(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Asia's long history of carnage in the air
By John McBeth
12/03/2014
การค้นหาเครื่องบินโดยสารในเที่ยวบิน 370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ที่สูญหายไป กำลังกลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์พอๆ กับการหายลับไปของเครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ลำนี้เอง ตลอดจนประดาทฤษฎีที่ถูกทึกทักสันนิษฐานกันเกี่ยวกับชะตากรรมของมัน สมมุติว่าถ้าหากเครื่องบินลำนี้หายไปเพราะถูกวางระเบิดแล้ว มันก็จะกลายเป็นกรณีล่าสุดของเหตุการณ์สังหารโหดกลางอากาศหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งบังเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของคนร้ายหลายหลาก ตั้งแต่เหล่าสามีจอมวางแผนไปจนถึงพวกสายลับของเกาหลีเหนือ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก*
จาการ์ตา – การค้นหาเครื่องบินโดยสารในเที่ยวบิน 370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ที่สูญหายไป กำลังกลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์พอๆ กับการหายลับไปของเครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ลำนี้เอง โดยที่เวลานี้ทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบอกว่า เครื่องบินลำนี้อาจจะไม่เพียงแค่หันหัวเลี้ยวกลับเท่านั้น แต่ยังบินกลับมาไกล 500 กิโลเมตรจนข้ามแหลมมลายูไปทางช่องแคบมะละกาด้วยซ้ำไป
ในการพลิกกลับหักมุมที่สร้างความตื่นตะลึงไปทั่ว กองทัพอากาศมาเลเซียระบุว่า เที่ยวบิน 370 ซึ่งมีผู้โดยสารและลูกเรืออยู่บนเครื่องรวม 239 คน ถูกเรดาร์ตรวจจับได้เป็นครั้งสุดท้ายในขณะที่กำลังบินข้ามส่วนเหนือสุดของช่องแคบมะละกาเมื่อเวลา 02.40 น. หรือกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากที่ขาดการติดต่อสื่อสารกับทางหอบังคับการบินขณะที่มันบินอยู่เหนือทะเลจีนใต้ บริเวณรอยต่อระหว่างมาเลเซียกับเวียดนาม
แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่เรดาร์ทั้งของอินโดนีเซียและของฝ่ายพลเรือน ไม่สามารถช่วยยืนยันการตรวจพบเส้นทางบินใหม่นี้ รวมทั้งผู้บัญชาการทหารอากาศมาเลเซีย พล.อ.อ.ร็อดซาลี ดาอุด (Rodzali Daud) ก็กำลังบอกว่าสื่ออ้างอิงคำพูดของเขาไปรายงานอย่างไม่ถูกต้อง จึงยังคงมีคำถามที่ยังไร้คำตอบอยู่มากมาย รวมทั้งปริศนาที่ว่าถ้าหากเครื่องบินยังสามารถบินต่อมาอีกตั้งนาน แล้วทำไมนักบินจึงไม่อาจส่งสัญญาณเตือนภัยหรือใช้การสื่อสารช่องทางอื่นๆ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเขากำลังอยู่ในความลำบาก
กองทัพอากาศมาเลเซียนี่เองซึ่งเป็นผู้เสนอแนะก่อนใครอื่นๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เที่ยวบิน MH370 อาจจะเปลี่ยนเส้นทางโดยหันหัวเลี้ยวกลับ ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ยังทำท่ามีน้ำหนักเป็นจริงเป็นจัง จากที่มีการปรับเปลี่ยนความพยายามในการค้นหาของนานาชาติอย่างน้อยก็บางส่วน โดยไม่ใช่เน้นหนักเฉพาะที่ทะเลจีนใต้ หากยังโฟกัสมาที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของมาเลเซียตลอดจนบริเวณแผ่นดินแหลมมลายูเองด้วย
จากการที่มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมากมายออกมาพูดจากันไปคนละทางสองทาง ทำให้การรับมือกับวิกฤตคราวนี้ของมาเลเซียยิ่งถูกจับตามองยิ่งถูกตรวจสอบจี้ไช พวกนักวิจารณ์เชื่อว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่กัวลาลัมเปอร์จะต้องนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่จัดหามาได้มากองรวมอยู่ในที่เดียวกัน และให้รัฐบาลต่างประเทศได้แสดงบทบาทมากกว่าเพียงแค่การช่วยออกค้นหาเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ดูจะเป็นที่ชัดเจนก็คือ ต่อเมื่อมีการพบเศษซากของเครื่องบินแล้วเท่านั้น พวกผู้เชี่ยวชาญจึงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่า ทำไมเครื่องบินรุ่นที่มีเกียรติประวัติทางด้านความปลอดภัยอย่างโดดเด่นรุ่นนี้ จึงสามารถหายลับไปในท่ามกลางท้องฟ้าที่อากาศสดใส แถมยังทำเพดานบินจนขึ้นไปอยู่ในระดับความสูงเพื่อการเดินทาง (cruising altitude) ที่ 35,000 ฟุตเสร็จเรียบร้อยไปตั้งนานแล้วด้วย ในขณะเดินทางในเที่ยวบินระหว่างกัวลาลัมเปอร์สู่ปักกิ่งซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง
แต่ในเมื่อเครื่องบินไม่มีการส่งสัญญาเตือนภัยขอความช่วยเหลือใดๆ และไม่มีความกระจ่างอย่างแท้จริงใดๆ เกี่ยวกับเส้นทางการบินของเครื่องบินลำนี้ พวกเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนก็กำลังพยายามทำงานตรวจสอบทฤษฎีความเป็นไปได้จำนวนหนึ่ง ตั้งแต่เรื่องความบกพร่องล้มเหลวทางด้านกระแสไฟฟ้าหรือทางด้านโครงสร้างของเครื่องบินซึ่งสามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นหายนะ ไปจนถึงกระทั่งว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่นักบินคิดฆ่าตัวตาย หรือจะเป็นเหตุคนร้ายจี้เครื่องบิน หรือว่าจะเป็นการวางระเบิดให้เครื่องบินบึ้มกลางอากาศ
เท่าที่ผ่านมาบริษัทโบอิ้งผู้ผลิตเครื่องบินลำนี้ยังคงเงียบเฉยต่อทฤษฎีที่มีผู้เสนอออกมาค่อนข้างล่าสุดที่ว่า การแตกร้าวและการสึกกร่อนในบริเวณผิวลำตัวเครื่องบิน อาจจะนำไปสู่ภาวะความดันอากาศลดลงอย่างรวดเร็ว และทำให้โครงสร้างของเครื่องบินแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
เพียงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง สำนักงานบริหารกิจการการบินของสหรัฐฯ (US Federal Aviation Administration ใช้อักษรย่อว่า FAA) ได้อนุมัติคำสั่งว่าด้วยความเหมาะสมของการใช้งานเครื่องบินฉบับใหม่ ซึ่งใช้บังคับกับเครื่องบินโบอิ้ง 777 รุ่นเก่าๆ บางรุ่น หลังจากที่ผู้ปฏิบัติงานรายหนึ่งรายงานว่า ได้พบรอยร้าวความยาว 16 นิ้วที่บริเวณใต้อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้าของเสาอากาศสื่อสารผ่านดาวเทียมของเครื่องบิน
ถ้าหากว่าเที่ยวบิน 370 ประสบปัญหานี้จริงๆ ก็จะไม่สามารถตรวจสอบพบในทันที โดยที่ความดันอากาศที่ค่อยๆ ลดต่ำลงจะดูดเอาก๊าซออกซิเจนออกจากห้องผู้โดยสาร และทำให้ผู้โดยสารและลูกเรืออยู่ในอาการมึนงงไม่มีสติ
หลังจากนี้แล้วก็เป็นเรื่องยากแก่การคาดเดา เมื่อถึงบางจุดบางขณะ ความดันอากาศอาจจะหนีออกไปจนถึงขนาดทำให้เกิดการระเบิดซึ่งทำลายระบบการติดต่อสื่อสารของเครื่องบิน และอาจทำให้เครื่องบินเปลี่ยนเส้นทางบิน หรือไม่ก็เป็นเหตุให้นักบินต้องหันหัวเลี้ยวเครื่องบิน
พฤติการณ์ในทางอาชญากรรมก็เป็นสิ่งที่ยังไม่สามารถปัดทิ้งได้เช่นกัน รวมทั้งยังไม่อาจปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงลงไปได้ว่ามันไม่ใช่เหตุจี้เครื่องบินหรือการก่อการร้าย ถึงแม้ในกรณีของหนุ่มชาวอิหร่าน 2 คนที่อยู่บนเครื่องบินลำนี้ และเดินทางโดยใช้หนังสือเดินทางของชาวอิตาลีและชาวออสเตรียซึ่งมีผู้ขโมยมานั้น พวกเขาอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะหาสถานที่พำนักลี้ภัยในยุโรปจริงๆ อย่างที่องค์การตำรวจสากลเชื่อก็ตามที
(หมายเหตุผู้แปล – หลังจากการแถลงนำร่องของผู้บัญชาการทหารอากาศมาเลเซีย ก็มีสื่อมวลชนอเมริกันรายงานโดยอ้างพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯระบุว่า โบอิ้ง 777 ลำนี้ยังคงส่งสัญญาณอัตโนมัติที่ดาวเทียมหลายๆ ดวงตรวจจับได้เป็นเวลาราว 5 ชั่วโมง ภายหลังขาดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ข้อมูลนี้ได้รับความเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่าเครื่องบินอาจบินไกลออกไปจากจุดที่มีการยืนยันแน่นอนครั้งสุดท้ายเป็นระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร เวลานี้ สหรัฐฯได้จัดส่งเรือรบและเครื่องบินสอดแนมไปค้นหาอาณาบริเวณแถบอ่าวเบงกอล, ทะเลอันดามัน, และหลายส่วนของมหาสมุทรอินเดียแล้ว โดยที่ เจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาวก็ยืนว่า ทีมงานของสหรัฐฯได้ปรับเปลี่ยนโฟกัสไปเน้นที่ย่านมหาสมุทรอินเดีย เพราะ “ข้อมูลใหม่” แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดมากกว่านี้ ส่วนอินเดียก็ให้กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ, และกองกำลังรักษาชายฝั่งของตนเข้าร่วมการค้นหาด้วยแล้ว ตามการขอร้องของทางการมาเลเซีย ดูรายละเอียดได้ที่ เรื่อง “Malaysia plane: Flight MH370 search enters second week” ที่ http://www.bbc.com/news/world-asia-26590700/ ต่อมาในวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย แถลงข่าวระบุว่าจากหลักฐานทางดาวเทียมและเรดาร์ เชื่อได้ว่ามีผู้ที่อยู่บนเครื่องบินในเที่ยวบิน MH370 จงใจที่จะทำให้ระบบติดต่อสื่อสารของเครื่องมือใช้การไม่ได้ จากนั้นก็เปลี่ยนเส้นทางของเครื่องบินหันกลับมาเลเซียมุ่งไปทางอินเดีย โดยที่อาจจะบินต่อไปเป็นเวลานาน 7 ชั่วโมง เมื่อถูกสอบถามว่าเครื่องบินลำนี้ถูกจี้ใช่หรือไม่ เขาก็ตอบเพียงว่ากำลังดำเนินการสอบสวนความเป็นไปได้ทุกๆ อย่าง ดูรายละเอียดได้ที่ เรื่อง “Missing Malaysia Airlines flight systems disabled, PM says” ที่ http://www.bbc.com/news/world-asia-26591056 )
นับตั้งแต่เหตุวางระเบิดแอบซ่อนไว้ที่บริเวณหางเครื่องบิน จนทำให้เครื่องบินรุ่นดีซี 3 ของสายการบินฟิลิปปิน แอร์ไลน์ ตกลงสู่ทะเลสุบายัน (Sibuyan Sea) ทำให้ผู้คนบนเครื่อง 13 คนเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม 1949 แล้ว ในเอเชียได้เกิดกรณีที่ทราบชัดว่าเป็นการวินาศกรรมเครื่องบินโดยสารรวมทั้งสิ้น 16 กรณี สังหารผู้โดยสารและลูกเรือไปทั้งสิ้น 613 ชีวิต
ในความเป็นจริงแล้ว ฟิลิปปินส์คือสถานที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้รวม 6 ครั้ง รวมทั้งกรณีการระเบิดบนเครื่องบินโบอื้ง 747 ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ ในเที่ยวบินจากมะนิลาไปยังโตเกียว เมื่อเดือนธันวาคม 1994 โดยตอนที่เกิดบึ้มขึ้นนั้น เป็นช่วงหลังจากเครื่องบินลงแวะจอดที่เซบู แล้วออกเดินทางต่อไปอีกราว 1 ชั่วโมง เหตุร้ายคราวนี้สังหารผู้โดยสารคนหนึ่งในจำนวน 273 คนที่อยู่บนเครื่อง แต่ล้มเหลวไม่สามารถทำให้เครื่องบินตก
ผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถานที่ชื่อ รัมซี ยูเซฟ (Ramzi Yousef) คือผู้ซึ่งแอบวางระเบิดเอาไว้บนเครื่องบินลำนั้นในตอนที่เขาเดินทางจากมะนิลา แล้วไปลงที่เซบู ในเวลาต่อมา เขาถูกจับกุมที่กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1995 และถูกส่งตัวไปรับการพิจารณาคดีในศาลสหรัฐฯ ซึ่งตัดสินว่าเขามีความผิดฐานก่อเหตุระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในนิวยอร์กในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 หรือ 2 ปีก่อนหน้าเขาถูกจับ
การลอบวางระเบิดบนเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ แท้ที่จริงคือการที่ ยูเซฟ ทดลองซ้อมใหญ่แผนการ “โบจิงกา” (Bojinka plot) โดยในแผนการก่อวินาศกรรมอันใหญ่โตซึ่งลงท้ายก็ดำเนินการไปไม่สำเร็จนี้ คอลิด ชาอิค โมฮัมหมัด (Khalid Shaik Mohammad) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของอัลกออิดะห์ในตอนนั้น คิดที่จะทำลายเครื่องบินโดยสารรวม 11 ลำซึ่งกำลังบินจากสหรัฐฯไปยังเอเชีย โดยตามแผนการโบจิงกา ระเบิดที่วางไว้บนเครื่องบินเหล่านี้จะตั้งเวลาให้ทำงานในขณะที่บินอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกหรือไม่ก็ทะเลจีนใต้
ถ้าหากมีการทำตามแผนการโบจิงกาได้สำเร็จเต็มรูปแบบ มันก็จะก่อความวิบัติหายนะยิ่งกว่ากรณีวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 เสียอีก ทั้งนี้มีการกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าจะสังหารผู้โดยสารและลูกเรือรวม 4,000 คน ขณะที่พวกแหล่งข่าวในแวดวงข่าวกรองอเมริกันบอกว่า ตามแผนการนี้จะมีการใช้วัตถุระเบิดขนาดเล็กจิ๋ววางไว้ที่บริเวณชั้นสองของห้องโดยสารของโบอิ้ง 747 เพื่อให้แรงระเบิดสามารถทำลายห้องนักบินและสังหารพวกลูกเรือ
จอห์น แมคเบธ เป็นอดีตผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว (Far Eastern Economic Review) ปัจจุบันเขาเป็นคอลัมนิสต์ให้แก่หนังสือพิมพ์สเตรทส์ไทมส์ของสิงคโปร์ โดยใช้จาการ์ตาเป็นฐาน
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
Asia's long history of carnage in the air
By John McBeth
12/03/2014
การค้นหาเครื่องบินโดยสารในเที่ยวบิน 370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ที่สูญหายไป กำลังกลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์พอๆ กับการหายลับไปของเครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ลำนี้เอง ตลอดจนประดาทฤษฎีที่ถูกทึกทักสันนิษฐานกันเกี่ยวกับชะตากรรมของมัน สมมุติว่าถ้าหากเครื่องบินลำนี้หายไปเพราะถูกวางระเบิดแล้ว มันก็จะกลายเป็นกรณีล่าสุดของเหตุการณ์สังหารโหดกลางอากาศหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งบังเกิดขึ้นด้วยน้ำมือของคนร้ายหลายหลาก ตั้งแต่เหล่าสามีจอมวางแผนไปจนถึงพวกสายลับของเกาหลีเหนือ
*ข้อเขียนชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก*
จาการ์ตา – การค้นหาเครื่องบินโดยสารในเที่ยวบิน 370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ที่สูญหายไป กำลังกลายเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์พอๆ กับการหายลับไปของเครื่องบินโบอิ้ง 777-200 ลำนี้เอง โดยที่เวลานี้ทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบอกว่า เครื่องบินลำนี้อาจจะไม่เพียงแค่หันหัวเลี้ยวกลับเท่านั้น แต่ยังบินกลับมาไกล 500 กิโลเมตรจนข้ามแหลมมลายูไปทางช่องแคบมะละกาด้วยซ้ำไป
ในการพลิกกลับหักมุมที่สร้างความตื่นตะลึงไปทั่ว กองทัพอากาศมาเลเซียระบุว่า เที่ยวบิน 370 ซึ่งมีผู้โดยสารและลูกเรืออยู่บนเครื่องรวม 239 คน ถูกเรดาร์ตรวจจับได้เป็นครั้งสุดท้ายในขณะที่กำลังบินข้ามส่วนเหนือสุดของช่องแคบมะละกาเมื่อเวลา 02.40 น. หรือกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากที่ขาดการติดต่อสื่อสารกับทางหอบังคับการบินขณะที่มันบินอยู่เหนือทะเลจีนใต้ บริเวณรอยต่อระหว่างมาเลเซียกับเวียดนาม
แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่เรดาร์ทั้งของอินโดนีเซียและของฝ่ายพลเรือน ไม่สามารถช่วยยืนยันการตรวจพบเส้นทางบินใหม่นี้ รวมทั้งผู้บัญชาการทหารอากาศมาเลเซีย พล.อ.อ.ร็อดซาลี ดาอุด (Rodzali Daud) ก็กำลังบอกว่าสื่ออ้างอิงคำพูดของเขาไปรายงานอย่างไม่ถูกต้อง จึงยังคงมีคำถามที่ยังไร้คำตอบอยู่มากมาย รวมทั้งปริศนาที่ว่าถ้าหากเครื่องบินยังสามารถบินต่อมาอีกตั้งนาน แล้วทำไมนักบินจึงไม่อาจส่งสัญญาณเตือนภัยหรือใช้การสื่อสารช่องทางอื่นๆ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเขากำลังอยู่ในความลำบาก
กองทัพอากาศมาเลเซียนี่เองซึ่งเป็นผู้เสนอแนะก่อนใครอื่นๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เที่ยวบิน MH370 อาจจะเปลี่ยนเส้นทางโดยหันหัวเลี้ยวกลับ ในเวลาต่อมาเรื่องนี้ยังทำท่ามีน้ำหนักเป็นจริงเป็นจัง จากที่มีการปรับเปลี่ยนความพยายามในการค้นหาของนานาชาติอย่างน้อยก็บางส่วน โดยไม่ใช่เน้นหนักเฉพาะที่ทะเลจีนใต้ หากยังโฟกัสมาที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของมาเลเซียตลอดจนบริเวณแผ่นดินแหลมมลายูเองด้วย
จากการที่มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมากมายออกมาพูดจากันไปคนละทางสองทาง ทำให้การรับมือกับวิกฤตคราวนี้ของมาเลเซียยิ่งถูกจับตามองยิ่งถูกตรวจสอบจี้ไช พวกนักวิจารณ์เชื่อว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่กัวลาลัมเปอร์จะต้องนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่จัดหามาได้มากองรวมอยู่ในที่เดียวกัน และให้รัฐบาลต่างประเทศได้แสดงบทบาทมากกว่าเพียงแค่การช่วยออกค้นหาเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ดูจะเป็นที่ชัดเจนก็คือ ต่อเมื่อมีการพบเศษซากของเครื่องบินแล้วเท่านั้น พวกผู้เชี่ยวชาญจึงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่า ทำไมเครื่องบินรุ่นที่มีเกียรติประวัติทางด้านความปลอดภัยอย่างโดดเด่นรุ่นนี้ จึงสามารถหายลับไปในท่ามกลางท้องฟ้าที่อากาศสดใส แถมยังทำเพดานบินจนขึ้นไปอยู่ในระดับความสูงเพื่อการเดินทาง (cruising altitude) ที่ 35,000 ฟุตเสร็จเรียบร้อยไปตั้งนานแล้วด้วย ในขณะเดินทางในเที่ยวบินระหว่างกัวลาลัมเปอร์สู่ปักกิ่งซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง
แต่ในเมื่อเครื่องบินไม่มีการส่งสัญญาเตือนภัยขอความช่วยเหลือใดๆ และไม่มีความกระจ่างอย่างแท้จริงใดๆ เกี่ยวกับเส้นทางการบินของเครื่องบินลำนี้ พวกเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนก็กำลังพยายามทำงานตรวจสอบทฤษฎีความเป็นไปได้จำนวนหนึ่ง ตั้งแต่เรื่องความบกพร่องล้มเหลวทางด้านกระแสไฟฟ้าหรือทางด้านโครงสร้างของเครื่องบินซึ่งสามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นหายนะ ไปจนถึงกระทั่งว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่นักบินคิดฆ่าตัวตาย หรือจะเป็นเหตุคนร้ายจี้เครื่องบิน หรือว่าจะเป็นการวางระเบิดให้เครื่องบินบึ้มกลางอากาศ
เท่าที่ผ่านมาบริษัทโบอิ้งผู้ผลิตเครื่องบินลำนี้ยังคงเงียบเฉยต่อทฤษฎีที่มีผู้เสนอออกมาค่อนข้างล่าสุดที่ว่า การแตกร้าวและการสึกกร่อนในบริเวณผิวลำตัวเครื่องบิน อาจจะนำไปสู่ภาวะความดันอากาศลดลงอย่างรวดเร็ว และทำให้โครงสร้างของเครื่องบินแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
เพียงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง สำนักงานบริหารกิจการการบินของสหรัฐฯ (US Federal Aviation Administration ใช้อักษรย่อว่า FAA) ได้อนุมัติคำสั่งว่าด้วยความเหมาะสมของการใช้งานเครื่องบินฉบับใหม่ ซึ่งใช้บังคับกับเครื่องบินโบอิ้ง 777 รุ่นเก่าๆ บางรุ่น หลังจากที่ผู้ปฏิบัติงานรายหนึ่งรายงานว่า ได้พบรอยร้าวความยาว 16 นิ้วที่บริเวณใต้อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้าของเสาอากาศสื่อสารผ่านดาวเทียมของเครื่องบิน
ถ้าหากว่าเที่ยวบิน 370 ประสบปัญหานี้จริงๆ ก็จะไม่สามารถตรวจสอบพบในทันที โดยที่ความดันอากาศที่ค่อยๆ ลดต่ำลงจะดูดเอาก๊าซออกซิเจนออกจากห้องผู้โดยสาร และทำให้ผู้โดยสารและลูกเรืออยู่ในอาการมึนงงไม่มีสติ
หลังจากนี้แล้วก็เป็นเรื่องยากแก่การคาดเดา เมื่อถึงบางจุดบางขณะ ความดันอากาศอาจจะหนีออกไปจนถึงขนาดทำให้เกิดการระเบิดซึ่งทำลายระบบการติดต่อสื่อสารของเครื่องบิน และอาจทำให้เครื่องบินเปลี่ยนเส้นทางบิน หรือไม่ก็เป็นเหตุให้นักบินต้องหันหัวเลี้ยวเครื่องบิน
พฤติการณ์ในทางอาชญากรรมก็เป็นสิ่งที่ยังไม่สามารถปัดทิ้งได้เช่นกัน รวมทั้งยังไม่อาจปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงลงไปได้ว่ามันไม่ใช่เหตุจี้เครื่องบินหรือการก่อการร้าย ถึงแม้ในกรณีของหนุ่มชาวอิหร่าน 2 คนที่อยู่บนเครื่องบินลำนี้ และเดินทางโดยใช้หนังสือเดินทางของชาวอิตาลีและชาวออสเตรียซึ่งมีผู้ขโมยมานั้น พวกเขาอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะหาสถานที่พำนักลี้ภัยในยุโรปจริงๆ อย่างที่องค์การตำรวจสากลเชื่อก็ตามที
(หมายเหตุผู้แปล – หลังจากการแถลงนำร่องของผู้บัญชาการทหารอากาศมาเลเซีย ก็มีสื่อมวลชนอเมริกันรายงานโดยอ้างพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯระบุว่า โบอิ้ง 777 ลำนี้ยังคงส่งสัญญาณอัตโนมัติที่ดาวเทียมหลายๆ ดวงตรวจจับได้เป็นเวลาราว 5 ชั่วโมง ภายหลังขาดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ ข้อมูลนี้ได้รับความเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่าเครื่องบินอาจบินไกลออกไปจากจุดที่มีการยืนยันแน่นอนครั้งสุดท้ายเป็นระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร เวลานี้ สหรัฐฯได้จัดส่งเรือรบและเครื่องบินสอดแนมไปค้นหาอาณาบริเวณแถบอ่าวเบงกอล, ทะเลอันดามัน, และหลายส่วนของมหาสมุทรอินเดียแล้ว โดยที่ เจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาวก็ยืนว่า ทีมงานของสหรัฐฯได้ปรับเปลี่ยนโฟกัสไปเน้นที่ย่านมหาสมุทรอินเดีย เพราะ “ข้อมูลใหม่” แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดมากกว่านี้ ส่วนอินเดียก็ให้กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ, และกองกำลังรักษาชายฝั่งของตนเข้าร่วมการค้นหาด้วยแล้ว ตามการขอร้องของทางการมาเลเซีย ดูรายละเอียดได้ที่ เรื่อง “Malaysia plane: Flight MH370 search enters second week” ที่ http://www.bbc.com/news/world-asia-26590700/ ต่อมาในวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย แถลงข่าวระบุว่าจากหลักฐานทางดาวเทียมและเรดาร์ เชื่อได้ว่ามีผู้ที่อยู่บนเครื่องบินในเที่ยวบิน MH370 จงใจที่จะทำให้ระบบติดต่อสื่อสารของเครื่องมือใช้การไม่ได้ จากนั้นก็เปลี่ยนเส้นทางของเครื่องบินหันกลับมาเลเซียมุ่งไปทางอินเดีย โดยที่อาจจะบินต่อไปเป็นเวลานาน 7 ชั่วโมง เมื่อถูกสอบถามว่าเครื่องบินลำนี้ถูกจี้ใช่หรือไม่ เขาก็ตอบเพียงว่ากำลังดำเนินการสอบสวนความเป็นไปได้ทุกๆ อย่าง ดูรายละเอียดได้ที่ เรื่อง “Missing Malaysia Airlines flight systems disabled, PM says” ที่ http://www.bbc.com/news/world-asia-26591056 )
นับตั้งแต่เหตุวางระเบิดแอบซ่อนไว้ที่บริเวณหางเครื่องบิน จนทำให้เครื่องบินรุ่นดีซี 3 ของสายการบินฟิลิปปิน แอร์ไลน์ ตกลงสู่ทะเลสุบายัน (Sibuyan Sea) ทำให้ผู้คนบนเครื่อง 13 คนเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม 1949 แล้ว ในเอเชียได้เกิดกรณีที่ทราบชัดว่าเป็นการวินาศกรรมเครื่องบินโดยสารรวมทั้งสิ้น 16 กรณี สังหารผู้โดยสารและลูกเรือไปทั้งสิ้น 613 ชีวิต
ในความเป็นจริงแล้ว ฟิลิปปินส์คือสถานที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้รวม 6 ครั้ง รวมทั้งกรณีการระเบิดบนเครื่องบินโบอื้ง 747 ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ ในเที่ยวบินจากมะนิลาไปยังโตเกียว เมื่อเดือนธันวาคม 1994 โดยตอนที่เกิดบึ้มขึ้นนั้น เป็นช่วงหลังจากเครื่องบินลงแวะจอดที่เซบู แล้วออกเดินทางต่อไปอีกราว 1 ชั่วโมง เหตุร้ายคราวนี้สังหารผู้โดยสารคนหนึ่งในจำนวน 273 คนที่อยู่บนเครื่อง แต่ล้มเหลวไม่สามารถทำให้เครื่องบินตก
ผู้ก่อการร้ายชาวปากีสถานที่ชื่อ รัมซี ยูเซฟ (Ramzi Yousef) คือผู้ซึ่งแอบวางระเบิดเอาไว้บนเครื่องบินลำนั้นในตอนที่เขาเดินทางจากมะนิลา แล้วไปลงที่เซบู ในเวลาต่อมา เขาถูกจับกุมที่กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1995 และถูกส่งตัวไปรับการพิจารณาคดีในศาลสหรัฐฯ ซึ่งตัดสินว่าเขามีความผิดฐานก่อเหตุระเบิดอาคารเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในนิวยอร์กในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 หรือ 2 ปีก่อนหน้าเขาถูกจับ
การลอบวางระเบิดบนเครื่องบินโบอิ้ง 747 ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ แท้ที่จริงคือการที่ ยูเซฟ ทดลองซ้อมใหญ่แผนการ “โบจิงกา” (Bojinka plot) โดยในแผนการก่อวินาศกรรมอันใหญ่โตซึ่งลงท้ายก็ดำเนินการไปไม่สำเร็จนี้ คอลิด ชาอิค โมฮัมหมัด (Khalid Shaik Mohammad) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของอัลกออิดะห์ในตอนนั้น คิดที่จะทำลายเครื่องบินโดยสารรวม 11 ลำซึ่งกำลังบินจากสหรัฐฯไปยังเอเชีย โดยตามแผนการโบจิงกา ระเบิดที่วางไว้บนเครื่องบินเหล่านี้จะตั้งเวลาให้ทำงานในขณะที่บินอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกหรือไม่ก็ทะเลจีนใต้
ถ้าหากมีการทำตามแผนการโบจิงกาได้สำเร็จเต็มรูปแบบ มันก็จะก่อความวิบัติหายนะยิ่งกว่ากรณีวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 เสียอีก ทั้งนี้มีการกำหนดเป้าหมายเอาไว้ว่าจะสังหารผู้โดยสารและลูกเรือรวม 4,000 คน ขณะที่พวกแหล่งข่าวในแวดวงข่าวกรองอเมริกันบอกว่า ตามแผนการนี้จะมีการใช้วัตถุระเบิดขนาดเล็กจิ๋ววางไว้ที่บริเวณชั้นสองของห้องโดยสารของโบอิ้ง 747 เพื่อให้แรงระเบิดสามารถทำลายห้องนักบินและสังหารพวกลูกเรือ
จอห์น แมคเบธ เป็นอดีตผู้สื่อข่าวของนิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว (Far Eastern Economic Review) ปัจจุบันเขาเป็นคอลัมนิสต์ให้แก่หนังสือพิมพ์สเตรทส์ไทมส์ของสิงคโปร์ โดยใช้จาการ์ตาเป็นฐาน
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)