าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ริยาดนั้นสามารถเสนอความสนับสนุนทางการเงินแก่เคอร์ดิสถาน รวมทั้งช่วยเหลือหาผู้ซื้อน้ำมันที่เคอร์ดิสถานกำลังพยายามส่งออก โดยผ่านเมืองท่าซีย์ฮาน (Ceyhan) ในตุรกี
แต่ถึงแม้ว่าอิหร่านอยู่ในภาวะขาดแคลนเงินสด สืบเนื่องจากถูกนานาชาติลงโทษคว่ำบาตร ทว่าเตหะรานก็แสดงท่าทีพรักพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอจูงใจเพื่อแข่งขันกับปรปักษ์ชาวสุหนี่ของตน อิหร่านไม่ต้องการปล่อยให้เกิดความเสี่ยงที่เคอร์ดิสถานจะไปร่วมหัวจมท้ายกับศัตรู แทนที่จะยังคงอยู่ในฐานะเป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ได้มีน้ำจิตน้ำใจอะไรต่อกันมากมาย อิหร่านนั้นมีความสามารถที่จะช่วยเหลือให้น้ำมันของชาวเคิร์ดออกสู่ตลาดได้ หลังจากที่แบกแดดซึ่งโกรธขึ้งไม่พอใจที่เคอร์ดิสถานตีตัวห่างจากตนมากขึ้นทุกที จึงกำลังปิดเส้นทางส่งออกของเคอร์ดิสถาน ที่ผ่านทางเมืองบาสรา ทางภาคใต้ของอิรัก
ทั้งนี้อิหร่านซึ่งมีอิทธิพลอยู่มากต่อรัฐบาลอิรักที่เป็นชิอะห์ด้วยกัน อาจจะสามารถเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้แบกแดดยอมเพิกถอนการขัดขวางดังกล่าวนี้ หรือไม่เตหะรานก็อาจยินยอมให้น้ำมันของชาวเคิร์ดไหลผ่านไปตามสายท่อส่งของตนที่ตั้งต้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ไปสู่ท่าเรือส่งออกในอ่าวเปอร์เซีย โดยที่อิหร่านอาจจะพิจารณาด้วยเหตุผลที่ว่า ถึงอย่างไรก็เป็นการดีกว่าจะปล่อยให้เกิดความเสี่ยงที่น้ำมันของชาวเคิร์ดจะลงใต้ผ่านไปตามสายท่อส่งที่ผ่านอิรักและรัฐของพวกสุหนี่จนถึงท่าเรือในซาอุดีอาระเบีย
อิสราเอล
เคอร์ดิสถานมีฐานะสำคัญในยุทธศาสตร์ของอิสราเอลมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว อิสราเอลนั้นให้ความสนับสนุนกองจรยุทธ์ชาวเคิร์ดในการสู้รบกับอิรัก ซึ่งด้วยวิธีนี้ก็เป็นการป้องกันไม่ให้กองกำลังอาวุธชาวเคิร์ดไปรับความช่วยเหลือจากซีเรียและอียิปต์ ชาวอิสราเอลกับชาวเคิร์ดมีประสบการณ์ร่วมกันอย่างยาวนานทีเดียวในฐานะที่เป็นประชาชนผู้ไร้รัฐและลำบากลำบนจากการถูกปิดล้อม อิสราเอลนั้นต้องการหุ้นส่วนที่เข้มแข็งซึ่งต่อต้านทั้งซาอุดีอาระเบียทั้งอิหร่าน อันเป็นสิ่งที่หายากมากในภูมิภาคซึ่งเกิดการแตกขั้วแบ่งฝ่ายกันตามนิกายศาสนาอย่างชัดเจน ดังนั้น สำหรับอิสราเอลแล้ว เคอร์ดิสถานในอิรักที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งในไม่ช้าไม่นานยังอาจจะจับมือเป็นพันธมิตรกับเคอร์ดิสถานในซีเรียด้วย จะทำหน้าที่เป็นหนามแหลมคมคอยทิ่มตำอยู่ทางด้านข้างของอิหร่าน อีกทั้งอิสราเอลยังสามารถใช้เป็นฐานสำหรับการออกปฏิบัติการลับๆ ของตนได้ด้วย
อิสราเอลวาดหวังว่ากระบวนการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศแถบตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็น ลิเบีย, ซีเรีย, อิรัก, หรือ เยเมน จะเดินหน้าแผ่ลามต่อไปถึงอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศที่มีทั้งชาวเคิร์ด, ชาวอาเซอร์ไบจัน (, Azeri), ชาวบาโลจ (Baloch), และชาวบัคเตียรี (Bachtiari) ตลอดจนประชาชนกลุ่มอื่นๆ ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกไม่พึงพอใจในระดับต่างๆ กันภายใต้การปกครองของชาวเปอร์เซีย อิสราเอลนั้นมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์และทรัพย์สินด้านการข่าวกรองสืบราชการลับ ซึ่งจะทำให้กระบวนการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เช่นนี้ ไม่ได้เพียงแค่ตัดสินชี้ขาดกันโดยกลุ่มพลังต่างๆ ภายในอิหร่านล้วนๆ และการมีฐานสำหรับใช้ปฏิบัติการในเคอร์ดิสถานก็จะเปิดทางให้อิสราเอลสามารถผลักดันกลุ่มพลังทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้ ได้อย่างถนัดถนี่ยิ่งขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์แห่งภาวะไร้รัฐเหมือนๆ กันระหว่างชาวอิสราเอลกับชาวเคิร์ดนั้น ถึงเวลานี้ก็สิ้นสุดลงไปแล้ว และอิสราเอลในปัจจุบันก็ไม่สามารถเสนออะไรได้มากมายในเวลาเจรจาต่อรองกับเคอร์ดิสถาน อิสราเอลนั้นได้ซื้อน้ำมันของชาวเคิร์ดเอาไว้จำนวนหนึ่ง ทว่าก็ไม่ได้ถึงขนาดอยู่ในฐานะเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ นอกจากนั้นทรัพย์สินด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของอิสราเอลเองที่มีอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก็คาดกันว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะทำให้ประเทศนี้กลายฐานะเป็นผู้ส่งออกในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้านี้ด้วยซ้ำ
อิสราเอลมีการจัดหาอาวุธและจัดการฝึกอบรมให้แก่กองทหารชาวเคิร์ด ทว่าก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง หรืออยู่ในระดับหาความช่วยเหลือจากคนอื่นมาทดแทนไม่ได้ ทางด้านความสนับสนุนทางการเงินจากอิสราเอลก็อยู่ในขอบเขตจำกัด และในขณะที่อิสราเอลนั้นมีอิทธิพลต่อวอชิงตันอย่างมหาศาล ทว่าสหรัฐฯในปัจจุบันยังคงมีจุดยืนที่คัดค้านการก่อตั้งรัฐเคอร์ดิสถานที่เป็นเอกราชขึ้นมา อิสราเอลน่าที่จะกดดันวอชิงตันในเรื่องนี้ โดยบางทีอาจจะมีการเชื่อมประสานกับพวกบริษัทน้ำมันสหรัฐฯที่กำลังดำเนินงานอยู่ในเคอร์ดิสถาน
อิหร่านในเวลานี้จึงมีอะไรที่จะเสนอแก่เคอร์ดิสถานมากยิ่งกว่าฝ่ายอิสราเอล ทั้งในเรื่องเส้นทางการส่งออกและในรูปของตัวเงิน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิสราเอลจึงอาจจะถูกลดระดับลงไปอยู่ในระดับสองหรือกระทั่งระดับสาม ในนโยบายการต่างประเทศของเคอร์ดิสถาน สภาวการณ์เช่นนี้ยิ่งมีความเป็นไปได้มากเป็นพิเศษ ในเมื่อเวลานี้วอชิงตันยังคงลังเลที่จะรีบร้อนเข้าไปให้ความสนับสนุนประเทศที่อยู่ห่างไกลและไร้ทางออกทางทะเลอีกรายหนึ่ง ภายหลังการผจญภัยในอัฟกานิสถานของตนได้นำไปสู่ช่วงหลายๆ ปีแห่งความผิดหวังไม่สมปรารถนา อย่างไรก็ดี สักวันหนึ่งวอชิงตันอาจรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนเคอร์ดิสถาน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อิทธิพลของอิหร่านเติบใหญ่ขยายตัวขึ้นที่นั่น นี่เป็นจุดที่เชื่อได้ว่าทั้งอิสราเอลและบริษัทเอซซอน (Exxon) จะต้องพยายามอธิบายแจกแจงให้เห็นกระจ่างชัดเจน
กระนั้นก็ตามที อาจจะเป็นการดีกว่าสำหรับอิสราเอลที่จะพิจารณาทบทวนโอกาสความเป็นไปได้จริงๆ ในการเกิดกระบวนการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ขึ้นในอิหร่าน สภาวการณ์เช่นนี้ต้องขึ้นอยู่เงื่อนไขที่ว่าเตหะรานประสบปัญหาทางการคลังอย่างเลวร้ายลงทุกทีๆ เมื่อการลงโทษคว่ำบาตรของนานาชาติยังคงดำเนินต่อไป และส่งผลทำให้ประชาชนที่มิใช่ชาวเปอร์เซียได้รับเงินทองความสนับสนุนต่างๆ จากส่วนกลางลดน้อยลงจนทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นมา ในขณะที่ยังมีความเป็นไปได้อีกด้านหนึ่งที่ว่า การลงโทษคว่ำบาตรอาจจะผ่อนคลายบรรเทาลงในเร็ววันนี้ และการรอมชอมกันระหว่างวอชิงตันกับเตหะรานก็อาจจะเกิดขึ้นในเวลาไม่ช้าไม่นาน
ถึงเวลานั้นอิสราเอลอาจจะมองเห็นประโยชน์ในการลดทอนความเป็นศัตรูกับอิหร่านและหันมาจับมือเตหะราน แม้จะอยู่ในลักษณะแค่หลวมๆ ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมกันต่อสู้กับซาอุดีอาระเบียและเหล่าพันธมิตรชาวสุหนี่ แน่นอนทีเดียว หากสถานการณ์เป็นเช่นนั้น ภูมิภาคนี้ก็เท่ากับหมุนวนมาบรรจบครบรอบ และย่างเข้าสู่ช่วงเวลาที่อิสราเอลกับอิหร่านร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพวกรัฐของชาวสุหนี่อีกคำรบหนึ่ง
ไบรอัน เอ็ม ดาวนิ่ง เป็นนักวิเคราะห์ด้านการเมือง-การทหาร เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Military Revolution and Political Change และ The Paths of Glory: Social Change in America from the Great War to Vietnam ตลอดจนร่วมกับ แดนนี่ ริตต์แมน (Danny Rittman) เขียนหนังสือเรื่อง The Samson Heuristic สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ brianmdowning@gmail.com
Iran and Israel vie in Kurdistan
By Brian M Downing
30/09/2014
เคอร์ดิสถานมีทั้งทรัพยากรน้ำมัน, กองกำลังอาวุธท้องถิ่น, และสิทธิปกครองตนเองที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากแบกแดด จึงทำให้ดินแดนปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในอิรักแห่งนี้ กลายเป็นตัวแสดงสำคัญตัวหนึ่งในการเมืองระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออิหร่านและอิสราเอล อย่างไรก็ตาม ทั้งพวกผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจในอิหร่าน และพรรคลิคุดที่เป็นแกนนำรัฐบาลในอิสราเอลเวลานี้ ต่างก็อาจจะถูกชี้นำด้วยความเป็นปรปักษ์กันและนโยบายการต่างประเทศแบบเคร่งคัมภีร์ในช่วงหลังๆ มานี้ จนกระทั่งไม่ได้ตระหนักมองเห็นถึงบทบาทที่เคอร์ดิสถานสามารถกระทำได้ ในการยังความปราชัยให้แก่กลุ่มนักรบญิฮัด “รัฐอิสลาม” (ไอเอส)
ทั้งโลกตะวันตกและพวกรัฐสำคัญๆ ริมอ่าวเปอร์เซีย ต่างกำลังพยายามมองหาวิธีดำเนินการทางการเมือง ซึ่งจะทำให้สามารถนำเอากองทหารภาคพื้นดินเข้ามาจัดการกับกลุ่มนักรบญิฮัด “รัฐอิสลาม” (Islamic State หรือ IS) ได้ เห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียวว่า กองทหารชาวเคิร์ด คือหนึ่งในบรรดาทางเลือกที่ดูมีความหวังมากที่สุด ในการปฏิบัติภารกิจเป็นกองกำลังภาคพื้นดินดังกล่าว
ถึงแม้ไม่ได้มีทางออกทางทะเล แต่ดินแดนปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในอิรัก หรือ “เคอร์ดิสถาน” (Kurdistan) ก็มีทั้งทรัพยากรน้ำมัน, กองกำลังอาวุธท้องถิ่น, และสิทธิปกครองตนเองที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากแบกแดด จึงทำให้ดินแดนปกครองตนเองของชาวเคิร์ดในอิรักแห่งนี้ กลายเป็นตัวแสดงสำคัญตัวหนึ่งในการเมืองระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออิหร่านและอิสราเอล
เป็นเวลาหลายปีทีเดียว อิหร่านกับอิสราเอลคือพันธมิตรกัน แต่ละฝ่ายต่างก็มีความวิตกกังวลร่วมกันเกี่ยวกับพวกรัฐอาหรับของชาวสุหนี่ซึ่งแสดงท่าทีเป็นศัตรู แต่แล้วความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวก็ต้องถอยกรูดให้แก่ความเป็นปรปักษ์กันอย่างขมขื่น ในเมื่ออิหร่านกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในเลบานอน ขณะที่อิสราเอลก็แสวงหาสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับพวกรัฐอาหรับ เวลานี้อิสราเอลยังกำลังพยายามที่จะสกัดกั้นยับยั้งโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนความไม่สงบระหว่างภาคต่างๆ และระหว่างเชื้อชาติต่างๆ ภายในอิหร่าน ส่วนทางอิหร่านเองก็กำลังหนุนหลังศัตรูตัวร้ายกาจของอิสราเอลอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฮามาส (Hamas) ในดินแดนฉนวนกาซา, กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah) ในเลบานอน, และรัฐบาลบาชาร์ อัล-อัสซาด (Bashar al-Assad) ในซีเรีย
อย่างไรก็ดี เมื่อพูดถึงเคอร์ดิสถานแล้ว อิสราเอลกับอิหร่านอาจจะมีอะไรที่ร่วมกันอย่างมากมายเกินกว่าที่พวกผู้นำของทั้งสองประเทศจะตระหนักรับรู้ ประวัติศาสตร์นั้นแสดงให้เห็นผลประโยชน์ร่วมกันในอดีต ส่วนภูมิรัฐศาสตร์แสดงให้เห็นผลประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบัน ถึงแม้ทั้งพวกผู้นำทางศาสนาซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจในอิหร่าน และพรรคลิคุด (Likud) ที่เป็นแกนนำรัฐบาลในอิสราเอลเวลานี้ ต่างก็อาจจะถูกชี้นำด้วยความเป็นปรปักษ์กันและนโยบายการต่างประเทศแบบเคร่งคัมภีร์ในช่วงหลังๆ มานี้ จนกระทั่งไม่ได้ตระหนักรับรู้
อิหร่าน
อิหร่านก็เหมือนๆ กับตุรกี ยอมรับเรื่องที่เคอร์ดิสถานกลายเป็นรัฐเอกราชหรือเป็นเขตมีอำนาจปกครองตนเองค่อนข้างสูง ว่าเป็นสิ่งที่ยุติเสร็จสิ้นไปแล้ว และมุ่งหาทางร่วมมือกับดินแดนนี้มากกว่าที่จะปล่อยให้ดินแดนนี้หันไปจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกศัตรูของตน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เตหะรานได้ส่งคณะผู้แทนชุดหนึ่งไปยังเมืองหลวงเออร์บิล (Erbil) ของเคอร์ดิสถาน เพื่อหาทางร่วมมือกันในด้านความมั่นคง รวมทั้งเข้าใจกันว่าอิหร่านมีที่ปรึกษาอยู่ในหน่วยทหาร “เปชเมอร์กา” (peshmerga) ของเคอร์ดิสถานหลายหน่วยด้วยกัน
ถึงแม้มองกันโดยทั่วไปแล้ว ฝ่ายอิหร่านกับฝ่ายเคิร์ดถือเป็นศัตรูคู่ปรปักษ์กัน ทว่าพวกเขากลับสามารถทำงานร่วมกันได้ในระยะหลายปีหลังๆ มานี้ ระหว่างที่เกิดสงครามอิหร่าน-อิรัก ในปี 1980-88 กองทหารชาวเคิร์ดนี่แหละเป็นผู้ที่คอยตรึงกำลังทหารอิรักของซัดดัม ฮุสเซน เอาไว้หลายกองพลทีเดียว จนทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกไปทำศึกกับอิหร่านได้ โดยที่ชาวเคิร์ดต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างสูงลิ่ว ด้วยการถูกแบกแดดแก้แค้นเอาอย่างหฤโหด เป็นต้นว่า การโจมตีด้วยอาวุธแก๊สพิษ
เตหะรานเวลานี้มีข้อกังวลใจสำคัญอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ประการแรก การที่กลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) สามารถเปิดการบุกตะลุยยึดภาคเหนือของอิรักได้อย่างรวดเร็วน่าตื่นตะลึง กำลังกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและเหนือความคาดคิด กลุ่มไอเอสเคยเฉียดใกล้ที่จะทำลายกองทัพอิรักซึ่งกำลังพลส่วนใหญ่เป็นชาวชิอะห์ให้แหลกลาญย่อยยับ และผลักไสรัฐบาลให้ต้องถอยหนีออกจากกรุงแบกแดดไปหลบภัยในเมืองบาสรา (Basra) ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ จากนั้นไอเอสยังอาจจะเข้ายึดและทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของชาวชิอะห์ ทั้งในเมืองซามาร์รา (Samarra), คาร์บาลา (Karbala), และ นาจัฟ (Najaf) ซึ่งจะเป็นการบีบบังคับโดยตรงให้อิหร่านต้องเข้าแทรกแซง และก่อให้เกิดสงครามระหว่างนิกายศาสนากับพวกรัฐของชาวสุหนี่
ไอเอสยังอาจใช้ที่มั่นต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในอิรัก เพื่อทำการรุกโจมตีเข้าไปในดินแดนอิหร่านเองด้วย โดยอาจจะเปิดการถล่มด้วยระเบิดตามแนวทางซึ่งรัฐบาลอิรักในกรุงแบกแดดได้เคยกระทำมาในระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ พวกเมืองใหญ่ๆ ทางภาคตะวันตกของอิหร่าน เป็นต้นว่า เคอร์มันชาห์ (Kermanshah) อาจจะกลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด ถึงแม้กรุงเตหะรานเองก็ใช่ว่าจะอยู่ไกลโพ้น โดยที่อยู่ห่างจากที่มั่นของพวกไอเอสใกล้ๆ เมืองติกริต (Tikrit) ในอิรัก เพียงแค่ 560 กิโลเมตร
ความวิตกกังวลสำคัญที่สุดในประการที่สอง ก็คือ อิหร่านมีความปรารถนาที่จะจำกัดความร่วมไม้ร่วมมือที่เคอร์ดิสถานมีอยู่กับสหรัฐฯและอิสราเอล โดยที่ทั้งสองรายนี้ต่างก็มีเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองและเจ้าหน้าที่หน่วยรบพิเศษอยู่ในเคอร์ดิสถานมานมนานหลายสิบปีแล้ว อิสราเอล ซึ่งสมรู้ร่วมคิดกับกลุ่มชาวอิหร่านลี้ภัยที่ใช้ชื่อว่า “มุจาฮิดีน-อี-คาลก์ (Mujahideen-e-Khalq) ยังกำลังก่อการลอบสังหารพวกนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านมาหลายปีเต็มที รวมทั้งอิสราเอลยังอาจจะมีแผนการในการหาประโยชน์จากกระแสชาตินิยมชาวเคิร์ดที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคแถบนี้ และยุยงชาวเคิร์ดในอิหร่านให้คิดแยกตัวเป็นอิสระจากเตหะราน
ในประการที่สาม อิหร่านมีความปรารถนาที่จะป้องกันไม่ให้ซาอุดีอาระเบียมีอิทธิพลเพิ่มพูนขึ้นในเคอร์ดิสถาน ระยะไม่กี่ปีหลังๆ นี้ ริยาดประสบความสำเร็จในการนำเอาเยเมนเข้ามาอยู่ในอิทธิพลของตน โดยสามารถเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีที่เป็นชาวชิอะห์และให้ชาวสุหนี่ขึ้นแทนที่ ถึงแม้ว่าพวกฮูตี (Houthi) ซึ่งเตหะรานหนุนหลังอยู่กำลังมีอำนาจบารมีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างชัดเจน นอกจากนั้นซาอุดีอาระเบียยังช่วยขับไสกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) ให้ตกลงจากอำนาจในอียิปต์ และนำเอาระบอบคณาธิปไตยที่มีกองทัพเป็นศูนย์กลางขึ้นครองอำนาจ ซึ่งระบอบปกครองใหม่นี้ก็จัดการยุติสายสัมพันธ์กับอิหร่านที่กำลังทำท่าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ริยาดนั้นสามารถเสนอความสนับสนุนทางการเงินแก่เคอร์ดิสถาน รวมทั้งช่วยเหลือหาผู้ซื้อน้ำมันที่เคอร์ดิสถานกำลังพยายามส่งออก โดยผ่านเมืองท่าซีย์ฮาน (Ceyhan) ในตุรกี
แต่ถึงแม้ว่าอิหร่านอยู่ในภาวะขาดแคลนเงินสด สืบเนื่องจากถูกนานาชาติลงโทษคว่ำบาตร ทว่าเตหะรานก็แสดงท่าทีพรักพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอจูงใจเพื่อแข่งขันกับปรปักษ์ชาวสุหนี่ของตน อิหร่านไม่ต้องการปล่อยให้เกิดความเสี่ยงที่เคอร์ดิสถานจะไปร่วมหัวจมท้ายกับศัตรู แทนที่จะยังคงอยู่ในฐานะเป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ได้มีน้ำจิตน้ำใจอะไรต่อกันมากมาย อิหร่านนั้นมีความสามารถที่จะช่วยเหลือให้น้ำมันของชาวเคิร์ดออกสู่ตลาดได้ หลังจากที่แบกแดดซึ่งโกรธขึ้งไม่พอใจที่เคอร์ดิสถานตีตัวห่างจากตนมากขึ้นทุกที จึงกำลังปิดเส้นทางส่งออกของเคอร์ดิสถาน ที่ผ่านทางเมืองบาสรา ทางภาคใต้ของอิรัก
ทั้งนี้อิหร่านซึ่งมีอิทธิพลอยู่มากต่อรัฐบาลอิรักที่เป็นชิอะห์ด้วยกัน อาจจะสามารถเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้แบกแดดยอมเพิกถอนการขัดขวางดังกล่าวนี้ หรือไม่เตหะรานก็อาจยินยอมให้น้ำมันของชาวเคิร์ดไหลผ่านไปตามสายท่อส่งของตนที่ตั้งต้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ไปสู่ท่าเรือส่งออกในอ่าวเปอร์เซีย โดยที่อิหร่านอาจจะพิจารณาด้วยเหตุผลที่ว่า ถึงอย่างไรก็เป็นการดีกว่าจะปล่อยให้เกิดความเสี่ยงที่น้ำมันของชาวเคิร์ดจะลงใต้ผ่านไปตามสายท่อส่งที่ผ่านอิรักและรัฐของพวกสุหนี่จนถึงท่าเรือในซาอุดีอาระเบีย
อิสราเอล
เคอร์ดิสถานมีฐานะสำคัญในยุทธศาสตร์ของอิสราเอลมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว อิสราเอลนั้นให้ความสนับสนุนกองจรยุทธ์ชาวเคิร์ดในการสู้รบกับอิรัก ซึ่งด้วยวิธีนี้ก็เป็นการป้องกันไม่ให้กองกำลังอาวุธชาวเคิร์ดไปรับความช่วยเหลือจากซีเรียและอียิปต์ ชาวอิสราเอลกับชาวเคิร์ดมีประสบการณ์ร่วมกันอย่างยาวนานทีเดียวในฐานะที่เป็นประชาชนผู้ไร้รัฐและลำบากลำบนจากการถูกปิดล้อม อิสราเอลนั้นต้องการหุ้นส่วนที่เข้มแข็งซึ่งต่อต้านทั้งซาอุดีอาระเบียทั้งอิหร่าน อันเป็นสิ่งที่หายากมากในภูมิภาคซึ่งเกิดการแตกขั้วแบ่งฝ่ายกันตามนิกายศาสนาอย่างชัดเจน ดังนั้น สำหรับอิสราเอลแล้ว เคอร์ดิสถานในอิรักที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งในไม่ช้าไม่นานยังอาจจะจับมือเป็นพันธมิตรกับเคอร์ดิสถานในซีเรียด้วย จะทำหน้าที่เป็นหนามแหลมคมคอยทิ่มตำอยู่ทางด้านข้างของอิหร่าน อีกทั้งอิสราเอลยังสามารถใช้เป็นฐานสำหรับการออกปฏิบัติการลับๆ ของตนได้ด้วย
อิสราเอลวาดหวังว่ากระบวนการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศแถบตะวันออกกลาง ไม่ว่าจะเป็น ลิเบีย, ซีเรีย, อิรัก, หรือ เยเมน จะเดินหน้าแผ่ลามต่อไปถึงอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศที่มีทั้งชาวเคิร์ด, ชาวอาเซอร์ไบจัน (, Azeri), ชาวบาโลจ (Baloch), และชาวบัคเตียรี (Bachtiari) ตลอดจนประชาชนกลุ่มอื่นๆ ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกไม่พึงพอใจในระดับต่างๆ กันภายใต้การปกครองของชาวเปอร์เซีย อิสราเอลนั้นมีวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์และทรัพย์สินด้านการข่าวกรองสืบราชการลับ ซึ่งจะทำให้กระบวนการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เช่นนี้ ไม่ได้เพียงแค่ตัดสินชี้ขาดกันโดยกลุ่มพลังต่างๆ ภายในอิหร่านล้วนๆ และการมีฐานสำหรับใช้ปฏิบัติการในเคอร์ดิสถานก็จะเปิดทางให้อิสราเอลสามารถผลักดันกลุ่มพลังทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้ ได้อย่างถนัดถนี่ยิ่งขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์แห่งภาวะไร้รัฐเหมือนๆ กันระหว่างชาวอิสราเอลกับชาวเคิร์ดนั้น ถึงเวลานี้ก็สิ้นสุดลงไปแล้ว และอิสราเอลในปัจจุบันก็ไม่สามารถเสนออะไรได้มากมายในเวลาเจรจาต่อรองกับเคอร์ดิสถาน อิสราเอลนั้นได้ซื้อน้ำมันของชาวเคิร์ดเอาไว้จำนวนหนึ่ง ทว่าก็ไม่ได้ถึงขนาดอยู่ในฐานะเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ นอกจากนั้นทรัพย์สินด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของอิสราเอลเองที่มีอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ก็คาดกันว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะทำให้ประเทศนี้กลายฐานะเป็นผู้ส่งออกในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้านี้ด้วยซ้ำ
อิสราเอลมีการจัดหาอาวุธและจัดการฝึกอบรมให้แก่กองทหารชาวเคิร์ด ทว่าก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง หรืออยู่ในระดับหาความช่วยเหลือจากคนอื่นมาทดแทนไม่ได้ ทางด้านความสนับสนุนทางการเงินจากอิสราเอลก็อยู่ในขอบเขตจำกัด และในขณะที่อิสราเอลนั้นมีอิทธิพลต่อวอชิงตันอย่างมหาศาล ทว่าสหรัฐฯในปัจจุบันยังคงมีจุดยืนที่คัดค้านการก่อตั้งรัฐเคอร์ดิสถานที่เป็นเอกราชขึ้นมา อิสราเอลน่าที่จะกดดันวอชิงตันในเรื่องนี้ โดยบางทีอาจจะมีการเชื่อมประสานกับพวกบริษัทน้ำมันสหรัฐฯที่กำลังดำเนินงานอยู่ในเคอร์ดิสถาน
อิหร่านในเวลานี้จึงมีอะไรที่จะเสนอแก่เคอร์ดิสถานมากยิ่งกว่าฝ่ายอิสราเอล ทั้งในเรื่องเส้นทางการส่งออกและในรูปของตัวเงิน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิสราเอลจึงอาจจะถูกลดระดับลงไปอยู่ในระดับสองหรือกระทั่งระดับสาม ในนโยบายการต่างประเทศของเคอร์ดิสถาน สภาวการณ์เช่นนี้ยิ่งมีความเป็นไปได้มากเป็นพิเศษ ในเมื่อเวลานี้วอชิงตันยังคงลังเลที่จะรีบร้อนเข้าไปให้ความสนับสนุนประเทศที่อยู่ห่างไกลและไร้ทางออกทางทะเลอีกรายหนึ่ง ภายหลังการผจญภัยในอัฟกานิสถานของตนได้นำไปสู่ช่วงหลายๆ ปีแห่งความผิดหวังไม่สมปรารถนา อย่างไรก็ดี สักวันหนึ่งวอชิงตันอาจรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนเคอร์ดิสถาน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อิทธิพลของอิหร่านเติบใหญ่ขยายตัวขึ้นที่นั่น นี่เป็นจุดที่เชื่อได้ว่าทั้งอิสราเอลและบริษัทเอซซอน (Exxon) จะต้องพยายามอธิบายแจกแจงให้เห็นกระจ่างชัดเจน
กระนั้นก็ตามที อาจจะเป็นการดีกว่าสำหรับอิสราเอลที่จะพิจารณาทบทวนโอกาสความเป็นไปได้จริงๆ ในการเกิดกระบวนการแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ขึ้นในอิหร่าน สภาวการณ์เช่นนี้ต้องขึ้นอยู่เงื่อนไขที่ว่าเตหะรานประสบปัญหาทางการคลังอย่างเลวร้ายลงทุกทีๆ เมื่อการลงโทษคว่ำบาตรของนานาชาติยังคงดำเนินต่อไป และส่งผลทำให้ประชาชนที่มิใช่ชาวเปอร์เซียได้รับเงินทองความสนับสนุนต่างๆ จากส่วนกลางลดน้อยลงจนทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นมา ในขณะที่ยังมีความเป็นไปได้อีกด้านหนึ่งที่ว่า การลงโทษคว่ำบาตรอาจจะผ่อนคลายบรรเทาลงในเร็ววันนี้ และการรอมชอมกันระหว่างวอชิงตันกับเตหะรานก็อาจจะเกิดขึ้นในเวลาไม่ช้าไม่นาน
ถึงเวลานั้นอิสราเอลอาจจะมองเห็นประโยชน์ในการลดทอนความเป็นศัตรูกับอิหร่านและหันมาจับมือเตหะราน แม้จะอยู่ในลักษณะแค่หลวมๆ ทั้งนี้ก็เพื่อร่วมกันต่อสู้กับซาอุดีอาระเบียและเหล่าพันธมิตรชาวสุหนี่ แน่นอนทีเดียว หากสถานการณ์เป็นเช่นนั้น ภูมิภาคนี้ก็เท่ากับหมุนวนมาบรรจบครบรอบ และย่างเข้าสู่ช่วงเวลาที่อิสราเอลกับอิหร่านร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพวกรัฐของชาวสุหนี่อีกคำรบหนึ่ง
ไบรอัน เอ็ม ดาวนิ่ง เป็นนักวิเคราะห์ด้านการเมือง-การทหาร เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Military Revolution and Political Change และ The Paths of Glory: Social Change in America from the Great War to Vietnam ตลอดจนร่วมกับ แดนนี่ ริตต์แมน (Danny Rittman) เขียนหนังสือเรื่อง The Samson Heuristic สามารถติดต่อเขาทางอีเมลได้ที่ brianmdowning@gmail.com